คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประมุข สวัสดิ์มงคล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีแร่ไว้ในครอบครอง: การขนย้ายและแต่งแร่อยู่คนละกรรม
องค์การเหมืองแร่จ้างจำเลยผลิตแร่ในเขตประทานบัตร ต่อมาจับจำเลยพร้อมแร่ของกลางที่บ้านจำเลยนอกเขตประทานบัตรขององค์การการที่จำเลยมีแร่ไว้ในครอบครองเป็นความผิดสำเร็จลงเมื่อจำเลยขนแร่ลงที่บ้านจำเลย เมื่อจำเลยแต่งแร่หรือล้างแร่ขึ้นอีกจึงเป็นความผิด อีกกรรมหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสลักหลัง-สัญญาซื้อขายลดเช็ค: การรับผิดของผู้อ้างสลักหลังและผู้สลักหลังต่อผู้ทรง
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาทำสัญญาขายลดรับเงินสดจากโจทก์ จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ในข้อนี้จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าเช็คดังกล่าวจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังไว้ดังโจทก์ฟ้อง
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีเพียงว่ามีเหตุไม่ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ หาได้ต่อสู้ในข้อไม่ต้องรับผิดในต้นเงินด้วยไม่ ฉะนั้นปัญหาว่าจำเลยจะต้องรับผิดในต้นเงินหรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 นำเช็คซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังมาทำสัญญาขายลดรับเงินสดจากโจทก์ โดยสัญญาว่าหากเช็คดังกล่าวถึงกำหนดชำระเงิน โจทก์ไม่ได้รับชำระเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 ยอมชำระเงินตามเช็คพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีแก่โจทก์เมื่อได้ความว่าโจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็ค จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีส่วนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
เช็คคือหนังสือตราสารซึ่งผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน จึงเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99 ซึ่งอาจโอนกรรมสิทธิ์กันได้ตามมาตรา 904, 917 และ 989 โจทก์จึงทำสัญญาซื้อขายลดเช็คอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่งซึ่งมีมูลหนี้อยู่ และนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องบังคับได้ และปัญหาว่าโจทก์จะใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาขายลดเช็คได้หรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ภาพถ่ายเช็คท้ายฟ้องจะมีต้นฉบับอยู่หรือไม่โจทก์ได้รับเงินตามเช็คจากผู้สั่งจ่ายแล้วหรือไม่จำเลยไม่ทราบ และตามภาพถ่ายเช็คท้ายฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยลงลายมือชื่อสลักหลังไว้โจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ทั้งโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์โจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องนั้นไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยอำนาจฟ้องของโจทก์ เพราะไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเป็นคู่ความได้หรือไม่เมื่อจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3567/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คสลักหลัง - สัญญาซื้อขายลดเช็ค - ความรับผิดของผู้อุทธรณ์ - อำนาจฟ้อง
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาทำสัญญาขายลดรับเงินสดจากโจทก์จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ในข้อนี้จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าเช็คดังกล่าวจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังไว้ดังโจทก์ฟ้อง
จำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีเพียงว่ามีเหตุไม่ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ หาได้ต่อสู้ในข้อไม่ต้องรับผิดในต้นเงินด้วยไม่ ฉะนั้นปัญหาว่าจำเลยจะต้องรับผิดในต้นเงินหรือไม่ จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 1 นำเช็คซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้สลักหลังมาทำสัญญาขายลดรับเงินสดจากโจทก์ โดยสัญญาว่าหากเช็คดังกล่าวถึงกำหนดชำระเงิน โจทก์ไม่ได้รับชำระเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 ยอมชำระเงินตามเช็คพร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีแก่โจทก์เมื่อได้ความว่าโจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้ตามเช็ค จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
