คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 421

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 365 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8177/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ร่องสวนติดที่ดินพิพาทเป็นร่องสวนเดิม ไม่ใช่ลำรางสาธารณะ จำเลยคัดค้านรังวัดโดยสุจริต ไม่ต้องรับผิด
ร่องน้ำระหว่างที่ดินของจำเลยและโจทก์ที่ 1 เป็นร่องสวนเดิมที่ขุดขึ้นเพื่อนำน้ำจากคลองสาธารณะเข้ามาใช้ทำสวน ซึ่งมิใช่ลำรางหรือลำกระโดงสาธารณะ แต่สภาพที่ดินพิพาทเป็นร่องสวนที่มีมานานหลายสิบปีน่าจะเป็นร่องน้ำสาธารณะประโยชน์ได้ การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียง และจากการที่จำเลยได้ตรวจสอบหลักเขตที่ดินเขตติดต่อกันแต่หลักเขตต่างกัน ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินยังแจ้งว่าหลักทั้งสองห่างกัน 3.16 เมตร ย่อมทำให้จำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมเข้าใจว่าระหว่างที่ดินทั้งสองแปลงมีช่องว่างอยู่ และได้ตัดค้านการรังวัดแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ดังนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริตเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ตน มิได้มีเจตนาจะกลั่นแกล้งให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์อันเนื่องมาจากการคัดค้านดังกล่าว แม้โจทก์ที่ 2 จะเป็นเพียงผู้ซื้อที่ดินจากโจทก์ที่ 1ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ทำการรังวัด แต่โจทก์ที่ 2ฟ้องให้จำเลยทั้งสี่รับผิดในฐานที่จำเลยทั้งสี่ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้โจทก์ที่ 2 ได้รับความเสียหาย มิได้ฟ้องคดีโดยอาศัยการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน แม้โจทก์ที่ 2มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินก็ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ก่อละเมิดให้ตนต้องได้รับความเสียหายได้ หาจำเป็นจะต้อง มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยทั้งสี่มาก่อนไม่ โจทก์ที่ 2จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์มีคำขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยถอนคำคัดค้านการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินของโจทก์ที่ 1 หากจำเลยไม่จัดการ ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ดำเนินคดีต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานที่ดินกำหนด เจ้าพนักงานที่ดินจึงยกเลิกการรังวัดที่ดินไป กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่เจ้าพนักงานที่ดินจะต้องมีการดำเนินการต่อไปภายหลังมีคำพิพากษาของศาล ดังนี้คำคัดค้านนั้นย่อมสิ้นสุดไปด้วยศาลฎีกาจึงไม่อาจจะมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ที่ 1 ขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7718/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความระเบียบมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ และสิทธิของนักศึกษา
ระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยวิทยานิพนธ์ พ.