พบผลลัพธ์ทั้งหมด 365 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสมรสที่ไม่ได้รับการจดทะเบียน: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
การเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการหมั้นเท่านั้นการที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงโจทก์จะเรียกค่าทดแทนจากจำเลยหาได้ไม่
โจทก์จำเลยสมรสกันตามประเพณี และตกลงกันว่าหากจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยจะไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้ว จำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น การที่โจทก์ต้องสูญเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน เกิดจากความสมัครใจของโจทก์มิใช่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ก็มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ หรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 จำเลยไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
โจทก์จำเลยสมรสกันตามประเพณี และตกลงกันว่าหากจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยจะไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้ว จำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น การที่โจทก์ต้องสูญเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน เกิดจากความสมัครใจของโจทก์มิใช่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ก็มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ หรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 จำเลยไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสมรสโดยไม่มีการหมั้น ไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้หากฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม
การเรียกค่าทดแทนเนื่องจากผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1438 บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการหมั้นเท่านั้นการที่โจทก์จำเลยตกลงกันว่าจะสมรสหรือจดทะเบียนสมรสโดยไม่มีการหมั้น เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง โจทก์จะเรียกค่าทดแทนจากจำเลยหาได้ไม่
โจทก์จำเลยสมรสกันตามประเพณี และตกลงกันว่า หากจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยจะไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้ว จำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น การที่โจทก์ต้องสูญเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย โดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน เกิดจากความสมัครใจของโจทก์ มิใช่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ก็มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ หรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420,421 จำเลยไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
โจทก์จำเลยสมรสกันตามประเพณี และตกลงกันว่า หากจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยจะไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แต่เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้ว จำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทก์นั้น การที่โจทก์ต้องสูญเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลย โดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน เกิดจากความสมัครใจของโจทก์ มิใช่เกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลย การที่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ก็มิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ หรือเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420,421 จำเลยไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางการค้าโดยไม่สุจริต เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภค
โจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลูกกวาดและขนมที่มียาผสมอยู่ด้วยโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า " HALLS " และได้จดทะเบียนเครื่องหมายดังกล่าวในจำพวกที่ 3 สำหรับสินค้าลูกกวาดและขนมที่มียาผสมอยู่ด้วย ซึ่งกองเครื่องหมายการค้าได้จดทะเบียนแล้วเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2506 ครั้นวันที่ 23 มีนาคม 2510 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า " HALL" ในสินค้าจำพวก 48 เครื่องสำอาง ดังนี้ความสำคัญที่เห็นเด่นชัดที่ผู้ซื้อสนใจหรือสังเกตว่าเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าอยู่ตรงที่มีอักษรโรมันและสำเนียงที่เรียกขานทั้งของโจทก์และของจำเลยก็อ่านว่า "ฮอลล์" อย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์นำสืบให้เห็นว่าสินค้าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายโดยโจทก์ได้แพร่ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์ภาพยนตร์ เอกสารสิ่งพิมพ์แผ่นป้ายโฆษณา และหน่วยรถฉายภาพยนตร์แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวจึงส่อให้เห็นถึงการฉวยโอกาสเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อแสวงหาประโยชน์จำหน่ายสินค้าของจำเลย อันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย เพราะผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น การกระทำของจำเลยเป็นการส่อเจตนาที่จะลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นของโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิไม่สุจริตทางการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ผู้บริโภค
โจทก์เป็นผู้ผลิตสินค้าลูกกวาดและขนมที่มียาผสมอยู่ด้วยโดยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "HALLS" และได้จดทะเบียนเครื่องหมายดังกล่าวในจำพวกที่ 3 สำหรับสินค้าลูกกวาดและขนมที่มียาผสมอยู่ด้วย ซึ่งกองเครื่องหมายการค้าได้จดทะเบียนแล้วเมื่อวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2506 ครั้นวันที่ 23 มีนาคม 2510 จำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า "HALL" ในสินค้าจำพวก 48 เครื่องสำอาง ดังนี้ ความสำคัญที่เห็นเด่นชัดที่ผู้ซื้อสนใจหรือสังเกตว่าเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าอยู่ตรงที่มีอักษรโรมัน และสำเนียงที่เรียกขานทั้งของโจทก์และของจำเลยก็อ่านว่า "ฮอลล์"อย่างเดียวกัน เมื่อโจทก์นำสืบให้เห็นว่าสินค้าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลาย โดยโจทก์ได้แพร่ภาพโฆษณาทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เอกสารสิ่งพิมพ์แผ่นป้ายโฆษณา และหน่วยรถฉายภาพยนตร์แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ เครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวจึงส่อให้เห็นถึงการฉวยโอกาสเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพื่อแสวงหาประโยชน์จำหน่ายสินค้าของจำเลย อันอาจทำให้ประชาชนหลงผิดได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์แม้จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของโจทก์ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้ว ก็ย่อมทำให้โจทก์เสียหาย เพราะผู้ซื้อหรือผู้ใช้สินค้าอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น การกระทำของจำเลยเป็นการส่อเจตนาที่จะลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นของโจทก์ จึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิในที่ดินที่เป็นการละเมิดต่อผู้อื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421
ลำเหมืองพิพาทผ่านที่นาของจำเลยไปสู่ที่นาของโจทก์ โจทก์ใช้น้ำจากลำเหมืองพิพาทในการทำนามาเป็นเวลา 10 ปีเศษแล้วจำเลยก็ยอมรับว่าโจทก์ได้ใช้น้ำในลำเหมืองที่ผ่านที่นาของจำเลย เพราะตามปกติน้ำฝนมีไม่พอในการทำนา แสดงว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าถ้าจำเลยกลบลำเหมืองในที่นาของจำเลยเสีย ผลเสียหายย่อมเกิดขึ้นแก่การทำนาของโจทก์อย่างแน่นอน ฉะนั้น การที่จำเลยกลบลำเหมืองพิพาทตอนที่ผ่านที่นาจำเลย เพื่อมิให้โจทก์ได้ใช้น้ำในลำเหมืองนั้นในการทำนาต่อไป จึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดลำเหมืองพิพาทเพื่อโจทก์จะได้ใช้น้ำจากลำเหมืองในการทำนาตามสภาพเดิมต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการใช้น้ำลำเหมือง การใช้สิทธิโดยก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
