คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เริ่ม ธรรมดุษฎี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินหลังพินัยกรรม: การครอบครองระหว่างคดีไม่ผูกพันผู้รับพินัยกรรม และการงดสืบพยานที่ต้องโต้แย้ง
การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลในคดีก่อน จะถือว่าจำเลยครอบครองโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหาได้ไม่ และเมื่อคดีก่อนนั้นถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ล. ผลของคำพิพากษานั้นย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความ จำเลยจึงไม่อาจยกเอาสิทธิแห่งการครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างคดีก่อนมาใช้ยันกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับพินัยกรรมและเข้าเป็นคู่ความแทน ล. ผู้มรณะได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริง จากพยานหลักฐานในคดี เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 เมื่อจำเลยต้องการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา ก็ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินที่ถูกยักยอก: ไม่อยู่ในบังคับอายุความละเมิด แต่มีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การไฟฟ้านครหลวงโจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยพนักงานยักยอกไปคืนจากจำเลย เป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลที่ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายโดยอาศัยมูลละเมิดจึงไม่อยู่ในบังคับอายุความตาม มาตรา 448 แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับหนี้ภาษีในอุทธรณ์ ทำให้สิทธิในการโต้แย้งการประเมินภาษีสิ้นสุดลง
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) ในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย โจทก์อุทธรณ์การประเมินยอมรับว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2515 จริง ขอให้พิจารณาลดหย่อนภาษีเท่านั้น ดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิ ฟ้องว่าการประเมินเรียกเก็บภาษีของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องและขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งได้ยุติไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: การพิจารณาคดีอาญาของทหารประจำการตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร และผลต่อการพิจารณาของศาลพลเรือน
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 13,16(3)กำหนดเอาวันกระทำผิดเป็นข้อสำคัญว่า ทหารประจำการทำผิดคดีใดจะให้ฟ้องต่อศาลทหารหรือศาลพลเรือน
แม้ตามคำฟ้องจะมีชื่อจำเลยว่า สิบเอกประยุทธ และทางไต่สวนมูลฟ้องจะปรากฏในคดีอื่นที่โจทก์อ้างเป็นพยานว่าจำเลยมียศเป็นสิบเอก เป็นข้าราชการสังกัดกรมแพทย์ทหารบกก็ตาม แต่เป็นยศและหลักฐานประจำการก่อนเกิดเหตุคดีนี้เมื่อไม่ปรากฏตามคำฟ้องหรือทางไต่สวนมูลฟ้องว่า ขณะกระทำผิดจำเลยยังคงเป็นทหารประจำการอยู่ ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องแล้วซึ่งถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาจำเลยจึงยื่นคำร้องและแสดงหลักฐานซึ่งรับฟังได้ว่า จำเลยยังรับราชการเป็นนายทหารชั้นประทวนประจำการ จึงเป็นการที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหาร: การพิจารณาคดีอาญาของทหารประจำการตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร โดยดูสถานะ ณ วันกระทำผิด
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 13, 16 (3) กำหนดเอาวันกระทำผิดเป็นข้อสำคัญว่า ทหารประจำการทำผิดคดีใดจะให้ฟ้องต่อศาลทหารหรือศาลพลเรือน
แม้ตามคำฟ้องจะมีชื่อจำเลยว่า สิบเอกประยุทธ และทางไต่สวนมูลฟ้องจะปรากฏในคดีอื่นที่โจทก์อ้างเป็นพยานว่า จำเลยมียศเป็นสิบเอก เป็นข้าราชการสังกัดกรมแพทย์ทหารบกก็ตาม แต่เป็นยศและหลักฐานประจำการก่อนเกิดเหตุคดีนี้ เมื่อไม่ปรากฏตามคำฟ้องหรือทางไต่สวนมูลฟ้องว่า ขณะกระทำผิดจำเลยยังคงเป็นทหารประจำการอยู่ ครั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องแล้วซึ่งถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาจำเลยจึงยื่นคำร้องและแสดงหลักฐานซึ่งรับฟังได้ว่า จำเลยยังรับราชการเป็นนายทหารชั้นประทวนประจำการ จึงเป็นการที่ปรากฏตามทางพิจารณาในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ศาลพลเรือนมีอำนาจพิจารณาพิพากษาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 927/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาในคดีอาญาต่อคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน การกระทำละเมิดจากการจ่ายเช็ค
