คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรัช รัตนอุดม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2792/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาความร้ายแรงของความผิดตามข้อบังคับและระเบียบ หากไม่ปรากฏข้อบังคับ นายจ้างนำความผิดเก่ามาพิจารณาไม่ได้
เมื่อไม่ปรากฏว่าข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ของนายจ้างเป็นอย่างไร การจะปรับว่าการกระทำของลูกจ้าง เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันเป็นกรณีร้ายแรงย่อมปรับไม่ได้ดังนั้นการที่ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานขับรถให้พนักงานยกของเฝ้ารถไว้แล้วโทรศัพท์บอกนายจ้างว่าตนจะไม่นำ รถกลับเพราะทางราชการห้ามมิให้รถบรรทุกวิ่งในช่วงเวลานั้น เป็นเหตุผลอันสมควรสำหรับลูกจ้างจะถือว่าการละทิ้งรถ ในลักษณะนี้ เป็นกรณีที่ร้ายแรงยังไม่ได้ การที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดของลูกจ้างเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงหรือไม่นั้น จักต้องพิจารณาจากการกระทำนั้น โดยเฉพาะจะนำเอาความผิดครั้งก่อนๆมาพิจารณาประกอบแล้วถือว่าการกระทำครั้งหลังเป็นกรณีที่ร้ายแรงหาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท กรณีผลิตและครอบครองกัญชาเพื่อจำหน่าย ศาลแก้ไขโทษและให้รอการลงโทษ
กัญชาจำนวนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นกัญชาจำนวนเดียวกับที่จำเลยได้มาจากการผลิตการกระทำของ จำเลยเกี่ยวกับกัญชาจำนวนนี้จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมาย หลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2742/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท – กัญชาผลิตและครอบครองจำหน่าย – ลดโทษและรอการลงโทษ
กัญชาจำนวนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นกัญชาจำนวนเดียวกับที่จำเลยได้มาจากการผลิต การกระทำของ จำเลยเกี่ยวกับกัญชาจำนวนนี้จึงเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากลูกจ้างละเลยหน้าที่ ทำให้เกิดการทุจริต – เริ่มนับแต่วันที่นายจ้างรู้ตัวผู้กระทำผิด
การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างและมีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบการปฏิบัติงานของ จ. ละเลยไม่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของ จ. อันเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้ จ. ทุจริตเบียดบังรายได้ของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการละเมิดนั้นโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายต่อศาลแรงงานได้แต่เมื่อโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วโจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์จะทราบจำนวนค่าเสียหายที่ถูกต้องแท้จริงแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากลูกจ้างละเลยหน้าที่ ทำให้เกิดการทุจริตของผู้อื่น โจทก์ต้องฟ้องภายใน 1 ปีนับจากวันที่รู้ถึงการละเมิด
การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างและมีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบการปฏิบัติงานของ จ. ละเลยไม่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของ จ. อันเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่อย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้ จ. ทุจริตเบียดบังรายได้ของโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอันเป็นการละเมิดนั้น โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายต่อศาลแรงงานได้ แต่เมื่อโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์จะทราบจำนวนค่าเสียหายที่ถูกต้องแท้จริงแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องฉ้อโกงหลังร้องทุกข์ออกเช็คเด้ง – กรรมเดียวฟ้องได้
การที่ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค และได้มีการสอบสวนตามที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ ไว้ เมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวหรือสืบเนื่องมาจากการกระทำผิดซึ่งเป็นกรรมเดียวกับข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คด้วย ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ในข้อหาฉ้อโกงด้วยแล้ว การสอบสวนจึงเป็นไปโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องอาญาฐานฉ้อโกงแม้ไม่ได้ร้องทุกข์โดยตรง หากผลสอบสวนเชื่อมโยงกับการกระทำผิดฐานออกเช็คโดยเจตนา