ลำเหมืองพิพาทผ่านที่นาของจำเลยไปสู่ที่นาของโจทก์โจทก์ใช้น้ำจากลำเหมืองพิพาทในการทำนามาเป็นเวลา 10 ปีเศษแล้วจำเลยก็ยอมรับว่าโจทก์ได้ใช้น้ำในลำเหมืองที่ผ่านที่นาของจำเลยเพราะตามปกติน้ำฝนมีไม่พอในการทำนา แสดงว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าถ้าจำเลยกลบลำเหมืองในที่นาของจำเลยเสีย ผลเสียหายย่อมเกิดขึ้นแก่การทำนาของโจทก์อย่างแน่นอน ฉะนั้น การที่จำเลยกลบลำเหมืองพิพาทตอนที่ผ่านที่นาจำเลย เพื่อมิให้โจทก์ได้ใช้น้ำในลำเหมืองนั้นในการทำนาต่อไป จึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดลำเหมืองพิพาทเพื่อ โจทก์จะได้ใช้น้ำจากลำเหมืองในการทำนาตามสภาพเดิมต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนก่อให้เกิดความสับสนและความเสียหายต่อเจ้าของเครื่องหมายการค้าเดิม
เครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE' 'GARDOL' และ'GARDENT'ของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLDENT' ของจำเลยต่างขอจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำ โดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดาการใช้อักษรตลอดจนการออกสำเนียงในการอ่านคล้ายคลึงกันคำในพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า'COL'เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE' ของโจทก์และคำในพยางค์ท้ายมีคำว่า 'DENT' เช่นเดียวกับคำในพยางค์ท้ายของเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GARDENT' ของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อให้เห็นถึงการจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์แม้จะเป็นการจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำสำหรับสินค้าจำพวก 48ทั้งจำพวก ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกต หรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อย จึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามนัยแห่งมาตรา 16พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2504 มาตรา 4
จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องสลากพื้นสีแดง ประกอบอักษรโรมันขนาดใหญ่สีขาวคำว่า 'COLDENT'และอักษรโรมันขนาดย่อมคำว่า 'ANTI-ENZYME TOOTH PASTEซึ่งมีรูปลักษณะของกล่อง การวางตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษรสีของกล่อง และสีตัวอักษร คล้ายกับสลากกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียน การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เสื่อมความนิยม โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าลงไปบ้างเป็นเงิน 20,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยผลิตยาสีฟัน 'COLDENT' ออกจำหน่ายตลอดมาจนปัจจุบันแม้จำเลยจะเริ่มผลิตมาตั้ง 10 ปีแล้ว การละเมิดสิทธิของโจทก์ที่จำเลยกระทำก็คงมีอยู่ตลอดเรื่อยไปทั้งโจทก์ยังได้นำคดีมาฟ้องจำเลยภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า คดีของโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่
จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องสลากพื้นสีแดง ประกอบอักษรโรมันขนาดใหญ่สีขาวคำว่า 'COLDENT'และอักษรโรมันขนาดย่อมคำว่า 'ANTI-ENZYME TOOTH PASTEซึ่งมีรูปลักษณะของกล่อง การวางตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษรสีของกล่อง และสีตัวอักษร คล้ายกับสลากกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียน การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เสื่อมความนิยม โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าลงไปบ้างเป็นเงิน 20,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยผลิตยาสีฟัน 'COLDENT' ออกจำหน่ายตลอดมาจนปัจจุบันแม้จำเลยจะเริ่มผลิตมาตั้ง 10 ปีแล้ว การละเมิดสิทธิของโจทก์ที่จำเลยกระทำก็คงมีอยู่ตลอดเรื่อยไปทั้งโจทก์ยังได้นำคดีมาฟ้องจำเลยภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า คดีของโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภค ถือเป็นการละเมิดสิทธิและลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE''GARDOL' และ'GARDENT'ของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLDENT' ของจำเลยต่างขอจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำ โดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา การใช้อักษรตลอดจนการออกสำเนียงในการอ่านคล้ายคลึงกัน คำในพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า'COL' เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าคำว่า 'COLGATE' ของโจทก์ และคำในพยางค์ท้ายมีคำว่า 'DENT' เช่นเดียวกับคำในพยางค์ท้ายของเครื่องหมายการค้าคำว่า 'GARDENT' ของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อให้เห็นถึงการจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้จะเป็นการจดทะเบียนในประเภทเครื่องหมายคำสำหรับสินค้าจำพวก 48 ทั้งจำพวก ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคือเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกต หรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อย จึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามนัยแห่งมาตรา 16พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 มาตรา 4
จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องสลากพื้นสีแดง ประกอบอักษรโรมันขนาดใหญ่สีขาวคำว่า 'COLDENT'และอักษรโรมันขนาดย่อมคำว่า 'ANTI-ENZYMETOOTHPASTEซึ่งมีรูปลักษณะของกล่อง การวางตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษร สีของกล่อง และสีตัวอักษร คล้ายกับสลากกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียน การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เสื่อมความนิยม โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าลงไปบ้างเป็นเงิน 20,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยผลิตยาสีฟัน 'COLDENT' ออกจำหน่ายตลอดมาจนปัจจุบันแม้จำเลยจะเริ่มผลิตมาตั้ง 10 ปีแล้ว การละเมิดสิทธิของโจทก์ที่จำเลยกระทำก็คงมีอยู่ตลอดเรื่อยไปทั้งโจทก์ยังได้นำคดีมาฟ้องจำเลยภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า คดีของโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่
จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันซึ่งบรรจุอยู่ในกล่องสลากพื้นสีแดง ประกอบอักษรโรมันขนาดใหญ่สีขาวคำว่า 'COLDENT'และอักษรโรมันขนาดย่อมคำว่า 'ANTI-ENZYMETOOTHPASTEซึ่งมีรูปลักษณะของกล่อง การวางตัวอักษร ลักษณะของตัวอักษร สีของกล่อง และสีตัวอักษร คล้ายกับสลากกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามหนังสือคู่มือรับจดทะเบียน การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และ 421
โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไว้ว่า โจทก์ได้รับความเสียหายคือทำให้ชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์เสื่อมความนิยม โจทก์ต้องขาดประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าลงไปบ้างเป็นเงิน 20,000 บาท เป็นฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว หาเคลือบคลุมไม่
จำเลยผลิตยาสีฟัน 'COLDENT' ออกจำหน่ายตลอดมาจนปัจจุบันแม้จำเลยจะเริ่มผลิตมาตั้ง 10 ปีแล้ว การละเมิดสิทธิของโจทก์ที่จำเลยกระทำก็คงมีอยู่ตลอดเรื่อยไปทั้งโจทก์ยังได้นำคดีมาฟ้องจำเลยภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า คดีของโจทก์จึงหาขาดอายุความไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีต่อศาลย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยชอบ เว้นแต่เป็นการกระทำโดยไม่สุจริต จงใจให้ผู้อื่นเสียหาย
การฟ้องคดีต่อศาลนั้นตามปกติย่อมเป็นการกระทำโดยชอบเพราะเป็นการที่จำเลยใช้สิทธิของตนทางศาลอันเป็นสิ่งที่กฎหมายอนุญาตการใช้สิทธิเช่นนี้ไม่เป็นการผิดกฎหมายแต่อย่างใด เว้นไว้แต่จะปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยไม่สุจริต มิได้หวังผลอันเป็นธรรมดาแห่งการใช้สิทธิทางศาล หากแต่จงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยใช้ศาลเป็นเครื่องกำบัง
(อ้างคำพิพากษาที่ 146/2480)
จำเลยฟ้องโจทก์ฐานเบิกความเท็จเพราะโจทก์เบิกความในคดีก่อนสองครั้งชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์เบิกความว่าได้ยื่นคำขอจดทะเบียน(เครื่องหมายการค้า) เพิ่มเติมอีกเป็นชุด ได้รับอนุญาตแล้ว ซึ่งความจริงทางราชการยังไม่ได้รับจดทะเบียนให้ ส่วนชั้นพิจารณาโจทก์เบิกความว่ายังไม่ได้รับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุด คำเบิกความของโจทก์ดังกล่าวมีมูลให้จำเลยเข้าใจว่าโจทก์เบิกความเท็จ มิใช่เป็นการปั้นเรื่องขึ้นฟ้องแม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง โดยเห็นว่าคำเบิกความของโจทก์มิใช่ข้อสำคัญในคดีและเป็นคำบอกเล่ามา แต่คำเบิกความของโจทก์จะเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันจำเลยอาจเห็นว่าเป็นข้อสำคัญในคดีก็ได้เมื่อโจทก์จำเลยอ้างแต่สำนวนคดีอาญาเป็นพยาน ย่อมไม่พอที่จะให้เห็นว่าการที่จำเลยฟ้องโจทก์ฐานเบิกความเท็จนั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอันจะเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
