พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969-1972/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดต่อเทศบาลเกี่ยวกับที่ดินริมน้ำที่กลายเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (2), 53 บัญญัติให้เทศบาลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีและบำรุงทางบกทางน้ำ อีกทั้งกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตาม ป.ที่ดิน ที่อยู่ภายในเขตเทศบาล และอธิบดีกรมเจ้าท่าได้มอบหมายอำนาจเจ้าท่าตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ให้เทศบาลดูแลรักษาแม่น้ำลำคลองในเขตเทศบาล เทศบาลย่อมมีหน้าที่ดูแลรักษาตามกฎหมาย ตามคำสั่ง และตามที่ได้รับมอบหมาย จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้ ทั้งการฟ้องคดีก็ไม่จำต้องระบุว่าได้รับมอบอำนาจจากกรมเจ้าท่าอีก
ที่ดินมีโฉนดของ ป. บางส่วนถูกน้ำเซาะพังลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดินส่วนที่หายไปในน้ำแม้จะมิได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินแบ่งหักออกจากโฉนดที่ดินตามความเป็นจริง ก็มิได้แสดงว่าที่ดินของ ป. ยังคงมีเนื้อที่อยู่เต็มตามโฉนดที่ดิน แต่คงมีอยู่ตามสภาพที่เหลืออยู่ตามความจริงเท่านั้นเพราะที่ดินบางส่วนพังจนกลายเป็นลำน้ำที่มีการใช้สัญจรไปมาของเรือแพเป็นเวลานานจนกระทั่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปแล้ว โจทก์ทั้งสามซื้อที่ดินตามโฉนดจาก ป. ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ถูกน้ำเซาะจนหายไปในแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว แม้ต่อมาแม่น้ำมีสภาพตื้นเขินเนื่องจาก มีการทำเขื่อนภูมิพลกั้นน้ำ ทำให้กระแสน้ำไหลเบาลงจนน้ำในแม่น้ำแห้ง เรือไม่สามารถผ่านไปมาได้ ทั้งมีการดูดทรายอีกด้านหนึ่งของเกาะมาปิดทางน้ำเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ที่ดินดังกล่าวก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ดี การที่โจทก์ทั้งสามถมดินในที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อเทศบาลจำเลยที่ 1
ที่ดินมีโฉนดของ ป. บางส่วนถูกน้ำเซาะพังลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดินส่วนที่หายไปในน้ำแม้จะมิได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินแบ่งหักออกจากโฉนดที่ดินตามความเป็นจริง ก็มิได้แสดงว่าที่ดินของ ป. ยังคงมีเนื้อที่อยู่เต็มตามโฉนดที่ดิน แต่คงมีอยู่ตามสภาพที่เหลืออยู่ตามความจริงเท่านั้นเพราะที่ดินบางส่วนพังจนกลายเป็นลำน้ำที่มีการใช้สัญจรไปมาของเรือแพเป็นเวลานานจนกระทั่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปแล้ว โจทก์ทั้งสามซื้อที่ดินตามโฉนดจาก ป. ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ถูกน้ำเซาะจนหายไปในแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว แม้ต่อมาแม่น้ำมีสภาพตื้นเขินเนื่องจาก มีการทำเขื่อนภูมิพลกั้นน้ำ ทำให้กระแสน้ำไหลเบาลงจนน้ำในแม่น้ำแห้ง เรือไม่สามารถผ่านไปมาได้ ทั้งมีการดูดทรายอีกด้านหนึ่งของเกาะมาปิดทางน้ำเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ที่ดินดังกล่าวก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ดี การที่โจทก์ทั้งสามถมดินในที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อเทศบาลจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3521/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: เทศบาลมีหน้าที่ดูแลรักษาพื้นที่สาธารณะ แต่ไม่ถือเป็นผู้เสียหายโดยตรง
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229,360พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 มาตรา 117,118,119,120 ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9,108 ทวิ เป็นความผิดที่กระทำต่อรัฐเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะฟ้องขอให้ลงโทษผู้กระทำผิดดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28(1) และพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(1)เอกชนจะฟ้องได้ต่อเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ แม้โจทก์เป็นเทศบาลเมืองมีหน้าที่ต้องจัดให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50(2),53 และกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้โจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่อยู่ในเขตเทศบาล ทั้งอธิบดีกรมเจ้าท่าได้มอบอำนาจเจ้าท่าตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ให้โจทก์ดูแลรักษาลำน้ำในเขตเทศบาล ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดดังกล่าว โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3126/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณประโยชน์: การอุทิศที่ดินโดยปริยายและการมีอำนาจฟ้องของเทศบาล
