คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 421

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 365 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็น - การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต - ทางพิพาท - การยินยอมทำทาง
บันทึกเอกสารหมาย จ.9 มีข้อความเพียงว่า จำเลยที่ 1สัญญาว่าจะให้ทางเดินเข้าออกกว้าง 3.50 เมตร แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 182541ถึง 182547 บันทึกดังกล่าวไม่มีคู่สัญญา แต่มี อ.ลงชื่อในฐานะพยานไว้ จึงเป็นเพียงบันทึกอนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่เจ้าของที่ดินด้านในผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1ได้เท่านั้น และไม่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก
การที่จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกยินยอมให้โจทก์และเจ้าของที่ดินที่อยู่ด้านใน ทำทางเข้าออกผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งโจทก์ก็ได้ร่วมกันออกเงินเป็นค่าใช้จ่ายทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 และได้ใช้ทางพิพาทตลอดมาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ปิดกั้นทางพิพาทมิให้โจทก์ทั้งห้าใช้ประโยชน์จากทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 จำเลยที่ 2และที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ทราบเรื่องนี้และปิดกั้นทางพิพาท จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสามต้องเปิดทางพิพาทให้โจทก์ทั้งห้าใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218-1219/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น-สิทธิโดยไม่สุจริต: การปิดกั้นทางพิพาทหลังยินยอมและใช้ประโยชน์ร่วมกัน
บันทึกเอกสารหมายจ.ชมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่1สัญญาว่าจะให้ทางเดินเข้าออกกว้าง3.50เมตรแก่ที่ดินโฉนดเลขที่182541ถึง182547บันทึกดังกล่าวไม่มีคู่สัญญาแต่มีอ.ลงชื่อในฐานะพยานไว้จึงเป็นเพียงบันทึกอนุญาตหรือให้ความยินยอมให้แก่เจ้าของที่ดินด้านในผ่านที่ดินของจำเลยที่1ได้เท่านั้นและไม่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก การที่จำเลยที่1ได้ทำบันทึกยินยอมให้โจทก์และเจ้าของที่ดินที่อยู่ด้านในทำทางเข้าออกผ่านที่ดินของจำเลยที่1ได้ทั้งโจทก์ก็ได้ร่วมกันออกเงินเป็นค่าใช้จ่ายทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยที่1และได้ใช้ทางพิพาทตลอดมาเป็นเวลา8ปีแล้วการที่จำเลยที่1ปิดกั้นทางพิพาทมิให้โจทก์ทั้งห้าใช้ประโยชน์จากทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา5จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่1ทราบเรื่องนี้และปิดกั้นทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่1จำเลยทั้งสามต้องเปิดทางพิพาทให้โจทก์ทั้งห้าใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการได้รับข้อมูลสิ่งแวดล้อม, การฟ้องจำเลยที่ 3 และการรับฟ้องกรณีจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดแล้ว
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องจำเลยทั้งสาม ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 คงรับฟ้องสำหรับจำเลยที่ 3โจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าจึงได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 คดีถึงที่สุดไปแล้ว แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดไว้พิจารณาตามที่โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ก็ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้กระทบสิทธิโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าแต่อย่างใด โจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าจึงไม่มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้า แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาตรา 35วรรคหนึ่ง จะบัญญัติว่า "สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพื้นที่ตามที่โจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าฟ้องยังไม่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 มาตรา 43 ทั้งโจทก์ทั้งเจ็ดก็ยอมรับว่าพื้นที่ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มิใช่เป็นที่สาธารณะการที่โจทก์ทั้งเจ็ดมีความประสงค์จะให้ทางราชการกำหนดพื้นที่ตามฟ้องเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยไม่ต้องการให้มีการปลูกอาคารใด ๆ ลงบนพื้นที่ รวมทั้งต้องการให้กำหนดมาตรการจำกัดการใช้พื้นที่ดังกล่าวนั้นย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยละเมิดสิทธิของบุคคลในทรัพย์สินเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับให้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพื้นที่ใดจะกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจะพิจารณาเห็นสมควรโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติสิ่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และพื้นที่ตามฟ้อง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่เข้าเกณฑ์ที่จะประกาศเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตาม มาตรา 43 และมาตรา 45แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535 โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2535 หรือบังคับนายกรัฐมนตรีจำเลยที่ 1 เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเพิกถอนมติหรือขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 หยุดหรือระงับการก่อสร้างอาคารมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้จึงชอบแล้ว สิทธิและหน้าที่ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาตรา 58 สิทธิในการมีอากาศสะอาดบริสุทธิ์หายใจเพื่อสุขภาพ พลานามัย และคุณภาพชีวิตที่ดี สิทธิในการได้รับความรื่นรมย์ตามธรรมชาติของพื้นที่ตามฟ้อง สิทธิที่จะปลอดจากความเสียหายและเดือนร้อนอันเกิดจากปัญหาน้ำท่วมชุมชนในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ตามฟ้อง และสิทธิที่จะปลอดจากเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเกิดจากปัญหาการจราจรติดขัดปัญหามลพิษทางอากาศปัญหาความร้อนที่ระบายจากตึกอาคารสูง ล้วนเป็นสิทธิตามปกติธรรมดาของคนทั่วไปซึ่งมีสิทธิได้รับตามที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นสิทธิที่โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ นายกรัฐมนตรีจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยตำแหน่งระเบียบราชการจะต้องมีหน่วยงานพิจารณากลั่นกรองเรื่องราวและเสนอความเห็นตามลำดับขั้นตอนสำนักงานนโบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมจำเลยที่ 2 มีหน้าที่โดยตรงที่จะเสนอเรื่องราวต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอยู่แล้ว เมื่อสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้เสนอคำร้องเรียนของโจทก์ที่ 1 ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและจำเลยที่ 1 เพื่อพิจารณา จำเลยที่ 1 จึงยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดแต่อย่างใด ศาลจึงไม่อาจรับฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับจำเลยที่ 1 ให้นำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศกำหนดให้พื้นที่ตามฟ้องเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมได้ สำหรับคดีระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รับฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 ตอนต้นและข้อ 5 ไว้พิจารณาแล้ว ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ต่อไป ในระหว่างพิจารณา โจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้ายื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาตต่อมาในวันนัดชี้สองสถานโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้ายื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 โดยไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไป ทั้งยังได้ระบุไว้ท้ายคำร้องขอถอนฟ้องด้วยว่าการถอนฟ้องนี้เป็นการถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งคดีกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ดังนั้นคดีของโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงถึงที่สุดก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 4 ไว้พิจารณา ทั้งตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ดตอนท้ายที่อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นปรากฏว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับและยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 รวมทั้งยกคำขอบังคับท้ายฟ้องข้อ 1 ข้อ 2 ตอนต้น ข้อ 3และข้อ 4 เสีย และมีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดรวมทั้งคำขอบังคับท้ายฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาตามรูปคดีต่อไปและบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งเจ็ดด้วยเห็นได้ชัดแจ้งว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้มีคำขอหรือมีความประสงค์ที่จะให้ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำสั่งของศาลชั้นต้นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ตามคำขอท้ายฟ้อง ข้อ 4ไว้พิจารณา จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ด ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 ประกอบด้วยมาตรา 246 เมื่อคดีของจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดไปตั้งแต่ศาลชั้นต้นแล้วและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวแก่จำเลยที่ 2 ไม่ชอบ จึงมีผลทำให้จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิฎีกา สิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดในการรับทราบข้อมูลและข่าวสารจะมีเพียงใดจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 หรือตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าสิทธิดังกล่าวนั้นมีข้อจำกัดอย่างไรและจะส่งข้อมูลข่าวสารอย่างไร เพื่อร่วมกันส่งเสริมและรักษาคุณภาพ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มาตรา 6 ประกอบเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ "(1) ส่งเสริมประชาชนและองค์กรเอกชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม"ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534มาตรา 48 ทวิ ที่บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารจากหน่วยราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการหรือพนักงานรัฐ ในเมื่อการนั้นมีหรืออาจจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" ดังนี้เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดได้ขอทราบข้อมูลและข่าวสารตามคำขอท้ายฟ้อง ข้อ 4 จากกรมสรรพากรจำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 3 ไม่ให้ความร่วมมือและไม่แจ้งเหตุขัดข้องว่าเป็นข้อมูลหรือข่าวสารที่ถือว่าเป็นความลับเกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติหรือเข้าข้อยกเว้นข้ออื่นที่ไม่ต้องเปิดเผยแต่อย่างใดจึงเป็นการกระทบสิทธิโจทก์ทั้งเจ็ดแล้วโจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสิ่งแวดล้อม, การฟ้องหน่วยงานที่ไม่ให้ข้อมูล, และการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องจำเลยทั้งสามศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่1และที่3คงรับฟ้องสำหรับจำเลยที่3โจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าจึงได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่2คดีถึงที่สุดไปแล้วแม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดไว้พิจารณาตามที่โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ก็ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้กระทบสิทธิโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าแต่อย่างใดโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าจึงไม่มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้า แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2534มาตรา35วรรคหนึ่งจะบัญญัติว่า"สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครองขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายก็ตามแต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพื้นที่ตามที่โจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าฟ้องยังไม่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535มาตรา43ทั้งโจทก์ทั้งเจ็ดก็ยอมรับว่าพื้นที่ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มิใช่เป็นที่สาธารณะการที่โจทก์ทั้งเจ็ดมีความประสงค์จะให้ทางราชการกำหนดพื้นที่ตามฟ้องเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยไม่ต้องการให้มีการปลูกอาคารใดๆลงบนพื้นที่รวมทั้งต้องการให้กำหนดมาตรการจำกัดการใช้พื้นที่ดังกล่าวนั้นย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยละเมิดสิทธิของบุคคลในทรัพย์สินเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับให้ได้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพื้นที่ใดจะกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจะพิจารณาเห็นสมควรโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติสิ่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535และพื้นที่ตามฟ้องคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่เข้าเกณฑ์ที่จะประกาศเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามมาตรา43และมาตรา45แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่10กันยายน2535หรือบังคับนายกรัฐมนตรีจำเลยที่1เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเพิกถอนมติหรือขอให้ศาลบังคับจำเลยที่1หยุดหรือระงับการก่อสร้างอาคารมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้จึงชอบแล้ว สิทธิและหน้าที่ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2534มาตรา58สิทธิในการมีอากาศสะอาดบริสุทธิ์หายใจเพื่อสุขภาพพลานามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีสิทธิในการได้รับความรื่นรมย์ตามธรรมชาติของพื้นที่ตามฟ้องสิทธิที่จะปลอดจากความเสียหายและเดือนร้อนอันเกิดจากปัญหาน้ำท่วมชุมชนในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ตามฟ้องและสิทธิที่จะปลอดจากเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเกิดจากปัญหาการจราจรติดขัดปัญหามลพิษทางอากาศปัญหาความร้อนที่ระบายจากตึกอาคารสูงล้วนเป็นสิทธิตามปกติธรรมดาของคนทั่วไปซึ่งมีสิทธิได้รับตามที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้วไม่ใช่เป็นสิทธิที่โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ นายกรัฐมนตรีจำเลยที่1มีฐานะเป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยตำแหน่งระเบียบราชการจะต้องมีหน่วยงานพิจารณากลั่นกรองเรื่องราวและเสนอความเห็นตามลำดับขั้นตอนสำนักงานนโบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมจำเลยที่2มีหน้าที่โดยตรงที่จะเสนอเรื่องราวต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอยู่แล้วเมื่อสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้เสนอคำร้องเรียนของโจทก์ที่1ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและจำเลยที่1เพื่อพิจารณาจำเลยที่1จึงยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดแต่อย่างใดศาลจึงไม่อาจรับฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่1ตามคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับจำเลยที่1ให้นำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศกำหนดให้พื้นที่ตามฟ้องเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมได้ สำหรับคดีระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยที่2นั้นเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รับฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดตามคำขอท้ายฟ้องข้อ2ตอนต้นและข้อ5ไว้พิจารณาแล้วศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่2ต่อไปในระหว่างพิจารณาโจทก์ที่1ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้ายื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ศาลชั้นต้นอนุญาตต่อมาในวันนัดชี้สองสถานโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้ายื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่2โดยไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่2อีกต่อไปทั้งยังได้ระบุไว้ท้ายคำร้องขอถอนฟ้องด้วยว่าการถอนฟ้องนี้เป็นการถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่2ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่1และที่3ซึ่งคดีกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ดังนั้นคดีของโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่2จึงถึงที่สุดก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่2ตามคำขอท้ายฟ้องข้อ4ไว้พิจารณาทั้งตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ดตอนท้ายที่อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นปรากฏว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับและยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่1และที่3รวมทั้งยกคำขอบังคับท้ายฟ้องข้อ1ข้อ2ตอนต้นข้อ3และข้อ4เสียและมีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดรวมทั้งคำขอบังคับท้ายฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาตามรูปคดีต่อไปและบังคับให้จำเลยที่1และที่3ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งเจ็ดด้วยเห็นได้ชัดแจ้งว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้มีคำขอหรือมีความประสงค์ที่จะให้ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่2การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำสั่งของศาลชั้นต้นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่2ตามคำขอท้ายฟ้องข้อ4ไว้พิจารณาจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142ประกอบด้วยมาตรา246เมื่อคดีของจำเลยที่2ถึงที่สุดไปตั้งแต่ศาลชั้นต้นแล้วและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวแก่จำเลยที่2ไม่ชอบจึงมีผลทำให้จำเลยที่2ไม่มีสิทธิฎีกา สิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดในการรับทราบข้อมูลและข่าวสารจะมีเพียงใดจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535หรือตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าสิทธิดังกล่าวนั้นมีข้อจำกัดอย่างไรและจะส่งข้อมูลข่าวสารอย่างไรเพื่อร่วมกันส่งเสริมและรักษาคุณภาพรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535มาตรา6ประกอบเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ"(1)ส่งเสริมประชาชนและองค์กรเอกชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม"ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2534มาตรา48ทวิที่บัญญัติว่า"บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารจากหน่วยราชการหรือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจเพื่อการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการหรือพนักงานรัฐในเมื่อการนั้นมีหรืออาจจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของตนทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ"ดังนี้เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดได้ขอทราบข้อมูลและข่าวสารตามคำขอท้ายฟ้องข้อ4จากกรมสรรพากรจำเลยที่3แต่จำเลยที่3ไม่ให้ความร่วมมือและไม่แจ้งเหตุขัดข้องว่าเป็นข้อมูลหรือข่าวสารที่ถือว่าเป็นความลับเกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติหรือเข้าข้อยกเว้นข้ออื่นที่ไม่ต้องเปิดเผยแต่อย่างใดจึงเป็นการกระทบสิทธิโจทก์ทั้งเจ็ดแล้วโจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสิ่งแวดล้อม-เขตพื้นที่คุ้มครอง: