คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรัช รัตนอุดม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งเงินทดแทน การรับเอกสารโดยลูกจ้างถือเป็นการทราบของนายจ้าง หากอุทธรณ์เกิน 30 วัน ถือชอบแล้ว
การแจ้งคำสั่งเงินทดแทนตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะต้องปฏิบัติประการใด ดังนั้น การที่พนักงานเงินทดแทนส่งคำสั่งเงินทดแทนโดยทางไปรษณีย์ตอบรับไปให้โจทก์ทราบ ณ สำนักทำการงานของโจทก์ และลูกจ้างของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในใบตอบรับคำสั่งนั้นแทนโจทก์ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบข้อความในเอกสารนั้นแล้วเพราะถ้าต้องรอให้โจทก์ลงชื่อรับ เอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์ด้วยตนเองแล้ว หากโจทก์ไม่อยู่หรือมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่รับเอกสาร ก็จะไม่มีทางส่งเอกสารนั้นให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งเงินทดแทนทางไปรษณีย์: การรับเอกสารโดยลูกจ้างถือเป็นการทราบแล้ว
การแจ้งคำสั่งเงินทดแทนตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่าจะต้องปฏิบัติประการใด ดังนั้น การที่พนักงานเงินทดแทนส่งคำสั่งเงินทดแทนโดยทางไปรษณีย์ตอบรับไปให้โจทก์ทราบ ณ สำนักทำการงานของโจทก์ และลูกจ้างของโจทก์เป็นผู้ลงชื่อในใบตอบรับคำสั่งนั้นแทนโจทก์ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบข้อความในเอกสารนั้นแล้วเพราะถ้าต้องรอให้โจทก์ลงชื่อรับเอกสารที่ส่งทางไปรษณีย์ด้วยตนเองแล้ว หากโจทก์ไม่อยู่หรือมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่รับเอกสาร ก็จะไม่มีทางส่งเอกสารนั้นให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิพากษาเกินคำขอ, ค่าจ้าง, โบนัส, และผลของการไม่อนุญาตแก้ไขฟ้องในคดีแรงงาน
ศาลแรงงานพิพากษาไปตามคำขอบังคับของโจทก์เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับแล้ว ส่วนการพิพากษาเกินคำขอนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 มิได้บังคับให้ศาลแรงงานจำต้องปฏิบัติแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะกระทำได้เมื่อเห็นสมควรเท่านั้น
ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างจะเบิกได้ต้องมีใบเสร็จไปแสดงและเบิกได้ไม่เกินที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานหาใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานไม่ ค่าน้ำมันรถจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
ระเบียบของนายจ้างกำหนดว่า "การจ่ายเงินโบนัสจะทำการจ่ายในเดือนธันวาคมของทุก ๆ ปีปฏิทิน " แสดงว่าลูกจ้างผู้มีสิทธิรับเงินโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในเดือนธันวาคมซึ่งมีการจ่ายโบนัส ด้วยโจทก์ถูกเลิกจ้างก่อนเดือนธันวาคมจึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัส
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง ศาลแรงงานกลางสั่งว่า "สำเนาให้จำเลยสั่งในวันนัด" แต่จนกระทั่งมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง ทั้งคู่ความก็มิได้แถลงประการใดต่อศาล ดังนี้ จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมิได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลแรงงานในการพิพากษาเกินคำขอ, สิทธิโบนัส, และการจ่ายค่าน้ำมันรถเป็นค่าจ้าง
ศาลแรงงานพิพากษาไปตามคำขอบังคับของโจทก์เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับแล้ว ส่วนการพิพากษาเกินคำขอนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 มิได้บังคับให้ศาลแรงงานจำต้องปฏิบัติแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะกระทำได้เมื่อเห็นสมควรเท่านั้น
ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างจะเบิกได้ต้องมีใบเสร็จไปแสดงและเบิกได้ไม่เกินที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงาน หาใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานไม่ ค่าน้ำมันรถจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
ระเบียบของนายจ้างกำหนดว่า 'การจ่ายเงินโบนัสจะทำการจ่ายในเดือนธันวาคมของทุก ๆ ปีปฏิทิน ' แสดงว่าลูกจ้างผู้มีสิทธิรับเงินโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในเดือนธันวาคมซึ่งมีการจ่ายโบนัสด้วยโจทก์ถูกเลิกจ้างก่อนเดือนธันวาคมจึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัส
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง ศาลแรงงานกลางสั่งว่า 'สำเนาให้จำเลยสั่งในวันนัด' แต่จนกระทั่งมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง ทั้งคู่ความก็มิได้แถลงประการใดต่อศาล ดังนี้ จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมิได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: นายจ้างต้องมีเหตุผลปัจจุบันในการเลิกจ้าง และศาลมีอำนาจแก้ไขค่าเสียหาย
ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า พนักงานอาจถูกไล่ออกเมื่อ'มาทำงานสายกลับก่อนเวลาทำงาน ฯลฯ แม้จะได้มีการตักเตือนด้วยวาจาหลายครั้ง รวมทั้งทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหนึ่งครั้ง' นั้นมีความหมายว่าต้องมีการกระทำประการหนึ่งประการใดในครั้งสุดท้ายที่นายจ้างจะถือเป็นเหตุไล่ออกเกิดขึ้นด้วยจะถือเอาการตักเตือนหลาย ๆ ครั้งหรือการทำทัณฑ์บนมาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องมีการกระทำในปัจจุบันหาได้ไม่ แม้ข้อบังคับข้ออื่นระบุว่า'พนักงานที่ถูกทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษร หากทำผิดซ้ำอีกจะถูกลงโทษขั้นไล่ออก' แต่เมื่อปรากฏว่าพนักงานบางคนกระทำผิดซ้ำนายจ้างก็ไม่ได้ลงโทษถึงขั้นไล่ออกแต่กลับตักเตือนต่อมาอีกหลายครั้ง แสดงว่านายจ้างไม่ติดใจลงโทษโดยเหตุนั้นแล้ว ดังนั้น นายจ้างจะเลิกจ้างโดยอาศัยข้อบังคับข้อนี้หาได้ไม่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโดยไม่ปรากฏว่าลูกจ้างกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123 แห่ง พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ฯ จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ถ้าศาลเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่สั่งเรื่องค่าเสียหายนั้นไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามกฎหมายแรงงาน การพิจารณาเหตุเลิกจ้างและอำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่ง
