คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรัช รัตนอุดม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1252/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การตักเตือน, ความร้ายแรงของความผิด, และอายุการทำงาน
หนังสือของโจทก์ผู้ให้สัญญาแต่ฝ่ายเดียวเพื่อรับทราบการลงโทษและทำทัณฑ์บนไว้ต่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง เนื่องในการที่โจทก์ขับรถประมาทเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุและเกิดความเสียหายแก่จำเลย ถือไม่ได้ว่ามีลักษณะเป็นหนังสือตักเตือนของจำเลย การที่โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่ออีกซึ่งเป็นการกระทำผิดวินัย แต่ตามข้อบังคับของจำเลยมิได้ถือว่าเป็นความเสียหายร้ายแรง จำเลยจึงจะเลิกจ้างโจทก์และไม่จ่ายค่าชดเชย โดยมิได้มีการตักเตือนเป็นหนังสือก่อน หาได้ไม่
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย 90 วันของค่าจ้างอัตราสุดท้าย จึงเท่ากับได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงแล้วว่าโจทก์ได้ทำงานติดต่อกันถึงวันเลิกจ้างครบ 1 ปีฉะนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าอายุการทำงานของโจทก์ถึงวันเลิกจ้างไม่ครบ 1 ปีจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายสินเชื่อและรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร: ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ จำเลย และสมาชิก
การที่ชาวไร่หรือที่เรียกว่าสมาชิกผู้รับการส่งเสริมจะรับสินเชื่อไปจากโจทก์ จะต้องทำสัญญาส่งเสริมการปลูกฝ้ายกับห้างจำเลยซึ่งเรียกว่าผู้ส่งเสริมก่อน และต้องเอาฝ้ายดอกมาขายให้จำเลยแต่ผู้เดียวตามราคาที่จำเลยกำหนดไว้ในสัญญา แล้วหักทอนกับสินเชื่อที่รับไป เท่ากับจำเลยออกทุนให้ปลูกฝ้ายแล้วเอาผลิตผลมาขายหักใช้หนี้ ระหว่างที่โจทก์รับเอาสินเชื่อไปจ่ายแก่สมาชิก จำเลยก็มีจดหมายถึงโจทก์ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจ่ายสินเชื่อ โจทก์จึงเป็นตัวแทนจำเลยทั้งในการนำวัสดุสินเชื่อตลอดจนเงินสดและเช็คไปจ่ายแก่สมาชิก และรวบรวมฝ้ายดอกจากสมาชิกมาขายให้จำเลย โจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนจำหน่ายสินเชื่อและเก็บผลผลิตทางการเกษตร: สิทธิเรียกร้องค่าบำเหน็จและหนี้สิน
การที่ชาวไร่หรือที่เรียกว่าสมาชิกผู้รับการส่งเสริมจะรับสินเชื่อไปจากโจทก์จะต้องทำสัญญาส่งเสริมการปลูกฝ้ายกับห้างจำเลยซึ่งเรียกว่าผู้ส่งเสริมก่อน และต้องเอาฝ้ายดอกมาขายให้จำเลยแต่ผู้เดียวตามราคาที่จำเลยกำหนดไว้ในสัญญา แล้วหักทอนกับสินเชื่อที่รับไป เท่ากับจำเลยออกทุนให้ปลูกฝ้ายแล้วเอาผลิตผลมาขายหักใช้หนี้ ระหว่างที่โจทก์รับเอาสินเชื่อไปจ่ายแก่สมาชิก จำเลยก็มีจดหมายถึงโจทก์ซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจ่ายสินเชื่อโจทก์จึงเป็นตัวแทนจำเลยทั้งในการนำวัสดุสินเชื่อตลอดจนเงินสดและเช็คไปจ่ายแก่สมาชิก และรวบรวมฝ้ายดอกจากสมาชิกมาขายให้จำเลยโจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นอัมพาต: การคุ้มครองตามมาตรา 31 และเหตุสมควรในการเลิกจ้าง
การที่ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 31 ซึ่งห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างการเจรจาการไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน นั้นลูกจ้างจะต้องบรรยายฟ้องว่าลูกจ้างเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องและจะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอย่างไร เมื่อลูกจ้างมิได้บรรยายฟ้องว่าลูกจ้างเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องอย่างไรแล้ว ลูกจ้างจะอาศัยประโยชน์จากบทบัญญัติมาตรา 31 มาเป็นการตัดสิทธินายจ้างมิให้ เลิกจ้างลูกจ้างในระหว่างที่ยังไม่มีการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานมิได้
โจทก์เป็นอัมพาตทำงานให้จำเลยไม่ได้ จำเลยย่อมเลิกจ้าง โจทก์ได้กรณีเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1005/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นอัมพาต และความคุ้มครองตามมาตรา 31 พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ต้องแสดงความเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง
การที่ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 31 ซึ่งห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ในระหว่างการเจรจาการไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน นั้น ลูกจ้างจะต้องบรรยายฟ้องว่าลูกจ้างเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องและจะได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอย่างไร เมื่อลูกจ้างมิได้บรรยายฟ้องว่าลูกจ้างเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องอย่างไรแล้ว ลูกจ้างจะอาศัยประโยชน์จากบทบัญญัติมาตรา 31 มาเป็นการตัดสิทธินายจ้างมิให้ เลิกจ้างลูกจ้างในระหว่างที่ยังไม่มีการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานมิได้
โจทก์เป็นอัมพาตทำงานให้จำเลยไม่ได้ จำเลยย่อมเลิกจ้าง โจทก์ได้กรณีเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981-991/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทำงานในวันหยุด: เงินเปอร์เซ็นต์จากยอดขายไม่ใช่ค่าจ้าง แต่ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างที่ต้องนำมารวมคำนวณ
เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารหรือเงินเปอร์เซ็นต์ที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติคือเกินวันละ 8 ชั่วโมง มิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน เพราะมิใช่เป็นเงินที่จ่ายแก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงไม่อาจนำมาเป็นฐานคำนวณค่าทำงานในวันหยุดได้
ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างจึงต้องนำมารวมคำนวณเป็นค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981-991/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทำงานวันหยุด: เงินเปอร์เซ็นต์จากค่าโดยสารไม่ใช่ค่าจ้าง, ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างต้องนำมารวมคำนวณ
เงินส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารหรือเงินเปอร์เซ็นต์ที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เมื่อโจทก์ทำงานเกินเวลาทำงานปกติคือเกินวันละ 8 ชั่วโมง มิใช่ค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เพราะมิใช่เป็นเงินที่จ่ายแก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงไม่อาจนำมาเป็นฐานคำนวณค่าทำงานในวันหยุดได้
ค่าครองชีพเป็นค่าจ้างจึงต้องนำมารวมคำนวณเป็นค่าทำงานในวันหยุดให้ลูกจ้างด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษกรณีมีอาวุธในการปล้นทรัพย์: ความแตกต่างระหว่างบทเพิ่มโทษและบทกำหนดโทษหนักขึ้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสอง, 83 จำคุกคนละ 20 ปี จำเลยมีอาวุธปืนติดตัวในการปล้นทรัพย์ จึงให้เพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งตาม มาตรา 340 ตรี เป็นจำคุกคนละ 30 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยที่ มาตรา 340 ตรี เป็นบทบัญญัติให้ต้องรับโทษหนักขึ้นมิใช่บทเพิ่มโทษ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี และมาตรา 83 ป.ว. ฉบับที่ 11 ข้อ 14 และ 15 ให้ลงโทษจำคุกคนละ 30 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 935/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดเว้นภาษีโรงเรือนสำหรับโรงเรือนที่ใช้ในอุตสาหกรรมและสำนักงาน: กรณีที่ไม่เข้าเกณฑ์การ 'อยู่เอง' หรือ 'ให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา'
บริษัทโจทก์ประกอบอุตสาหกรรมผลิตปูนซิเมนต์ ใช้ท่าเทียบเรือเพื่อยกปูนซิเมนต์ขึ้นบรรทุกรถยนต์นำไปเก็บไว้ในโรงเก็บสินค้า ใช้อาคารสำนักงานให้พนักงานทำงานด้านธุรการ ไม่ได้ใช้เป็นสถานที่ผลิตปูนซิเมนต์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา จึงไม่ได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตาม พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 895/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดพิจารณาคดีแรงงาน ศาลพิจารณาและชี้ขาดได้โดยไม่ต้องสืบพยานจำเลย
เมื่อจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่นำสืบก่อน ถือได้ว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 197 วรรคสอง ศาลชอบที่จะพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 โดยไม่จำต้องเลื่อนไปสืบพยานจำเลยอีก
of 42