ศ. 2522ข้อ 4 วรรค 2 ระบุว่า "ในการประชุมพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ให้นักศึกษามาชี้แจงข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ต่อคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ด้วย" นั้น มีความหมายว่า ในวันที่คณะกรรมการกลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ประชุมพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาผู้ใด นักศึกษาผู้นั้นจะต้องมาเพื่อชี้แจงข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของตนต่อคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ในกรณีที่คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ มีข้อที่จะสอบถามเท่านั้น แต่หากไม่มีข้อจะสอบถาม นักศึกษาผู้นั้นไม่จำเป็นต้องชี้แจง กรณีตามระเบียบดังกล่าวจึงมิใช่ข้อบังคับว่า คณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ จะต้องให้นักศึกษาชี้แจงข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของตนต่อคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ เสมอไป
การจะนัดคณะกรรมการกลั่นกรองข้อเสนอและเค้าโครงวิทยานิพนธ์จะต้องพิจารณาวันและเวลาที่คณะกรรมการดังกล่าวแต่ละคนจะมีวันว่างพอที่จะมาร่วมประชุมด้วย และการไม่มาประชุมของจำเลยที่ 5 เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นที่จำเลยที่ 1มิได้แต่งตั้งให้บุคคลอื่นเป็นประธานกรรมการกลั่นกรอง ฯ แทนจำเลยที่ 5 กรณีอาจเป็นเรื่องกะทันหันไม่ทราบว่าจำเลยที่ 5 จะมีเหตุขัดข้องไม่สามารถมาได้ และตามคำฟ้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่จะส่อแสดงได้ว่าจำเลยทั้งเก้ามีเจตนาจะกลั่นแกล้งโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยทั้งเก้าเป็นการใช้สิทธิซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์นอกจากจะเป็นคำขอที่ให้โจทก์ได้รับสิทธิพิเศษผิดไปจากนักศึกษาระดับชั้นปริญญาโททั่วไปแล้ว ยังเป็นคำขอที่อยู่นอกเหนือข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาชั้นปริญญาโท พ.ศ. 2520 ข้อ 6และนอกเหนือระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยวิทยานิพนธ์ พ.ศ. 2522ข้อ 4 อีกด้วย จึงเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจก้าวล่วงไปบังคับให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6232/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิหน้าท่า การใช้สิทธิโดยสุจริต และการแก้ไขสัญญาเพื่อป้องกันความเสียหายต่อเศรษฐกิจ
ก่อนปี2530จำเลยที่1ไม่เคยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการยกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือบรรทุกสินค้าหรือที่เรียกว่าสิทธิหน้าท่าเรือบรรทุกสินค้าที่เข้ามาขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือกรุงเทพฯในขณะนั้นหากมีปั้นจั่นประจำเรือก็จะใช้ปั้นจั่นของตนยกตู้สินค้าหากเรือลำใดไม่มีหรือมีไม่เพียงพอก็จะใช้ปั้นจั่นของจำเลยที่1หรือของเอกชนซึ่งได้รับอนุญาตจากจำเลยที่1ให้เข้าไปรับจ้างยกตู้สินค้าโดยเสียค่าธรรมเนียมการเข้าออกด้วยต่อมาจำเลยที่1มีนโยบายที่จะริเริ่มประกาศสิทธิหน้าท่าจึงได้สั่งซื้อปั้นจั่นเคลื่อนที่ชนิดเดินบนรางจำนวน6คัน จากประเทศยูโกสลาเวีย กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จภายใน520วันได้มีบริษัทเอกชนมีหนังสือไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอขอเข้าทำการการรับจ้างขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือบรรทุกสินค้าในช่วงเวลาที่รอการติดตั้งปั้นจั่นของจำเลยที่1ดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงส่งเรื่องให้จำเลยที่1พิจารณาจำเลยที่1ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาตรวจวิเคราะห์ถึงผลได้ผลเสียแล้วเห็นชอบให้มีการประกาศสิทธิหน้าที่โดยให้เอกชนเข้ามารับจ้างเหมาขนถ่ายตู้สินค้าครั้งวันที่26พฤศจิกายน2530โจทก์กับจำเลยที่1จึงได้ทำสัญญาจ้างเหมายกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือณท่าเรือกรุงเทพฯโดยใช้ปั้นจั่นเคลื่อนที่เริ่มลงมือทำงานภายใน90วันนับแต่วันทำสัญญาเมื่อโจทก์เริ่มปฏิบัติงานก็มีสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพฯได้ร้องเรียนต่อจำเลยที่1รัฐบาลและคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐบาลและเอกชนว่าการที่จำเลยที่1ประกาศสิทธิหน้าท่าและจ้างเหมาให้โจทก์ยกตู้สินค้านั้นทำให้ตู้สินค้าแออัดที่หน้าท่าความสามารถในการยกตู้สินค้าของโจทก์ไม่เพียงพอชมรมเดินเรือต่างประเทศจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมความคับคั่งที่ท่าเรือกรุงเทพฯอันจะนำความเสียหายทางเศรษฐกิจมาสู่ประเทศชาติกระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือสั่งการให้จำเลยที่1พิจารณาหาทางยกเลิกสัญญาที่ทำกับโจทก์และให้จำเลยที่1พิจารณาอนุญาตให้เรือบรรทุกสินค้าใช้ปั้นจั่นของเรือยกสินค้าขั้นลงได้ต่อมาวันที่31พฤษภาคม2531จำเลยที่1ได้ประกาศสิทธิการยกตู้สินค้าหน้าท่าอนุญาตให้เรือสินค้าใช้ปั้นจั่นของเรือยกสินค้าขึ้นลงในบริเวณหน้าท่าเรือกรุงเทพฯได้เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยที่1ในอัตราร้อยละ25ของค่าธรรมเนียมการใช้ปั้นจั่นยกสินค้าของจำเลยที่1แล้วดังนี้สิทธิหน้าที่จำเลยที่1ประกาศไว้แต่แรกโดยพื้นฐานของสิทธิจำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้ทรงเอกสิทธิดังกล่าวย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้เสมอและต้องสันนิษฐานไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยที่1กระทำการโดยไม่สุจริตมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างเช่นนั้นแต่จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎในทางพิจารณาได้ความว่าการประกาศสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่1เป็นเหตุโดยตรงก่อให้เกิดข้อท้วงติงและร้องเรียนจากบรรดาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าจะก่อปัญหาให้เกิดผลเสียหายเป็นการล่วงหน้าแล้วที่โจทก์อ้างว่าเป็นพฤติการณ์วางแผนต่อต้านเพื่อล้มการประกาศสิทธิหน้าท่าโดยไม่สุจริตแต่จากเอกสารหมายจ.60ซึ่งเป็นหนังสือของบรรดาเจ้าของเรือขออนุญาตจำเลยที่2ใช้ปั้นจั่นของเรือทำการขนถ่ายสินค้าเองรวม105ฉบับด้วยเหตุขัดข้องล่าช้าอันเกิดจากการทำงานของโจทก์ที่สืบเนื่องจากการประกาศเอกสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่1ทั้งสิ้นและยังปรากฎตามเอกสารหมายล.26ถึงล.51อันเป็นใบเสร็จรับเงินค่าจ้างของโจทก์จากจำเลยและบันทึกรายงานการตรวจการจ้างของบริษัทโจทก์ปรากฎว่าโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างเอกสารหมายจ.20ข้อ16,17และ18ต้องถูกหักเงินค่าจ้างเป็นค่าปรับและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยที่1ตั้งแต่วันเริ่มสัญญาคือวันที่25กุมภาพันธ์2531ตลอดมาจนถึงสิ้นเดือนมกราคม2532เป็นข้อเท็จจริงที่ชี้ชัดว่าการประกาศสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่1และความล่าช้าในการทำงานของโจทก์ได้ก่อให้เกิดความแออัดคับคั่งที่หน้าท่าเป็นผลเสียหายดังที่ได้มีการร้องเรียนก่อนหน้านั้นจริงการร้องเรียนต่อต้านล่วงหน้าของบรรดาผู้เกี่ยวข้องดังกล่าวจึงเป็นการคาดการณ์โดยสุจริตและถูกต้องตามความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกร้องให้แก้ไขซึ่งปรากฎรายละเอียดตามบันทึกรายงานการประชุมเรื่องการแก้ไขปัญหาจากการประกาศเอกสิทธิหน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยวันที่13พฤษภาคม2531มีการแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลตลอดจนผลเสียหายที่เกิดแก่บรรดาผู้เกี่ยวข้องทุกแง่มุมโดยละเอียดจากผู้แทนของหน่วยราชการต่างๆตลอดจนผู้แทนองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องสรุปได้ชัดว่าหากไม่มีการแก้ไขจะเกิดผลกระทบเสียหายต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจของชาติโดยรวมรุนแรงต่อไปด้วยดังนี้การประกาศยกเลิกสิทธิหน้าท่าณท่าเรือกรุงเทพฯและอนุญาตให้เรือสินค้าที่มีปั้นจั่นบนเรือยกตู้สินค้าขึ้นลงได้เองนั้นจำเลยที่1ได้กระทำสืบเนื่องจากผลการประชุมดังกล่าวเป็นการกระทำที่เกิดจากการรับฟังพิเคราะห์ความเห็นและเหตุผลของทุกฝ่ายโดยรอบคอบแล้วเป็นการใช้อำนาจในการบริหารตามเอกสิทธิของตนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จจริงและเหตุผลเพื่อระงับและป้องกันมิให้เกิดผลเสียหายต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องตลอดจนความเสียหายต่อเศรษฐกิจของชาติโดยรวมโดยสุจริตและเป็นการกระทำเพื่อแก้ไขมิให้เกิดความเสียหายอันสืบเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์มีส่วนก่อขึ้นโดยตรงด้วยจึงหาใช่การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6232/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกาศสิทธิหน้าท่าและการยกเลิกสัญญา การกระทำของจำเลยสุจริตเพื่อแก้ไขปัญหาความเสียหายทางเศรษฐกิจ
ก่อนปี 2530 จำเลยที่ 1 ไม่เคยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการยกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือบรรทุกสินค้าหรือที่เรียกว่าสิทธิหน้าท่า เรือบรรทุกสินค้าที่เข้ามาขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือกรุงเทพฯ ในขณะนั้น หากมีปั้นจั่นประจำเรือก็จะใช้ปั้นจั่นของตนยกตู้สินค้า หากเรือลำใดไม่มีหรือมีไม่เพียงพอ ก็จะใช้ปั้นจั่นของจำเลยที่ 1 หรือของเอกชนซึ่งได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ให้เข้าไปรับจ้างยกตู้สินค้าโดยเสียค่าธรรมเนียมการเข้าออกด้วย ต่อมาจำเลยที่ 1 มีนโยบายที่จะริเริ่มประกาศสิทธิหน้าท่า จึงได้สั่งซื้อปั้นจั่นเคลื่อนที่ชนิดเดินบนรางจำนวน 6 คัน จากประเทศยูโกสลาเวีย กำหนดติดตั้งแล้วเสร็จภายใน 520 วัน ได้มีบริษัทเอกชนมีหนังสือไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอขอเข้าทำการรับจ้างขนถ่ายตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือบรรทุกสินค้าในช่วงเวลาที่รอการติดตั้งปั้นจั่นของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจึงส่งเรื่องให้จำเลยที่ 1 พิจารณา จำเลยที่ 1ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาตรวจวิเคราะห์ถึงผลได้ผลเสียแล้ว เห็นชอบให้มีการประกาศสิทธิหน้าท่าโดยให้เอกชนเข้ามารับจ้างเหมาขนถ่ายตู้สินค้า ครั้นวันที่26 พฤศจิกายน 2530 โจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงได้ทำสัญญาจ้างเหมายกตู้สินค้าขึ้นลงจากเรือ ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ โดยใช้ปั้นจั่นเคลื่อนที่เริ่มลงมือทำงานภายใน 90 วันนับแต่วันทำสัญญา เมื่อโจทก์เริ่มปฏิบัติงานก็มีสมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพฯได้ร้องเรียนต่อจำเลยที่ 1 รัฐบาล และคณะกรรมการร่วมระหว่างภาครัฐบาลและเอกชนว่า การที่จำเลยที่ 1 ประกาศสิทธิหน้าท่าและจ้างเหมาให้โจทก์ยกตู้สินค้านั้นทำให้ตู้สินค้าแออัดที่หน้าท่า ความสามารถในการยกตู้สินค้าของโจทก์ไม่เพียงพอชมรมเดินเรือต่างประเทศจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมความคับคั่งที่ท่าเรือกรุงเทพฯอันจะนำความเสียหายทางเศรษฐกิจมาสู่ประเทศชาติ กระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือสั่งการให้จำเลยที่ 1 พิจารณาหาทางยกเลิกสัญญาที่ทำกับโจทก์ และให้จำเลยที่ 1พิจารณาอนุญาตให้เรือบรรทุกสินค้าใช้ปั้นจั่นของเรือยกสินค้าขึ้นลงได้ ต่อมาวันที่31 พฤษภาคม 2531 จำเลยที่ 1 ได้ประกาศสิทธิการยกตู้สินค้าหน้าท่าอนุญาตให้เรือสินค้าใช้ปั้นจั่นของเรือยกสินค้าขึ้นลงในบริเวณหน้าท่าเรือกรุงเทพฯ ได้เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมให้แก่จำเลยที่ 1 ในอัตราร้อยละ 25 ของค่าธรรมเนียมการใช้ปั้นจั่นยกสินค้าของจำเลยที่ 1 แล้ว ดังนี้สิทธิหน้าท่าที่จำเลยที่ 1 ประกาศไว้แต่แรก โดยพื้นฐานของสิทธิจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทรงเอกสิทธิดังกล่าวย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกได้เสมอ และต้องสันนิษฐานไว้ก่อนตามป.