พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547-550/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้คันคลองสาธารณะก่อนการสร้างบ้านจัดสรร ไม่ถือเป็นความเสียหายพิเศษ
จำเลยปลูกเรือนที่คันคลองสาธารณะอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และอยู่หน้าที่ดินโจทก์ก่อนที่โจทก์จะปลูกบ้านจัดสรรในที่ดินโจทก์โจทก์สามารถออกไปสู่ที่สาธารณะได้โดยหน้าที่ดินของโจทก์ยังว่างอยู่โดยไม่มีสิ่งใดปิดบังถึง 100 เมตรดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายและเดือดร้อนเป็นพิเศษตามป.พ.พ. ม.1337 จึงไม่มีอำนาจที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยรื้อถอนเรือนออกไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากเหตุชู้สาวและการประพฤติชั่วเป็นเหตุให้ได้รับความอับอาย การพิสูจน์ความสัมพันธ์ชู้สาว และการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าทดแทน
โจทก์บรรยายฟ้องพอสรุปได้ว่า จำเลยที่ 2 เข้าไปหลับนอนในบ้านของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติชั่วเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรงจำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวเป็นที่ทราบกันทั่วไปซึ่งโจทก์จะได้เสนอหลักฐานในชั้นพิจารณา ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่บรรยายถึงเหตุหย่าตาม ป.พ.พ. ม. 1516(2) แล้ว
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาให้จำเลยที่ 2 เข้าไปหลับนอนในร้านของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไปพบก็มีการไปเจรจากันที่สถานีตำรวจโดยจำเลยที่ 1 ตกลงจะไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยที่ 2 แต่ตกลงกันเรื่องค่าเสียหายและการเลี้ยงดูบุตรไม่ได้ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์กันในทางชู้สาว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติชั่วเป็นเหตุให้โจทก์อับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง ศาลกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์ได้
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาให้จำเลยที่ 2 เข้าไปหลับนอนในร้านของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไปพบก็มีการไปเจรจากันที่สถานีตำรวจโดยจำเลยที่ 1 ตกลงจะไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลยที่ 2 แต่ตกลงกันเรื่องค่าเสียหายและการเลี้ยงดูบุตรไม่ได้ดังนี้ พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีความสัมพันธ์กันในทางชู้สาว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ประพฤติชั่วเป็นเหตุให้โจทก์อับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง ศาลกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรือนหลังเดิมถูกรื้อสร้างใหม่ สัญญาขายฝากไม่ครอบคลุมเรือนหลังใหม่ โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่
จำเลยขายฝากเรือนเลขที่ 126 แก่โจทก์ ต่อมาระหว่างอายุสัญญาจำเลยรื้อเรือน แล้วสร้างเป็นเรือนหลังใหม่ในที่เดิม โดยใช้ไม้ของเรือนหลังเดิมบางส่วนและใช้บ้านเลขที่ 126 ตามเดิม ดังนี้ ถือได้ว่าเรือนหลังเดิมซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาขายฝากและเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้สิ้นสภาพไปแล้ว เรือนหลังใหม่คือเรือนพิพาทย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับของสัญญาขายฝาก โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาท ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากเรือนพิพาท คงมีอำนาจที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยในกรณีที่จำเลยรื้อเรือนหลังเดิม อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาขายฝากเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในคดีฉ้อโกง: ความเท็จที่ไม่เป็นสาระสำคัญของคดี
จำเลยเคยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญาข้อหาฉ้อโกงว่า โจทก์หลอกลวงให้จำเลยเช่าซื้อที่ดินที่โจทก์ไม่อาจจัดการโอนกรรมสิทธิ์ได้เพราะติดจำนองจำเลยได้เบิกความในคดีดังกล่าวว่าจำเลยชำระค่าเช่าซื้อครบแล้วแต่โจทก์ยังไม่จัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เช่าซื้อให้จำเลย ดังนี้ ข้อสำคัญในคดีดังกล่าวมีว่า โจทก์ได้หลอกลวงให้จำเลยหลงเชื่อจึงเช่าซื้อที่ดินโจทก์หรือไม่คำเบิกความของจำเลยที่ว่าชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว ถึงหากจะเป็นความเท็จก็มิใช่ข้อสำคัญในคดี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนิยามคำว่า 'ขาย' รวมถึง 'มีไว้เพื่อขาย' ในความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ฯ และข้อยกเว้นการอุทธรณ์
