คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2477 ม. 1

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1459/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อาวุธปืนใช้ยิงไม่ได้ก็เป็นความผิดตามกฎหมายได้ หากพกพาในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร
อาวุธปืนแม้จะไม่มีลูกโม่และแกนลูกโม่ ไม่สามารถใช้ยิงได้ ก็เป็นอาวุธโดยสภาพตามความหมายของ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (5) เมื่อจำเลยพาไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรย่อมเป็นความผิดตามมาตรา 371 (อ้างคำพิพากษาฎีกาประชุมใหญ่ที่ 1903/2520)
พระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 8 ทวิ มิได้จำกัดเฉพาะว่า อาวุธปืนนั้นจะต้องสามารถใช้ยิงได้จึงจะเป็นความผิด เมื่ออาวุธปืนของกลางที่จำเลยพกพาติดตัวไปเป็นอาวุธปืนตามความหมายของกฎหมายก็ต้องด้วยเงื่อนไขที่บัญญัติเป็นความผิดแล้ว แม้ไม่อาจใช้ยิงได้ก็ถือว่าจำเลยกระทำผิดต่อกฎหมาย ดังกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 747/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ การลงโทษฐานมีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ศาลฎีกาชี้ขาดโทษหนักที่สุด
พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 7 บัญญัติห้ามมิให้ทำหรือมีไว้ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ผู้ฝ่าฝืนให้ลงโทษตามมาตรา 72 พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 มาตรา 3 วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "อาวุธปืน" หมายความรวมตลอดถึงอาวุธปืนทุกชนิด ฯลฯ และส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนนั้น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีเห็นว่าสำคัญ และได้ระบุไว้ในกฎกระทรวง วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "เครื่องกระสุนปืน" หมายความรวมตลอดถึงหัวกระสุนโดด กระสุนปลาย กระสุนแตก ฯลฯ หรือเครื่อง หรือสิ่งสำหรับอัด หรือทำ หรือใช้ประกอบเครื่องกระสุนปืน กฎกระทรวงฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2491) กำหนดว่า ส่วนของอาวุธปืนที่จะกล่าวต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นอาวุธปืน คือลำกล้อง เครื่องลั่นไก หรือส่วนประกอบสำคัญของเครื่องลั่นไก พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 มาตรา 3 บัญญัติให้ใช้ความต่อไปนี้แทน มาตรา 72 (วรรคหนึ่ง) ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 3 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท (วรรค 2) ถ้าการฝ่าฝืนตามวรรคหนึ่งเป็นเพียงกรณีเกี่ยวกับส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืน ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนี้ ข้อกฎหมายที่จะลงโทษจำเลยจึงมี 2 ประการ ประการแรกเกี่ยวกับอาวุธปืน ประการหลัง เกี่ยวกับเครื่องกระสุนปืน ซึ่งจะต้องวางโทษตามมาตรา 72 วรรคสอง วรรคหนึ่งตามลำดับ และลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 72 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ได้