พบผลลัพธ์ทั้งหมด 390 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแสดงกรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ แม้ผู้ร้องไม่ได้ครอบครองขณะยื่นคำร้อง
การยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่า ผู้ร้องจะต้องเป็นผู้ครอบครอง อสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะยื่นคำร้องขอต่อศาลและคำสั่งของศาล ที่แสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามคำร้องขอนั้น ก็เป็นเพียง คำสั่งที่รับรองว่าการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้ร้อง ตามที่ได้ครอบครองมาแล้วนั้นเป็นผลให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แล้วเพื่อที่ผู้ร้องจะได้นำคำพิพากษา ไปจดทะเบียนสิทธิ ต่อเจ้าพนักงานที่ดินต่อไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1059/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์ ศาลไม่จำกัดว่าผู้ร้องต้องครอบครองขณะยื่นคำร้อง
การยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 มิได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าผู้ร้องจะต้องเป็นผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์อยู่ในขณะยื่นคำร้องขอต่อศาล และคำสั่งของศาล ที่แสดงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามคำร้องขอนั้น ก็เป็นเพียงคำสั่งที่รับรองว่าการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้ร้องตามที่ได้ครอบครองมาแล้วนั้น เป็นผลให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แล้ว เพื่อที่ผู้ร้องจะได้นำคำพิพากษาไปจดทะเบียนสิทธิต่อเจ้าพนักงานที่ดินต่อไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1021/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องระบุเหตุขาดนัดและข้อคัดค้านคำพิพากษาอย่างชัดเจน
คำขอให้พิจารณาใหม่นั้น คู่ความจะต้องกล่าวถึงเหตุที่ขาดนัดประการหนึ่ง และข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลอีกประการหนึ่งโดยละเอียดและชัดแจ้งทั้ง 2 ประการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคท้าย เมื่อปรากฏว่าคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองกล่าวแต่เหตุที่จำเลยทั้งสองขาดนัดแต่เพียงประการเดียว ไม่ได้กล่าวโดยละเอียดและชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำชี้ขาดของศาลคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ ด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1015/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต และสิทธิของผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินป่าสงวน
ที่พิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งต้องห้ามมิให้ยึดถือครอบครองหากโจทก์ซื้อโดยทราบอยู่ก่อนว่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองทำประโยชน์ การซื้อของโจทก์ย่อมเป็นไปโดยไม่สุจริตแม้เป็นการซื้อมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโจทก์ก็ไม่ได้สิทธิในที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330นอกจากนี้ในระหว่างราษฎรด้วยกันจำเลยซึ่งเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทย่อมมีสิทธิดีกว่าโจทก์การที่จำเลยแถลงรับในชั้นชี้สองสถานว่าจำเลยไม่มีน.ส.3 สำหรับที่พิพาทยังไม่เพียงพอที่ศาลจะวินิจฉัยให้จำเลยแพ้คดีคดีจึงจำต้องทำการสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปให้สิ้นกระแสความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสัญญาใหม่มาใช้แทนสัญญาเดิมที่เลิกแล้ว การนำหลักฐานนอกฟ้องมาใช้
ปัญหาที่ว่าสัญญาเลิกกันแล้วหรือไม่กับการนำเอาสัญญาที่เลิกกันแล้วกลับมาใช้ใหม่ตามข้อตกลงในสัญญาใหม่นั้นหาเหมือนกันไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ตั้งเรื่องการมีข้อตกลงในสัญญาใหม่ให้นำสัญญาที่จำเลยต่อสู้ว่าเลิกกันแล้วกลับมาใช้ใหม่แต่กลับปรากฏว่ามีสัญญาใหม่ดังกล่าวในขั้นสืบพยานจึงย่อมถือได้ว่า โจทก์นำสืบถึงสัญญาใหม่ดังกล่าวนอกฟ้องนอกประเด็นจะรับฟังนำมาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสัญญาเดิมด้วยข้อตกลงใหม่ และการนำหลักฐานนอกฟ้องมาใช้ในการวินิจฉัย
ปัญหาที่ว่าสัญญาเลิกกันแล้วหรือไม่กับการนำเอาสัญญาที่เลิกกันแล้วกลับมาใช้ใหม่ตามข้อตกลงในสัญญาใหม่นั้นหาเหมือนกันไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่ได้ตั้งเรื่องการมีข้อตกลงในสัญญาใหม่ให้นำสัญญาที่จำเลยต่อสู้ว่าเลิกกันแล้วกลับมาใช้ใหม่แต่กลับปรากฏว่ามีสัญญาใหม่ดังกล่าวในขั้นสืบพยานจึงย่อมถือได้ว่าโจทก์นำสืบถึงสัญญาใหม่ดังกล่าวนอกฟ้องนอกประเด็นจะรับฟังนำมาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการอนุญาตก่อสร้าง และการฟ้องคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 4 จำเลยที่1มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมาตรา 8 ให้นายอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งสุขาภิบาลนั้นตั้งอยู่เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4ให้คำนิยาม "เจ้าพนักงานท้องถิ่น"' หมายความว่า ฯลฯ (2) ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาลเมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แล้วจะเห็นได้ว่าไม่มีบทบัญญัติให้สุขาภิบาล ซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้ายและใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารแต่อย่างใดเลย การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคารหรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 21, 22, 23 และมาตรา 24 นั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตดังนั้น การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น คือประธานกรรมการสุขาภิบาลได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทจึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงมิใช่ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1
เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้าง อาคาร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกอาคารดังกล่าวดังนี้ หากโจทก์ไม่เสนอคดีต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเห็นได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งโดยคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นมูลฐาน ทั้งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522ก็ไม่มีบทบัญญัติว่ากรณีเช่นนี้ผู้ขอใบอนุญาตจะต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้าง อาคาร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกอาคารดังกล่าวดังนี้ หากโจทก์ไม่เสนอคดีต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเห็นได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งโดยคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นมูลฐาน ทั้งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522ก็ไม่มีบทบัญญัติว่ากรณีเช่นนี้ผู้ขอใบอนุญาตจะต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการฟ้องคดีที่ถูกต้อง การฟ้องจำเลยที่ 1 (สุขาภิบาล) และจำเลยที่ 2 (เจ้าพนักงานท้องถิ่น)
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 4 จำเลยที่1 มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมาตรา 8 ให้นายอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งสุขาภิบาลนั้นตั้งอยู่เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4ให้คำนิยาม "เจ้าพนักงานท้องถิ่น"' หมายความว่า ฯลฯ (2)ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาล เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แล้วจะเห็นได้ว่าไม่มีบทบัญญัติให้สุขาภิบาล ซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารแต่อย่างใดเลย การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคารหรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 21,22,23 และมาตรา 24 นั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่อนุญาตหรือไม่อนุญาต ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น คือประธานกรรมการสุขาภิบาลได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาท จึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1 เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้าง อาคาร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกอาคารดังกล่าวดังนี้ หากโจทก์ไม่เสนอคดีต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเห็นได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งโดยคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นมูลฐาน ทั้งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็ไม่มีบทบัญญัติว่ากรณีเช่นนี้ผู้ขอใบอนุญาตจะต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนบัตรปลอม - ความผิดมาตรา 245 - ผู้ใช้โดยไม่รู้ - พยานหลักฐานไม่เพียงพอ
จำเลยมีธนบัตรของกลางเพียงฉบับเดียวนำไปชำระค่าร่วมประเวณีแก่หญิงเป็นธนบัตรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับธนบัตรฉบับละ500 บาทที่แท้จริง จำเลยมีอาชีพค้าขายปลีกเนื้อสัตว์ในต่างจังหวัด อาจได้รับธนบัตรของกลางมาจากลูกค้าซื้อเนื้อสัตว์ โดยจำเลยไม่รู้ว่าเป็นธนบัตรปลอม ดังนี้ จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 245
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 613/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินและบ้านโดยไม่ได้จดทะเบียน และข้อจำกัดในการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
จำเลยฎีกาว่า การซื้อขายที่ดินและบ้านไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้แต่ศาลชั้นต้น จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 แม้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก็ไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัย