คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
เริ่ม ธรรมดุษฎี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 411/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้ทรัพย์สินเนื่องจากบุตรไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง และประเด็นการประพฤติเนรคุณ
โจทก์ซึ่งเป็นบิดาจำเลยได้จดทะเบียนยกที่ดินมีโฉนดพร้อมเรือนหนึ่งหลังในที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยโดยตกลงกันว่าจำเลยจะต้องแบ่งส่วนหนึ่งของที่ดินที่ยกให้นั้น ให้แก่พี่สาวของจำเลย แต่ต่อมาเมื่อจำเลยได้ขอแบ่งแยกโฉนดส่วนที่จะยกให้แก่พี่สาวจำเลยแต่ไม่ยอมจดทะเบียนยกให้ตามที่ตกลงไว้ ก็เป็นเพียงการผิดข้อตกลงที่ทำไว้ด้วยวาจาแก่โจทก์ ทำให้โจทก์เกิดความเสียใจที่บุตรมิได้ปฏิบัติตามคำพูดที่ให้ไว้แก่โจทก์ เนื้อแท้แห่งข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้ทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียงอย่างร้ายแรงถึงขนาดจะเรียกถอนคืนการให้ได้ ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2) ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและลูกจ้างในคดีละเมิดทางรถยนต์ แม้ลูกจ้างทำผิดส่วนตัว
คดีแพ่งเมื่อคำฟ้องของโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงชัดแจ้งแล้ว ศาลมีหน้าที่ยกตัวบทกฎหมายขึ้นปรับแก่คดีเอง โจทก์บรรยายข้อเท็จจริงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการ มีหน้าที่ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ย่อมแปลได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคล จึงต้องรับผิดร่วมด้วยกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนในมูลละเมิดที่จำเลยที่1 ได้กระทำไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 ดังนั้น การที่ศาลวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้รับคำสั่งให้ขับรถไปรับนายทหารเพื่อไปที่ท่าอากาศยานแต่จำเลยที่ 1 ขับรถไปบ้านของจำเลยที่ 1 ก่อนจึงเกิดเหตุขึ้น การที่จำเลยที่ 1 ขับรถออกไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ แม้จำเลยที่ 1จะขับรถไปธุระส่วนตัวก็ตาม ตราบใดที่รถยังไม่กลับถึงโรงรถ ก็ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่อยู่จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนของตน
เมื่อเหตุละเมิดเกิดขึ้นโดยคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต่างขับรถยนต์ชนกันด้วยความประมาทเลินเล่อมิได้ยิ่งหย่อนกว่ากัน ก็เท่ากับทั้งสองฝ่ายต่างทำละเมิดต่อกันเท่า ๆ กันค่าเสียหายย่อมเป็นอันพับกันไป
โจทก์ที่ 1 เป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ตายซึ่งนั่งมาในรถของโจทก์ที่ 2 แม้ว่าผู้ตายจะเป็นลูกจ้างของโจทก์ที่ 2 แต่ก็มิได้มีส่วนร่วมในความประมาทของคนขับรถของโจทก์ที่ 2 ด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 โดยเฉลี่ยรับผิดเพียงครึ่งเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง & การเฉลี่ยความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
คดีแพ่งเมื่อคำฟ้องของโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงชัดแจ้งแล้ว ศาลมีหน้าที่ยกตัวบทกฎหมายขึ้นปรับแก่คดีเอง โจทก์ บรรยายข้อเท็จจริงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการมีหน้าที่ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ย่อมแปลได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคล จึงต้องรับผิดร่วมด้วยกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนในมูลละเมิดที่จำเลยที่1 ได้กระทำไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76ดังนั้น การที่ศาลวินิจฉัยให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
จำเลยที่ 1 ได้รับคำสั่งให้ขับรถไปรับนายทหารเพื่อไปที่ท่าอากาศยานแต่จำเลยที่ 1 ขับรถไปบ้านของจำเลยที่ 1ก่อนจึงเกิดเหตุขึ้น การที่จำเลยที่ 1 ขับรถออกไปตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการแม้จำเลยที่ 1จะขับรถไปธุระส่วนตัวก็ตาม ตราบใดที่รถยังไม่กลับถึงโรงรถ ก็ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1ปฏิบัติหน้าที่อยู่จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนของตน
เมื่อเหตุละเมิดเกิดขึ้นโดยคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต่างขับรถยนต์ชนกันด้วยความประมาทเลินเล่อมิได้ยิ่งหย่อนกว่ากันก็เท่ากับทั้งสองฝ่ายต่างทำละเมิดต่อกันเท่าๆ กันค่าเสียหายย่อมเป็นอันพับกันไป
