พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การอุทธรณ์เฉพาะเหตุผล ศาลยกอุทธรณ์
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่าเห็นด้วย กับผลของคำพิพากษา แต่ไม่เห็นด้วยในเหตุผลที่ศาลแรงงานกลางอ้าง เป็นอุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ทั้งมิได้อ้างว่าผลแห่งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางทำให้จำเลยเสียสิทธิ หรือมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยประการใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2407/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การอุทธรณ์เฉพาะเหตุผลโดยไม่โต้แย้งผลคำพิพากษา
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่าเห็นด้วย กับผลของคำพิพากษา แต่ไม่เห็นด้วยในเหตุผลที่ศาลแรงงานกลางอ้าง เป็นอุทธรณ์ที่มิได้โต้แย้งผลของคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ทั้งมิได้อ้างว่าผลแห่งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลางทำให้จำเลยเสียสิทธิ หรือมีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของจำเลยประการใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ชอบที่จะรับไว้พิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง: หลักฐานจากคำสั่งจ่ายและมติคณะรัฐมนตรีใช้คำนวณค่าทำงานในวันหยุดได้
จำเลยจ่ายเงินค่าครองชีพให้พนักงานที่มีเงินเดือนไม่เกินที่กำหนดไว้โดยเสมอหน้ากัน เป็นจำนวนแน่นอนประจำทุกเดือน มีลักษณะอย่างเดียวกับเงินเดือนของพนักงานเงินค่าครองชีพจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างหรือเงินเดือน
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยตามอุทธรณ์ของจำเลยกล่าวเฉพาะ 'ค่าล่วงเวลา' และ 'ค่าชดเชย' เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึง 'ค่าทำงานในวันหยุด' แต่ประการใด จึงนำข้อตกลงนี้มาใช้เป็นหลักในการคำนวณค่าทำงานในวันหยุดของโจทก์ไม่ได้
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยตามอุทธรณ์ของจำเลยกล่าวเฉพาะ 'ค่าล่วงเวลา' และ 'ค่าชดเชย' เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึง 'ค่าทำงานในวันหยุด' แต่ประการใด จึงนำข้อตกลงนี้มาใช้เป็นหลักในการคำนวณค่าทำงานในวันหยุดของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างฐานคำนวณค่าทำงานในวันหยุด แม้ข้อตกลงสภาพการจ้างจะไม่ได้ระบุ
จำเลยจ่ายเงินค่าครองชีพให้พนักงานที่มีเงินเดือนไม่เกินที่กำหนดไว้โดยเสมอหน้ากัน. เป็นจำนวนแน่นอนประจำทุกเดือนมีลักษณะอย่างเดียวกับเงินเดือนของพนักงานเงินค่าครองชีพจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างหรือเงินเดือน
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยตามอุทธรณ์ของจำเลยกล่าวเฉพาะ 'ค่าล่วงเวลา' และ 'ค่าชดเชย'เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึง 'ค่าทำงานในวันหยุด' แต่ประการ ใด จึงนำข้อตกลงนี้มาใช้เป็นหลักในการคำนวณค่าทำงานในวันหยุดของโจทก์ไม่ได้
เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยตามอุทธรณ์ของจำเลยกล่าวเฉพาะ 'ค่าล่วงเวลา' และ 'ค่าชดเชย'เท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึง 'ค่าทำงานในวันหยุด' แต่ประการ ใด จึงนำข้อตกลงนี้มาใช้เป็นหลักในการคำนวณค่าทำงานในวันหยุดของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลือกออกจากงานเมื่ออายุครบ 60 ปี ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย
นายจ้างมีข้อบังคับว่า ถ้าลูกจ้างคนใดมีอายุครบ 60 ปี ในระหว่างปี ลูกจ้างคนนั้นมีสิทธิที่จะเลือกออกจากงานในวันถัดจากวันที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือในวันสิ้นปีงบประมาณที่เกษียณอายุก็ได้ ดังนั้นการที่ลูกจ้างใช้สิทธิเลือกออกจากงานก่อนสิ้นปีงบประมาณเมื่อลูกจ้างอายุครบ 60 ปีแล้ว ซึ่งข้อบังคับของนายจ้างเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเลือกทำได้ จึงเป็นการเลิกจ้างหาใช่เป็นลาออกจากงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเลือกออกจากงานตามข้อบังคับนายจ้างเมื่ออายุครบ 60 ปี มิใช่การลาออก แต่เป็นการเลิกจ้าง
