คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ.2504 ม. 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ขึ้นค่าเช่าที่ดินนอกอัตราควบคุม ไม่อยู่ในบังคับมาตรา 11 พ.ร.บ.ควบคุมการเช่า
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มิใช่เป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนทั้งหมด
มาตรา 11 ห้ามแต่ผู้ให้เช่ามิให้เรียกร้องขึ้นค่าเช่า แต่มิได้ห้ามผู้เช่าที่ตกลงยินยอมให้ค่าเช่าโดยสมัครใจ
ผู้เช่ายินยอมให้ขึ้นค่าเช่าที่ดินซึ่งอยู่นอกอัตราค่าเช่าควบคุมแล้ว ย่อมไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมขึ้นค่าเช่าที่ดินนอกอัตราควบคุม ไม่ขัดต่อกฎหมายควบคุมการเช่า
พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 มิใช่เป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนทั้งหมด
มาตรา 11 ห้ามแต่ผู้ให้เช่ามิให้เรียกร้องขึ้นค่าเช่า แต่มิได้ห้ามผู้เช่าที่ตกลงยินยอมให้ค่าเช่าโดยสมัครใจ
ผู้เช่ายินยอมให้ขึ้นค่าเช่าที่ดินซึ่งอยู่นอกอัตราค่าเช่าควบคุมแล้ว ย่อมไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ากำหนดค่าเช่าล่วงหน้า การปรับขึ้นค่าเช่าตามสัญญาไม่ขัด พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยตั้งแต่แรกได้กำหนดกันไว้เสร็จแล้วว่า ระยะ 6 ปีแรกให้ชำระค่าเช่ากันเดือนละ 100 บาท หลังจากนั้นให้ชำระค่าเช่ากันเดือนละ 2,000 บาท การเรียกเอาค่าเช่าเดือนละ 2,000 บาท หลังจากครบระยะ 6 ปีแรกแล้วนั้น ย่อมเรียกไม่ได้ว่าเป็นการขึ้นค่าเช่าตามความหมายของพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ เพราะเป็นเรื่องตกลงกันไว้แล้วตั้งแต่ขณะที่ยอมให้เช่า (อ้างฎีกาที่ 1543/2493)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1092/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่ากำหนดค่าเช่าล่วงหน้า การปรับขึ้นค่าเช่าตามสัญญาไม่ขัดกฎหมายควบคุมค่าเช่า
สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยตั้งแต่แรกได้กำหนดกันไว้เสร็จแล้วว่าระยะเวลา 6 ปีแรกให้ชำระค่าเช่ากันเดือนละ 100 บาท หลังจากนั้นให้ชำระค่าเช่ากันเดือนละ 2,000 บาท การเรียกเอาค่าเช่าเดือนละ2,000 บาทหลังจากครบระยะ 6 ปีแรกแล้วนั้น ย่อมเรียกไม่ได้ว่าเป็นการขึ้นค่าเช่าตามความหมายของพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขันฯ เพราะเป็นเรื่องตกลงกันไว้แล้วตั้งแต่ขณะที่ยอมให้เช่า (อ้างฎีกาที่ 1543/2493)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน และผลกระทบต่อการฟ้องขับไล่
ขณะฟ้องจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ในระหว่างศาลฎีกาทำการพิจารณาคดีนี้ปรากฏว่า พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 มาตรา 21 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2511 มาตรา 3กำหนดให้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504เฉพาะมาตรา 11 และ 17 ใช้บังคับได้เพียง 8 ปี นับแต่พระราชบัญญัติ ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2504 มาตรา 11 และ17 ดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับหรือเลิกใช้ บังคับแล้ว จำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าวต่อไป ดังนี้ ศาลฎีกาจะยกเอาความสิ้นสุดของพระราชบัญญัติ ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ ดังกล่าว ในระหว่างพิจารณามา เป็นเหตุพิพากษาขับไล่จำเลยไม่ได้ เพราะเหตุที่ศาลจะยกขึ้นพิพากษา ขับไล่จำเลยได้ จะต้องเป็นเหตุที่มีอยู่ตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ในขณะฟ้อง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินและการคุ้มครองตามพรบ.ควบคุมการเช่าเคหะฯ เมื่อมีการปลูกสร้างอาคารและให้เช่าต่อ
จำเลยเช่าที่ดินส่วนที่เป็นของ ร. ทั้งแปลงเพื่อปลูกสร้างอาคารจำเลยปลูกห้องแถวขึ้น 2 ห้องครึ่ง แม้จะมีเรือนเก่าปลูกอยู่แล้วครึ่งหลังเมื่อจำเลยใช้ที่แปลงนี้ปลูกสร้างอาคารเพิ่มเติมตามสัญญาเช่าแล้วหาประโยชน์โดยให้ผู้อื่นเช่าทำการค้า การเช่าที่ทั้งแปลงของจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 จะแยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่ได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติ หน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่า จำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: สิทธิการเช่า vs. การยินยอมให้ปลูกสร้าง และผลกระทบต่อการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเช่า
จำเลยเช่าที่ดินส่วนที่เป็นของ ร. ทั้งแปลงเพื่อปลูกสร้างอาคารจำเลยปลูกห้องแถวขึ้น 2 ห้องครึ่ง แม้จะมีเรือนเก่าปลูกอยู่แล้วครึ่งหลังเมื่อจำเลยใช้ที่แปลงนี้ปลูกสร้างอาคารเพิ่มเติมตามสัญญาเช่าแล้วหาประโยชน์โดยให้ผู้อื่นเช่าทำการค้า การเช่าที่ทั้งแปลงของจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 จะแยกออกเป็นส่วน ๆ ไม่ได้
เดิมบ้านปลูกอยู่กลางที่ดินของ ส. ส. ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้ ร.และจำเลยคนละครึ่ง ส่วนบ้านยกให้จำเลย เมื่อ ส. ตายเกิดสภาพความเป็นเจ้าของที่ดินแยกกันส่วนหนึ่งของตัวบ้านรุกล้ำเข้าไปในเขตที่ดินของ ร. พินัยกรรมกำหนดให้ ร. ยอมให้จำเลยเช่าที่ส่วนของ ร.5 ปี ถ้าจำเลยยังรื้อบ้านออกไปไม่ได้ก็ให้เช่าอีก 6 ปี เมื่อจำเลยและ ร. รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฝ่ายยังได้ทำหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความว่าต่างฝ่ายยินยอมปฏิบัติหน้าที่ตามพินัยกรรม และได้มีการจดทะเบียนการเช่าว่าจำเลยเช่าที่ดินเฉพาะส่วนของ ร. เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้ว ร. ให้จำเลยเช่าต่อตามสัญญาเดิม ดังนี้ กรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 เพราะตามพินัยกรรมหรือสัญญาประนีประนอมยอมความตลอดจนการทำสัญญาเช่าและจดทะเบียนการเช่าแสดงว่าจำเลยอยู่และปลูกสร้างห้องแถวในที่ดินของ ร. โดยอาศัยสิทธิการเช่าที่ดินจาก ร. มิใช่ ร. ยินยอมให้จำเลยปลูกหรือด้วยความประมาทเลินเล่อของ ร. ที่ปล่อยปละละเลยให้จำเลยปลูก จึงไม่อาจยกเอาประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1310 มาขอให้บังคับเพื่อประโยชน์ของจำเลยได้