คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุไพศาล วิบุลย์ศิลป์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3168/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างไม่สมบูรณ์ แต่มีสิทธิรับค่าจ้างตามผลงาน
เมื่อพยานหลักฐานฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ตามสัญญาจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าจ้างให้โจทก์ตามสัญญานั้น แต่โดยเหตุที่โจทก์ได้ทำงานให้จำเลยและจำเลยได้ยอมรับเอาผลงานดังกล่าวเป็นประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิรับสินจ้างตามผลแห่งการงานที่ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งศาลกำหนดให้ได้ตามสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3168/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างพิสูจน์ไม่ได้ แต่มีสิทธิรับค่าตอบแทนจากผลงานที่ทำไปแล้ว
เมื่อพยานหลักฐานฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ตามสัญญา จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าจ้างให้โจทก์ตามสัญญานั้น แต่โดยเหตุที่ โจทก์ได้ทำงานให้จำเลยและจำเลยได้ยอมรับเอาผลงานดังกล่าวเป็น ประโยชน์แก่ตนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิรับสินจ้างตามผลแห่งการงาน ที่ได้กระทำไปแล้ว ซึ่งศาลกำหนดให้ได้ตามสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621-1622/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญฯ และอำนาจฟ้องกรณีภาษีอากร การประเมินต้องเป็นไปตามประมวลรัษฎากร
กรมสรรพากรดำเนินการประเมินภาษีเงินได้ของโจทก์ตามคำสั่งกระทรวงการคลัง ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 และโดยมติของคณะรัฐมนตรี ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบรรดาที่ตกเป็นของรัฐในนามของรัฐ ให้ดำเนินการตามควรทุกประการในฐานที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้น และให้มีอำนาจนำเงินและทรัพย์สินดังกล่าวไปชำระภาษีอากรของโจทก์ได้นั้น เป็นคำสั่งและการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การประเมินจะเป็นไปโดยชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อโจทก์โต้แย้งว่าการประเมินเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร ก็เป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาต่อไปว่าการประเมินเงินได้ของโจทก์เป็นไปโดยชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่
แม้คำสั่งนายกรัฐมนตรีจะกำหนดให้การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการที่จะคืนทรัพย์หรือไม่ ให้เป็นที่สุด แต่เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนยังไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าอย่างไร ประกอบกับโจทก์อาจต้องรับผิดชำระหนี้ภาษีอากรเพิ่มเติมจนครบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้