เช็คคือหนังสือตราสารซึ่งผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน จึงเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99 ซึ่งอาจโอนกรรมสิทธิ์กันได้ตามมาตรา 904,917 และ 989โจทก์จึงทำสัญญาซื้อขายลดเช็คอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่งซึ่งมีมูลหนี้อยู่ และนำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องบังคับได้ และปัญหาว่าโจทก์จะใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาขายลดเช็คได้หรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ภาพถ่ายเช็คท้ายฟ้องจะมีต้นฉบับอยู่หรือไม่ โจทก์ได้รับเงินตามเช็คจากผู้สั่งจ่ายแล้วหรือไม่จำเลยไม่ทราบ และตามภาพถ่ายเช็คท้ายฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยลงลายมือชื่อสลักหลังไว้ โจทก์ไม่มีพยานมาสืบ ทั้งโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์โจทก์ยังไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องนั้นไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยอำนาจฟ้องของโจทก์ เพราะไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิเป็นคู่ความได้หรือไม่เมื่อจำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับฝากทรัพย์: ความรับผิดของผู้รับฝากเมื่อทรัพย์สูญหาย, อายุความ, และการรับช่วงสิทธิ
คดีมีทุนทรัพย์ 42,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดย วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีไม่ขาดอายุความ แต่มีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคงต้องรับผิดเฉพาะจำเลยที่ 3 จึงพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 3 ใช้เงิน 40,000 บาทแก่โจทก์ การแก้ไขเช่นนี้เป็นการแก้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ให้รับผลตรงข้ามกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยที่ 3 ฎีกาข้อเท็จจริงได้
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันที่หายไว้และได้ใช้เงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกผู้ก่อวินาศภัยด้วยอำนาจกฎหมาย โดยโจทก์และบุคคลภายนอกนั้นไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
ผู้เอาประกันภัยได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากผู้รับประโยชน์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่าไป จำเลยที่ 2 นำรถยนต์นั้นไปฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 แล้วหายไปเพราะจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รถยนต์ที่ให้เช่าคืน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปจอดที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 นั้นจำเลยที่ 3 ก็อยู่ที่ปั๊มน้ำมันและได้รับเงิน 5 บาทที่จำเลยที่ 2มอบให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 3 ไว้แล้วรถที่นำมาจอดรายวันและจะจอดตรงไหนก็ได้ในลานจอดรถ จำเลยที่ 3 ประจำอยู่ที่ปั๊มน้ำมันตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นเวลากลางคืนแสดงว่าจำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของปั๊มคอยดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินภายในบริเวณปั๊มทั้งหมดรวมถึงรถยนต์ที่จอดด้วยพฤติการณ์ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติต่อลูกค้าดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับรถยนต์จากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแล้วเข้าลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657หาใช่เป็นการให้เช่าที่จอดรถยนต์ไม่ แม้ผู้นำรถยนต์มาจอดไม่ต้องมอบกุญแจรถให้ไว้ก็ดีจะนำรถคืนไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกจำเลยที่ 3 ก่อนก็ดีที่บริเวณกำแพงข้างปั๊มน้ำมันมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3เขียนไว้ก็ดีก็ไม่ทำให้รถยนต์ที่นำมาจอดไม่อยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3
เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามมาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากทรัพย์โดยปริยาย ความรับผิดของผู้รับฝาก และอายุความของคดี
คดีมีทุนทรัพย์ 42,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดย วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีไม่ขาดอายุความ แต่มีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคงต้องรับผิดเฉพาะจำเลยที่ 3 จึงพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 3 ใช้เงิน 40,000 บาทแก่โจทก์ การแก้ไขเช่นนี้เป็นการแก้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ให้รับผลตรงข้ามกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยที่ 3 ฎีกาข้อเท็จจริงได้
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันที่หายไว้และได้ใช้เงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกผู้ก่อวินาศภัยด้วยอำนาจกฎหมาย โดยโจทก์และบุคคลภายนอกนั้นไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
