พบผลลัพธ์ทั้งหมด 390 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าก่อนล้มละลาย ไม่ถือเป็นการให้ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
การที่เช็คลงวันที่ล่วงหน้าซึ่งลูกหนี้นำไปชำระหนี้แก่ผู้คัดค้านถึงกำหนดภายในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายคงเป็นแต่เพียงผลที่กฎหมายบัญญัติให้หนี้ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เท่านั้นไม่อาจถือได้ว่าวันที่เช็คถึงกำหนดเป็นวันที่ลูกหนี้กระทำหรือยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ด้วยเช็คลงวันที่ล่วงหน้าก่อนล้มละลาย ไม่ถือว่าเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้
การที่เช็คลงวันที่ล่วงหน้าซึ่งลูกหนี้นำไปชำระหนี้แก่ผู้คัดค้าน ถึงกำหนดภายในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการ ขอให้ล้มละลาย คงเป็นแต่เพียงผลที่กฎหมายบัญญัติให้หนี้ ระงับไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 เท่านั้น ไม่อาจถือได้ว่า วันที่เช็คถึงกำหนดเป็นวันที่ลูกหนี้กระทำ หรือยอมให้กระทำ ในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ ล้มละลาย โดยมุ่งหมาย ให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1871-1872/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นการรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทซ้ำกับคดีถึงที่สุดแล้ว ศาลยกฟ้อง
ศาลฎีกาได้พิพากษาให้โจทก์แบ่งที่ดินในโฉนดให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ในสำนวนแรกและแบ่งให้แก่นาง พ. มารดาจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในสำนวนหลัง ต่อมาโจทก์และจำเลย ได้พิพาทกันในชั้นบังคับคดี เกี่ยวกับการรังวัดแบ่งแยกที่ดินในโฉนดดังกล่าว ว่ารังวัด แบ่งแยกถูกต้องตรงตามคำพิพากษาฎีกาหรือไม่ศาลชั้นต้นได้นัด พร้อมทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าตรงที่พิพาทด้านเหนือให้ เจ้าพนักงานรังวัด แบ่งให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งสองสำนวน นี้เพียงแค่ติดสวนของโจทก์ เมื่อช่างแผนที่ไปรังวัด แบ่งแยกเสร็จแล้วโจทก์ไม่รับรองศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่ารูปแผนที่แบ่งแยกซึ่งช่างแผนที่ทำมานั้นถูกต้องตรงกับข้อตกลงของโจทก์ จำเลยแล้ว มีคำสั่งให้แบ่งแยกที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองสำนวน ตามรูปแผนที่แบ่งแยกดังกล่าวคดีถึงที่สุดฉะนั้นที่โจทก์ฟ้องคดี ทั้งสองสำนวนนี้ว่า จำเลยทั้งสองสำนวนได้สมคบกันออกรูปแผนที่ หลังโฉนดซึ่ง เป็นที่พิพาทกันในคดีก่อนขัดกับคำพิพากษาฎีกา เป็นเหตุให้ ที่ดินของโจทก์ขาดไป. จึงเป็นการโต้เถียงว่า การรังวัดแบ่งแยกที่ดินพิพาทไม่ถูกต้องตรงตามคำพิพากษาฎีกาอัน เป็นประเด็นเดียวกัน กับประเด็นที่โจทก์จำเลยพิพาทกันใน ชั้นบังคับคดี ซึ่งได้มีคำพิพากษา หรือคำสั่งถึงที่สุดดังกล่าว แล้ว ฟ้องของโจทก์ทั้งสองสำนวนนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหัวหน้าแผนกจากการละเลยหน้าที่จนเกิดการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชา และการค้ำประกัน
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของโจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับเงินและจ่ายเงินให้ถูกต้อง ตลอดจนการฝากเงิน ถอนเงินธนาคาร และรวบรวมเงินที่คงเหลือทุกวันส่งผู้ช่วยหัวหน้ากองบัญชีและการคลังฝ่ายการเงิน เพื่อตรวจสอบและเก็บรักษาไว้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นพนักงานการเงินของโจทก์และเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่ 4 ได้ร่วมกันกระทำการทุจริตเงินที่ผ่านเข้ามาในแผนกการเงินตามสายงานหลายครั้งต่อเนื่อง กันเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือน ทำให้เงินของโจทก์ขาดหายไปรวม 1,394,049.85 บาท วิธีการทุจริตส่วนใหญ่เป็นเรื่องรับเงินมาแล้วไม่ลงบัญชี ไม่ออกใบรับเงิน ทำหลักฐานว่านำเงินไปฝากธนาคารแต่ความจริงไม่ได้ฝาก พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เหล่านี้ถ้าหากจำเลยที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็ไม่อาจทุจริตได้ การที่จำเลยที่ 4 ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตนมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติ จนเป็นเหตุให้เงินของโจทก์ขาดหายไปโดยการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชาเช่นนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 4 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มาตรา 29บัญญัติให้ผู้ว่าการเป็นผู้บริหารกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง มาตรา 30 บัญญัติว่า ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้นมาตรา 23 บัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ การบริหารก็คือการปกครองและดำเนินการหรือการจัดการ และการฟ้องคดีในนามของนิติบุคคลก็คือการจัดการหรือการดำเนินการนั่นเอง หาใช่การควบคุมดูแลกิจการของนิติบุคคลไม่ อำนาจฟ้องในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงเป็นอำนาจของผู้ว่าการไม่ใช่อำนาจของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ว่าการของโจทก์จึงมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีในนามของโจทก์ได้ เดิมโจทก์มีคำสั่งจ้างจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวัน ต่อมาจึงได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าทำงาน เป็นลูกจ้างรายวัน เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งเป็นพนักงานประจำแล้วมิได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก คดีได้ความว่าลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานจะต้อง ยื่นใบสมัครและ ทำสัญญาค้ำประกันอีก เช่นนี้ ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไว้นั้น คู่สัญญามีเจตนา ให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ในฐานะลูกจ้างรายวันเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานประจำ ไม่ได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก และจำเลยที่ 2 ทำละเมิด ต่อโจทก์ในระหว่างเป็นพนักงานประจำ โจทก์จะนำสัญญาค้ำประกัน ดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหัวหน้าแผนกการเงินต่อการทุจริตของลูกน้อง และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของโจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับเงินและจ่ายเงินให้ถูกต้อง ตลอดจนการฝากเงิน ถอนเงินธนาคาร และรวบรวมเงินที่คงเหลือทุกวันส่งผู้ช่วยหัวหน้ากองบัญชีและการคลัง ฝ่ายการเงิน เพื่อตรวจสอบและเก็บรักษาไว้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นพนักงานการเงินของโจทก์และเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่ 4 ได้ร่วมกันกระทำการทุจริตเงินที่ผ่านเข้ามาในแผนกการเงินตามสายงานหลายครั้งต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือน ทำให้เงินของโจทก์ขาดหายไปรวม 1,394,049.85 บาท วิธีการทุจริตส่วนใหญ่เป็นเรื่องรับเงินมาแล้วไม่ลงบัญชี ไม่ออกใบรับเงิน ทำหลักฐานว่านำเงินไปฝากธนาคารแต่ความจริงไม่ได้ฝาก พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เหล่านี้ถ้าหากจำเลยที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็ไม่อาจทุจริตได้ การที่จำเลยที่ 4 ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตนมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติ จนเป็นเหตุให้เงินของโจทก์ขาดหายไปโดยการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชาเช่นนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 4 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มาตรา 29 บัญญัติให้ผู้ว่าการเป็นผู้บริหารกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง มาตรา 30 บัญญัติว่า ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้นมาตรา 23 บัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ การบริหารก็คือการปกครองและดำเนินการหรือการจัดการ และการฟ้องคดีในนามของนิติบุคคลก็คือการจัดการหรือการดำเนินการนั่นเอง หาใช่การควบคุมดูแลกิจการของนิติบุคคลไม่ อำนาจฟ้องในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงเป็นอำนาจของผู้ว่าการไม่ใช่อำนาจของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ว่าการของโจทก์จึงมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีในนามของโจทก์ได้