ทางพิพาทเกิดจากประชาชนใช้เดินเพื่อไปตักน้ำจากบ่อสาธารณะและใช้เดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะมานานหลายสิบปีก่อนที่โจทก์จะสร้างถนนคอนกรีตบนที่ดินทางพิพาท โดยเจ้าของที่ดินขณะนั้นไม่มีการหวงห้ามสงวนสิทธิใด ๆ แม้จะไม่ได้ความว่าผู้ใดอุทิศที่ดินทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยตรงคือโดยพิธีการก็ต้องถือว่าเจ้าของที่ดินเดิมที่ทางพิพาทนี้ผ่านได้อุทิศที่ดินนั้นให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยาย ทางพิพาทจึงตกเป็นทางสาธารณะแล้วจำเลยรับโอนที่พิพาทภายหลังจากที่เจ้าของเดิมได้อุทิศทางพิพาทไปแล้วแม้ทางพิพาทจะอยู่ในเขตโฉนดที่ดินของจำเลย จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดถือเอาเป็นของตนได้ เมื่อทางพิพาทเป็นทางสาธารณประโยชน์และอยู่ในเขตปกครองของเทศบาลตำบลศรีราชาโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เข้าขัดขวางปิดกั้นทางพิพาทนั้นได้ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496มาตรา 50(2) ประกอบด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2496) ออกตามความในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ข้อ (2) และพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีหน้าที่บำรุงรักษาทาง ไม่มีหน้าที่รับถนนยกให้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ว่าฯ และไม่ลงชื่อรับรองแนวเขต ไม่เป็นความผิดอาญา
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 53 เทศบาลไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับถนนที่มีผู้ยกให้ และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เทศบาลรับถนนที่มีผู้ยกให้ดังกล่าวนอกจากมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 71 เท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่สั่งให้จำเลยรับถนนที่โจทก์กับผู้มีชื่อยกให้การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 165
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (2), 53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70 ไม่ ฉะนั้น แม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (2), 53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70 ไม่ ฉะนั้น แม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจหน้าที่เทศบาลในการรับถนนและระวังแนวเขตที่ดิน: นายกเทศมนตรีไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายอาญา
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 53 เทศบาลไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับถนนที่มีผู้ยกให้และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เทศบาลรับถนนที่มีผู้ยกให้ดังกล่าวนอกจากมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 71 เท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่สั่งให้จำเลยรับถนนที่โจทก์กับผู้มีชื่อยกให้ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา165
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50(2),53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70ไม่ ฉะนั้นแม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50(2),53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70ไม่ ฉะนั้นแม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกทางสาธารณะ แม้ทางสาธารณะนั้นจะยังไม่ได้รับการมอบหมายหรือขึ้นทะเบียน
โจทก์เป็นเทศบาลเมือง ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50(2),53 บัญญัติให้มีหน้าที่จัดให้มีและบำรุงทางบกทางน้ำ. ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกทางสาธารณะในเขตเทศบาลของตนได้.
ทางสาธารณะในเขตเทศบาลซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกนั้น. โจทก์จะได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงหรือไม่. และจะได้ขึ้นทะเบียนตามคำสั่งที่กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบไว้หรือไม่. ไม่เป็นสารสำคัญ.
จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้อื่น. ในหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่า ทิศใต้ติดทางสาธารณะ. การที่โจทก์นำสืบพยาน(บุคคล) ว่า ทางสาธารณะนั้นมีอาณาเขตกว้างยาวเท่าใด แม้จะทำให้เนื้อที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายลดความกว้างไปบ้าง.โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้. เพราะด้านกว้างและด้านยาวตามหนังสือสัญญาซื้อขายอาจคลาดเคลื่อน. หรือคู่สัญญาที่ซื้อขายอาจนำรังวัดรุกล้ำแนวทางสาธารณะก็เป็นได้.
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบุกรุกทางสาธารณะอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินจำเลยต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่8-9/2512).
ทางสาธารณะในเขตเทศบาลซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกนั้น. โจทก์จะได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงหรือไม่. และจะได้ขึ้นทะเบียนตามคำสั่งที่กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบไว้หรือไม่. ไม่เป็นสารสำคัญ.
จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้อื่น. ในหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่า ทิศใต้ติดทางสาธารณะ. การที่โจทก์นำสืบพยาน(บุคคล) ว่า ทางสาธารณะนั้นมีอาณาเขตกว้างยาวเท่าใด แม้จะทำให้เนื้อที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายลดความกว้างไปบ้าง.โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้. เพราะด้านกว้างและด้านยาวตามหนังสือสัญญาซื้อขายอาจคลาดเคลื่อน. หรือคู่สัญญาที่ซื้อขายอาจนำรังวัดรุกล้ำแนวทางสาธารณะก็เป็นได้.