ผู้เอาประกันภัยได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากผู้รับประโยชน์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่าไป จำเลยที่ 2 นำรถยนต์นั้นไปฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 แล้วหายไปเพราะจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รถยนต์ที่ให้เช่าคืน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปจอดที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 นั้นจำเลยที่ 3 ก็อยู่ที่ปั๊มน้ำมันและได้รับเงิน 5 บาทที่จำเลยที่ 2 มอบให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 3 ไว้แล้วรถที่นำมาจอดรายวันและจะจอดตรงไหนก็ได้ในลานจอดรถ จำเลยที่ 3 ประจำอยู่ที่ปั๊มน้ำมันตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นเวลากลางคืนแสดงว่าจำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของปั๊มคอยดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินภายในบริเวณปั๊มทั้งหมดรวมถึงรถยนต์ที่จอดด้วยพฤติการณ์ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติต่อลูกค้าดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับรถยนต์จากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแล้วเข้าลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657หาใช่เป็นการให้เช่าที่จอดรถยนต์ไม่ แม้ผู้นำรถยนต์มาจอดไม่ต้องมอบกุญแจรถให้ไว้ก็ดีจะนำรถคืนไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกจำเลยที่ 3 ก่อนก็ดีที่บริเวณกำแพงข้างปั๊มน้ำมันมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3เขียนไว้ก็ดีก็ไม่ทำให้รถยนต์ที่นำมาจอดไม่อยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3
เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามมาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และข้อยกเว้นการนำสืบหลักฐานสัญญาประกันภัย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าทำศพบุตรของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย แม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงรายละเอียดว่าได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าทำศพไปเป็นจำนวนเท่าใด ศาลก็กำหนดให้จำเลยชดใช้ให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
จำเลยที่ 1 ได้เอาประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของตนไว้กับจำเลยที่ 2 ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์คันนี้ไปในทางการที่จ้างโดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้ร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องนำกรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 มาแสดงประกอบการนำสืบ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัย หากแต่โจทก์เป็นบุคคลภายนอกฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนที่ทำไว้กับผู้เอาประกันภัย กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และขอบเขตการฟ้องบุคคลภายนอกตามสัญญาประกันภัย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าทำศพบุตรของโจทก์ซึ่งถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย แม้โจทก์จะมิได้นำสืบถึงรายละเอียดว่าได้ใช้จ่ายเงินเป็นค่าทำศพไปเป็นจำนวนเท่าใด ศาลก็กำหนดให้จำเลยชดใช้ให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438
จำเลยที่ 1 ได้เอาประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของตนไว้กับจำเลยที่ 2 ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ขับรถยนต์คันนี้ไปในทางการที่จ้างโดยประมาทเป็นเหตุให้บุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้ร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ดังนี้ โจทก์ไม่จำต้องนำกรมธรรม์ประกันภัยระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 มาแสดงประกอบการนำสืบ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะที่โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัย หากแต่โจทก์เป็นบุคคลภายนอกฟ้องให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนที่ทำไว้กับผู้เอาประกันภัย กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงิน, การเปลี่ยนแปลงวงเงิน, การหักกลบลบหนี้, นิติกรรมอำพราง, สัญญาต่างตอบแทน