พ.พ.มาตรา 6 ว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยไม่สุจริต มีภาระที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ความตามข้อกล่าวอ้างเช่นนั้น แต่จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาได้ความว่า การประกาศสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุโดยตรงก่อให้เกิดข้อท้วงติงและร้องเรียนจากบรรดาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องว่าจะก่อปัญหาให้เกิดผลเสียหายเป็นการล่วงหน้าแล้ว ที่โจทก์อ้างว่าเป็นพฤติการณ์วางแผนต่อต้านเพื่อล้มการประกาศสิทธิหน้าท่าโดยไม่สุจริต แต่จากเอกสารหมาย ล.60 ซึ่งเป็นหนังสือของบรรดาเจ้าของเรือขออนุญาตจำเลยที่ 2 ใช้ปั้นจั่นของเรือทำการขนถ่ายสินค้าเองรวม105 ฉบับ ด้วยเหตุขัดข้องล่าช้าอันเกิดจากการทำงานของโจทก์ที่สืบเนื่องจากการประกาศเอกสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น และยังปรากฏตามเอกสารหมายล.26 ถึง ล.51 อันเป็นใบเสร็จรับเงินค่าจ้างของโจทก์จากจำเลย และบันทึกรายงานการตรวจการจ้างของบริษัทโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถปฏิบัติงานถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.20ข้อ 16, 17 และ 18 ต้องถูกหักเงินค่าจ้างเป็นค่าปรับและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันเริ่มสัญญาคือวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2531 ตลอดมาจนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2532 เป็นข้อเท็จจริงที่ชี้ชัดว่า การประกาศสิทธิหน้าท่าของจำเลยที่ 1และความล่าช้าในการทำงานของโจทก์ได้ก่อให้เกิดความแออัดคับคั่งที่หน้าท่าเป็นผลเสียหายดังที่ได้มีการร้องเรียนก่อนหน้านั้นจริง การร้องเรียนต่อต้านล่วงหน้าของบรรดาผู้เกี่ยวข้องดังกล่าว จึงเป็นการคาดการณ์โดยสุจริตและถูกต้องตามความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียกร้องให้แก้ไขซึ่งปรากฏรายละเอียดตามบันทึกรายงานการประชุมเรื่องการแก้ไขปัญหาจากการประกาศเอกสิทธิหน้าท่าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย วันที่ 13 พฤษภาคม 2531มีการแสดงข้อเท็จจริงและเหตุผล ตลอดจนผลเสียหายที่เกิดแก่บรรดาผู้เกี่ยวข้องทุกแง่มุมโดยละเอียดจากผู้แทนของหน่วยราชการต่าง ๆ ตลอดจนผู้แทนองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ความชัดว่า หากไม่มีการแก้ไขจะเกิดผลกระทบเสียหายต่อเนื่องถึงเศรษฐกิจของชาติโดยรวมรุนแรงต่อไปด้วย ดังนี้ การประกาศยกเลิกสิทธิหน้าท่า ณ ท่าเรือกรุงเทพฯ และอนุญาตให้เรือสินค้าที่มีปั้นจั่นบนเรือยกตู้สินค้าขึ้นลงได้เองนั้น จำเลยที่ 1 ได้กระทำสืบเนื่องจากผลการประชุมดังกล่าวเป็นการกระทำที่เกิดจากการรับฟังพิเคราะห์ความเห็นและเหตุผลของทุกฝ่ายโดยรอบคอบแล้ว เป็นการใช้อำนาจในการบริหารตามเอกสิทธิของตนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งข้อเท็จจริงและเหตุผลเพื่อระงับและป้องกันมิให้เกิดผลเสียหายต่อเอกชนที่เกี่ยวข้องตลอดจนความเสียหายต่อเศรษฐกิจของชาติโดยรวมโดยสุจริตและเป็นการกระทำเพื่อแก้ไขมิให้เกิดความเสียหายอันสืบเนื่องมาจากเหตุที่โจทก์มีส่วนก่อขึ้นโดยตรงด้วย จึงหาใช่การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นตาม ป.พ.พ.มาตรา 421 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6158/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางพิพาท ทางจำเป็น และขอบเขตการใช้สิทธิของเจ้าของที่ดิน
