พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2351/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายบ้านบนที่ดินวัดโดยไม่จดทะเบียน: สัญญาเป็นโมฆะ กรรมสิทธิ์ยังเป็นของผู้ขาย
บ้านพิพาทปลูกอยู่ในที่ดินของวัด โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกันโดยไม่มีเจตนาจะรื้อถอนออกไปจากที่ดิน จึงเป็นการซื้อขายบ้านพิพาทอย่างอสังหาริมทรัพย์
แม้ในสัญญาซื้อขายบ้านพิพาทข้อ 3 จะระบุว่าคู่สัญญาจะไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนการซื้อขายตามกำหนดในข้อ 1 แต่ในข้อ 1 ก็ไม่มีข้อความว่าจะไปจดทะเบียนกันที่ไหนเมื่อใด ทั้งขณะทำสัญญาก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยมี ข้อตกลงจะไปจดทะเบียนหรือกำหนดวันจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง และหลังจากทำสัญญาแล้วก็ไม่ ปรากฏว่าโจทก์เคยเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ บ้านพิพาทให้โจทก์ จึงเห็นได้ว่าเจตนาที่แท้จริงของ โจทก์จำเลยประสงค์ให้การซื้อขายบ้านพิพาทเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด จำเลยได้รับชำระราคาค่าบ้านจากโจทก์ครบถ้วน และโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ทันที เมื่อการซื้อขาย ดังกล่าวมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทยังเป็นของจำเลย
จำเลยตกลงซื้อบ้านพิพาทคืนและเช่าบ้านจากโจทก์ ก็โดยเข้าใจว่ากรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทเป็นของโจทก์ แต่เมื่อการซื้อขายบ้านพิพาทเป็นโมฆะและบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตลอดมาโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
แม้ในสัญญาซื้อขายบ้านพิพาทข้อ 3 จะระบุว่าคู่สัญญาจะไปทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนการซื้อขายตามกำหนดในข้อ 1 แต่ในข้อ 1 ก็ไม่มีข้อความว่าจะไปจดทะเบียนกันที่ไหนเมื่อใด ทั้งขณะทำสัญญาก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์จำเลยมี ข้อตกลงจะไปจดทะเบียนหรือกำหนดวันจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ในภายหลัง และหลังจากทำสัญญาแล้วก็ไม่ ปรากฏว่าโจทก์เคยเรียกร้องให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ บ้านพิพาทให้โจทก์ จึงเห็นได้ว่าเจตนาที่แท้จริงของ โจทก์จำเลยประสงค์ให้การซื้อขายบ้านพิพาทเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด จำเลยได้รับชำระราคาค่าบ้านจากโจทก์ครบถ้วน และโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ทันที เมื่อการซื้อขาย ดังกล่าวมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทยังเป็นของจำเลย
จำเลยตกลงซื้อบ้านพิพาทคืนและเช่าบ้านจากโจทก์ ก็โดยเข้าใจว่ากรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทเป็นของโจทก์ แต่เมื่อการซื้อขายบ้านพิพาทเป็นโมฆะและบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตลอดมาโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษคดีจำเลยกระทำผิดซ้ำภายในห้าปี แม้ความผิดก่อนหน้าตามกฎหมายเดิม ศาลฎีกาชี้ว่าเพิ่มโทษได้ตามกฎหมายยาเสพติด
แม้ว่าโทษที่จำเลยได้รับครั้งก่อนจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกัญชาพุทธศักราช 2477 แต่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 3 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติกัญชา พุทธศักราช 2477 ทั้งฉบับ โดยถือว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 และผู้มีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตาม มาตรา 26,76ดังนั้น การที่จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตในคดีก่อนจึงต้องถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษด้วยเมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนอันเป็น ยาเสพติดให้โทษประเภท1 ไว้ในครอบครองภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันพ้นโทษคดีก่อน จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษจำเลยตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษคดีซ้ำจากความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้ความผิดแรกเกิดก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