นายจ้างมีข้อบังคับว่า ถ้าลูกจ้างคนใดมีอายุครบ 60 ปี ในระหว่างปี ลูกจ้างคนนั้นมีสิทธิที่จะเลือกออกจากงานในวันถัดจากวันที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ หรือในวันสิ้นปีงบประมาณที่เกษียณอายุก็ได้ ดังนั้น การที่ลูกจ้างใช้สิทธิเลือกออกจากงานก่อนสิ้นปีงบประมาณเมื่อลูกจ้างอายุครบ 60 ปีแล้วซึ่งข้อบังคับของนายจ้างเปิดโอกาสให้ลูกจ้างเลือกทำได้ จึงเป็นการเลิกจ้างหาใช่เป็นลาออกจากงานไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่าจ้างหลังสัญญาจ้างหมดอายุ: สัญญาจ้างใหม่ยึดเงื่อนไขเดิม
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นเวลา 3 เดือน เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยไม่เลิกจ้างโจทก์ แต่ลดค่าจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ทำให้ยอดการขายตก ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงด้วยจำเลยก็หาอาจลดค่าจ้างโจทก์ได้ไม่เพราะการที่โจทก์ทำให้ยอดการขายตกลงนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวกับโจทก์อีกส่วนหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างครบกำหนด ห้ามลดค่าจ้างโดยไม่ตกลงกัน ยอดขายตกเป็นเรื่องว่ากล่าว
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เป็นเวลา 3 เดือน เมื่อครบกำหนดตามสัญญาจำเลยไม่เลิกจ้างโจทก์ แต่ลดค่าจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ทำให้ยอดการขายตก ดังนี้ เมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงด้วยจำเลยก็หาอาจลดค่าจ้างโจทก์ได้ไม่ เพราะการที่โจทก์ทำให้ยอดการขายตกลงนั้นเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องว่ากล่าวกับโจทก์อีกส่วนหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการร้องขอให้ศาลแรงงานวินิจฉัยกรณีลูกจ้างได้รับความไม่เป็นธรรม ต้องเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
กรณีที่สหภาพแรงงานจะมีสิทธิร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายจ้างจะทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือเดือดร้อนเกินสมควรหรือไม่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 50 วรรคสองนั้น จะต้องเป็นกรณีเกี่ยวกับการประชุมหารือระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างตามมาตรา 50 วรรคแรก เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องของสหภาพแรงงานเป็นกรณีที่กล่าวหาว่านายจ้างแกล้งกล่าวหาลูกจ้างในข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริงโดยไม่เกี่ยวกับการประชุมแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีที่จะร้องต่อศาลแรงงานตามมาตรา 50 วรรคสอง และจะอาศัยมาตรา 50 วรรคสองในฐานะบทบัญญัติใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะนำมาปรับแก่คดีก็ไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำเช่นนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการร้องต่อศาลแรงงานตามมาตรา 50 วรรคสอง ต้องเป็นกรณีเกี่ยวกับการประชุมคณะกรรมการลูกจ้างเท่านั้น
กรณีที่สหภาพแรงงานจะมีสิทธิร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายจ้างจะทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือเดือดร้อนเกินสมควรหรือไม่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 50 วรรคสองนั้น จะต้องเป็นกรณีเกี่ยวกับการประชุมหารือระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างตามมาตรา 50 วรรคแรก เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องของสหภาพแรงงานเป็นกรณีที่กล่าวหาว่านายจ้างแกล้งกล่าวหาลูกจ้างในข้อกล่าวหาที่ไม่เป็นความจริงโดยไม่เกี่ยวกับการประชุมแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีที่จะร้องต่อศาลแรงงานตามมาตรา 50 วรรคสอง และจะอาศัยมาตรา 50 วรรคสองในฐานะบทบัญญัติใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะนำมาปรับแก่คดีก็ไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ทำเช่นนั้นได้