คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เริ่ม ธรรมดุษฎี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์และการระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา แม้ใช้คำผิดพลาด
แม้ว่าในคำร้องของผู้เสียหายจะบรรยายว่าขอถอนฟ้องก็ตาม แต่ในคำร้องก็ระบุข้อความชัดเจนว่า เนื่องจากผู้เสียหายและจำเลยตกลงกันได้แล้ว ผู้เสียหายจึงไม่มีความประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไป แสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยและประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์นั่นเอง แต่ใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้อง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1241/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายทำให้สิทธินำคดีอาญาของโจทก์ระงับ แม้ใช้ถ้อยคำผิดพลาด
แม้ว่าในคำร้องของผู้เสียหายจะบรรยายว่าขอถอนฟ้องก็ตามแต่ในคำร้องก็ระบุข้อความชัดเจนว่าเนื่องจากผู้เสียหายและจำเลยตกลงกันได้แล้วผู้เสียหายจึงไม่มีความประสงค์ที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยต่อไปแสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจว่ากล่าวเอาความแก่จำเลยและประสงค์จะขอถอนคำร้องทุกข์นั่นเองแต่ใช้ข้อความผิดไปเป็นถอนฟ้องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง แม้ลูกจ้างใช้รถในธุระส่วนตัว แต่ยังอยู่ในความยินยอมของนายจ้าง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกหกล้อ และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 3 โดยจ้างจำเลยที่ 3 เป็นคนขับรถไปรับจ้างบรรทุกสินค้าพืชไร่ต่าง ๆ ตามปกติจำเลยที่ 3 เอารถไปเก็บไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 เสมอโดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 วันเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์บรรทุกมันสำปะหลังไปส่ง แล้วนำรถไปเก็บที่บ้านของจำเลยที่ 3 ต่อมาตอนกลางคืนจำเลยที่ 3 ขับรถดังกล่าวไปส่งผู้ป่วยที่โรงพยาบาลจังหวัดนครราชสีมา ขากลับจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 3 จึงขับไปชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ดังนี้ ถึงแม้เหตุจะเกิดขึ้นในระหว่างที่จำเลยที่ 3 ขับรถไปธุระส่วนตัวโดยจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่ทราบก็ตาม แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถคันเกิดเหตุไปเก็บไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถออกไปใช้ได้ตลอดเวลา ตราบใดที่รถยังไม่กลับไปอยู่กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างก็ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ขับรถไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง แม้ใช้รถส่วนตัว ยินยอมให้ลูกจ้างใช้รถตลอดเวลาถือเป็นการใช้งานในทางการจ้าง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกหกล้อ และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 3 โดยจ้างจำเลยที่ 3 เป็นคนขับรถไปรับจ้างบรรทุกสินค้าพืชไร่ต่างๆ ตามปกติจำเลยที่ 3 เอารถไปเก็บไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 เสมอโดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2. วันเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์บรรทุกมันสำปะหลังไปส่ง แล้วนำรถไปเก็บที่บ้านของจำเลยที่ 3 ต่อมาตอนกลางคืนจำเลยที่ 3ขับรถดังกล่าวไปส่งผู้ป่วยที่โรงพยาบาลจังหวัดนครราชสีมาขากลับจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 3 จึงขับไปชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ดังนี้ ถึงแม้เหตุจะเกิดขึ้นในระหว่างที่จำเลยที่ 3 ขับรถไปธุระส่วนตัวโดยจำเลยที่ 1 และ จำเลยที่ 2 ไม่ทราบก็ตาม แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถคันเกิดเหตุไปเก็บไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถออกไปใช้ได้ตลอดเวลา ตราบใดที่รถยังไม่กลับไปอยู่กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างก็ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ขับรถไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ศาลแพ่งได้ หากคดีเชื่อมโยงกับจำเลยที่ 2 ผู้มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่งอ้างว่าเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์ ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกกันได้ โจทก์จึงเสนอคำฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 5 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: ฟ้องจำเลยร่วมในคดีประกันภัยรถยนต์ แม้มีภูมิลำเนาต่างเขต ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาได้หากมูลความแห่งคดีไม่แยกจากกัน
