คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เริ่ม ธรรมดุษฎี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเงินสงเคราะห์ตกทอด: การเปลี่ยนแปลงสถานะบุตรหลังการตายของเจ้ามรดกไม่มีผลย้อนหลัง
ในวันที่นาย ก. ถึงแก่ความตายโจทก์เป็นบุตรนอกสมรสยังมิได้มีฐานะเป็นทายาทของนาย ก. แม้ภายหลังจะมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็ย่อมไม่มีผลย้อนหลัง โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับส่วนแบ่งในเงินสงเคราะห์ตกทอดจากการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยซึ่งมีข้อบังคับให้ตกทอดแก่ทายาทโดยอนุโลมตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1558 เป็นกรณีที่ให้สิทธิแก่บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยคำพิพากษาภายหลังการตายของเจ้ามรดก รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นเรื่องของการรับมรดกโดยตรง เมื่อเงินสงเคราะห์ตกทอดไม่ใช่มรดกจะนำมาตรา 1558 มาบังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนหย่าเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สิน: ทรัพย์สินที่ได้มาหลังหย่าถือเป็นสินสมรส
ผู้ร้องและจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ยึดทรัพย์ตามคำร้องขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์ มิได้เจตนาหย่ากันจริงจัง โดยผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 ยังคงอยู่กินฉันสามีภริยาตลอดมา หลังจากจดทะเบียนหย่ากันแล้วดังนั้นทรัพย์สินที่ผู้ร้องซื้อหามาแม้จะโดยเงินของผู้ร้องเอง ก็ต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องและจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์ตามคำร้องได้ ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของร่วมไม่มีสิทธิที่จะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1726/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสินสมรส: สามีทำสัญญาเงินกู้เพื่อกิจการครอบครัว ภรรยาไม่มีสิทธิขอส่วนแบ่งจากทรัพย์สินที่ถูกบังคับชำระหนี้
จำเลยซึ่งเป็นสามีผู้ร้องกู้เงินมาลงทุนเอากำไรมาใช้จ่ายเลี้ยงครอบครัว เป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์และการอุปการะเลี้ยงดู ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482 เดิม ให้ถือว่าเป็นหนี้ร่วมกันระหว่างสามีภรรยา ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอกันส่วนในเงินขายทอดตลาดที่ดินซึ่งเป็นสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำที่มีอายุไม่เกิน 17 ปี ต้องนำหลักเกณฑ์จากประมวลกฎหมายอาญามาใช้
จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกในคดีก่อนฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองมีกำหนด 6 เดือน ในขณะที่จำเลยมีอายุไม่เกิน 17 ปี แล้วมากระทำผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในคดีนี้อีก จะเพิ่มโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา97 ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 ได้บัญญัติให้นำบทบัญญัติในภาค 1 ไปใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้นๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น เมื่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 94 มาใช้บังคับแก่คดีนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1495/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีภายใน 10 ปี: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการร้องขอภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ยังคงมีอำนาจบังคับคดีจนแล้วเสร็จได้ แม้พ้นกำหนด
เมื่อได้ร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จ แม้จะพ้น 10 ปีคำพิพากษาก็ไม่สิ้นผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสและการริบของกลางเฉพาะส่วนของจำเลย
รถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลย (สามี) และผู้ร้อง(ภริยา) ซื้อมาด้วยเงินที่ได้มาระหว่างสมรส ผู้ร้องกับจำเลยจึงมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่ง เมื่อจำเลยนำเอารถยนต์ดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดจนถูกศาลพิพากษาให้ริบไปแล้ว ผู้ร้องซึ่งมิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจใน การกระทำความผิดของจำเลยด้วย ย่อมมีสิทธิขอคืนได้กึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งตกเป็นของอันพึงต้องริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส และสิทธิในการได้รับส่วนแบ่งทรัพย์สินที่ถูกริบ
รถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลย (สามี) และผู้ร้อง (ภริยา) ซื้อมาด้วยเงินที่ได้มาระหว่างสมรส ผู้ร้องกับ จำเลยจึงมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกันคนละครึ่ง เมื่อจำเลย นำเอารถยนต์ดังกล่าวไปใช้ในการกระทำความผิดจนถูกศาล พิพากษาให้ริบไปแล้ว ผู้ร้องซึ่งมิได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจใน การกระทำความผิดของจำเลยด้วย ย่อมมีสิทธิขอคืนได้กึ่งหนึ่ง ส่วนอีกกึ่งหนึ่งตกเป็นของอันพึงต้องริบ
of 25