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ได้นิยามคำว่าขายให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อขายด้วย ดังนั้นในทางกลับกันมีไว้เพื่อขายก็คือขาย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบังอาจมีแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามกฎหมายไว้ในครอบครองเพื่อขายแก่ผู้อื่นอันเป็นการขายโดยมิได้รับอนุญาตและคำขอท้ายฟ้องระบุมาตรา 13 กับมาตรา 62 มาด้วยนั้น เป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเพียงกระทงเดียว คือฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย
ในการอุทธรณ์คดีอาญาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงอัตราโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายสำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดไปว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่สำหรับความผิดฐานมีแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขายมีอัตราโทษตามมาตรา 89 ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบังอาจมีแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามกฎหมายไว้ในครอบครองเพื่อขายแก่ผู้อื่นอันเป็นการขายโดยมิได้รับอนุญาตและคำขอท้ายฟ้องระบุมาตรา 13 กับมาตรา 62 มาด้วยนั้น เป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเพียงกระทงเดียว คือฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย
ในการอุทธรณ์คดีอาญาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงอัตราโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายสำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดไปว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่สำหรับความผิดฐานมีแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการขายมีอัตราโทษตามมาตรา 89 ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนิยามความผิด 'มีไว้เพื่อขาย' เทียบเท่า 'ขาย' ใน พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ และขอบเขตการอุทธรณ์คดีอาญา
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ. 2518ได้นิยามคำว่าขายให้หมายความรวมถึงมีไว้เพื่อขายด้วยดังนั้นในทางกลับกันมีไว้เพื่อขายก็คือขาย
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบังอาจมีแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามกฎหมายไว้ในครอบครองเพื่อขายแก่ผู้อื่นอันเป็นการขายโดยมิได้รับอนุญาตและคำขอท้ายฟ้องระบุมาตรา 13 กับมาตรา 62 มาด้วยนั้นเป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเพียงกระทงเดียว คือฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย ในการอุทธรณ์คดีอาญาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงอัตราโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายสำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดไปว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่สำหรับความผิดฐานมีแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งถือได้ว่าเป็นการขายมีอัตราโทษตามมาตรา 89 ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยบังอาจมีแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามกฎหมายไว้ในครอบครองเพื่อขายแก่ผู้อื่นอันเป็นการขายโดยมิได้รับอนุญาตและคำขอท้ายฟ้องระบุมาตรา 13 กับมาตรา 62 มาด้วยนั้นเป็นการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเพียงกระทงเดียว คือฐานมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย ในการอุทธรณ์คดีอาญาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น ศาลจะต้องพิจารณาถึงอัตราโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายสำหรับข้อหาแต่ละกระทงความผิดไปว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่สำหรับความผิดฐานมีแอมเฟตามีนอันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ไว้ในครอบครองเพื่อขายซึ่งถือได้ว่าเป็นการขายมีอัตราโทษตามมาตรา 89 ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 474/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์ชู้สาว, ค่าทดแทนความเสียหาย, ความอับอายขายหน้า, การกระทำความผิดทางแพ่ง