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งมีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่ง อ้างว่าเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์โดยสารที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองและใช้ประโยชน์ ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงเป็นกรณีที่มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกกันได้ โจทก์จึงเสนอคำฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 5 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าทายต่อหน้าศาล: การสืบพยานเพื่อวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นข้อแพ้ชนะ ถือเป็นคำท้าที่ผูกพัน
ข้อตกลงของโจทก์จำเลยต่อหน้าศาลที่มีความว่า หาก เจ้าพนักงานที่ดินเบิกความว่าจำเลยชำระตัวเงิน 100,000บาท ให้แก่ บ.ต่อหน้าเจ้าพนักงานที่สำนักงานที่ดินเพื่อไถ่ถอนจำนองโจทก์จะยอมแพ้คดี แต่หากเจ้าพนักงานที่ดินเบิกความว่าไม่มีการชำระเงิน 100,000 บาทนั้น จำเลยยอมแพ้คดีให้ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของเจ้าพนักงานที่ดิน นั้นเป็นข้อตกลงให้ศาลชั้นต้นสืบพยานที่เป็นเจ้าพนักงานที่ดินในประเด็นข้อเดียวว่า จำเลยได้ชำระตัวเงิน 100,000 บาท ให้แก่ บ.เพื่อไถ่ถอนจำนองต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินที่สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือไม่แล้วให้วินิจฉัยข้อเท็จจริงนี้นำมาเป็นข้อแพ้ชนะ ข้อตกลงดังนี้จึงเป็นคำท้าของคู่ความ
คำเบิกความของเจ้าพนักงานที่ดินปรากฏว่า ไม่มีผู้ใดเห็นการชำระเงินตามคำท้า จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระเงินให้แก่บ.ต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน และสมประสงค์ข้างฝ่ายโจทก์จำเลยจึงต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้ากันในคดีแพ่ง: ผลผูกพันตามคำเบิกความของพยาน และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นข้อแพ้ชนะ
ข้อตกลงของโจทก์จำเลยต่อหน้าศาลที่มีความว่า หากเจ้าพนักงานที่ดินเบิกความว่าจำเลยชำระตัวเงิน 100,000 บาท ให้แก่ บ. ต่อหน้าเจ้าพนักงานที่สำนักงานที่ดินเพื่อไถ่ถอนจำนอง โจทก์จะยอมแพ้คดี แต่หากเจ้าพนักงานที่ดินเบิกความว่า ไม่มีการชำระเงิน 100,000 บาทนั้น จำเลยยอมแพ้คดีให้ศาลวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากคำเบิกความของเจ้าพนักงานที่ดิน นั้น เป็นข้อตกลงให้ศาลชั้นต้นสืบพยานที่เป็นเจ้าพนักงานที่ดินในประเด็นข้อเดียวว่า จำเลยได้ชำระตัวเงิน 100,000 บาทให้แก่ บ. เพื่อไถ่ถอนจำนองต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดินที่สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือไม่ แล้วให้วินิจฉัยข้อเท็จจริงนี้นำมาเป็นข้อแพ้ชนะ ข้อตกลงดังนี้จึงเป็นคำท้าของคู่ความ
คำเบิกความของเจ้าพนักงานที่ดินปรากฏว่า ไม่มีผู้ใดเห็นการชำระเงินตามคำท้า จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ชำระเงินให้แก่ บ. ต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน และสมประสงค์ข้างฝ่ายโจทก์ จำเลยจึงต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวหาเท็จใส่ความเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่ ถือเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
ผู้เสียหายจับกุมผู้ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าควบคุมออกนอกเขตควบคุมโดยมิได้รับอนุญาต จำเลยมาดูของกลางแล้วพูดว่าของเหล่านี้ตำรวจคุมมาเองแล้วยังจับกุมผู้เสียหายถามว่าตำรวจที่คุมเป็นใคร จำเลยชี้หน้าผู้เสียหายและพูดว่ามึงนั่นแหละเป็นคนนั่งคุมที่หน้ารถไปแล้วมาจับกุม ดังนี้เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่าผู้เสียหายขับขี่รถจักรยานยนต์ตามหลังรถยนต์ที่บรรทุกของไป หาได้นั่งคุมที่หน้ารถยนต์ไม่ และผู้เสียหายก็ได้จับกุมผู้กระทำผิดตามหน้าที่ข้อความที่จำเลยกล่าวจึงไม่เป็นความจริง ถือได้ว่าจำเลยกล่าวโดยเจตนาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ไม่ต้องพิจารณาว่าจำเลยกล่าวข้อความดังกล่าวโดยสุจริตหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกล่าวหาเท็จใส่ร้ายเจ้าพนักงานขณะปฏิบัติหน้าที่ ถือเป็นการดูหมิ่นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
ผู้เสียหายจับกุมผู้ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าควบคุมออกนอกเขตควบคุมโดยมิได้รับอนุญาต จำเลยมาดูของกลางแล้วพูดว่าของเหล่านี้ตำรวจคุมมาเองแล้วยังจับกุมผู้เสียหายถามว่าตำรวจที่คุมเป็นใคร จำเลยชี้หน้าผู้เสียหายและพูดว่ามึงนั่นแหละเป็นคนนั่งคุมที่หน้ารถไปแล้วมาจับกุม ดังนี้ เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่าผู้เสียหายขับขี่รถจักรยานยนต์ตามหลังรถยนต์ที่บรรทุกของไป หาได้นั่งคุมที่หน้ารถยนต์ไม่ และผู้เสียหายก็ได้จับกุมผู้กระทำผิดตามหน้าที่ ข้อความที่จำเลยกล่าวจึงไม่เป็นความจริง ถือได้ว่าจำเลยกล่าวโดยเจตนาดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ไม่ต้องพิจารณาว่าจำเลยกล่าวข้อความดังกล่าวโดยสุจริตหรือไม่
of 25