แม้ว่าโทษที่จำเลยได้รับครั้งก่อนจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติกัญชาพุทธศักราช 2477 แต่พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 3 ได้บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติกัญชา พุทธศักราช 2477 ทั้งฉบับ โดยถือว่ากัญชาเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 และผู้มีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มีความผิดตาม มาตรา 26, 76 ดังนั้น การที่จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกฐานมีกัญชาไว้ในครอบครอง โดยไม่ได้รับอนุญาตในคดีก่อนจึงต้องถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษด้วย เมื่อจำเลยกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนอันเป็น ยาเสพติดให้โทษประเภท 1 ไว้ในครอบครองภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันพ้นโทษคดีก่อน จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษจำเลยตาม มาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของธนาคารและกระทรวงการคลังต่อความเสียหายจากบริษัทเงินทุน กรณีล้มละลาย ไม่ถือว่าละเมิด
อำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยจำเลยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58 นั้น มีขอบเขตของการควบคุมเพื่อตรวจตราดูแลให้บริษัทเงินทุนได้ดำเนินงานให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศของกระทรวงการคลัง ไม่มีหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องดำเนินงานหรือกระทำการช่วยเหลือชี้ช่องในการบริหารงาน ให้แก่คณะกรรมการของบริษัทเงินทุนการกระทำของบริษัทเงินทุน เช่นการเพิ่มทุนก็ดี ราคาหุ้นของบริษัทสูงมากอย่างรวดเร็วก็ดี ให้กู้ยืมโดยไม่มีหลักประกันก็ดี หรือหนี้สูญจำนวนมากก็ดี จึงทำให้ ฐานะของบริษัทเงินทุนทรุดหนักจนไม่อาจแก้ไขได้นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยทั้งสองยอมรับหรือสมยอมให้บริษัทกระทำการดังกล่าวหรือ ประมาทเลินเล่อไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดความเสียหาย ของโจทก์ที่เป็นลูกค้าที่ฝากเงินไว้กับบริษัทหากจะมีก็เกิดจาก การกระทำของบริษัทเงินทุน มิใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ฐานละเมิด
การที่ศาลชั้นต้นตรวจพิเคราะห์คำฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดจึงมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์ให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์ตาม มาตรา 151
การที่ศาลชั้นต้นตรวจพิเคราะห์คำฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องให้จำเลยรับผิดจึงมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์ให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับนั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) มีผลเป็นการพิพากษาคดีแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์ตาม มาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2032/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยาน & สิทธิจำเลยในการนำสืบพยานในคดีอาญา
พยานที่โจทก์อ้างมาเองเป็นสมุห์บัญชีธนาคารเบิกความเกี่ยวกับงานในหน้าที่ที่พยานปฏิบัติอยู่ แม้จะไม่เป็นประโยชน์แก่โจทก์ก็ไม่มีข้อต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังคำเบิกความของพยานดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 95 แต่อย่างใด
ในคดีอาญา จำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยได้โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ในข้อเท็จจริงที่จำเลยจะนำสืบพยานต่อไปได้
ในคดีอาญา จำเลยมีอำนาจนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยได้โดยไม่จำต้องซักค้านพยานโจทก์ในข้อเท็จจริงที่จำเลยจะนำสืบพยานต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987-1995/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติโดยประกาศคณะปฏิวัติ ผู้ถูกถอนสัญชาติไม่มีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งให้มีสัญชาติ
