คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1178

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นในการเรียกประชุมวิสามัญเมื่อกรรมการไม่ดำเนินการตามกฎหมาย
การที่ผู้คัดค้านกับผู้ถือหุ้นมีหุ้นรวมกันเกินกว่า1 ใน 5 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีอยู่ และเกินกว่า 1 ใน 5แห่งจำนวนหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมด ได้ร่วมกันเข้าชื่อทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น โดยระบุวัตถุประสงค์ในการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ รวม6 วาระด้วยกัน จึงเป็นการเรียกประชุมที่ชอบด้วยข้อบังคับของบริษัทและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1173 แล้วกรรมการบริษัทจึงต้องปฏิบัติตามคือ ต้องเรียกประชุมโดยพลันจะไม่เรียกประชุมไม่ได้ เพราะบทบัญญัติมาตรา 1174 เป็นบทบังคับให้ต้องปฏิบัติ และไม่ได้ให้สิทธิกรรมการที่จะใช้ดุลพินิจแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่ากรรมการไม่เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้อง ผู้คัดค้านกับพวกผู้ถือหุ้นซึ่งมีหุ้นรวมกันเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทย่อมเรียกประชุมผู้ถือหุ้นกันเองได้ การที่ ผู้คัดค้านกับมีหนังสือเชิญผู้ถือหุ้นของบริษัทประชุมวิสามัญจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1174 วรรคสองกรณีไม่จำต้องให้ผู้ถือหุ้นเดิมทุกคนที่ขอให้เรียกประชุมร่วมเรียกประชุมด้วย เมื่อการประชุมมีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมอันมีจำนวนหุ้นเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทที่ประชุมซึ่งปรึกษากิจการใด ๆ ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1178 และการประชุมวิสามัญดังกล่าว ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทแล้ว ดังนั้น มติของที่ประชุมจึงเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4219/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ถือหุ้นเรียกประชุมวิสามัญและการชอบด้วยกฎหมายของมติที่ประชุม
ข้อบังคับของบริษัท เรื่องการประชุมใหญ่ระบุว่า การประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมี 2 ชนิด คือ (1) การประชุมสามัญให้มีปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนเมษายนของทุกปี โดยคณะกรรมการเป็นผู้นัดประชุม (2) การประชุมวิสามัญให้มีเมื่อบริษัทมีกิจการสำคัญที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและจำเป็น หรือมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น และ ป.พ.พ.มาตรา 1173 บัญญัติให้การประชุมวิสามัญจะต้องนัดเรียกให้มีขึ้นในเมื่อผู้ถือหุ้นมีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าแห่งจำนวนหุ้นของบริษัทได้เข้าชื่อกันทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมเช่นนั้นและในหนังสือร้องขอนั้นต้องระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด และตามมาตรา 1174 วรรคแรก บัญญัติว่า เมื่อผู้ถือหุ้นยื่นคำร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญดังได้กล่าวมาในมาตราก่อนนี้แล้วให้กรรมการเรียกประชุมโดยพลัน และถ้ากรรมการมิได้เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้องไซร้ ผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ร้องหรือผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ รวมกันได้จำนวนดังบังคับไว้นั้นจะเรียกประชุมเองก็ได้ ดังนั้นการที่ผู้คัดค้านกับผู้ถือหุ้นมีหุ้นรวมกันเกินกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีอยู่และเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นที่มีอยู่ทั้งหมดได้ร่วมกันเข้าชื่อทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้น โดยระบุวัตถุประสงค์ในการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆรวม 6 วาระด้วยกัน จึงเป็นการเรียกประชุมที่ชอบด้วยข้อบังคับของบริษัทและ ป.พ.พ.มาตรา 1173 แล้ว กรรมการบริษัทจึงต้องปฏิบัติตามวรรคแรก คือต้องเรียกประชุมโดยพลัน จะไม่เรียกประชุมไม่ได้ เพราะบทบัญญัติมาตรา 1174เป็นบทบังคับให้ต้องปฏิบัติ และไม่ได้ให้สิทธิกรรมการที่จะใช้ดุลพินิจแต่อย่างใดเมื่อปรากฏว่ากรรมการไม่เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้อง ผู้คัดค้านกับพวกผู้ถือหุ้นซึ่งมีหุ้นรวมกันเกินกว่า 1 ใน 5 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทย่อมเรียกประชุมผู้ถือหุ้นกันเองได้ การที่ผู้คัดค้านกับนางจุรีมีหนังสือเชิญผู้ถือหุ้นของบริษัทประชุมวิสามัญครั้งที่ 1/2537 จึงชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 1174 วรรคสอง กรณีไม่จำต้องให้ผู้ถือหุ้นเดิมทุกคนที่ขอให้เรียกประชุมร่วมเรียกประชุมด้วย
เมื่อการประชุมมีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุมอันมีจำนวนหุ้นเกินกว่า1 ใน 4 แห่งจำนวนหุ้นของบริษัทที่ประชุมซึ่งปรึกษากิจการใด ๆ ได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1178 และการประชุมวิสามัญครั้งที่ 1 ดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทแล้ว ดังนั้นมติของที่ประชุมจึงเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อต้องมีพยานลงลายมือชื่อ การโอนหุ้นโมฆะส่งผลถึงมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและกรรมการ
การโอนหุ้นบริษัทจำกัดชนิดระบุชื่อต้องมีพยานลงลายมือชื่อในหนังสือโอนหุ้น มิฉะนั้นเป็นโมฆะ แม้จะทำต่อหน้าพยานรู้เห็นหลายคนก็ตาม การจดลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น และโจทก์มาฟ้องให้โอนหุ้นคืน ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ที่รับโอนหุ้นต่อไปโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนก็ไม่เป็นเจ้าของหุ้น การประชุมใหญ่ก็นับเป็นจำนวนผู้ถือหุ้นไม่ได้ ไม่ครบองค์ประชุมหนึ่งในสี่ของจำนวนผู้ถือหุ้นมติของที่ประชุมไม่มีผล กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งก็ไม่ใช่กรรมการของบริษัทโดยชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยกฎหมายเมื่อเป็นไปตามขั้นตอนที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนด
จำเลยกับพวกผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ขึ้น โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการของบริษัทได้ทำหนังสือเรียกประชุมผู้ถือหุ้นกำหนดวันประชุมแล้วจัดส่งทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และเมื่อถึงวันนัดประชุม ได้มีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุม 24 คน ซึ่งรวมจำนวนหุ้นแล้วมีจำนวน 64 หุ้น อันมีจำนวนหุ้นเกินกว่าหนึ่งในสี่แห่งทุนของบริษัท ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 100 หุ้น ดังนี้ การประชุมใหญ่ที่จำเลยกับพวกจัดขึ้นเป็นไปตามขั้นตอนถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1172, 1175 และ 1178 แล้ว การประชุมใหญ่ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติอย่างไรไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทแล้ว มตินั้นย่อมเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยกฎหมายเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนและมีองค์ประชุมครบตามกฎหมาย
จำเลยกับพวกผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้จัดให้มีการประชุมใหญ่ขึ้น โดยจำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการของบริษัท ได้ทำหนังสือเรียกประชุมผู้ถือหุ้น กำหนดวันประชุม แล้วจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และเมื่อถึงวันนัดประชุม ได้มีผู้ถือหุ้นมาเข้าประชุม 24 คน ซึ่งรวมจำนวนหุ้นแล้วมีจำนวน 64 หุ้น อันมีจำนวนหุ้นเกินกว่าหนึ่งในสี่แห่งทุนของบริษัท ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 100 หุ้น ดังนี้ การประชุมใหญ่ที่จำเลยกับพวกจัดขึ้นเป็นไปตามขั้นตอนถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1172,1175 และ 1178 แล้ว การประชุมใหญ่ดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อที่ประชุมใหญ่ลงมติอย่างไรไปตามวัตถุประสงค์ของบริษัทแล้ว มตินั้นย่อมเป็นมติที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งกรรมการใหม่ ทำให้กรรมการชุดเดิมยังมีอำนาจบริหารบริษัทต่อไป