โจทก์ที่ 1 เป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ตายซึ่งนั่งมาในรถของโจทก์ที่ 2 แม้ว่าผู้ตายจะเป็นลูกจ้างของโจทก์ที่ 2 แต่ก็มิได้มีส่วนร่วมในความประมาทของคนขับรถของโจทก์ที่ 2 ด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 โดยเฉลี่ยรับผิดเพียงครึ่งเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งงดไต่สวนมูลฟ้อง, คำฟ้องไม่ชัดเจน, และการไม่มีอำนาจฟ้องในคดีอาญา
การไต่สวนมูลฟ้องเป็นอำนาจของผู้พิพากษานายเดียวตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.22 เมื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นว่าตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่อ้างได้การไต่สวนมูลฟ้องต่อไปไม่เป็นประโยชน์แก่คดีย่อมมีอำนาจสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องได้ แม้ว่ารองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีคำสั่งให้นัดไต่สวนมูลฟ้องไว้แล้วก็ตาม
ฟ้องว่าจำเลยสอบสวนพยานและบันทึกเสนอข้อความบิดเบือนความจริง และบันทึกข้อความนอกสำนวน เมื่อมิได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร บิดเบือนอย่างไร ข้อความใดที่ว่านอกสำนวน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตาม ป.ว.อ. มาตรา158(5)
การที่จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนโจทก์กรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรง ไม่รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อสอบสวนเอาผิดแก่ผู้ร่วมกระทำผิดด้วย โจทก์ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงโจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งงดไต่สวนมูลฟ้อง, ความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวนทางวินัย, และการมีอำนาจฟ้องในคดีอาญา
ในศาลชั้นต้นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญามีคำสั่งให้นัดไต่สวนมูลฟ้องไว้แล้ว เมื่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นว่าตามที่โจทก์บรรยายฟ้องไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราที่อ้างได้ การไต่สวนมูลฟ้องต่อไปไม่เป็นประโยชน์แก่คดี ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนย่อมมีอำนาจสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องได้ หาเกี่ยวกับอำนาจบังคับบัญชาไม่
ตามกฎ ก.พ. จำเลยซึ่งเป็นคณะกรรมการสอบสวนโจทก์ในกรณีโจทก์ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง นั้น การส่งเรื่องกล่าวหาเป็นหน้าที่ของผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน มิใช่เป็นหน้าที่ของจำเลย และการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาให้คณะกรรมการสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาเท่าที่ปรากฏให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบเท่านั้นมิได้กำหนดให้แจ้งโดยละเอียด เมื่อคณะกรรมการสอบสวนเสร็จให้คณะกรรมการประชุมปรึกษาสรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อตามฟ้องระบุว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งแต่งตั้งจำเลยเป็นกรรมการสอบสวน *จึงไม่อาจเอาผิดแก่จำเลยได้
การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยสอบสวนพยานและบันทึกเสนอข้อความบิดเบือนความจริง และบันทึกข้อความนอกสำนวนนั้น เมื่อฟ้องมิได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร บิดเบือนอย่างไร ข้อความใดนอกสำนวน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
การที่จำเลยไม่รายงานผู้บังคับบัญชาเพื่อสอบสวนเอาผิดแก่ผู้กระทำผิดรายอื่น และคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยละเว้นไม่สอบสวนบุคคลดังกล่าว โจทก์ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้อง
*และจำเลยเสนอสำนวนการสอบสวนตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, ความรับผิดของเจ้าสำนัก, และข้อยกเว้นความรับผิดที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
โรงแรมจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจฟ้องหรือถูกฟ้องคดีได้
หุ้นส่วนทุกคนมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนเป็นผู้จัดการโรงแรมจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจควบคุมและจัดการโรงแรมได้ชื่อว่าเป็นเจ้าสำนัก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