จำเลยมีที่ดินได้เสนอโจทก์เพื่อร่วมทำโครงการจัดสรรที่ดินพร้อมบ้านกับจำเลยพร้อมอนุมัติกู้เงินเพื่อลงทุนด้วยโจทก์อนุมัติ ได้ทำสัญญากัน 2 ฉบับ คือสัญญากู้เงินและสัญญาให้ผู้ซื้อกู้เงินโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านตามโครงการดังนี้ สัญญาฉบับหลังเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับแรก ข้อความในสัญญาแต่ละฉบับมีผลผูกพันบังคับกันได้ ดังนั้น การตีความเจตนาของคู่สัญญาจึงต้องแปลจากสัญญาทั้ง 2 ฉบับรวมกัน ไม่ใช่ยกเอาเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาฉบับใดฉบับหนึ่งหรือข้อใดข้อหนึ่งมาแปล จึงไม่ใช่นิติกรรมอำพราง และไม่ใช่สัญญากู้เงินโดยวิธีออกตั๋วสัญญาใช้เงินอย่างเดียว สัญญาทั้ง 2ฉบับจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญากู้ธรรมดาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างมีสิทธิและหน้าที่จะต้องปฏิบัติตอบแทนซึ่งกันและกันตามข้อความที่ระบุไว้ในสัญญา
โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินสูงกว่าจำนวนที่ขอกู้ในการเสนอโครงการครั้งแรกแสดงว่าได้ตกลงเปลี่ยนแปลงวงเงินกันแล้วเท่ากับเป็นการยืนยันตามข้อตกลงนั้น ข้อตกลงนี้จึงผูกพันโจทก์ โจทก์จะปฏิเสธไม่ให้จำเลยและผู้ซื้อที่ดินกับบ้านกู้เงินถึงจำนวนดังกล่าวไม่ได้ เป็นการผิดสัญญา
เมื่อต่างฝ่ายต่างมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินที่จะต้องชำระซึ่งกันและกัน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้หักกลบลบหนี้กันได้เพราะเป็นความสะดวกในการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินและข้อตกลงเปลี่ยนแปลงวงเงิน การหักกลบลบหนี้ และอำนาจศาลในการบังคับคดี
จำเลยมีที่ดินได้เสนอโจทก์เพื่อร่วมทำโครงการจัดสรรที่ดินพร้อมบ้านกับจำเลยพร้อมอนุมัติกู้เงินเพื่อลงทุนด้วยโจทก์อนุมัติ ได้ทำสัญญากัน 2 ฉบับ คือสัญญากู้เงินและสัญญาให้ผู้ซื้อกู้เงินโจทก์ไปซื้อที่ดินและบ้านตามโครงการดังนี้ สัญญาฉบับหลังเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาฉบับแรก ข้อความในสัญญาแต่ละฉบับมีผลผูกพันบังคับกันได้ ดังนั้น การตีความเจตนาของคู่สัญญาจึงต้องแปลจากสัญญาทั้ง 2 ฉบับรวมกัน ไม่ใช่ยกเอาเฉพาะข้อความตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาฉบับใดฉบับหนึ่งหรือข้อใดข้อหนึ่งมาแปล จึงไม่ใช่นิติกรรมอำพราง และไม่ใช่สัญญากู้เงินโดยวิธีออกตั๋วสัญญาใช้เงินอย่างเดียว สัญญาทั้ง 2 ฉบับจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันเป็นพิเศษยิ่งกว่าสัญญากู้ธรรมดาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างมีสิทธิและหน้าที่จะต้องปฏิบัติตอบแทนซึ่งกันและกันตามข้อความที่ระบุไว้ในสัญญา
โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินสูงกว่าจำนวนที่ขอกู้ในการเสนอโครงการครั้งแรกแสดงว่าได้ตกลงเปลี่ยนแปลงวงเงินกันแล้วเท่ากับเป็นการยืนยันตามข้อตกลงนั้น ข้อตกลงนี้จึงผูกพันโจทก์ โจทก์จะปฏิเสธไม่ให้จำเลยและผู้ซื้อที่ดินกับบ้านกู้เงินถึงจำนวนดังกล่าวไม่ได้ เป็นการผิดสัญญา
เมื่อต่างฝ่ายต่างมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินที่จะต้องชำระซึ่งกันและกัน ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้หักกลบลบหนี้กันได้เพราะเป็นความสะดวกในการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายบ้านบนที่ดินวัดโดยไม่จดทะเบียน: สัญญาเป็นโมฆะ กรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้ขาย
บ้านพิพาทปลูกอยู่ในที่ดินของวัด โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกันโดยไม่มีเจตนาจะรื้อถอนออกไปจากที่ดิน จึงเป็นการซื้อขายบ้านพิพาทอย่างอสังหาริมทรัพย์
แม้ในสัญญาซื้อขายบ้านพิพาทข้อ 3 จะระบุว่าคู่สัญญาจะไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนการซื้อขายตามกำหนดในข้อ 1 แต่ในข้อ 1 ก็ไม่มีข้อความว่าจะไปจดทะเบียนกันที่ไหนเมื่อใด ทั้งขณะทำสัญญาก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยมี ข้อตกลงจะไปจดทะเบียนหรือกำหนดวันจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง และหลังจากทำสัญญาแล้วก็ไม่ ปรากฏว่าโจทก์เคยเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ บ้านพิพาทให้โจทก์ จึงเห็นได้ว่าเจตนาที่แท้จริงของ โจทก์จำเลยประสงค์ให้การซื้อขายบ้านพิพาทเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด จำเลยได้รับชำระราคาค่าบ้านจากโจทก์ครบถ้วน และโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ทันที เมื่อการซื้อขาย ดังกล่าวมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทยังเป็นของจำเลย
จำเลยตกลงซื้อบ้านพิพาทคืนและเช่าบ้านจากโจทก์ ก็โดยเข้าใจว่ากรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทเป็นของโจทก์ แต่เมื่อการซื้อขายบ้านพิพาทเป็นโมฆะและบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตลอดมาโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
of 10