ข้อบังคับของนายจ้างระบุว่า พนักงานอาจถูกไล่ออกเมื่อ"มาทำงานสายกลับก่อนเวลาทำงาน ฯลฯ แม้จะได้มีการตักเตือนด้วย วาจาหลายครั้ง รวมทั้งทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยหนึ่ง ครั้ง" นั้นมีความหมายว่าต้องมีการกระทำประการหนึ่งประการใดในครั้งสุดท้ายที่นายจ้างจะถือเป็นเหตุไล่ออกเกิดขึ้นด้วยจะถือเอาการตักเตือนหลาย ๆ ครั้ง หรือการทำทัณฑ์บนมาเป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่ต้องมีการกระทำในปัจจุบันหาได้ไม่ แม้ข้อบังคับข้ออื่นระบุว่า"พนักงานที่ถูกทำทัณฑ์บนเป็นลายลักษณ์อักษร หากทำผิดซ้ำอีกจะถูกลงโทษขั้นไล่ออก" แต่เมื่อปรากฏว่าพนักงานบางคนกระทำผิดซ้ำนายจ้างก็ไม่ได้ลงโทษถึงขั้นไล่ออกแต่กลับตักเตือนต่อมาอีกหลายครั้งแสดงว่านายจ้างไม่ติดใจลงโทษโดยเหตุนั้นแล้ว ดังนั้น นายจ้างจะเลิกจ้างโดยอาศัยข้อบังคับข้อนี้หาได้ไม่ การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในขณะที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโดยไม่ปรากฏว่าลูกจ้างกระทำการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 123 แห่ง พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ฯ จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
ถ้าศาลเห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่สั่งเรื่องค่าเสียหายนั้นไม่ถูกต้อง ศาลมีอำนาจพิพากษาเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงาน: ลักษณะการจ้างงานเป็นประจำ แม้ได้รับค่าจ้างรายวันและมีการผ่อนผันการลา
เมื่อองค์การคลังสินค้าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานก็ไม่ได้แสดงความประสงค์ว่าจะจ้างชั่วคราวหรือจ้างประจำ และไม่มีกำหนดเวลาจ้างแน่นอน ถ้ารัฐบาลไม่ยกเลิกข้าวโอชาโจทก์ก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่ตลอดไป ลักษณะของการจ้างจึงเป็นการจ้างกันเป็นประจำไม่ใช่ตกลงจ้างไว้ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจรหรือตามฤดูกาล โจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย การที่โจทก์ได้รับการผ่อนผันเกี่ยวกับการลา และได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน หาทำให้ลักษณะการจ้างเปลี่ยนแปลงไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับบุตรบุญธรรมโดยผู้เยาว์ไม่มีบิดามารดา: อำนาจศาลและขั้นตอนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมฯ ไม่ได้บัญญัติถึงกรณีขอรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมโดยผู้เยาว์นั้นไม่มีบิดามารดาที่จะให้ความยินยอมได้ไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/21 ซึ่งบัญญัติว่า ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับ และคำว่า 'ศาล' ในมาตรานี้หมายถึงศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาเพราะมาตรา 8แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 163 ข้อ 1 มิได้บัญญัติว่ากรณีเช่นนี้อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ผู้ร้องที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ย่อมยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นเพื่อให้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1598/21 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2591/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมโดยไม่มีบิดามารดาให้ความยินยอม: อำนาจศาลและประมวลกฎหมายแพ่ง
พระราชบัญญัติการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ฯ ไม่ได้บัญญัติถึงกรณีขอรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมโดยผู้เยาว์นั้นไม่มีบิดามารดาที่จะให้ความยินยอมได้ไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ซึ่งได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/21 ซึ่งบัญญัติว่า ให้ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับ และคำว่า "ศาล" ในมาตรานี้หมายถึงศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีธรรมดาเพราะมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนฯ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 163 ข้อ 1 มิได้บัญญัติว่ากรณีเช่นนี้อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ผู้ร้องที่ 1 ซึ่ง เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ย่อมยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นเพื่อให้มีคำสั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1598/21 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด: ศาลจำกัดระยะเวลาค่าใช้ทรัพย์เพื่อป้องกันการชดใช้เกินอายุการใช้งาน
เมื่อผิดสัญญาเช่าซื้อ การกำหนดค่าใช้ทรัพย์รายเดือนจนกว่าจะส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อ หรือชำระราคาโดยมิได้จำกัดระยะเวลาไว้ อาจทำให้ผู้เช่าซื้อได้รับค่าใช้ทรัพย์เกินกว่าอายุการใช้และค่าของทรัพย์ที่เช่าซื้อได้ จึงต้องกำหนดระยะเวลาไว้ไม่ให้เกินกว่าอายุการใช้และค่าของทรัพย์นั้น
of 42