คลองแคมีกว้างประมาณ 6 เมตร แม้จะมีน้ำตลอดปี แต่ก็มีสภาพเน่าเสีย ร่องน้ำตรงกลางกว้างประมาณ 1 เมตร ริมคลองมีต้นกก บางส่วนของคลองตื้นเขิน ปัจจุบันไม่ค่อยมีเรือผ่าน เนื่องจากมีถนนสาธารณะเลียบริมคลอง ชาวบ้านใช้รถยนต์ ไม่ใช้เรือ ดังนั้น คลองแคจึงไม่อยู่ในสภาพที่ชาวบ้านใช้สัญจรไปมาตามปกติไม่ใช่ทางสาธารณะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 เมื่อที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่ จึงต้องออกทางพิพาทไปสู่ถนนสาธารณะประโยชน์ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นของที่ดินโจทก์
ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและทางจำเป็นตามสภาพ สามารถใช้รถยนต์แล่นผ่านได้ โจทก์จึงนำรถยนต์บรรทุกแล่นผ่านทางพิพาทได้ เพราะเป็นการใช้ทางพิพาทสัญจรตามปกติโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ที่ดินของจำเลย
การที่จำเลยใช้ไม้ปิดกั้นมิให้โจทก์นำรถยนต์บรรทุกเข้าไปถมดินในที่ดินของโจทก์นั้น เนื่องจากรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักมากอาจเกิดความเสียหายแก่ที่ดินของจำเลยได้ จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยมีอำนาจที่จะป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย มิได้มีเจตนาจะแกล้งให้โจทก์ต้องได้รัความเสียหาย และมิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อ การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6158/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น ทางภาระจำยอม การใช้ทางสัญจร และขอบเขตความรับผิดทางละเมิด
คลองแคมีกว้างประมาณ6เมตรแม้จะมีน้ำตลอดปีแต่ก็มีสภาพเน่าเสียร่องน้ำตรงกลางกว้างประมาณ1เมตรริมคลองมีต้นกก บางส่วนของคลองตื้นเขินปัจจุบันไม่ค่อยมีเรือผ่านเนื่องจากมีถนนสาธารณะเลียบริมคลองชาวบ้านใช้รถยนต์ไม่ใช้เรือดังนั้นคลองแคจึงไม่อยู่ในสภาพที่ชาวบ้านใช้สัญจรไปมาตามปกติไม่ใช่ทางสาธารณะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349เมื่อที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จึงต้องออกทางพิพาทไปสู่ถนนสาธารณะประโยชน์ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นของที่ดินโจทก์ ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมและทางจำเป็นตามสภาพสามารถใช้รถยนต์แล่นผ่านได้โจทก์จึงนำรถยนต์บรรทุกแล่นผ่านทางพิพาทได้เพราะเป็นการใช้ทางพิพาทสัญจรตามปกติโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ที่ดินของจำเลย การที่จำเลยใช้ไม้ปิดกั้นมิให้โจทก์นำรถยนต์บรรทุกเข้าไปถมดินในที่ดินของโจทก์นั้นเนื่องจากรถยนต์บรรทุกมีน้ำหนักมากอาจเกิดความเสียหายแก่ที่ดินของจำเลยได้จำเลยเชื่อโดยสุจริตว่าจำเลยมีอำนาจที่จะป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยมิได้มีเจตนาจะแกล้งให้โจทก์ต้องได้รับความเสียหายและมิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5461/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินข้างเคียงคัดค้านแนวเขต, ไม่ถือเป็นการละเมิดหากไม่มีเจตนาแกล้ง
จำเลยทั้งสองไม่ยอมรับรองแนวเขตก็เพราะจำเลยทั้งสองโต้แย้งว่าหลักเดิมไม่ได้สูญหาย และหลักที่ปักใหม่ไม่ถูกต้อง การคัดค้านของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของที่ดินข้างเคียง ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 69 ทวิ วรรคสาม ซึ่งหากจำเลยทั้งสองไม่ยอมตกลงตามที่เจ้าพนักงานที่ดินไกล่เกลี่ยแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินก็มีอำนาจแจ้งให้คู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน 90 วันตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 69 ทวิ วรรคห้า ทั้งตามพยานที่โจทก์นำสืบไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองยังไม่พอฟังว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าและการติดตั้งป้ายโฆษณาบนดาดฟ้าตึก ไม่ถือเป็นการละเมิดหากไม่มีเจตนาจงใจกลั่นแกล้ง