ป้ายประกาศยกเว้นความรับผิดระบุว่าทางโรงแรมจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินใดๆ ทั้งสิ้นนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา677
รถยนต์เป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่วๆไปเท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ตาม แต่ก็ไม่มีลักษณะเป็นของมีค่าตามความหมายของม.675 วรรคสอง โจทก์ไม่จำต้องฝากและบอกราคาชัดแจ้งกรณีไม่อยู่ในขอบข่ายที่จำเลยจะต้องรับผิดเพียง 500 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียน อำนาจฟ้อง ความรับผิดเจ้าสำนัก และข้อยกเว้นความรับผิด
โรงแรมจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล จึงไม่อาจฟ้องหรือถูกฟ้องคดีได้
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วน และหุ้นส่วนทุกคนมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการกิจการโรงแรมจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจควบคุมและจัดการโรงแรมจำเลยที่ 1 ได้ชื่อว่าจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าสำนัก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ได้
ป้ายประกาศยกเว้นความรับผิดระบุว่าทางโรงแรมจะไม่รับผิดชอบในความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินใด ๆ ทั้งสิ้นนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยทำขึ้นฝ่ายเดียว ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 677
รถยนต์เป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ตาม แต่ก็ไม่มีลักษณะเป็นของมีค่าตามความหมายของมาตรา 675 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โจทก์ไม่จำต้องฝากและบอกราคาชัดแจ้ง กรณีไม่อยู่ในขอบข่ายที่จำเลยจะต้องรับผิดเพียง 500 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่: ต้องมีเจตนาพิเศษทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น จึงจะมีความผิดตามมาตรา 157
การที่จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะต้องประกอบด้วยเจตนาพิเศษคือต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดจำเลยเป็นเพียงพลตำรวจ เมื่อปรากฏว่ามีการเล่นการพนันกันที่สถานีตำรวจที่จำเลยประจำอยู่ ย่อมเป็นการยากแก่จำเลยในการตัดสินใจว่าจะสมควรเข้าทำการจับกุมโดยตนเองหรือไม่ยิ่งกว่าจะมีเจตนาให้เกิดความเสียหายต่อกรมตำรวจเมื่อไม่ได้ความว่าที่จำเลยไม่จับเพราะคิดร้ายต่อใครจึงไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษให้กรมตำรวจได้รับความเสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (มาตรา 157) ต้องมีเจตนาพิเศษคือเจตนาทำให้เกิดความเสียหาย
การที่จะมีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะต้องประกอบด้วยเจตนาพิเศษ คือต้องเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด จำเลยเป็นเพียงพลตำรวจ เมื่อปรากฏว่ามีการเล่นการพนันกันที่สถานีตำรวจที่จำเลยประจำอยู่ ย่อมเป็นการยากแก่จำเลยในการตัดสินใจว่าจะสมควรเข้าทำการจับกุมโดยตนเองหรือไม่ ยิ่งกว่าจะมีเจตนาให้เกิดความเสียหายต่อกรมตำรวจ เมื่อไม่ได้ความว่าที่จำเลยไม่จับเพราะคิดร้ายต่อใคร จึงไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษให้กรมตำรวจได้รับความเสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันครอบคลุมความเสียหายจากเจ้าหน้าที่ทุกตำแหน่ง การวินิจฉัยนอกประเด็นและแปลงหนี้
ประเด็นแห่งคดีมีว่า สหกรณ์โจทก์รู้เห็นเป็นใจให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ากรรมการของโจทก์ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ได้ โดยจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์เป็นสัญญาจ้างแรงงานตาม ป.พ.พ. ม.575 โจทก์และจำเลยที่ 1ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้างคำสั่งเลื่อนตำแหน่งหน้าที่จำเลยที่ 1 ของโจทก์ จึงมิใช่เรื่องแปลงหนี้ใหม่ สัญญาจ้างเดิมมิได้ระงับไป
สัญญาค้ำประกันมีข้อความชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชอบในความเสียหายหรือหนี้สินที่จำเลยที่ 1 ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของโจทก์ก่อขึ้นไม่ว่าด้วยเหตุใดๆมิได้ระบุว่าจะรับผิดชอบขณะที่จำเลยเป็นเสมียนเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้จัดการ ก็ต้องถือว่ายังเป็นเจ้าหน้าที่ของสหกรณ์โจทก์อยู่
of 25