คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรัช รัตนอุดม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3131/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังตามข้อบังคับบริษัท ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
เมื่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดว่าห้ามลูกจ้างเสพสุราเครื่องดื่มดองของเมาหรือจนเป็นโรคติดสุราเรื้อรัง นายจ้างย่อมเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังได้ตามข้อบังคับดังกล่าว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่จงใจทำให้นายจ้างเสียหายจากการแจ้งข้อมูลเท็จต่อลูกค้า
เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นและผ่านขั้นตอนเจรจาแล้วไม่เป็นผล สหภาพแรงงานย่อมมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯมาตรา 99 ไม่มีกฎหมายอนุญาตให้สหภาพแรงงานออกหนังสือเวียนแจ้งให้ลูกค้าของนายจ้างทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่สหภาพแรงงานอ้างว่าจะเกิดขึ้นโดยการกระทำของตนเองจนเป็นเหตุให้ลูกค้าของนายจ้างงดใช้หรือเกิดความลังเลที่จะใช้บริการของนายจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อคณะกรรมการลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการบริหารของสหภาพแรงงานออกหนังสือดังกล่าว จึงถือได้ว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่จงใจทำให้นายจ้างเสียหายจากการแจ้งลูกค้าถึงการนัดหยุดงาน
เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นและผ่านขั้นตอนเจรจาแล้วไม่เป็นผล สหภาพแรงงานย่อมมีสิทธิที่จะเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 99 ไม่มีกฎหมายอนุญาตให้สหภาพแรงงานออกหนังสือเวียนแจ้งให้ลูกค้าของนายจ้างทราบถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่สหภาพแรงงานอ้างว่าจะเกิดขึ้นโดยการกระทำของตนเองจนเป็นเหตุให้ลูกค้าของนายจ้างงดใช้หรือเกิดความลังเลที่จะใช้บริการของนายจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อคณะกรรมการลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการบริหารของสหภาพแรงงานออกหนังสือดังกล่าว จึงถือได้ว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ้างงานในโรงพยาบาลของมูลนิธิ: พิจารณาวัตถุประสงค์การจ้างเพื่อบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และความรับผิดของประธานกรรมการ
โจทก์เป็นลูกจ้างทำงานในโรงพยาบาลที่มูลนิธิจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของและเป็นผู้บริหารงานหาผลประโยชน์จากโรงพยาบาลมาบำรุงมูลนิธิจำเลยที่ 1 โรงพยาบาลดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นโจทก์ฟ้องมูลนิธิจำเลยที่ 1ได้แต่เมื่อมีปัญหาต้องพิจารณาสภาพการจ้างว่าเป็นการจ้างที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจหรือไม่ต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของโรงพยาบาลหาใช่พิจารณาวัตถุประสงค์ของมูลนิธิไม่
จำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการมูลนิธิจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงเป็นผู้แทนของนิติบุคคลมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1ต้องถือว่าเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 จำเลยที่ 2 ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2917/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการปลดออกจากงานเนื่องจากฝ่าฝืนข้อบังคับจำเลย ศาลตัดสินไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ
เดิมจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งยุบตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่ ให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและส่งมอบงานก่อนวันพ้นจากตำแหน่ง ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ส่งมอบงานภายในกำหนดอันเป็นการขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จำเลยมีสิทธิแก้ไขคำสั่งเดิมเป็นให้ปลดโจทก์ออกจากงานเพราะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงได้ ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2917/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการปลดออกจากงานเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ถือเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ
เดิมจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างมีคำสั่งยุบตำแหน่งที่โจทก์ดำรงอยู่ ให้โจทก์พ้นจากตำแหน่งและส่งมอบงานก่อนวันพ้นจากตำแหน่ง ต่อมาปรากฏว่าโจทก์ไม่ส่งมอบงานภายในกำหนดอันเป็นการขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา จำเลยมีสิทธิแก้ไขคำสั่งเดิมเป็นให้ปลดโจทก์ออกจากงานเพราะฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงได้ ดังนั้นจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง การคำนวณค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุดต้องรวมค่าครองชีพด้วย
แม้จะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ลูกจ้างกับจำเลยนายจ้าง ให้เรียกค่าครองชีพว่า 'เงินสวัสดิการ' ก็ไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะทำให้ค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้าง เมื่อถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างการที่มีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่ให้นำ 'เงินสวัสดิการ' มาคำนวณค่าจ้างในการทำงานล่วงเวลาและค่าจ้างในการทำงานในวันหยุด จึงขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 34,39 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดโดยคำนวณจากค่าจ้างซึ่งหมายถึงค่าจ้างทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง การคำนวณค่าล่วงเวลา/ทำงานในวันหยุดต้องรวมค่าครองชีพด้วย ข้อตกลงขัดแย้งกฎหมายเป็นโมฆะ
แม้จะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ลูกจ้างกับจำเลยนายจ้าง ให้เรียกค่าครองชีพว่า 'เงินสวัสดิการ' ก็ไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะทำให้ค่าครองชีพไม่ใช่ค่าจ้าง เมื่อถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างการที่มีข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่ให้นำ 'เงินสวัสดิการ' มาคำนวณค่าจ้างในการทำงานล่วงเวลาและค่าจ้างในการทำงานในวันหยุด จึงขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 34, 39 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดโดยคำนวณจากค่าจ้างซึ่งหมายถึงค่าจ้างทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักผลขาดทุนสุทธิในการคำนวณโบนัส: เจตนาของคู่สัญญาและสิทธิตามประมวลรัษฎากร
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจะกำหนดว่าเมื่อโจทก์จำเลยไม่อาจตกลงกันในปัญหาการตีความข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทั้งสองฝ่ายตกลงเสนอให้กรมแรงงานเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยคำวินิจฉัยให้เป็นที่สุดก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าคู่กรณีไม่อาจนำปัญหาดังกล่าวไปขอให้กรมแรงงานวินิจฉัยได้อีก ไม่มีความหมายถึงกับว่าหากคำวินิจฉัยของกรมแรงงานไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คู่กรณีจะไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเพื่อให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ เพราะคำวินิจฉัยของกรมแรงงานไม่ใช่กฎหมาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (12) จำเลยมีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะบัญชีปีปัจจุบันมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงชัดแจ้งไม่ให้จำเลยหักผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน จำเลยย่อมมีสิทธิหักผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความข้อตกลงโบนัสและการหักผลขาดทุนทางภาษี: ศาลยืนตามสิทธิจำเลยในการหักผลขาดทุนตามกฎหมาย
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจะกำหนดว่าเมื่อโจทก์จำเลยไม่อาจตกลงกันในปัญหาการตีความข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทั้งสองฝ่ายตกลงเสนอให้กรมแรงงานเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยคำวินิจฉัยให้เป็นที่สุดก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าคู่กรณีไม่อาจนำปัญหาดังกล่าวไปขอให้กรมแรงงานวินิจฉัยได้อีก ไม่มีความหมายถึงกับว่าหากคำวินิจฉัยของกรมแรงงานไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คู่กรณีจะไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเพื่อให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ เพราะคำวินิจฉัยของกรมแรงงานไม่ใช่กฎหมาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (12) จำเลยมีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะบัญชีปีปัจจุบันมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงชัดแจ้งไม่ให้จำเลยหักผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน จำเลยย่อมมีสิทธิหักผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรได้
of 42