เดิมโจทก์มีคำสั่งจ้างจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวัน ต่อมาจึงได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยที่ 7ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าทำงาน เป็นลูกจ้างรายวัน เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งเป็นพนักงานประจำแล้วมิได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก คดีได้ความว่าลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานจะต้อง ยื่นใบสมัครและ ทำสัญญาค้ำประกันอีก เช่นนี้ ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไว้นั้น คู่สัญญามีเจตนา ให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ในฐานะลูกจ้างรายวันเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานประจำ ไม่ได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก และจำเลยที่ 2 ทำละเมิด ต่อโจทก์ในระหว่างเป็นพนักงานประจำ โจทก์จะนำสัญญาค้ำประกัน ดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มาตรา 29 บัญญัติให้ผู้ว่าการเป็นผู้บริหารกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง มาตรา 30 บัญญัติว่า ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้นมาตรา 23 บัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ การบริหารก็คือการปกครองและดำเนินการหรือการจัดการ และการฟ้องคดีในนามของนิติบุคคลก็คือการจัดการหรือการดำเนินการนั่นเอง หาใช่การควบคุมดูแลกิจการของนิติบุคคลไม่ อำนาจฟ้องในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงเป็นอำนาจของผู้ว่าการไม่ใช่อำนาจของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ว่าการของโจทก์จึงมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีในนามของโจทก์ได้
เดิมโจทก์มีคำสั่งจ้างจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวัน ต่อมาจึงได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยที่ 7ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าทำงาน เป็นลูกจ้างรายวัน เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งเป็นพนักงานประจำแล้วมิได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก คดีได้ความว่าลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานจะต้อง ยื่นใบสมัครและ ทำสัญญาค้ำประกันอีก เช่นนี้ ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไว้นั้น คู่สัญญามีเจตนา ให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ในฐานะลูกจ้างรายวันเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานประจำ ไม่ได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก และจำเลยที่ 2 ทำละเมิด ต่อโจทก์ในระหว่างเป็นพนักงานประจำ โจทก์จะนำสัญญาค้ำประกัน ดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่กรมการค้าต่างประเทศในการซื้อขายข้าวสำรอง และการส่งหนังสือทวงหนี้โดยชอบ
กระทรวงพาณิชย์มีวัตถุประสงค์รวมตลอดถึงการซื้อขายและ แลกเปลี่ยนสินค้าด้วยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบในการ ปฏิบัติราชการของกระทรวงย่อมมีอำนาจมอบหมายให้ กรมการค้าต่างประเทศโจทก์ซึ่งเป็นกรมในสังกัด ปฏิบัติราชการ ส่วนใดส่วนหนึ่งตามวัตถุประสงค์ของกระทรวงได้ เมื่อกระทรวง มอบหมายให้โจทก์ซึ่งมีหน้าที่ส่งเสริมควบคุมเกี่ยวกับการค้า ต่างประเทศโดยเฉพาะมีหน้าที่ควบคุมการอนุญาตให้ค้าข้าวส่งออก ไปต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อข้าวส่งออกไปต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อข้าวสำรองเพื่อการบริโภคภายในประเทศ โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะตกลงทำ สัญญาซื้อข้าวสำรองเพื่อการบริโภคภายในประเทศกับจำเลยได้โดย ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ส่งหนังสือทวงถามไปยังจำเลย ณ ที่ตั้งสำนักงานของ จำเลยตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการขายข้าวสำรองที่จำเลย ทำให้โจทก์ไว้ มีผู้ลงชื่อรับหนังสือทวงถามแล้ว แม้ จำเลยจะมีภูมิลำเนาตามที่ได้จดทะเบียนไว้แตกต่างออกไป ก็ต้องถือว่าที่ตั้งสำนักงานประกอบกิจการของจำเลยตามความ เป็นจริงเป็นภูมิลำเนาของจำเลยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3435/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในอาญาจากการควบคุมดูแลสัตว์ดุร้าย (ช้างตกมัน) โดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายและทรัพย์สินเสียหาย
ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ เมื่อกำลังตกมันย่อมเป็นสัตว์ดุ จำเลยไม่คอยควบคุมดูแลโดยใกล้ชิด เพียงแต่ใช้เชือกผูกไว้ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทและเป็นเหตุโดยตรงให้ ฟ. ผู้เสียหายถูกช้างของจำเลยแทงด้วยงาได้รับอันตรายสาหัส แล้วช้างของจำเลยวิ่งไปพังบ้านของ ด. เสียหายอีก จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 และการกระทำของจำเลยดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยปล่อยปละละเลยให้ ช้างเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ได้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 377 อีกบทหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3435/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบเจ้าของช้าง: ประมาทเลินเล่อในการควบคุมช้างตกมัน ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายและทรัพย์สินเสียหาย
