คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เริ่ม ธรรมดุษฎี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2573/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรุกล้ำที่ดิน: เมื่อข้อกล่าวหาเป็นทางสาธารณประโยชน์แต่พิสูจน์ไม่ได้ คดีตกไป
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำรั้วคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในทางพิพาทอันเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยมิได้กล่าวอ้างมาในคำฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมที่โจทก์ได้มาโดยอายุความแต่อย่างใดเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณประโยชน์คดีนี้จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมที่โจทก์ได้มาโดยอายุความหรือไม่และคดีฟังได้ว่าทางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณประโยชน์ฟ้องของโจทก์ที่ว่าจำเลยทำรั้วรุกล้ำเข้าไปในทางสาธารณประโยชน์จึงเป็นอันตกไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2475/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญากันโดยปริยาย: การงดชำระราคาและปล่อยเวลาผ่านไปนานถือเป็นการสละสิทธิ
จำเลยแบ่งขายที่ดิน ส.ค. 1 ให้แก่โจทก์โดยโจทก์ชำระเงินให้ในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่งส่วนที่เหลือผ่อนชำระเป็น 10 งวดโดยออกเป็นเช็ค 10 ฉบับ มอบให้จำเลยไว้มีข้อตกลงว่าหากโจทก์ไม่ไปจดทะเบียนรับซื้อตามกำหนดก็ยอมให้จำเลยริบเงินมัดจำถ้าจำเลยผิดสัญญายอมให้โจทก์ฟ้องบังคับและยอมใช้ค่าเสียหายต่อมานายอำเภอมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งว่าที่ดินที่โจทก์รับซื้อไว้เป็นที่สาธารณประโยชน์ให้โจทก์ระงับการปลูกสร้างบ้านในที่ดินดังกล่าวโจทก์จึงระงับการก่อสร้างและสั่งอายัดเช็คค่าที่ดินที่ค้างรวม 8 ฉบับ หลังจากนั้นโจทก์และจำเลยก็มิได้ฟ้องร้องว่ากล่าวให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายแต่อย่างใดการที่โจทก์สั่งอายัดเช็คเป็นการงดชำระราคาค่าที่พิพาทที่ยังเหลือรวม8 ฉบับ มิได้เรียกร้องหรือว่ากล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายหรือเรียกเงินมัดจำและเงินค่าที่ดินที่จำเลยได้รับตามเช็ค 2 ฉบับ คืนจากจำเลย คงปล่อยเวลาให้ล่วงไปถึง 6 ปี ฝ่ายจำเลยก็มิได้เรียกร้องหรือว่ากล่าวให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายเช่นกันตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้วโดยปริยายและไม่ติดใจเรียกร้องอะไรแก่กันแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องร้องว่ากล่าวจำเลยว่ากระทำผิดสัญญา (อ้างคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 136/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2386/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบการชำระหนี้ในคดีสัญญากู้ยืม: จำเลยมีสิทธิแสดงหลักฐานแม้โจทก์ไม่ยอมแทนเพิกถอน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยให้การว่าได้ทำสัญญาจริง แต่ได้ชำระหนี้แล้ว โจทก์ไม่ยอมแทงเพิกถอนและไม่ยอมคืนหนังสือสัญญา ดังนี้ เป็นการเพียงพอที่จะนำสืบตามข้อกล่าวอ้างได้แล้ว ไม่จำต้องบรรยายรายละเอียดแห่งการชำระหนี้ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องนำสืบต่อไป จำเลยอาจมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อโจทก์มาแสดงต่อศาลก็ได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลย จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งค่าเสียหายจากการปรับปรุงที่ดิน: มีเงื่อนไขและไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม
ฟ้องแย้งทำนองว่า หากจำเลยจะต้องออกจากที่ดินที่เช่าแล้ว โจทก์จะต้องชดใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยได้จ่ายเงินไป เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินเดิม เป็นค่าถมดินและสร้างเขื่อนถาวรเป็นต้น ดังนี้ถือว่าเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข จะให้ถือเป็นฟ้องแย้งต่อเมื่อศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่ดินที่เช่า ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลัง ถ้าจำเลยชนะคดีตามคำให้การ ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไป เพราะยังไม่ถึงเวลาที่โจทก์จะต้องชดใช้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่เป็นฟ้องแย้งที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2209/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งค่าเสียหายต้องเป็นไปตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหลังศาลมีคำพิพากษา ไม่ใช่เงื่อนไขก่อนมีคำพิพากษา
ฟ้องแย้งทำนองว่า หากจำเลยจะต้องออกจากที่ดินที่เช่าแล้ว โจทก์จะต้องชดใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยได้จ่ายเงินไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินเดิม เป็นค่าถมดินและสร้างเขื่อนถาวรเป็นต้น ดังนี้ ถือว่าเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข จะให้ถือเป็นฟ้องแย้งต่อเมื่อศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่ดินที่เช่า ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลัง ถ้าจำเลยชนะคดีตามคำให้การ ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไป เพราะยังไม่ถึงเวลาที่โจทก์จะต้องชดใช้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ไม่เป็นฟ้องแย้งที่จะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2020/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: กำหนดระยะเวลาชำระค่าที่ดินเป็นสาระสำคัญ หากผิดนัด สิทธิบังคับคดีเป็นอันตกไป
สัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดว่า โจทก์ยอมชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญาและจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันได้รับชำระเงินนั้นเป็นการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเพื่อให้โจทก์ชำระค่าที่ดิน อันเป็นสารสำคัญของสัญญาซึ่งคู่สัญญาต่างก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลาตามข้อสัญญาดังกล่าวเป็นคนละเรื่องกับสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งมีกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา เมื่อโจทก์มิได้ชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยภายในกำหนดระยะเวลาตามข้อสัญญา โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดและไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลยให้โอนขายที่ดินแก่ตนได้ โจทก์จะอ้างว่ามีสิทธิบังคับคดีได้ภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือมีคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2020/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: กำหนดระยะเวลาชำระค่าที่ดินเป็นสาระสำคัญ หากผิดนัดสิทธิบังคับคดีระงับ
สัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดว่า โจทก์ยอมชำระเงินจำนวนหนึ่งให้แก่จำเลยภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันทำสัญญา และจำเลยจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันได้รับชำระเงินนั้น เป็นการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเพื่อให้โจทก์ชำระค่าที่ดิน อันเป็นสารสำคัญของสัญญาซึ่งคู่สัญญาต่างก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลาตามข้อสัญญาดังกล่าว เป็นคนละเรื่องกับสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาซึ่งมีกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา เมื่อโจทก์มิได้ชำระราคาที่ดินให้แก่จำเลยภายในกำหนดระยะเวลาตามข้อสัญญา โจทก์ย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดและไม่มีสิทธิที่จะขอให้บังคับคดีแก่จำเลยให้โอนขายที่ดินแก่ตนได้ โจทก์จะอ้างว่ามีสิทธิบังคับคดีได้ภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือมีคำพิพากษาในกรณีเช่นนี้ย่อมเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ขัดกับประกาศคณะปฏิวัติว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกตามอำนาจตามความในข้อ 2 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 หมวด 5 กำหนดอัตราค่าชดเชยซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำที่เลิกจ้าง และประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวข้อ 13 วรรคสองระบุว่า'ผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ค่าจ้างหรือเงินอื่นจากนายจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 13ตุลาคม 2501 ให้คงรับต่อไป' ดังนั้นการที่โจทก์ในฐานะลูกจ้างและจำเลยในฐานะนายจ้างได้ตกลงกำหนดจำนวนเงินค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีวันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินจำนวนหนึ่งโดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยอันหมายถึงเงินค่าชดเชยและเงินค่าครองชีพนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงที่ผิดแผกแตกต่างกับบทบัญญัติของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้น เพื่อยังให้เกิดความเป็นธรรมและความสงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมืองอันถือเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าว ซึ่งมีการตกลงผิดแผกแตกต่างจากบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2018/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ขัดกับประกาศคณะปฏิวัติว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คุ้มครองแรงงาน ซึ่งออกตามอำนาจตามความในข้อ 2 และข้อ 14 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 หมวด 5 กำหนดอัตราค่าชดเชยซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างประจำที่เลิกจ้าง และประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวข้อ 13 วรรคสองระบุว่า "ผู้ใดมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ค่าจ้างหรือเงินอื่นจากนายจ้างตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 13 ตุลาคม 2501 ให้คงรับต่อไป" ดังนั้นการที่โจทก์ในฐานะลูกจ้างและจำเลยในฐานะนายจ้างได้ตกลงกำหนดจำนวนเงินค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี และค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินจำนวนหนึ่ง โดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องเงินอื่นใดจากจำเลยอันหมายถึงเงินค่าชดเชยและเงินค่าครองชีพนั้น ย่อมถือได้ว่าเป็นการตกลงที่ผิดแผกแตกต่างกับบทบัญญัติของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้น เพื่อยังให้เกิดความเป็นธรรมและความสงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมือง อันถือเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยดังกล่าว ซึ่งมีการตกลงผิดแผกแตกต่างจากบทกฎหมายดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 114

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งร่วมในสัญญาขนส่งทางทะเลและการกำหนดอายุความ
บริษัทผู้ขนส่งไม่มีสำนักงานสาขาในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศปลายทางการขนส่งรายนี้จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยดำเนินการแจ้งวันมาถึงของเรือสินค้าแก่ผู้รับตราส่งขออนุมัติให้เรือเข้าเทียบท่า ขอเช่าเครื่องมืออุปกรณ์การขนถ่ายสินค้า รับคืนใบตราส่งแลกกับใบปล่อยสินค้าเพื่อให้เจ้าของใบตราส่งนำไปขอรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยการดำเนินงานของจำเลยในช่วงนี้เป็นขั้นตอนสำคัญของการขนส่งและจำเลยได้รับบำเหน็จทางการค้าตามปกติของตน พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นลักษณะร่วมกันขนส่งสินค้าและเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล ฉะนั้น เมื่อมีการบุบสลายและสูญหายในสินค้าที่รับขนส่ง จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเล
การรับขนของจากต่างประเทศมายังประเทศไทยทางทะเล แม้ของจะมาถึงประเทศไทยแล้ว ก็ยังเป็นสัญญาในการรับขนของทางทะเลปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการรับขนของทางทะเลโดยเฉพาะการเรียกค่าเสียหายจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีกำหนด 10 ปีส่วนอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลจะนำมาใช้บังคับไม่ได้และจะถือว่าเป็นกฎหมายใกล้เคียงก็ไม่ได้เพราะมาตรา 164 บังคับไว้ชัดแจ้ง
of 25