ผู้ร้องถูกทางราชการถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ซึ่งผู้ร้องอาจได้สัญชาติไทยอีกเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นสมควรและสั่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว และพระราชบัญญัติสัญชาติ แต่พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ในส่วนที่ไม่ขัดกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้สิทธิผู้ร้องร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ร้องเป็นบุคคลมีสัญชาติไทยได้ กรณีของผู้ร้องจึงไม่มีกฎหมายสนับสนุนหรือรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยวิธีร้องขอให้ศาลสั่งเช่นนั้น หากผู้ร้องเห็นว่าทางราชการถอนสัญชาติผู้ร้องเป็นการกระทำโต้แย้งสิทธิ ก็ชอบที่จะฟ้องผู้โต้แย้งสิทธิเป็นคดีต่อศาล ดังนั้น แม้ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลและพนักงานอัยการยื่นคำคัดค้านแล้ว จึงเกิดเป็นคดีมีข้อพิพาทในคดีไม่มีข้อพิพาท แต่เมื่อผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอต่อศาล ข้อพิพาทในคดีนี้จึงตกไปโดยไม่จำต้องดำเนินคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1972/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความแทนจำเลย: ศาลไม่รับฟังคำเบิกความของผู้รับมอบอำนาจ เหตุเป็นกิจเฉพาะตัวของจำเลย
การเบิกความต่อศาลเป็นกิจเฉพาะตัว โดยสภาพไม่อาจตั้งให้ผู้อื่นทำแทนได้
ตามบัญชีพยานระบุว่าจำเลยอ้างตนเองเป็นพยาน โดยมิได้ระบุ ส. เป็นพยานดังนี้แม้ปรากฏว่า ส. ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้ยื่นคำให้การและเบิกความแทนจำเลยและศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยนำ ส. เข้าเบิกความศาลก็จะรับฟังคำเบิกความของ ส. เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2), 88
ตามบัญชีพยานระบุว่าจำเลยอ้างตนเองเป็นพยาน โดยมิได้ระบุ ส. เป็นพยานดังนี้แม้ปรากฏว่า ส. ได้รับมอบอำนาจจากจำเลยให้ยื่นคำให้การและเบิกความแทนจำเลยและศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยนำ ส. เข้าเบิกความศาลก็จะรับฟังคำเบิกความของ ส. เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2), 88
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีเช่า และการทิ้งฟ้องแย้งจากความล่าช้าในการดำเนินการ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าห้องแถวจากโจทก์มีกำหนดเวลาสามสิบปีค่าเช่าเดือนละสี่สิบบาทโดยไม่ได้จดทะเบียนการเช่าจึงมีสิทธิการเช่าเพียงสามปี ครบกำหนดและบอกเลิกการเช่าแก่จำเลยแล้ว ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาจะต้องไปจดทะเบียนการเช่ามีกำหนดสามสิบปี ในวันทำสัญญาจำเลยได้เสียค่าตอบแทนแก่โจทก์และได้ตกแต่งห้องแถวเป็นเงินจำนวนหนึ่ง สัญญาเช่าจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาดังนี้ เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท ซึ่งจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
จำเลยอุทธรณ์ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เพราะโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยเช่ามีกำหนดสามสิบปี จำเลยได้ออกเงินชำระค่าก่อสร้าง ได้เสียเงินค่าตอบแทนและได้ปรับปรุงตกแต่งห้องพิพาทสิ้นเงินไปจำนวนหนึ่งนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งว่า หมายเรียกส่งสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้โจทก์ ให้โจทก์แก้ฟ้องแย้งภายใน 8 วัน ส่งหมายเรียกไม่ได้ ให้จำเลยแถลงภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องแย้ง ดังนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้นำเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งแก่โจทก์แล้วแต่ส่งไม่ได้ ซึ่งแสดงว่าจำเลยทราบอยู่แล้วถึงการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งไม่ได้จำเลยจึงต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงเกินกำหนดดังกล่าว ต้องถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องแย้ง ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีได้