การฟ้องร้องกรณีพื้นที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องจำเลยทั้งสาม ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 คงรับฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าจึงได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ต่อมาโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 คดีถึงที่สุดไปแล้ว แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดไว้พิจารณาตามที่โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ก็ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์มิได้กระทบสิทธิโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าแต่อย่างใด โจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าจึงไม่มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้า
แม้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 มาตรา 35วรรคหนึ่ง จะบัญญัติว่า "สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าพื้นที่ตามที่โจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าฟ้องยังไม่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 43 ทั้งโจทก์ทั้งเจ็ดก็ยอมรับว่าพื้นที่ตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มิใช่เป็นที่สาธารณะการที่โจทก์ทั้งเจ็ดมีความประสงค์จะให้ทางราชการกำหนดพื้นที่ตามฟ้องเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยไม่ต้องการให้มีการปลูกอาคารใด ๆ ลงบนพื้นที่ รวมทั้งต้องการให้กำหนดมาตรการจำกัดการใช้พื้นที่ดังกล่าวนั้นย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยละเมิดสิทธิของบุคคลในทรัพย์สินเป็นคำขอที่ไม่อาจบังคับให้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพื้นที่ใดจะกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจะพิจารณาเห็นสมควรโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 และพื้นที่ตามฟ้อง คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่เข้าเกณฑ์ที่จะประกาศเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตาม มาตรา 43 และมาตรา 45แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 โจทก์ทั้งเจ็ดไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10กันยายน 2535 หรือบังคับนายกรัฐมนตรีจำเลยที่ 1 เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเพิกถอนมติหรือขอให้ศาลบังคับจำเลยที่ 1 หยุดหรือระงับการก่อสร้างอาคารตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้จึงชอบแล้ว
สิทธิและหน้าที่ในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 มาตรา 58 สิทธิในการมีอากาศสะอาดบริสุทธิ์หายใจเพื่อสุขภาพ พลานามัย และคุณภาพชีวิตที่ดี สิทธิในการได้รับความรื่นรมย์ตามธรรมชาติของพื้นที่ตามฟ้อง สิทธิที่จะปลอดจากความเสียหายและเดือดร้อนอันเกิดจากปัญหาน้ำท่วมชุมชนในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ตามฟ้อง และสิทธิที่จะปลอดจากเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเกิดจากปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหามลพิษทางอากาศปัญหาความร้อนที่ระบายจากตึกอาคารสูง ล้วนเป็นสิทธิตามปกติธรรมดาของคนทั่วไปซึ่งมีสิทธิได้รับตามที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว ไม่ใช่เป็นสิทธิที่โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ
นายกรัฐมนตรีจำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติโดยตำแหน่งตามระเบียบราชการจะต้องมีหน่วยงานพิจารณากลั่นกรองเรื่องราวและเสนอความเห็นตามลำดับขั้นตอน สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมจำเลยที่ 2 มีหน้าที่โดยตรงที่จะเสนอเรื่องราวต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอยู่แล้ว เมื่อสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมยังไม่ได้เสนอคำร้องเรียนของโจทก์ที่ 1 ต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและจำเลยที่ 1 เพื่อพิจารณา จำเลยที่ 1 จึงยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดแต่อย่างใด ศาลจึงไม่อาจรับฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับจำเลยที่ 1ให้นำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติประกาศกำหนดให้พื้นที่ตามฟ้องเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมได้
สำหรับคดีระหว่างโจทก์ทั้งเจ็ดกับจำเลยที่ 2 นั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้รับฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2 ตอนต้นและข้อ 5 ไว้พิจารณาแล้ว ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2ต่อไป ในระหว่างพิจารณา โจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้ายื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต ต่อมาในวันนัดชี้สองสถานโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้ายื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 2 โดยไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไป ทั้งยังได้ระบุไว้ท้ายคำร้องขอถอนฟ้องด้วยว่าการถอนฟ้องนี้เป็นการถอนฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และที่ 3ซึ่งคดีกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ดังนั้นคดีของโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงถึงที่สุดก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดและโจทก์ร่วมทั้งยี่สิบเก้าในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 4 ไว้พิจารณา ทั้งตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ดตอนท้ายที่อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นปรากฏว่าโจทก์ทั้งเจ็ดได้ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับและยกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 