(อ้างคำพิพากษาที่ 146/2480)
จำเลยฟ้องโจทก์ฐานเบิกความเท็จเพราะโจทก์เบิกความในคดีก่อนสองครั้งชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์เบิกความว่าได้ยื่นคำขอจดทะเบียน(เครื่องหมายการค้า) เพิ่มเติมอีกเป็นชุด ได้รับอนุญาตแล้ว ซึ่งความจริงทางราชการยังไม่ได้รับจดทะเบียนให้ ส่วนชั้นพิจารณาโจทก์เบิกความว่ายังไม่ได้รับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุด คำเบิกความของโจทก์ดังกล่าวมีมูลให้จำเลยเข้าใจว่าโจทก์เบิกความเท็จ มิใช่เป็นการปั้นเรื่องขึ้นฟ้องแม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง โดยเห็นว่าคำเบิกความของโจทก์มิใช่ข้อสำคัญในคดีและเป็นคำบอกเล่ามา แต่คำเบิกความของโจทก์จะเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันจำเลยอาจเห็นว่าเป็นข้อสำคัญในคดีก็ได้เมื่อโจทก์จำเลยอ้างแต่สำนวนคดีอาญาเป็นพยาน ย่อมไม่พอที่จะให้เห็นว่าการที่จำเลยฟ้องโจทก์ฐานเบิกความเท็จนั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอันจะเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีฐานเบิกความเท็จต้องไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หรือจงใจให้ผู้อื่นเสียหาย
การฟ้องคดีต่อศาลนั้นตามปกติย่อมเป็นการกระทำโดยชอบเพราะเป็นการที่จำเลยใช้สิทธิของตนทางศาลอันเป็นสิ่งที่กฎหมายอนุญาต การใช้สิทธิเช่นนี้ไม่เป็นการผิดกฎหมายแต่อย่างใด เว้นไว้แต่จะปรากฏว่าจำเลยกระทำไปโดยไม่สุจริต มิได้หวังผลอันเป็นธรรมดาแห่งการใช้สิทธิทางศาล หากแต่จงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยใช้ศาลเป็นเครื่องกำบัง
(อ้างคำพิพากษาที่ 146/2480)
จำเลยฟ้องโจทก์ฐานเบิกความเท็จเพราะโจทก์เบิกความในคดีก่อนสองครั้งชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์เบิกความว่าได้ยื่นคำขอจดทะเบียน (เครื่องหมายการค้า) เพิ่มเติมอีกเป็นชุดได้รับอนุญาตแล้ว ซึ่งความจริงทางราชการยังไม่ได้รับจดทะเบียนให้ ส่วนชั้นพิจารณาโจทก์เบิกความว่ายังไม่ได้รับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุด คำเบิกความของโจทก์ดังกล่าวมีมูลให้จำเลยเข้าใจว่าโจทก์เบิกความเท็จ มิใช่เป็นการปั้นเรื่องขึ้นฟ้องแม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง โดยเห็นว่าคำเบิกความของโจทก์มิใช่ข้อสำคัญในคดีและเป็นคำบอกเล่ามา แต่คำเบิกความของโจทก์จะเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันจำเลยอาจเห็นว่าเป็นข้อสำคัญในคดีก็ได้เมื่อโจทก์จำเลยอ้างแต่สำนวนคดีอาญาเป็นพยาน ย่อมไม่พอที่จะให้เห็นว่าการที่จำเลยฟ้องโจทก์ฐานเบิกความเท็จนั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอันจะเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์
(อ้างคำพิพากษาที่ 146/2480)
จำเลยฟ้องโจทก์ฐานเบิกความเท็จเพราะโจทก์เบิกความในคดีก่อนสองครั้งชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์เบิกความว่าได้ยื่นคำขอจดทะเบียน (เครื่องหมายการค้า) เพิ่มเติมอีกเป็นชุดได้รับอนุญาตแล้ว ซึ่งความจริงทางราชการยังไม่ได้รับจดทะเบียนให้ ส่วนชั้นพิจารณาโจทก์เบิกความว่ายังไม่ได้รับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุด คำเบิกความของโจทก์ดังกล่าวมีมูลให้จำเลยเข้าใจว่าโจทก์เบิกความเท็จ มิใช่เป็นการปั้นเรื่องขึ้นฟ้องแม้ศาลจะพิพากษายกฟ้อง โดยเห็นว่าคำเบิกความของโจทก์มิใช่ข้อสำคัญในคดีและเป็นคำบอกเล่ามา แต่คำเบิกความของโจทก์จะเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันจำเลยอาจเห็นว่าเป็นข้อสำคัญในคดีก็ได้เมื่อโจทก์จำเลยอ้างแต่สำนวนคดีอาญาเป็นพยาน ย่อมไม่พอที่จะให้เห็นว่าการที่จำเลยฟ้องโจทก์ฐานเบิกความเท็จนั้น เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอันจะเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์