บริษัท ส. ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไว้โดยชอบด้วยกฎหมายในการนี้ได้จดทะเบียนรายชื่อกรรมการของบริษัทครั้งหลังที่สุด คือเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2509 ไว้ว่ามีกรรมการ 7 คน คือจำเลยทั้งเจ็ดคนนี้ซึ่งเป็นกรรมการชุดที่ได้รับเลือกจากมติที่ประชุมใหญ่ของบริษัทเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2508 จึงถือได้ว่ากรรมการชุดจำเลยนี้เป็นกรรมการของบริษัทที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ได้มีการประชุมใหญ่ตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นอีก 7 คนคือกรรมการชุดโจทก์ แต่ได้มีการคัดค้านและ ท. กับพวก ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509อ้างว่าเป็นการประชุมใหญ่ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทปรากฏตามคดีแพ่งดำที่ 132/2509 ซึ่งคดีดังกล่าวได้เด็ดขาดถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมวิสามัญเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ที่ตั้งกรรมการใหม่คือกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทเสีย ฉะนั้น เมื่อมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ซึ่งตั้งกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทในภายหลังการแต่งตั้งกรรมการชุดจำเลยเพื่อบริหารกิจการของบริษัทแทนกรรมการชุดจำเลยได้ถูกศาลพิพากษาเพิกถอนเสียเช่นนี้แล้วก็เท่ากับไม่มีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นแทนกรรมการชุดจำเลย กรรมการชุดจำเลยซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยมติที่ประชุมใหญ่และนายทะเบียนได้จดทะเบียนเป็นกรรมการของบริษัทโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วก็มีสิทธิและอำนาจที่จะบริหารกิจการของบริษัทได้โดยชอบต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งกรรมการใหม่ ทำให้กรรมการชุดเดิมยังมีอำนาจบริหารกิจการต่อไป
บริษัท ส. ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย ในการนี้ได้จดทะเบียนรายชื่อกรรมการของบริษัทครั้งหลังที่สุด คือเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2509 ไว้ว่ามีกรรมการ 7 คน คือจำเลยทั้งเจ็ดคนนี้ซึ่งเป็นกรรมการชุดที่ได้รับเลือกจากมติที่ประชุมใหญ่ของบริษัทเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2508 จึงถือได้ว่ากรรมการชุดจำเลยนี้เป็นกรรมการของบริษัทที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ได้มีการประชุมใหญ่ตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นอีก 7 คน คือกรรมการชุดโจทก์ แต่ได้มีการคัดค้าน และ ท. กับพวก ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 อ้างว่าเป็นการประชุมใหญ่ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของบริษัท ปรากฏตามคดีแพ่งดำที่ 132/2509 ซึ่งคดีดังกล่าวได้เด็ดขาดถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาพิพากษาให้เพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่หรือที่ประชุมวิสามัญเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ที่ตั้งกรรมการใหม่คือกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทเสีย ฉะนั้น เมื่อมติที่ประชุมใหญ่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2509 ซึ่งตั้งกรรมการชุดโจทก์เป็นกรรมการของบริษัทในภายหลังการแต่งตั้งกรรมการชุดจำเลยเพื่อบริหารกิจการของบริษัทแทนกรรมการชุดจำเลยได้ถูกศาลพิพากษาเพิกถอนเสียเช่นนี้แล้ว ก็เท่ากับไม่มีการแต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ขึ้นแทนกรรมการชุดจำเลย กรรมการชุดจำเลยซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยมติที่ประชุมใหญ่และนายทะเบียนได้จดทะเบียนเป็นกรรมการของบริษัทโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็มีสิทธิและอำนาจที่จะบริหารกิจการของบริษัทได้โดยชอบต่อไป