คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ปรีชา พานิชวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 390 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริง: นายสมนึกเป็นลูกจ้าง/ตัวแทนของจำเลยหรือไม่
การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า ส. ไม่ใช่ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยนั้น ก็โดยใช้ดุลพินิจวินิจฉัยจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบ แล้วฟังข้อเท็จจริงไปตามนั้น เหตุที่นำคำเบิกความของร้อยตำรวจโทก.และนายช.พยานโจทก์ทั้งสองมาเป็นข้อวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104. กรณีเช่นนี้จึงมิใช่วินิจฉัยตรงข้ามกับพยานหลักฐานในสำนวนอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายดังที่โจทก์ฎีกาแต่ประการใดฉะนั้นข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ส. เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนที่ปฏิบัติงานไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของจำเลย จึงเป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1895/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจำคุกรวมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 และอำนาจศาลฎีกาในการพิจารณาแม้จำเลยไม่ได้ฎีกา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 3 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ที่ 2 มิได้ฎีกา ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2526 มาตรา 4 แก้ไขมาตรา 91 แห่งประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องรวมโทษทุกกระทง ซึ่งตามมาตรา 91(3) ที่แก้ไขใหม่ได้บัญญัติไว้ว่า สำหรับความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 10 ปี ขึ้นไป เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 50 ปี และโดยที่ความผิดกระทงที่หนักที่สุดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 คือความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ซึ่งมีอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ประหารชีวิต กรณีจึงต้องด้วยมาตรา91(3) เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วจะลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1ที่ 2 ได้ไม่เกิน 50 ปี ดังนั้น จึงต้องใช้กฎหมายใหม่ดังกล่าวซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1872/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำเบิกความจากคดีอื่นโดยไม่ได้รับการร้องขอเป็นอำนาจศาลตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การที่ศาลชั้นต้นรับฟังคำเบิกความของพยาน ซึ่งเบิกความไว้ในคดีอื่นมาประกอบการวินิจฉัยชี้ขาดคดีในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ถือได้ว่าเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นทำการสืบพยานเพิ่มเติมโดยพลการโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอเป็นอำนาจของศาลที่จะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228 ประกอบด้วยมาตรา171

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนขัดแย้งรุนแรงถึงขั้นฟ้องร้องอาญา ย่อมเป็นเหตุให้ศาลสั่งเลิกห้างหุ้นส่วนได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีผู้เป็นหุ้นส่วนสองคน คือโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ยักยอกทรัพย์ ของห้างหุ้นส่วน และจำเลยที่ 2 กล่าวหาว่าโจทก์ลักทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน จนโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างถูกพนักงานอัยการฟ้องคดีอาญาในความผิดที่ต่างฝ่ายต่างกล่าวหาซึ่งกันและกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกันไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน จึง เป็นกรณีที่มีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้ ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนไม่ปรองดอง พิพาททางอาญา เป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ได้
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีผู้เป็นหุ้นส่วนสองคน คือโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 ยักยอกทรัพย์ ของห้างหุ้นส่วน และจำเลยที่ 2 กล่าวหาว่าโจทก์ลักทรัพย์ของห้างหุ้นส่วน จนโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างถูกพนักงานอัยการฟ้องคดีอาญาในความผิดที่ต่างฝ่ายต่างกล่าวหาซึ่งกันและกัน พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ปรองดองกัน ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน จึง เป็นกรณีที่มีเหตุทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรง คงอยู่ต่อไปได้ ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนเลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์พระพุทธรูปที่ไม่เป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชน และผลกระทบของ พ.ร.บ.ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษ
พระพุทธรูปที่จำเลยลักไปหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว ตั้งไว้ที่มุมโต๊ะบูชาในห้องของหอสวดมนต์ ถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก แม้จำเลยจะลักพระพุทธรูปนี้ในวัดก็ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสอง ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พระราชบัญญัติล้างมลทินได้ใช้ บังคับ โดยพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าบรรดาผู้ต้องโทษและได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้ บังคับ เป็นผู้มิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นๆ ดังนี้ เมื่อความผิดที่ศาลจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้ เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปก่อนวันที่พระราชบัญญัติข้างต้นใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ แต่สำหรับโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษไว้ นำมาบวกแก่โทษของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1812/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์พระพุทธรูป และการเพิ่มโทษจากคดีก่อนหน้าที่มีการล้างมลทิน
พระพุทธรูปที่จำเลยลักไปหน้าตักกว้าง 5 นิ้ว ตั้งไว้ที่มุมโต๊ะบูชาในห้องของหอสวดมนต์ ถือไม่ได้ว่าเป็นทรัพย์อันเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ทวิ วรรคแรก แม้จำเลยจะลักพระพุทธรูปนี้ในวัดก็ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 335 ทวิ วรรคสอง
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พระราชบัญญัติล้างมลทินได้ใช้ บังคับ โดยพระราชบัญญัตินี้ให้ถือว่าบรรดาผู้ต้องโทษและได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้ บังคับ เป็นผู้มิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นๆ ดังนี้เมื่อความผิดที่ศาลจำคุกจำเลยที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ จำเลยได้พ้นโทษไปก่อนวันที่พระราชบัญญัติข้างต้นใช้บังคับจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้ แต่สำหรับโทษจำคุกที่ศาลรอการลงโทษไว้นำมาบวกแก่โทษของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารบันทึกประจำวันไม่ถือเป็นสัญญาเช่า ต้องมีหลักฐานการตกลงเช่าที่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเช่ากับค่าเสียหายจำเลย ให้การว่าไม่เคยเช่าที่ดินโจทก์และได้ออกจากที่พิพาทไป แล้ว ก่อนสืบพยานโจทก์ จำเลยขอให้ศาลชี้ขาด ข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะสำเนาเอกสาร ท้ายฟ้องมิใช่สัญญาเช่าและจำเลยออกจากที่พิพาทไปแล้วศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษายกฟ้องโจทก์โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์โดยอ้างว่า บันทึกประจำวันท้ายฟ้องไม่ใช่สัญญาเช่านั้นไม่ชอบขอให้พิพากษาให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์แล้วพิจารณาใหม่ตาม รูปคดีดังนี้ ประเด็นตามอุทธรณ์ของโจทก์มีเพียงว่า บันทึกประจำวันท้ายฟ้องเป็นหลักฐานการเช่าหรือไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์แสดงว่ามีข้อโต้แย้ง เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับที่พิพาท ต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความก่อนแล้วให้ศาลชั้นต้น พิจารณาพิพากษาใหม่นั้น จึงไม่ตรงตามประเด็นที่โจทก์ อุทธรณ์เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าบันทึกประจำวันท้ายฟ้องไม่ใช่ หลักฐานการเช่าแล้ว ก็ต้องยกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารบันทึกประจำวันสถานีตำรวจ ไม่ถือเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมีการตกลงกันก่อนหน้านี้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเช่ากับค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าไม่เคยเช่าที่ดินโจทก์และได้ออกจากที่พิพาทไปแล้วก่อนสืบพยานโจทก์ จำเลยขอให้ศาลชี้ขาด ข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะสำเนาเอกสาร ท้ายฟ้องมิใช่สัญญาเช่าและจำเลยออกจากที่พิพาทไปแล้ว ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์โดยอ้างว่า บันทึกประจำวันท้ายฟ้องไม่ใช่สัญญาเช่านั้นไม่ชอบ ขอให้พิพากษาให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์แล้วพิจารณาใหม่ตามรูปคดีดังนี้ ประเด็นตามอุทธรณ์ของโจทก์มีเพียงว่า บันทึกประจำวันท้ายฟ้องเป็นหลักฐานการเช่าหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์แสดงว่ามีข้อโต้แย้ง เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับที่พิพาท ต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความก่อนแล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น จึงไม่ตรงตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าบันทึกประจำวันท้ายฟ้องไม่ใช่ หลักฐานการเช่าแล้ว ก็ต้องยกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินร่วม การขายสินสมรสโดยไม่ยินยอม และความรับผิดทางอาญาจากการแจ้งข้อมูลเท็จ
หลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ ใช้บังคับแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สิน ไว้เป็นพิเศษ อำนาจการจัดการที่ดินสินสมรสระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นสามี และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาตามฟ้องซึ่งรวมถึงอำนาจการจำหน่ายด้วย ย่อมเป็นอำนาจของโจทก์และจำเลยที่ 1 รวมกันตามมาตรา 1476 และมาตรา 1477 แม้จำเลยที่ 1 จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจทำนิติกรรมขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1เป็นหญิงหม้ายหย่ากับสามี ยังไม่มีสามีใหม่เจ้าพนักงานที่ดิน จึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในข้อหาดังกล่าว
of 39