รวมทั้งยกคำขอบังคับท้ายฟ้องข้อ 1ข้อ 2 ตอนต้น ข้อ 3 และข้อ 4 เสีย และมีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นรับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ด รวมทั้งคำขอบังคับท้ายฟ้องไว้พิจารณาพิพากษาตามรูปคดีต่อไปและบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความแทนโจทก์ทั้งเจ็ดด้วยเห็นได้ชัดแจ้งว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้มีคำขอหรือมีความประสงค์ที่จะให้ศาลอุทธรณ์เปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำสั่งของศาลชั้นต้นให้รับฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ตามคำขอท้ายฟ้อง ข้อ 4 ไว้พิจารณา จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งเจ็ด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142ประกอบด้วยมาตรา 246 เมื่อคดีของจำเลยที่ 2 ถึงที่สุดไปตั้งแต่ศาลชั้นต้นแล้วและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวแก่จำเลยที่ 2 ไม่ชอบ จึงมีผลทำให้จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิฎีกา
สิทธิของโจทก์ทั้งเจ็ดในการรับทราบข้อมูลและข่าวสารจะมีเพียงใดจะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535 หรือตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่าสิทธิดังกล่าวนั้นมีข้อจำกัดอย่างไรและจะส่งข้อมูลและข่าวสารอย่างไร เพื่อร่วมกันส่งเสริมและรักษาคุณภาพ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 6 ประกอบเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ "(1) ส่งเสริมประชาชนและองค์กรเอกชนให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม" ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 มาตรา 48 ทวิ ที่บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารจากหน่วยราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ ในเมื่อการนั้นมีหรืออาจจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของตน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" ดังนี้เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดได้ขอทราบข้อมูลและข่าวสารตามคำขอท้ายฟ้อง ข้อ 4 จากกรมสรรพากรจำเลยที่ 3 แต่จำเลยที่ 3 ไม่ให้ความร่วมมือและไม่แจ้งเหตุขัดข้องว่าเป็นข้อมูลหรือข่าวสารที่ถือว่าเป็นความลับเกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงแห่งชาติหรือเข้าข้อยกเว้นข้ออื่นที่ไม่ต้องเปิดเผยแต่อย่างใดจึงเป็นการกระทบสิทธิโจทก์ทั้งเจ็ดแล้ว โจทก์ทั้งเจ็ดจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9508/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาเลิกกันเนื่องจากนโยบายรัฐ เปลี่ยนแปลงนอกเหนืออำนาจคู่สัญญา สิทธิเรียกร้องและค่าเสียหาย
โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยดำเนินการผลิตและเสนอข่าวโทรทัศน์ให้แก่โจทก์โดยมีสัญญาข้อ8ระบุว่า"เนื่องจากผู้ว่าจ้าง(โจทก์)เป็นรัฐวิสาหกิจที่จะต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลระเบียบของทางราชการและกฎหมายดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆนอกเหนืออำนาจของผู้ว่าจ้างเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้คู่สัญญาตกลงจะทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายหากการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด3เดือนนับแต่วันเริ่มต้นการเจรจาแล้วยังไม่สามารถหาข้อยุติและทำความตกลงกันได้คู่สัญญาตกลงให้สัญญานี้เป็นอันเลิกแล้วต่อกันโดยต่างฝ่ายจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใดๆต่อกันอีก"หลังจากที่จำเลยได้เข้าทำการผลิตและเสนอข่าวตามสัญญาจ้างเหมาให้แก่โจทก์แล้วปรากฏว่าการปฏิบัติการของจำเลยได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่พนักงานในสังกัดของโจทก์จนประธานสหภาพแรงงานองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือถึงประธานกรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยใจความว่าเพื่อเป็นการยุติปัญหาที่จะเกิดผลกระทบต่อภาพพจน์ของโจทก์ในทางเสียหายขอให้บอกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยโดยเร็วและให้เร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตข่าวของโจทก์ด้วยนอกจากนั้นผู้บริหารของโจทก์ต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามีการกระทำที่ไม่สมควรในการเสนอข่าวของจำเลยจึงเสนอให้ยกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยคณะกรรมการของโจทก์จึงมีการประชุมร่วมกันกับผู้บริหารและพนักงานของโจทก์เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ที่ประชุมมีมติให้โจทก์ปฏิบัติภาระกิจในการผลิตและเสนอข่าวสารด้วยตนเองสำหรับปัญหาที่โจทก์มีอยู่กับจำเลยนั้นให้ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นธรรมตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไปโดยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นประมวลเรื่องทั้งหมดเสนอรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลโจทก์อยู่จึงได้ทำบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรีโดยระบุว่ามีปัญหาเนื่องจากการจัดทำและเสนอข่าวของโจทก์ยังไม่มีนโยบายที่แน่นอนและเดิมโจทก์ได้จ้างเหมาให้บริษัทเอกชนช่วยผลิตและเสนอข่าวซึ่งก่อให้เกิดปัญหามาโดยตลอดโดยเฉพาะปัญหาการจัดทำข่าวที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและทำให้โจทก์เสียผลประโยชน์โดยไม่สมควรจึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวขอโปรดนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติต่อไปดังนั้นเอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีผู้มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลในฐานะประธานกรรมการของโจทก์เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติเอกสารนี้มิได้ทำขึ้นเองโดยพลการแต่อาศัยข้อมูลและเหตุผลที่ได้รับมาจากพนักงานและผู้บริหารของโจทก์เองโดยตรงไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุกล่าวหาว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างเหมาที่ทำไว้กับโจทก์จึงหาใช่เอกสารที่มีข้อความไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบควบคุมกำกับดูแลโจทก์ไม่การที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวและมีมติกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไปย่อมเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่จะกระทำได้และผูกพันผู้บริหารของโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะต้องปฏิบัติตามการที่ผู้อำนวยการโจทก์มีหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้จำเลยทราบและกำหนดให้มีการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมา8ดังกล่าวข้างต้นและตามนโยบายของรัฐบาลหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือทำผิดสัญญาไม่ ข้อสัญญาข้อ8ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขบังคับหลังของสัญญาจ้างเหมาหากมีเหตุการณ์ใดที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ผู้ว่าจ้างเกิดขึ้นทำให้โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ก็ให้มีการเจรจากันระหว่างคู่สัญญาหากตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลา3เดือนนับแต่วันเริ่มต้นเจรจาแล้วให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดลงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไปถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ทำให้โจทก์ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาต่อไปอีกได้เป็นกรณีที่เงื่อนไขสำเร็จแล้วโจทก์จึงได้นัดให้มีการเจรจาตกลงกันในวันที่8กุมภาพันธ์2532ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นการเจรจาหากภายในกำหนด3เดือนนับแต่วันดังกล่าวโจทก์จำเลยยังไม่อาจตกลงกันได้สัญญาจ้างเหมาย่อมสิ้นผลระยะเวลา3เดือนแม้จะเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้สัญญาสิ้นสุดแต่ถึงอย่างไรนิติกรรมสัญญาจ้างเหมาก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะเงื่อนไขบังคับหลังได้สำเร็จแล้วดังกล่าวข้างต้นโจทก์ย่อมไม่อาจสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพื่อให้สัญญามีผลต่อไปได้เพราะจะเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีทั้งการที่มีการนัดเจรจาครั้งสุดท้ายในวันที่25พฤษภาคม2532แต่โจทก์ไม่ยอมเจรจาโดยแจ้งว่าสัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดแล้วแต่วันที่8พฤษภาคม2532ก็ดีและโจทก์เรียกร้องค่าใช้เครื่องมือและอุปกรณ์จากจำเลยจนถึงวันที่8พฤษภาคม2532อันเป็นวันสุดท้ายที่สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับก็ดีล้วนเป็นการแสดงว่าโจทก์หาได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่ให้สัญญาสิ้นสุดลงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่อีกทั้งจำเลยเองก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องการให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นผลโดยเร็วเพื่อจะได้ไม่ต้องจ้างจำเลยต่อไปดังนั้นพฤติการณ์ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้ว ตามสัญญาข้อ8ภายหลังที่เงื่อนไขสำเร็จแล้วคงกำหนดเพียงให้คู่สัญญาทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะก่อให้เกิดข้อตกลงที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายเท่านั้นหาได้บังคับให้คู่สัญญาต้องทำความตกลงกันแต่อย่างใดไม่การบรรลุข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาจะต้องเป็นการเห็นพ้องร่วมกันทั้งสองฝ่ายการที่ฝ่ายหนึ่งยื่นข้อเสนอแต่อีกฝ่ายไม่ยอมรับย่อมไม่อาจถือเป็นข้อยุติหรือข้อตกลงระหว่างกันได้และจะถือว่าฝ่ายที่ไม่ยอมรับข้อเสนอใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่เว้นแต่จะปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งเช่นนั้นซึ่งในกรณีนี้ปรากฏว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยยื่นข้อเสนอมาว่าเสียหายเป็นตัวเงินเท่าใดเพื่อพิจารณาแต่จำเลยต้องการให้โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าเวลาเพื่อทำรายการต่อไปเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีหลักการไม่ตรงกันข้อตกลงจึงไม่เกิดขึ้นหาใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตกลั่นแกล้งจำเลยไม่เมื่อการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด3เดือนโดยไม่สามารถตกลงกันได้เช่นนี้สัญญาจ้างเหมาจึงต้องเลิกกันตามสัญญาข้อ8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9508/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงื่อนไขบังคับหลังในสัญญาจ้างเหมา: สัญญาเลิกเมื่อเงื่อนไขสำเร็จและเจรจาไม่เป็นผล
โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยดำเนินการผลิตและเสนอข่าวโทรทัศน์ให้แก่โจทก์โดยมีสัญญาข้อ 8 ระบุว่า "เนื่องจากผู้ว่าจ้าง (โจทก์)เป็นรัฐวิสาหกิจที่จะต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล ระเบียบของทางราชการและกฎหมาย ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ นอกเหนืออำนาจของผู้ว่าจ้างเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ คู่สัญญาตกลงจะทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย หากการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด 3 เดือน นับแต่วันเริ่มต้นการเจรจาแล้วยังไม่สามารถหาข้อยุติและทำความตกลงกันได้ คู่สัญญาตกลงให้สัญญานี้เป็นอันเลิกแล้วต่อกัน โดยต่างฝ่ายจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆ ต่อกันอีก" หลังจากที่จำเลยได้เข้าทำการผลิตและเสนอข่าวตามสัญญาจ้างเหมาให้แก่โจทก์แล้ว ปรากฏว่าการปฏิบัติการของจำเลยได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่พนักงานในสังกัดของโจทก์ จนประธานสหภาพแรงงานองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือถึงประธานกรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ใจความว่า เพื่อเป็นการยุติปัญหาที่จะเกิดผลกระทบต่อภาพพจน์ของโจทก์ในทางเสียหาย ขอให้บอกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยโดยเร็วและให้เร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตข่าวของโจทก์ด้วยนอกจากนั้นผู้บริหารของโจทก์ต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามีการกระทำที่ไม่สมควรในการเสนอข่าวของจำเลย จึงเสนอให้ยกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยคณะกรรมการของโจทก์จึงมีการประชุมร่วมกันกับผู้บริหารและพนักงานของโจทก์เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ที่ประชุมมีมติให้โจทก์ปฏิบัติภาระกิจในการผลิตและเสนอข่าวสารด้วยตนเอง สำหรับสัญญาที่โจทก์มีอยู่กับจำเลยนั้นให้ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นธรรมตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไป โดยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นประมวลเรื่องทั้งหมดเสนอรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลโจทก์อยู่จึงได้ทำบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่ามีปัญหาเนื่องจากการจัดทำและเสนอข่าวของโจทก์ยังไม่มีนโยบายที่แน่นอนและเดิมโจทก์ได้จ้างเหมาให้บริษัทเอกชนช่วยผลิตและเสนอข่าว ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามาโดยตลอด โดยเฉพาะปัญหาการจัดทำข่าวที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและทำให้โจทก์เสียผลประโยชน์โดยไม่สมควร จึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเอง และห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าว ขอโปรดนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติต่อไป ดังนั้น เอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีผู้มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลในฐานะประธานกรรมการของโจทก์เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติ เอกสารนี้มิได้ทำขึ้นเองโดยพลการ แต่อาศัยข้อมูลและเหตุผลที่ได้รับมาจากพนักงานและผู้บริหารของโจทก์เองโดยตรง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุกล่าวหาว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างเหมาที่ทำไว้กับโจทก์ จึงหาใช่เอกสารที่มีข้อความไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบควบคุมกำกับดูแลโจทก์ไม่ การที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว และมีมติกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไป ย่อมเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่จะกระทำได้และผูกพันผู้บริหารของโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะต้องปฏิบัติตาม การที่ผู้อำนวยการโจทก์มีหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้จำเลยทราบและกำหนดให้มีการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมา 8ดังกล่าวข้างต้นและตามนโยบายของรัฐบาลหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือทำผิดสัญญาไม่
ข้อสัญญาข้อ 8 ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขบังคับหลังของสัญญาจ้างเหมาหากมีเหตุการณ์ใดที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ผู้ว่าจ้างเกิดขึ้นทำให้โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ ก็ให้มีการเจรจากันระหว่างคู่สัญญา หากตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันเริ่มต้นเจรจาแล้ว ให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดลงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเอง และห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไป ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ ทำให้โจทก์ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาต่อไปอีกได้เป็นกรณีที่เงื่อนไขสำเร็จแล้ว โจทก์จึงได้นัดให้มีการเจรจาตกลงกันในวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2532 ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นการเจรจา หากภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันดังกล่าวโจทก์จำเลยยังไม่อาจตกลงกันได้สัญญาจ้างเหมาย่อมสิ้นผลระยะเวลา 3 เดือน แม้จะเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้สัญญาสิ้นสุด แต่ถึงอย่างไรนิติกรรมสัญญาจ้างเหมาก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะเงื่อนไขบังคับหลังได้สำเร็จแล้วดังกล่าวข้างต้น โจทก์ย่อมไม่อาจสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพื่อให้สัญญามีผลต่อไปได้เพราะจะเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ทั้งการที่มีการนัดเจรจาครั้งสุดท้ายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2532 แต่โจทก์ไม่ยอมเจรจาโดยแจ้งว่าสัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดแล้วแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2532 ก็ดี และโจทก์เรียกร้องค่าใช้เครื่องมือและอุปกรณ์จากจำเลยจนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 อันเป็นวันสุดท้ายที่สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับก็ดี ล้วนเป็นการแสดงว่าโจทก์หาได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่ให้สัญญาสิ้นสุดลงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่ อีกทั้งจำเลยเองก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องการให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นผลโดยเร็วเพื่อจะได้ไม่ต้องจ้างจำเลยต่อไป ดังนั้นพฤติการณ์ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้ว
ตามสัญญา ข้อ 8 ภายหลังที่เงื่อนไขสำเร็จแล้ว คงกำหนดเพียงให้คู่สัญญาทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะก่อให้เกิดข้อตกลงที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายเท่านั้น หาได้บังคับให้คู่สัญญาต้องทำความตกลงกันแต่อย่างใดไม่ การบรรลุข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาจะต้องเป็นการเห็นพ้องร่วมกันทั้งสองฝ่าย การที่ฝ่ายหนึ่งยื่นข้อเสนอแต่อีกฝ่ายไม่ยอมรับ ย่อมไม่อาจถือเป็นข้อยุติหรือข้อตกลงระหว่างกันได้ และจะถือว่าฝ่ายที่ไม่ยอมรับข้อเสนอใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ เว้นแต่จะปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งเช่นนั้น ซึ่งในกรณีนี้ปรากฏว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยยื่นข้อเสนอมาว่าเสียหายเป็นตัวเงินเท่าใดเพื่อพิจารณา แต่จำเลยต้องการให้โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าเวลาเพื่อทำรายการต่อไป เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีหลักการไม่ตรงกัน ข้อตกลงจึงไม่เกิดขึ้น หาใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตกลั่นแกล้งจำเลยไม่ เมื่อการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด 3 เดือน โดยไม่สามารถตกลงกันได้เช่นนี้ สัญญาจ้างเหมาจึงต้องเลิกกันตามสัญญาข้อ 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4834-4835/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท การครอบครองปรปักษ์ และความรับผิดทางละเมิด กรณีบุกรุกที่ดินราชพัสดุ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า"กระทรวงการคลังโดยก.