โจทก์จับได้ว่าจำเลยกับ ส. ภริยาโจทก์ร่วมประเวณีกันโดยจำเลยยอมรับผิดและสาบานต่อพระพุทธรูป แต่หลังจากนั้นทั้งคู่ก็ยังร่วมประเวณีกันอีก แม้ตามพฤติการณ์ ส. ร่วมประเวณีกับจำเลยทุกครั้งโดยสมัครใจโจทก์สามี ส. ก็เรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้และที่ศาลกำหนดค่าทดแทนเป็นเงิน 40,000 บาทนั้น สมควรแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พิจารณาจากผู้ใช้เครื่องหมายการค้าก่อนและยื่นคำขอจดทะเบียนก่อน
โจทก์จำเลยต่างไม่มีสินค้าผงวุ้นเป็นของตนเอง ต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเกือบเหมือนกันเพื่อให้ห้างที่ตนถือหุ้นซึ่งประกอบการค้าผงวุ้นได้ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าเมื่อปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนค้าผงวุ้นและใช้เครื่องหมายการค้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2511 จนถึง พ.ศ. 2517 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าส่วนโจทก์ยื่นคำขอภายหลังจำเลยถึง 1 ปีเศษและห้างซึ่งโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพิ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 ดังนี้จำเลยผู้ยื่นคำขอก่อนเพื่อประโยชน์ของห้าง พ. ซึ่งได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์
ถึงแม้สืบพยานไปแล้วจะได้ความว่า โจทก์เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้ารายพิพาท แต่ขณะนั้นโจทก์ทำในฐานะเป็นหุ้นส่วนของห้าง พ. เพื่อให้ห้าง พ. ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าก็ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว
ถึงแม้สืบพยานไปแล้วจะได้ความว่า โจทก์เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้ารายพิพาท แต่ขณะนั้นโจทก์ทำในฐานะเป็นหุ้นส่วนของห้าง พ. เพื่อให้ห้าง พ. ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าก็ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 471/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ยื่นก่อนและผู้ใช้ก่อนมีสิทธิมากกว่า แม้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นเป็นผู้ยื่นก่อนแต่ละทิ้งไป
โจทก์จำเลยต่างไม่มีสินค้าผงวุ้นเป็นของตนเอง ต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะเกือบเหมือนกันเพื่อให้ห้างที่ตนถือหุ้นซึ่งประกอบการค้าผงวุ้นได้ใช้เป็นเครื่องหมายการค้า เมื่อปรากฏว่าห้างหุ้นส่วนจำกัด พ. ซึ่งจำเลยเป็นหุ้นส่วนค้าผงวุ้นและใช้เครื่องหมายการค้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2511 จนถึง พ.ศ. 2517 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าส่วนโจทก์ยื่นคำขอภายหลังจำเลยถึง 1 ปีเศษ และห้างซึ่งโจทก์เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพิ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 ดังนี้จำเลยผู้ยื่นคำขอก่อนเพื่อประโยชน์ของห้าง พ. ซึ่งได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าโจทก์
ถึงแม้สืบพยานไปแล้วจะได้ความว่า โจทก์เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้ารายพิพาท แต่ขณะนั้นโจทก์ทำในฐานะเป็นหุ้นส่วนของห้าง พ. เพื่อให้ห้าง พ. ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าก็ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว
ถึงแม้สืบพยานไปแล้วจะได้ความว่า โจทก์เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้ารายพิพาท แต่ขณะนั้นโจทก์ทำในฐานะเป็นหุ้นส่วนของห้าง พ. เพื่อให้ห้าง พ. ใช้เป็นเครื่องหมายการค้าก็ไม่มีผลทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 379/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแพ่งนอกเขต, การใช้ทรัพย์ผิดวัตถุประสงค์, การเลิกสัญญาเช่า
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา4 นั้น เป็นบทบัญญัติที่ใช้แก่ศาลทั่วไป แต่สำหรับอำนาจของศาลแพ่งนั้นยังมีอำนาจที่จะพิจารณา พิพากษาคดีที่เกิดขึ้นนอกเขตศาลแพ่งด้วยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.14(4) คดีที่เกิดนอกเขตศาลแพ่งและจำเลยมีภูมิลำเนานอกเขตศาลแพ่ง เมื่อศาลแพ่งรับฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยจนเสร็จ ดังนี้แสดงว่า ศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.14(4) แล้ว