การที่ผู้เสียหายไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค และได้มีการสอบสวนตามที่ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ไว้ เมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าเป็นความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวหรือสืบเนื่องมาจากการกระทำผิดซึ่งเป็นกรรมเดียวกับข้อหาออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คด้วย ถือได้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ในข้อหาฉ้อโกงด้วยแล้วการสอบสวนจึงเป็นไปโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาฉ้อโกง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2457/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานหลังสืบพยานโจทก์: เหตุผลความพลั้งเผลอของทนายไม่เพียงพอ
จำเลยยื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยาน อ้างว่าเป็นเพราะความพลั้งเผลอของทนายจำเลยโดยมิได้จงใจ และมิใช่เพื่อประวิงการดำเนินคดีของศาล ภายหลังที่ศาลสืบพยานโจทก์เสร็จและนัดฟังคำพิพากษาแล้ว ดังนี้ ไม่เป็นเหตุที่จะอ้างได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม และถือไม่ได้ว่ามีเหตุสมควรอื่นใด ที่จะ อนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้และการเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย พิจารณาความยินยอมของลูกหนี้ก่อนการยื่นล้มละลาย
ธนาคารผู้คัดค้านโอนเงินฝากประจำของลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดลูกหนี้ที่ 1 ไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของลูกหนี้ที่ 1 เมื่อวันที่ 28กันยายน 2522 เป็นการชำระหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารเพื่อหักหนี้ เกิดจากหนังสือค้ำประกันยินยอมการหักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างลูกหนี้ที่ 2 กับธนาคารผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 1ธันวาคม 2520 ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2522 ธนาคารผู้คัดค้านในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้ค้ำประกันและเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้เงินฝากประจำที่ธนาคารรับฝากไว้แม้ว่าจะไม่มีข้อตกลงดังกล่าว ธนาคารผู้คัดค้านก็มีสิทธิที่จะหักกลบลบหนี้ระหว่างหนี้ตามสัญญาค้ำประกันกับมูลหนี้เงินฝากประจำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 102 ทั้งตามมาตรา 115 ใช้คำว่าลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ มุ่งถึงกิริยาที่ยินยอม มิได้ใช้คำว่าผู้อื่นทำด้วยความยินยอมของลูกหนี้ ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้เมื่อวันที่ 28กันยายน 2522 ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมายให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามมาตรา 115เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวไม่ได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่8/2527)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักหนี้จากเงินฝากประจำก่อนล้มละลาย: การยินยอมของลูกหนี้และการกระทำที่ไม่เข้าข่ายการเพิกถอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ธนาคารผู้คัดค้านโอนเงินฝากประจำของลูกหนี้ที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัดลูกหนี้ที่ 1 ไปเข้าบัญชีกระแสรายวันของลูกหนี้ที่ 1 เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2522 เป็นการชำระหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีธนาคารเพื่อหักหนี้ เกิดจากหนังสือค้ำประกันยินยอมการหักบัญชีเงินฝากประจำชำระหนี้ระหว่างลูกหนี้ที่ 2 กับธนาคารผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2520 ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2522 ธนาคารผู้คัดค้านในฐานเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้ค้ำประกัน และเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ในมูลหนี้เงินฝากประจำที่ธนาคารรับฝากไว้ แม้ว่าจะไม่มีข้อตกลงดังกล่าว ธนาคารผู้คัดค้านก็มีสิทธิที่จะหักลบกลบหนี้ระหว่างหนี้ตามสัญญาค้ำประกันกับมูลหนี้เงินฝากประจำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 102 ทั้งตามมาตรา 115 ใช้คำว่าลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำ มุ่งถึงกิริยาที่ยินยอม มิได้ใช้คำว่าผู้อื่นทำด้วยความยินยอมของลูกหนี้ ดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้กระทำหรือยินยอมให้ธนาคารผู้คัดค้านกระทำการโอนบัญชีและหักหนี้เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2522 ในระหว่างระยะเวลา 3 เดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยมุ่งหมยให้ธนาคารผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นตามมาตรา 115 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าวไม่ได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 8/2527)
of 42