โจทก์เคยฟ้องธนาคารจำเลยที่ 1 ผู้จัดการและสมุห์บัญชีธนาคารสาขาจำเลยที่ 4, ที่ 5 ว่ายักยอกเงินฝากของโจทก์ ศาลอาญาวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานยืนยันว่าจำเลยที่ 4 ที่ 5 ปลอมเอกสาร และยินยอมให้เบิกเงินไปตามเอกสารปลอมและเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของจำเลยหรือบุคคลที่สาม การสันนิษฐานของผู้ชำนาญการเป็นไปได้หลายนัยฟังเป็นยุติอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ ทั้งจำเลยนำสืบโต้แย้งฟังได้ว่าได้จ่ายเงินตามเช็คไปโดยสุจริตใจ ไม่ได้ปลอมใบขอซื้อเช็คหรือเช็คแต่อย่างใดพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์การที่โจทก์มาฟ้องคดีแพ่งในเงินฝากรายเดียวกันนี้ อ้างว่าจำเลยที่ 1กับพวกจงใจหรือประมาทเลินเล่อจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ให้แก่ผู้นำเช็คมาเบิกเงินไปเป็นเหตุให้เงินฝากของโจทก์ขาดหายไป จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวนอกจากจะผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นแล้วในการพิพากษาคดีแพ่ง ศาลยังจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีอาญานั้นว่าจำเลยที่ 1 กับพวกจ่ายเงินตามเช็คไปโดยสุจริตใจโดยไม่มีการปลอมใบขอซื้อเช็คหรือเช็คแต่อย่างใด จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ดังฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดฐานเบียดบังเงินของเจ้าหน้าที่รัฐ: การแยกเป็นหลายกรรม และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยเบียดบังเอาเงินไปคราวเดียวทั้งหมดเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 เพียงกรรมเดียวให้จำคุก 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่เพียงว่า การที่จำเลยได้เบียดบังเอาเงินไปแต่ละงวดเป็นความผิดงวดละกรรม รวม 13 กรรมให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และยังคงลงโทษจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปีนั้น เป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1997/2521)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงฐานความผิดจากกรรมเดียวเป็นหลายกรรม และข้อจำกัดในการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยเบียดบังเอาเงินไปคราวเดียวทั้งหมดเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 เพียงกรรมเดียวให้จำคุก 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่เพียงว่า การที่จำเลยได้เบียดบังเอาเงินไปแต่ละงวดเป็นความผิดงวดละกรรมรวม 13 กรรม ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และยังคงลงโทษจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปีนั้น เป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1997/2521)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้ทำละเมิดต้องรับผิดชอบค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน แม้มีประกันภัย ผู้เสียหายมีสิทธิเลือกฟ้องผู้ใดก็ได้
ผู้ทำละเมิดจำต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเต็มจำนวนโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะได้เอาประกันภัยไว้หรือไม่ และผู้เสียหายชอบที่จะเลือกฟ้องผู้รับประกันภัยเพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนในวงเงินประกันภัยที่ผู้ทำละเมิดจะต้องรับผิดชอบได้ ดังนั้น การที่ผู้เสียหายทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้รับประกันภัยโดยยอมรับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยเพียง 77,500 บาทจากวงเงินประกันภัย 100,000 บาท จึงมีผลเพียงให้ผู้ทำละเมิดหลุดพ้นความรับผิดในจำนวน 77,500 บาทเท่านั้น ค่าสินไหมทดแทนยังมีอีกเท่าใดผู้ทำละเมิดยังคงต้องรับผิดผู้เสียหาย
ผู้เสียหายมีสิทธิที่จะเลือกฟ้องผู้ทำละเมิดหรือผู้รับประกันภัยคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในวงเงินประกันภัยซึ่งผู้ทำละเมิดต้องรับผิดชอบได้ และมีสิทธิที่จะเลือกเลิกคดีเช่นเดียวกัน การที่ผู้เสียหายทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้รับประกันภัยว่าจะไม่เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนและเอาความกันต่อไปจึงเป็นเรื่องระหว่างผู้เสียหายกับผู้รับประกันภัย ไม่ทำให้ผู้ทำละเมิดซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยหลุดพ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ตกเป็นของรัฐ และการฟ้องเรียกคืนราคาทรัพย์จากผู้ขาย
คำสั่งตาม มาตรา17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร เรื่องให้ทรัพย์สินในกองมรดกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และทรัพย์สินของท่านผู้หญิงวิจิตราธนะรัชต์ ตกเป็นของรัฐ เป็นคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีได้ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรและโดยมติคณะรัฐมนตรีจึงมีผลบังคับเป็นกฎหมาย ซึ่งในข้อ (ข) ระบุให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งในและนอกประเทศซึ่งเป็นของบุคคลดังกล่าวตกเป็นของรัฐทันทีตั้งแต่วันออกคำสั่ง
เมื่อจำเลยถูกกำจัดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์รายพิพาทโดยกฎหมายและกระทรวงการคลังโจทก์ได้ยึดถือทรัพย์รายพิพาทไว้ในนามของรัฐแล้วการที่จำเลยลักลอบไปจดทะเบียนรับมรดกทรัพย์รายพิพาทมาเป็นของจำเลยแล้วจดทะเบียนโอนขายให้บุคคลอื่นไปการกระทำของจำเลยจึงเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยลักลอบไปจดทะเบียนรับมรดกทรัพย์รายพิพาทเป็นของตนแล้วจดทะเบียนโอนขายให้บุคคลอื่นไป จึงเท่ากับเป็นการเอาทรัพย์ของโจทก์ไปขายโดยไม่มีอำนาจ ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องขอบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์นั้นได้ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอบังคับให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์ที่จำเลยเอาของโจทก์ไปขาย ไม่ใช่เป็นเรื่องเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด จึงนำอายุความตาม มาตรา 448แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งใช้บังคับ เฉพาะกรณีผู้เสียหายฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้ คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
of 25