คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรัช รัตนอุดม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีแรงงานไม่ตัดสิทธิการฟ้องใหม่ หากไม่มีเจตนาสละสิทธิเรียกร้องในมูลเหตุเดิม
แม้ในคดีเดิมโจทก์จะแถลงว่า สาเหตุที่ถอนฟ้องเพราะโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปเนื่องจากตกลงกันได้แล้ว ก็ไม่มีข้อความชัดแจ้งหรืออาจแปลได้ว่าโจทก์สละสิทธิที่จะเรียกร้องในมูลกรณีเดียวกันนั้นกับจำเลยอีกในภายหลัง ฉะนั้น การถอนฟ้องในคดีก่อนจึงไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไปโจทก์จึงฟ้องคดีได้ใหม่ภายในอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีแรงงานไม่ตัดสิทธิการฟ้องใหม่ หากไม่มีเจตนาสละสิทธิเรียกร้อง
แม้ในคดีเดิมโจทก์จะแถลงว่า สาเหตุที่ถอนฟ้องเพราะโจทก์ไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปเนื่องจากตกลงกันได้แล้ว ก็ไม่มีข้อความชัดแจ้งหรืออาจแปลได้ว่าโจทก์สละสิทธิที่จะเรียกร้องในมูลกรณีเดียวกันนั้นกับจำเลยอีกในภายหลัง ฉะนั้น การถอนฟ้องในคดีก่อนจึงไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีได้ใหม่ภายในอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรหัสประเภทกิจการกองทุนเงินทดแทน ต้องพิจารณาจากกิจการหลักของนายจ้าง แม้มีหลายกิจการเกี่ยวข้องกัน
นายจ้างประกอบกิจการหลายอย่างแต่เกี่ยวข้องกัน ต้องกำหนดรหัสประเภทกิจการเพื่อเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพียงรหัสเดียว โดยพิจารณาจากกิจการหลักของนายจ้างผู้นั้น โจทก์ประกอบกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และมีโรงงานกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย จึงเป็นการประกอบกิจการหลายอย่างเกี่ยวข้องกัน เมื่อฟังได้ว่ากิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นกิจการหลักกิจการทั้งหมดของโจทก์จึงต้องใช้รหัส 1502 การที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนกำหนดรหัสผิดไปทำให้โจทก์ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพิ่มขึ้นย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากเงินที่ต้องนำไปวางตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกรมแรงงานจำเลยจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยของเงินส่วนที่วางเกินไปนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1757/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรหัสประเภทกิจการเพื่อเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ต้องพิจารณาจากกิจการหลัก แม้มีหลายกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
นายจ้างประกอบกิจการหลายอย่างแต่เกี่ยวข้องกัน ต้องกำหนดรหัสประเภทกิจการเพื่อเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพียงรหัสเดียว โดยพิจารณาจากกิจการหลักของนายจ้างผู้นั้น
โจทก์ประกอบกิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และมีโรงงานกลั่นน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย จึงเป็นการประกอบกิจการหลายอย่างเกี่ยวข้องกัน เมื่อฟังได้ว่ากิจการค้าน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นกิจการหลัก กิจการทั้งหมดของโจทก์จึงต้องใช้รหัส 1502
การที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนกำหนดรหัสผิดไปทำให้โจทก์ต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนเพิ่มขึ้น ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากเงินที่ต้องนำไปวางตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรมแรงงานจำเลยจึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยของเงินส่วนที่วางเกินไปนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของผู้เช่าช่วง แม้สัญญาเช่าหลักสิ้นสุดแล้ว ยังมีสิทธิเรียกร้องตามข้อตกลงกับผู้เช่าช่วงได้
ขณะที่โจทก์มีสิทธิการเช่าห้องพิพาทโจทก์ได้ให้จำเลยเข้าไปอาศัยอยู่ โดยตกลงกันว่าจำเลยจะออกจากห้องเมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ต่อไป จึงเป็นการก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างกันซึ่งผูกพันคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลง เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากห้องพิพาทจึงมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การที่เจ้าของห้องพิพาทบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1733/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีมีนิติสัมพันธ์กับจำเลย แม้สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้ว
ขณะที่โจทก์มีสิทธิการเช่าห้องพิพาทโจทก์ได้ให้จำเลยเข้าไปอาศัยอยู่โดยตกลงกันว่าจำเลยจะออกจากห้องเมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ต่อไป จึงเป็นการก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างกันซึ่งผูกพันคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลง เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากห้องพิพาทจึงมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การที่เจ้าของห้องพิพาทบอกเลิกสัญญาเช่ากับโจทก์ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสะสมวันหยุดพักผ่อน – ข้อบังคับบริษัทสละสิทธิ – ไม่ขัด กม.
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ10 วรรค 2ซึ่งบัญญัติใจความว่า นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีไว้และนำไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้ มิใช่เป็นบทบังคับ แต่เป็นการให้สิทธินายจ้างและลูกจ้างที่จะทำความตกลงกัน เมื่อนายจ้างและลูกจ้างไม่ได้ทำความตกลงกันในข้อนี้ข้อบังคับของจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า ถ้าไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ให้ถือว่าสละสิทธิและหมดสิทธิที่จะนำไปสะสมไว้ในปีต่อไป จึงใช้บังคับได้ และการสละสิทธิดังกล่าวก็หาจำต้องทำเป็นหนังสือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1610/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการสะสมวันหยุดพักผ่อน: ข้อบังคับบริษัทที่กำหนดการสละสิทธิหากไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนไม่ขัดกฎหมาย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ10 วรรค 2 ซึ่งบัญญัติใจความว่า นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีไว้และนำไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้ มิใช่เป็นบทบังคับ แต่เป็นการให้สิทธินายจ้างและลูกจ้างที่จะทำความตกลงกัน เมื่อนายจ้างและลูกจ้างไม่ได้ทำความตกลงกันในข้อนี้ ข้อบังคับของจำเลยซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดว่า ถ้าไม่ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี ให้ถือว่าสละสิทธิและหมดสิทธิที่จะนำไปสะสมไว้ในปีต่อไป จึงใช้บังคับได้ และการสละสิทธิดังกล่าวก็หาจำต้องทำเป็นหนังสือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างทนายเพื่อแบ่งทรัพย์พิพาทในคดีเป็นโมฆะ
เมื่อสัญญาที่โจทก์รับจ้างว่าความแก้ต่างให้จำเลยเพื่อแบ่งทรัพย์พิพาทในคดี สัญญานี้จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2508 มาตรา 41ประกอบกับพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2477 มาตรา 12(2) การที่โจทก์จำเลยจะทำสัญญากันก่อนว่าความหรือระหว่างว่าความหาเป็นผลให้ กฎหมายดังกล่าวไม่ใช้บังคับไม่ สัญญานี้จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าความเพื่อแบ่งทรัพย์พิพาทเป็นโมฆะตามกฎหมายทนายความ
เมื่อสัญญาที่โจทก์รับจ้างว่าความแก้ต่างให้จำเลยเพื่อแบ่งทรัพย์พิพาทในคดี สัญญานี้จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้ง โดยพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบกับพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2477 มาตรา 12(2) การที่โจทก์จำเลยจะทำสัญญากันก่อนว่าความหรือระหว่างว่าความหาเป็นผลให้กฎหมายดังกล่าวไม่ใช้บังคับไม่ สัญญานี้จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113
of 42