พบผลลัพธ์ทั้งหมด 767 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3626/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัว: ผู้ประกันผิดสัญญาเมื่อจำเลยไม่มาตามนัด ศาลยืนราคาประกันเดิม
ผู้ประกันขอประกันตัวจำเลยด้วยความสมัครใจ เมื่อผู้ประกันไม่สามารถติดตามตัวจำเลยมาส่งศาลได้ ผู้ประกันจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาและต้องรับผิดตามสัญญาประกันจะอ้างว่าศาลชั้นต้นตีราคาประกันสูงไปจึงขอลดค่าปรับหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางตาม พ.ร.บ.แร่ฯ และสิทธิการขอคืนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 กรณีประกาศไม่ครบถ้วน
ประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ในหนังสือพิมพ์รายวันเกี่ยวกับการกระทำผิดของจำเลย ไม่ได้ลงข้อความว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขนแร่ตะกั่ว และไม่มีข้อความว่าพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาลขอให้ริบรถยนต์ของกลาง จึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 154 วรรคสองดังนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิมายื่นคำร้องขอคืนของกลางภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางตาม พ.ร.บ.แร่ฯ การประกาศขอริบต้องระบุรายละเอียดชัดเจนเพื่อให้เจ้าของมีโอกาสคัดค้านก่อนศาลตัดสิน
ประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ในหนังสือพิมพ์รายวันเกี่ยวแก่การกระทำผิดของจำเลยไม่ได้ลงข้อความว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขนแร่ตะกั่ว และไม่มีข้อความว่าพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาลขอให้ริบรถยนต์ของกลาง จึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 154 วรรคสอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2532)
(วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3203/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางตาม พ.ร.บ.แร่: เงื่อนไขการประกาศขอคืนและการใช้สิทธิเรียกร้องภายหลังมีคำพิพากษา
ประกาศของพนักงานเจ้าหน้าที่ในหนังสือพิมพ์รายวันเกี่ยวแก่การกระทำผิดของจำเลยไม่ได้ลงข้อความว่าจำเลยได้ใช้รถยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขนแร่ตะกั่ว และไม่มีข้อความว่าพนักงานอัยการได้ร้องขอต่อศาลขอให้ริบรถยนต์ของกลาง จึงไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 154วรรคสอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์ยังเป็นของผู้ขายเมื่อสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และผู้ซื้อไม่ชำระราคาส่วนที่เหลือ
สัญญาซื้อขายรถยนต์มีข้อความว่า ผู้ร้องสัญญาจะโอนรถยนต์ให้ ด. เมื่อได้รับเงินที่ค้างเรียบร้อยแล้ว แสดงว่าคู่สัญญาตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อขายเมื่อ ด. ผู้ซื้อชำระราคาส่วนที่เหลือแล้ว เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อ ด. ยังไม่ได้ชำระราคาที่ค้างแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ขาย กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังเป็นของผู้ร้อง จำเลยนำรถยนต์ไปกระทำผิดและถูกศาลสั่งริบเมื่อผู้ร้องพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางที่แท้จริง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลยจึงต้องคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังอยู่กับผู้ขายจนกว่าจะชำระราคาสิ้นสุดตามสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข และผู้ขายไม่ต้องรับผิดหากผู้ซื้อนำรถไปกระทำผิด
สัญญาซื้อขายรถยนต์มีข้อความว่า ผู้ร้องสัญญาจะโอนรถยนต์ให้ ด. เมื่อได้รับเงินที่ค้างเรียบร้อยแล้ว แสดงว่าคู่สัญญาตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อขายเมื่อ ด. ผู้ซื้อชำระราคาส่วนที่เหลือแล้ว เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อ ด. ยังไม่ได้ชำระราคาที่ค้างแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ขาย กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังเป็นของผู้ร้อง จำเลยนำรถยนต์ไปกระทำผิดและถูกศาลสั่งริบเมื่อผู้ร้องพิสูจน์ได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางที่แท้จริง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิดของจำเลยจึงต้องคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินระหว่างการจัดรูปที่ดิน: สิทธิยังเป็นของผู้ถือเดิมจนกว่าจะออกหนังสือแสดงสิทธิใหม่
การจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2517 นั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินสำหรับแปลงที่ดินในโครงการที่จัดรูปที่ดินตามมาตรา 41 ใหม่แล้ว สิทธิในที่ดินยังคงเป็นของผู้ถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมอยู่ ผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ได้รับสิทธิในที่ดินตามโครงการจัดรูปที่ดินบริเวณที่นาพิพาทซึ่งยังไม่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิสำหรับที่ดินที่จัดรูปแล้ว สิทธิในที่นาพิพาทจึงยังคงเป็นของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิม จำเลยทั้งสองยังไม่ได้มอบการครอบครองที่นาพิพาทให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองเอารถไถเข้าไปไถนาพิพาทจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินยังเป็นของผู้ถือเดิมจนกว่าจะออกหนังสือแสดงสิทธิใหม่ หลังการจัดรูปที่ดิน การไถนาจึงไม่เป็นบุกรุก
การจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2517 นั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินสำหรับแปลงที่ดินในโครงการที่จัดรูปที่ดินตามมาตรา 41 ใหม่แล้ว สิทธิในที่ดินยังคงเป็นของผู้ถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมอยู่ ผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้ได้รับสิทธิในที่ดินตามโครงการจัดรูปที่ดินบริเวณที่นาพิพาทซึ่งยังไม่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิสำหรับที่ดินที่จัดรูปแล้ว สิทธิในที่นาพิพาทจึงยังคงเป็นของจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ถือหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิม จำเลยทั้งสองยังไม่ได้มอบการครอบครองที่นาพิพาทให้แก่ผู้เสียหายที่ 1 ดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองเอารถไถเข้าไปไถนาพิพาทจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองและขายยาเสพติดเป็นกรรมเดียวกัน ศาลไม่ลงโทษซ้ำซ้อน
พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา13 บัญญัติห้ามผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออก ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ ประเภท 1 หรือประเภท 2 และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 89 ซึ่งมาตรา 4 ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" ว่าหมายความรวมถึงจำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายตามนัยแห่งพ.ร.บ. ฉบับนี้จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน.
จำเลยมีแอมเฟตามีนคลอไรด์ อัน เป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไว้ในครอบครอง 18 เม็ด และจำเลยขายแอมเฟตามีนคลอไรด์ ดังกล่าวให้แก่ผู้ล่อซื้อไป 3 เม็ด ยังเหลืออยู่ที่ตัวจำเลย 15 เม็ด แอมเฟตามีนคลอไรด์ ทั้ง 18เม็ด เป็นจำนวนเดียวกันกับที่จำเลยครอบครองและขายไปในเวลาต่อเนื่องกัน การครอบครองในลักษณะเช่นนี้ก็คือการมีไว้เพื่อขายนั่นเอง การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 ประกอบด้วยมาตรา 106 อีกกรรมหนึ่ง.
จำเลยมีแอมเฟตามีนคลอไรด์ อัน เป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไว้ในครอบครอง 18 เม็ด และจำเลยขายแอมเฟตามีนคลอไรด์ ดังกล่าวให้แก่ผู้ล่อซื้อไป 3 เม็ด ยังเหลืออยู่ที่ตัวจำเลย 15 เม็ด แอมเฟตามีนคลอไรด์ ทั้ง 18เม็ด เป็นจำนวนเดียวกันกับที่จำเลยครอบครองและขายไปในเวลาต่อเนื่องกัน การครอบครองในลักษณะเช่นนี้ก็คือการมีไว้เพื่อขายนั่นเอง การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 62 ประกอบด้วยมาตรา 106 อีกกรรมหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองและขายยาเสพติดเป็นกรรมเดียว หากศาลลงโทษฐานขายแล้ว ไม่อาจลงโทษฐานครอบครองซ้ำได้
พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518มาตรา 13 บัญญัติห้ามผลิต ขาย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 หรือประเภท 2 และมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 89 ซึ่งมาตรา 4ได้วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "ขาย" ว่าหมายความรวมถึงจำหน่าย จ่าย แจกแลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย ฉะนั้น การขายหรือมีไว้เพื่อขายตามนัยแห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงเป็นความผิดอย่างเดียวกัน จำเลยมีแอมเฟตามีนคลอไรด์อันเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทไว้ในครอบครอง 18 เม็ด และจำเลยขายแอมเฟตามีนคลอไรด์ดังกล่าวให้แก่ผู้ล่อซื้อไป 3 เม็ด ยังเหลืออยู่ที่ตัวจำเลย 15 เม็ดแอมเฟตามีนคลอไรด์ทั้ง 18 เม็ด เป็นจำนวนเดียวกันกับที่จำเลยครอบครองและขายไปในเวลาต่อเนื่องกัน การครอบครองในลักษณะเช่นนี้ก็คือการมีไว้เพื่อขายนั่นเอง การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานมีแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 62 ประกอบด้วยมาตรา 106 อีกกรรมหนึ่ง