จำเลยอุทธรณ์ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เพราะโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยเช่ามีกำหนดสามสิบปี จำเลยได้ออกเงินชำระค่าก่อสร้าง ได้เสียเงินค่าตอบแทนและได้ปรับปรุงตกแต่งห้องพิพาทสิ้นเงินไปจำนวนหนึ่งนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งว่า หมายเรียกส่งสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้โจทก์ ให้โจทก์แก้ฟ้องแย้งภายใน 8 วัน ส่งหมายเรียกไม่ได้ ให้จำเลยแถลงภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องแย้ง ดังนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้นำเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งแก่โจทก์แล้วแต่ส่งไม่ได้ ซึ่งแสดงว่าจำเลยทราบอยู่แล้วถึงการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งไม่ได้จำเลยจึงต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงเกินกำหนดดังกล่าว ต้องถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องแย้ง ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีเช่าค่าเช่าต่ำกว่าสองพันบาท และการเพิกเฉยต่อการดำเนินคดีฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าห้องแถวจากโจทก์มีกำหนดเวลาสามสิบปีค่าเช่าเดือนละสี่สิบบาทโดยไม่ได้จดทะเบียนการเช่า จึงมีสิทธิการเช่าเพียงสามปี ครบกำหนดและบอกเลิกการเช่าแก่จำเลยแล้ว ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาจะต้องไปจดทะเบียนการเช่ามีกำหนดสามสิบปี ในวันทำสัญญาจำเลยได้เสียค่าตอบแทนแก่โจทก์และได้ตกแต่งห้องแถวเป็นเงินจำนวนหนึ่ง สัญญาเช่าจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาดังนี้ เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาทซึ่งจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
จำเลยอุทธรณ์ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เพราะโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยเช่ามีกำหนดสามสิบปี จำเลยได้ออกเงินชำระค่าก่อสร้าง ได้เสียเงินค่าตอบแทนและได้ปรับปรุงตกแต่งห้องพิพาทสิ้นเงินไปจำนวนหนึ่งนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งว่า หมายเรียกส่งสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้โจทก์ ให้โจทก์แก้ฟ้องแย้งภายใน 8 วัน ส่งหมายเรียกไม่ได้ให้จำเลยแถลงภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องแย้ง ดังนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้นำเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งแก่โจทก์แล้วแต่ส่งไม่ได้ ซึ่งแสดงว่าจำเลยทราบอยู่แล้วถึงการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งไม่ได้จำเลยจึงต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงเกินกำหนดดังกล่าว ต้องถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องแย้ง ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีได้
จำเลยอุทธรณ์ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เพราะโจทก์ประสงค์จะให้จำเลยเช่ามีกำหนดสามสิบปี จำเลยได้ออกเงินชำระค่าก่อสร้าง ได้เสียเงินค่าตอบแทนและได้ปรับปรุงตกแต่งห้องพิพาทสิ้นเงินไปจำนวนหนึ่งนั้น เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ศาลชั้นต้นสั่งรับคำให้การและฟ้องแย้งว่า หมายเรียกส่งสำเนาคำให้การและฟ้องแย้งให้โจทก์ ให้โจทก์แก้ฟ้องแย้งภายใน 8 วัน ส่งหมายเรียกไม่ได้ให้จำเลยแถลงภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าจำเลยทิ้งฟ้องแย้ง ดังนี้เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้นำเจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งแก่โจทก์แล้วแต่ส่งไม่ได้ ซึ่งแสดงว่าจำเลยทราบอยู่แล้วถึงการส่งหมายเรียกและสำเนาฟ้องแย้งไม่ได้จำเลยจึงต้องแถลงให้ศาลทราบภายใน 15 วันนับแต่วันส่งไม่ได้ เมื่อจำเลยยื่นคำแถลงเกินกำหนดดังกล่าว ต้องถือว่าจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในกำหนดเวลาตามที่ศาลกำหนด เป็นการทิ้งฟ้องแย้ง ชอบที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1531/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: บุตร/บริวารผู้เกี่ยวข้องกับคดีเดิม ไม่อาจอ้างได้ แม้ครอบครองเกิน 10 ปี
โจทก์ครอบครองที่พิพาทในระหว่างที่บิดามารดาโจทก์กำลังเป็นความกับจำเลยอยู่ในศาล และอยู่ในระหว่างบังคับคดีตามคำพิพากษาแม้จะเกิน 10 ปี โจทก์ก็อ้างว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ยันจำเลยผู้เป็นเจ้าของไม่ได้ เพราะโจทก์ไม่ใช่บุคคลภายนอกแต่เป็นบุตรและบริวารของบิดามารดาเมื่อบิดามารดาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยตกลงยอมยกที่พิพาทให้เป็นของจำเลยและศาลได้พิพากษาคดีไปตามยอมแล้วคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลย่อมผูกพันโจทก์ด้วย