อธิบดีกรมธนรักษ์ผู้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอมอบอำนาจให้ผู้บัญชาการทหารเรือมีอำนาจดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งกับผู้บุกรุกพร้อมบริวารให้ออกไปจากที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481ตามข้อความดังกล่าวเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ที่บุกรุกที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481หาใช่มอบอำนาจทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา801ไม่และในกรณีเช่นนี้ก็ไม่อาจระบุชื่อผู้ที่จะถูกฟ้องไว้ล่วงหน้าก็ได้เมื่อจำเลยที่1และที่2ถูกกล่าวหาว่าบุกรุกที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ชบ.481ผู้รับมอบอำนาจก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1และที่2ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวได้ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตหวงห้ามที่ดินอำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรีพ.ศ.2479มีความมุ่งหมายกำหนดเขตหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าสำหรับไว้ใช้ในราชการทหารที่ดินที่หวงห้ามตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(3)แม้ต่อมาในปี2498จะมีผู้แจ้งการครอบครองที่ดิน(ส.ค.1)นั้นตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497มาตรา5ก็ตามที่ดินนั้นก็ยังคงเป็นที่หวงห้ามต่อไปตามมาตรา10ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ราชพัสดุตามความหมายของมาตรา4แห่งพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุพ.ศ.2518 จำเลยทั้งสี่ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแต่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบเมื่อผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบแจ้งให้จำเลยทั้งสี่ออกจากที่ดินพิพาทจำเลยทั้งสี่ไม่ยอมออกการเข้าครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการไม่ชอบการที่โจทก์ที่2ถึงที่8ได้กระทำการขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสี่เข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่แต่ละคนมีอยู่มิได้มีเจตนาจะกลั่นแกล้งจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นละเมิดต่อจำเลยทั้งสี่การทำละเมิดของบริษัทจำเลยที่1ได้แสดงออกโดยจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้แทนและเป็นการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่1จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา76วรรคสอง จำเลยที่1และที่2ไม่ได้นำดินลูกรังไปไถไปถมทะเลแต่นำที่ดินลูกรังไปถมทำถนนและถมที่ดินพิพาทแล้วปรับพื้นที่ให้ทราบจำเลยที่1และที่2ไม่ได้นำดินลูกรังออกไปจากพื้นที่ของโจทก์ที่1ดินลูกรังยังคงอยู่ในที่ดินของกระทรวงการคลังโจทก์ที่1มิได้สูญหายไปไหนโจทก์ที่1จึงมิได้เสียหายเกี่ยวกับดินลูกรัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4829/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในไม้และละเมิด: การโต้แย้งกรรมสิทธิ์โดยมิชอบทำให้เกิดละเมิดต่อเจ้าของที่แท้จริง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การว่าไม้ของกลางเป็นของจำเลยแต่ละคนและปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของไม้ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ไม้พิพาทเป็นของฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลย การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 นำสืบว่าเป็นหุ้นส่วนทำไม้พิพาทกับโจทก์เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของร่วมในไม้พิพาท ซึ่งหากฟังได้ว่าเป็นความจริง จำเลยที่ 1 ซึ่งฟ้องแย้งก็ควรได้แต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ได้รับแต่ส่วนแบ่งนี้ก็ได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 2ศาลก็อาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ จึงถือว่าการนำสืบของจำเลยทั้งสองอยู่ในประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้
ไม้พิพาททั้งหมดเป็นของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำขอรับไม้พิพาทอ้างว่าเป็นของจำเลยทั้งสาม ทำให้เจ้าพนักงานระงับการคืนไม้พิพาทให้โจทก์ไว้ และทำเรื่องหารือไปทางกองอุทยาน กรมป่าไม้ ในที่สุดต่างมีความเห็นให้ผู้ขอรับไม้พิพาทไปดำเนินคดีทางศาล จึงเป็นเพราะจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งกรรมสิทธิ์โดยมิชอบ หาใช่เพราะเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานที่จะคืนไม้ให้ใครหรือไม่การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของไม้พิพาทที่แท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4829/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดกรรมสิทธิ์ไม้: จำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์โดยมิชอบ ทำให้เจ้าของไม้เสียหาย
จำเลยที่1ที่2ให้การว่าไม้ของกลางเป็นของจำเลยแต่ละคนและปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของไม้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าไม้พิพาทเป็นของฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายจำเลยการที่จำเลยที่1ที่2นำสืบว่าเป็นหุ้นส่วนทำไม้พิพาทกับโจทก์เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของร่วมในไม้พิพาทซึ่งหากฟังได้ว่าเป็นความจริงจำเลยที่1ซึ่งฟ้องแย้งก็ควรได้แต่ส่วนแบ่งเมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่1ได้รับแต่สวนแบ่งนี้ก็ได้ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาให้สิ่งใดๆเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องส่วนจำเลยที่2ศาลก็อาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้จึงถือว่าการนำสืบของจำเลยทั้งสองอยู่ในประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ ไม้พิพาททั้งหมดเป็นของโจทก์การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำขอรับไม้พิพาทอ้างว่าเป็นของจำเลยทั้งสามทำให้เจ้าพนักงานระงับการคืนไม้พิพาทให้โจทก์ไว้และทำเรื่องหารือไปทางกองอุทยานกรมป่าไม้ในที่สุดต่างมีความเห็นให้ผู้ขอรับไม้พิพาทไปดำเนินคดีทางศาลจึงเป็นเพราะจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งกรรมสิทธิโดยมิชอบหาใช่เพราะเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานที่จะคืนไม้ให้ใครหรือไม่การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของไม้พิพาทที่แท้จริง
of 37