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบุกรุกทางสาธารณะอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินจำเลยต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน. (ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่8-9/2512).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกทางสาธารณะ แม้ทางสาธารณะนั้นมิได้ขึ้นทะเบียน และคดีนี้ไม่มีอายุความ
โจทก์เป็นเทศบาลเมือง ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (2), 53 บัญญัติให้มีหน้าที่จัดให้มีและบำรุงทางบกทางน้ำ ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกทางสาธารณะในเขตเทศบาลของตนได้
ทางสาธารณะในเขตเทศบาลซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกนั้น โจทก์จะได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงหรือไม่ และจะได้ขึ้นทะเบียนตามคำสั่งที่กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบไว้หรือไม่ ไม่เป็นสาระสำคัญ
จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้อื่น ในหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่า ทิศใต้ติดทางสาธารณะ การที่โจทก์นำสืบพยาน (บุคคล) ว่า ทางสาธารณะนั้นมีอาณาเขตกว้างยาวเท่าใด แม้จะทำให้เนื้อที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายลดความกว้างไปบ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้ เพราะด้านกว้างและด้านยาวตามหนังสือสัญญาซื้อขายอาจคลาดเคลื่อน หรือคู่สัญญาที่ซื้อขายอาจนำรังวัดรุกล้ำแนวทางสาธารณะก็เป็นได้
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบุกรุกทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน
(ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8 - 9/2512)
ทางสาธารณะในเขตเทศบาลซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกนั้น โจทก์จะได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงหรือไม่ และจะได้ขึ้นทะเบียนตามคำสั่งที่กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบไว้หรือไม่ ไม่เป็นสาระสำคัญ
จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้อื่น ในหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่า ทิศใต้ติดทางสาธารณะ การที่โจทก์นำสืบพยาน (บุคคล) ว่า ทางสาธารณะนั้นมีอาณาเขตกว้างยาวเท่าใด แม้จะทำให้เนื้อที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายลดความกว้างไปบ้าง โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้ เพราะด้านกว้างและด้านยาวตามหนังสือสัญญาซื้อขายอาจคลาดเคลื่อน หรือคู่สัญญาที่ซื้อขายอาจนำรังวัดรุกล้ำแนวทางสาธารณะก็เป็นได้
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบุกรุกทางสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน
(ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8 - 9/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกทางสาธารณะ แม้ทางสาธารณะนั้นมิได้ขึ้นทะเบียน หรือได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวง
โจทก์เป็นเทศบาลเมือง ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496มาตรา 50(2),53 บัญญัติให้มีหน้าที่จัดให้มีและบำรุงทางบกทางน้ำย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกทางสาธารณะในเขตเทศบาลของตนได้
ทางสาธารณะในเขตเทศบาลซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกนั้น โจทก์จะได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงหรือไม่และจะได้ขึ้นทะเบียนตามคำสั่งที่กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบไว้หรือไม่ไม่เป็นสารสำคัญ
จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้อื่น ในหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่า ทิศใต้ติดทางสาธารณะการที่โจทก์นำสืบพยาน(บุคคล) ว่า ทางสาธารณะนั้นมีอาณาเขตกว้างยาวเท่าใด แม้จะทำให้เนื้อที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายลดความกว้างไปบ้างโจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้เพราะด้านกว้างและด้านยาวตามหนังสือสัญญาซื้อขายอาจคลาดเคลื่อนหรือคู่สัญญาที่ซื้อขายอาจนำรังวัดรุกล้ำแนวทางสาธารณะก็เป็นได้
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบุกรุกทางสาธารณะอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินจำเลยต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน
(ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่8-9/2512)
ทางสาธารณะในเขตเทศบาลซึ่งโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกนั้น โจทก์จะได้รับมอบหมายจากกรมทางหลวงหรือไม่และจะได้ขึ้นทะเบียนตามคำสั่งที่กระทรวงมหาดไทยวางระเบียบไว้หรือไม่ไม่เป็นสารสำคัญ
จำเลยซื้อที่ดินมาจากผู้อื่น ในหนังสือสัญญาซื้อขายระบุว่า ทิศใต้ติดทางสาธารณะการที่โจทก์นำสืบพยาน(บุคคล) ว่า ทางสาธารณะนั้นมีอาณาเขตกว้างยาวเท่าใด แม้จะทำให้เนื้อที่ดินตามหนังสือสัญญาซื้อขายลดความกว้างไปบ้างโจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้เพราะด้านกว้างและด้านยาวตามหนังสือสัญญาซื้อขายอาจคลาดเคลื่อนหรือคู่สัญญาที่ซื้อขายอาจนำรังวัดรุกล้ำแนวทางสาธารณะก็เป็นได้
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยบุกรุกทางสาธารณะอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินจำเลยต้องห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน
(ข้อกฎหมายตามวรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่8-9/2512)