ช้างเป็นสัตว์ใหญ่เมื่อกำลังตกมันย่อมเป็นสัตว์ดุ จำเลยไม่คอยควบคุมดูแลโดยใกล้ชิด เพียงแต่ใช้เชือกผูก ไว้ จึงเป็นการกระทำโดยประมาทและเป็นเหตุโดยตรงให้ฟ.ผู้เสียหายถูกช้างของจำเลยแทงด้วยงาได้รับอันตรายสาหัสแล้วช้างของจำเลยวิ่งไปพังบ้านของด. เสียหายอีกจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 และการ กระทำของจำเลยดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยปล่อยปละละเลยให้ ช้างเที่ยวไปโดยลำพัง ในประการที่อาจทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์ได้ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 377 อีกบทหนึ่งด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3405/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและการพิสูจน์เจตนาเพื่อมอบตัวต่อเจ้าหน้าที่
จำเลยคนหนึ่งขับขี่รถจักรยานยนต์โดยมีจำเลยอีก 2คนนั่งซ้อนท้าย นำอาวุธปืน และกระสุนปืนเข้ามาในตลาดซึ่ง เป็นเมืองและทางสาธารณะเท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่ารถจักรยานยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินซึ่งจำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ที่ศาลจะ สั่งริบ จำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 แต่ให้ลงโทษตาม พระราชบัญญัติ อาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดศาลจะอาศัย ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 มาเพื่อริบอาวุธปืนไม่ได้ ในเมื่อเป็นอาวุธปืนที่เจ้าของได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ให้มี จึงมิใช่ทรัพย์สินที่จะต้องริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3355/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการโอนกรรมสิทธิ์: ผลของการยกเลิกการขายทอดตลาดต่อผู้ซื้อและผู้รับโอนสิทธิ
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ได้นำ เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของ ส. ซึ่งได้นำมาประกันหนี้ ของจำเลยต่อศาลตามที่ได้อนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ และ ได้นำออกขายทอดตลาด ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินได้ต่อมา ส. ยื่นคำร้องว่าการขายทอดตลาดของ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายขอให้ศาลมีคำสั่ง ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้น ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องพร้อมส่ง สำเนาคำร้องกับแจ้งวันนัดให้ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ร้องที่ 1 ทราบ ผู้ร้องที่ 1 ยื่นคำแถลงว่า ผู้ร้อง ที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทโดยชอบ ขอให้ยกคำร้อง ของ ส. และผู้ร้องที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องที่ 2 แล้วผู้ร้องที่ 2 โอนให้ผู้ร้องที่ 3 ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิก การขายทอดตลาดที่ดินพิพาท มีการอุทธรณ์ฎีกาต่อมา โดย ผู้ร้องทั้งสามมิได้อุทธรณ์ฎีกา ระหว่างพิจารณาของ ศาลฎีกา ผู้ร้องทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง เพิกถอนคำสั่งที่ให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นเสีย เช่นนี้ เห็นได้ว่า ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการ บังคับคดีหากเสียหายอย่างไรก็ชอบที่จะยื่นคำร้องและ ขอสืบพยานเสียแต่ในชั้นไต่สวนคำร้อง ขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของ ส. หรืออุทธรณ์ฎีกาคำสั่ง ของศาลชั้นต้นที่ให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนั้นได้ แต่ ผู้ร้องที่ 1 ก็มิได้กระทำ ผู้ร้องที่ 1 จึงต้อง ผูกพันในผลแห่งคำสั่งศาลที่ว่าการขายทอดตลาดที่ดิน พิพาทไม่ชอบตามคำสั่งศาลที่ถึงที่สุด เมื่อการ ขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไม่ชอบผู้ร้องที่ 1 ย่อมไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ผู้ร้องที่ 2 ที่ 3เป็นผู้รับซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้ร้องที่ 1 ย่อมไม่ มีสิทธิดีกว่าผู้ร้องที่ 1 ผู้โอน จึงไม่ได้กรรมสิทธิ ด้วยเช่นกัน ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องของผู้ร้องทั้ง สาม