โจทก์เช่าดาดฟ้าตึกแถวติดตั้งป้ายโฆษณาสินค้าของโจทก์ส่วนจำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่อยู่ติดกันและได้ติดตั้งป้ายโฆษณาของจำเลยปิดบังป้ายโฆษณาของโจทก์ดังนี้เมื่อโจทก์ใช้ประโยชน์ในตึกแถวที่เช่าได้จำเลยก็ย่อมติดตั้งป้ายโฆษณางานในธุรกิจของจำเลยได้เช่นกันโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยติดตั้งป้ายโฆษณาภายหลังโจทก์หรือไม่เพราะการติดตั้งป้ายโฆษณาทั้งของโจทก์และจำเลยต่างก็ติดตั้งบนดาดฟ้าของตึกแถวที่แต่ละฝ่ายเช่ามาทำประโยชน์ถือได้ว่าทั้งโจทก์และจำเลยได้ใช้ประโยชน์จากตึกแถวที่เช่าตามแดนแห่งสิทธิของสัญญาเช่าที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ตามกฎหมายเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยติดตั้งป้ายเพื่อจงใจกลั่นแกล้งโจทก์โดยมุ่งประสงค์จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์การติดตั้งป้ายโฆษณาของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายแม้จะปิดบังป้ายโฆษณาสินค้าของโจทก์ก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ด้วยการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้พื้นที่เช่าและการติดตั้งป้ายโฆษณา การกระทำโดยชอบและไม่มีเจตนาทำให้เสียหาย
ผู้กระทำหรือผู้ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นอันเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421นั้นต้องมีเจตนาหรือจงใจกลั่นแกล้งโดยมุ่งประสงค์ให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นฝ่ายเดียวเมื่อโจทก์ติดตั้งป้ายโฆษณาสินค้าของโจทก์บนดาดฟ้าตึกแถวที่โจทก์เช่าเพื่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ได้จำเลยก็ย่อมมีสิทธิติดตั้งป้ายโฆษณางานในธุรกิจของจำเลยบนดาดฟ้าตึกแถวที่จำเลยเช่าเพื่อประโยชน์ในกิจการของจำเลยได้เช่นกันโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าฝ่ายใดติดตั้งก่อนเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำเพื่อจงใจกลั่นแกล้งโจทก์แม้ป้ายโฆษณาของจำเลยจะอยู่ใกล้และปิดบังป้ายโฆษณาของโจทก์บ้างก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1992/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ประโยชน์จากสัญญาเช่าและการติดตั้งป้ายโฆษณา การกระทำไม่เป็นละเมิดหากไม่มีเจตนา
โจทก์เช่าดาดฟ้าตึกแถวติดตั้งป้ายโฆษณาสินค้าของโจทก์ ส่วนจำเลยเป็นผู้เช่าตึกแถวที่อยู่ติดกันและได้ติดตั้งป้ายโฆษณาของจำเลยปิดบังป้ายโฆษณาของโจทก์ ดังนี้ เมื่อโจทก์ใช้ประโยชน์ในตึกแถวที่เช่าได้ จำเลยก็ย่อมติดตั้งป้ายโฆษณางานในธุรกิจของจำเลยได้เช่นกัน โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าจำเลยติดตั้งป้ายโฆษณาภายหลังโจทก์หรือไม่ เพราะการติดตั้งป้ายโฆษณาทั้งของโจทก์และจำเลยต่างก็ติดตั้งบนดาดฟ้าของตึกแถวที่แต่ละฝ่ายเช่ามาทำประโยชน์ ถือได้ว่าทั้งโจทก์และจำเลยได้ใช้ประโยชน์จากตึกแถวที่เช่าตามแดนแห่งสิทธิของสัญญาเช่าที่แต่ละฝ่ายมีอยู่ตามกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยติดตั้งป้ายเพื่อจงใจกลั่นแกล้งโจทก์โดยมุ่งประสงค์จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การติดตั้งป้ายโฆษณาของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้จะปิดบังป้ายโฆษณาสินค้าของโจทก์ก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ด้วยการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 421 ไม่
of 37