พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดบนที่ดินพิพาทที่มีสัญญาซื้อขายก่อนหน้า การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้บ้านพิพาทซึ่งจำเลยซื้อมาจากการขายทอดตลาดของศาลจะปลูกอยู่ในที่ดินมีโฉนดของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่ดินที่ปลูกบ้านพิพาทนั้นโจทก์ได้ทำสัญญาแบ่งขายให้ ล. และยินยอมให้ ล. เข้าไปปลูกบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์บิดพลิ้วไม่ยอมรับชำระราคาที่ดินจากล. ล.จึงฟ้องให้โจทก์รับชำระราคาและโอนที่ดินให้ คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา ก่อนที่จำเลยจะซื้อบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาด ล. ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินที่ซื้อมาจากโจทก์ให้จำเลยและล. จะไปทำการโอนให้แก่ จำเลยเมื่อได้รับโอนจากโจทก์แล้ว ซึ่งโจทก์ก็ทราบและเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดบ้านพิพาทด้วย เมื่อโจทก์ซื้อบ้านพิพาทไม่ได้จึงกลั่นแกล้งนำคดีมาฟ้องขับไล่จำเลย เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตดังนี้ หากเป็นความจริงดังที่จำเลยต่อสู้ การที่ ล. กับ ส. จำเลยในคดีที่ถูกยึดทรัพย์ปลูกบ้านพิพาทลงในที่ดินของโจทก์ก็เป็นการปลูกบ้านโดยมีสิทธิ หากในที่สุดโจทก์แพ้คดี ล. โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยรื้อบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินดังกล่าว และจำเลยย่อมมีสิทธิอยู่ในที่ดินดังกล่าวได้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้กับ ล. ถ้าโจทก์รู้ความเช่นนี้แต่ยังมาชิงฟ้องขับไล่จำเลยเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้รับความเสียหาย ก็อาจเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตได้ จึงสมควรที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อค่าเสียหายแต่ละรายไม่เกินห้าหมื่นบาท
โจทก์ทั้งสี่ต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนตามลำพังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดและการรับประกันภัยค้ำจุนซึ่งทำให้โจทก์แต่ละคนเสียหายแม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ปรากฏว่าค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมีจำนวนไม่เกินห้าหมื่นบาท จำเลยที่ 3 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อันตรายแก่กายจากการทำร้ายร่างกาย: การพิจารณาความรุนแรงของการกระทำและบาดแผล
การทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายนั้น จะต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ความรุนแรงแห่งการกระทำของจำเลยประกอบกับบาดแผลที่ผู้ถูกทำร้ายได้รับ จำเลยซึ่งเป็นหญิงใช้เล็บข่วนดั้งจมูกผู้เสียหายเป็นรอยเล็บข่วนยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีโลหิตไหล ยังถือไม่ได้ว่าเป็นอันตรายแก่กาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าต่างคนต่างทำ: ศาลยกความผิดพยายามฆ่ากระทงสอง, ล้างมลทินลดโทษ
จำเลยและ ป. โกรธแค้น ม. ที่ฆ่า ส. เพื่อนของจำเลย ตาย จึงถือปืนไปถามหา ม. ต่อ พ.และย. โดยมิได้ มีเจตนาจะฆ่า พ.และย.มาก่อนเลยครั้นไม่พบม.จำเลยก็ยิงและไล่ตามยิงพ. ส่วน ป. ยิงและไล่ ตามยิง ย.ต่อมาอีกเล็กน้อยเมื่อป.ยิงย. ขณะที่จำเลยอยู่ด้วย จำเลยก็มิได้ยิง ย. ตามพฤติการณ์ดังกล่าวส่อเจตนาของจำเลยและ ป. ว่าต่างคนต่างยิง พ.และ ย. เป็นเจตนาที่ต่างเพิ่งเกิดขึ้นใหม่. จำเลยมิได้มีเจตนาร่วมกับ ป. ฆ่า ย.จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่าย. อีกกระทงหนึ่ง ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2526 ประกาศใช้ มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2526 ซึ่งตามมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 6 เมษายน 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัติ นี้ใช้บังคับ ฯลฯ โดยถือว่าผู้นั้นมิได้ เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นๆ จำเลยต้องโทษในกรณีความผิด ซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525 และพ้นโทษคดีก่อนก่อนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาต่างกันในการยิง และผลกระทบของ พ.ร.บ. ล้างมลทินต่อการเพิ่มโทษ
จำเลยและ ป. โกรธแค้น ม. ที่ฆ่า ส. เพื่อนของจำเลยตายจึง ถือปืนไปถามหา ม. ต่อ พ. และ ย. โดยมิได้มีเจตนาจะฆ่าพ. และ ย. มาก่อนเลย ครั้นไม่พบ ม. จำเลยก็ยิงและไล่ตามยิง พ.ส่วน ป. ยิงและไล่ตามยิง ย. ต่อมาอีกเล็กน้อยเมื่อ ป. ยิง ย.ขณะที่จำเลยอยู่ด้วย จำเลยก็มิได้ยิง ย. ตามพฤติการณ์ดังกล่าวส่อเจตนาของจำเลยและ ป. ว่าต่างคนต่างยิง พ.และ ย. เป็นเจตนาที่ต่างเพิ่งเกิดขึ้นใหม่ จำเลยมิได้มีเจตนาร่วมกับ ป.ฆ่า ย. จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพยายามฆ่า ย. อีกกระทงหนึ่ง
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2526 ประกาศใช้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2526 ซึ่งตามมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 6 เมษายน 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ฯลฯ โดยถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นๆ จำเลยต้องโทษในกรณีความผิดซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525 และพ้นโทษคดีก่อนก่อนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2526 ประกาศใช้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2526 ซึ่งตามมาตรา 4 บัญญัติให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 6 เมษายน 2525 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ฯลฯ โดยถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในความผิดนั้นๆ จำเลยต้องโทษในกรณีความผิดซึ่งได้กระทำก่อนวันที่ 6 เมษายน 2525 และพ้นโทษคดีก่อนก่อนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ จึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย้ง: การฟ้องของโจทก์สะดุดอายุความเฉพาะโจทก์ มิได้เป็นคุณแก่จำเลยที่ฟ้องแย้ง
การที่จำเลยฟ้องแย้งแม้จะเป็นการใช้สิทธิเรียกร้อง ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดอันเดียวกันต่อเนื่องกัน และที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การได้นั้น ก็เป็นบทบัญญัติที่ผ่อนผันให้จำเลยฟ้องมาในคำให้การได้เพื่อความสะดวกแก่จำเลยโดยไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ให้ยุ่งยากและเสียเวลา แต่การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าหนี้ โจทก์เป็นลูกหนี้จึงเป็นคนละฝ่ายกัน ดังนั้นการฟ้องคดีของโจทก์ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็เฉพาะโจทก์ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ฟ้องแย้งด้วย เมื่อจำเลย ฟ้องแย้งพ้น 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย้ง: การฟ้องแย้งของจำเลยไม่ได้รับผลจากการฟ้องของโจทก์ หากเป็นการเปลี่ยนสถานะจากลูกหนี้เป็นเจ้าหนี้
การที่จำเลยฟ้องแย้งแม้จะเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดอันเดียวกันต่อเนื่องกัน และที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสามให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การได้นั้น ก็เป็นบทบัญญัติที่ผ่อนผันให้จำเลยฟ้องมาในคำให้การได้เพื่อความสะดวกแก่จำเลยโดยไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ให้ยุ่งยากและเสียเวลา แต่การที่จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าหนี้ โจทก์เป็นลูกหนี้จึงเป็นคนละฝ่ายกัน ดังนั้นการฟ้องคดีของโจทก์ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็เฉพาะโจทก์ ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้ฟ้องแย้งด้วย เมื่อจำเลยฟ้องแย้งพ้น 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาตามยอม: อำนาจทนาย, ความผูกพันคำพิพากษา, และกรณีพิเศษ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันรับสินค้าจนกว่าจะชำระเสร็จ ทนายจำเลยซึ่งตามใบแต่งทนายระบุให้มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ด้วย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า จำเลยยอมชำระราคาสินค้าตามฟ้องแก่โจทก์ภายในวันที่ 15 กันยายน 2525 หากผิดนัดยอมให้บังคับคดีทันทีและยอมเสียดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลพิพากษาตามยอม ดังนี้ จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลแก้คำพิพากษาตามยอมโดยอ้างว่าทนายจำเลยทำสัญญายอมให้ดอกเบี้ยแก่ โจทก์เกินคำขอหาได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นการขอแก้ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143. และที่จำเลยอ้างว่า จำเลยไม่มีความรู้ไม่ทราบว่าคำพิพากษาชอบหรือไม่จึง เป็นกรณีพิเศษที่จะขอให้แก้คำพิพากษาได้นั้น ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า กรณีของจำเลยเป็นกรณีพิเศษที่จะให้แก้คำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1739/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาตามยอม: อำนาจทนาย, การผูกพันตามสัญญา, และข้อจำกัดในการขอแก้ไข
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาสินค้าที่จำเลยซื้อไปจากโจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปีนับแต่วันรับสินค้าจนกว่าจะชำระเสร็จ ทนายจำเลยซึ่งตามใบแต่งทนายระบุให้มีอำนาจประนีประนอมยอมความได้ด้วย ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ว่า จำเลยยอมชำระราคาสินค้าตามฟ้องแก่โจทก์ภายในวันที่ 15 กันยายน 2525 หากผิดนัดยอมให้บังคับคดีทันทีและยอมเสียดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดจนกว่าจะชำระเสร็จ ศาลพิพากษาตามยอม ดังนี้ จำเลยจะมาร้องขอให้ศาลแก้ คำพิพากษาตามยอมโดยอ้างว่าทนายจำเลยทำสัญญายอมให้ดอกเบี้ยแก่ โจทก์เกินคำขอหาได้ไม่ เพราะมิใช่เป็นการขอแก้ข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่นๆ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143. และที่จำเลยอ้างว่า จำเลยไม่มีความรู้ไม่ทราบว่าคำพิพากษาชอบหรือไม่ จึงเป็นกรณีพิเศษที่จะขอให้แก้คำพิพากษาได้นั้น ก็ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติว่า กรณีของจำเลยเป็นกรณีพิเศษที่จะให้แก้คำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จ: เริ่มนับระยะเวลาทำงานเมื่อเป็นพนักงานประจำ ธนาคารมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขได้
ข้อบังคับของธนาคารนายจ้างกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จว่าลูกจ้างต้องมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ระยะเวลาทำงานนับตั้งแต่วันบรรจุลูกจ้างเข้าทำงานประจำใน ธนาคาร ดังนี้ ลูกจ้างจะมีสิทธิรับบำเหน็จต้องนับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนักงานธนาคารของนายจ้าง ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว และเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินที่ นายจ้างสมัครใจจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่เงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย นายจ้างจะวางเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร ย่อมสุดแล้วแต่ดุลพินิจของนายจ้าง ข้อบังคับของจำเลย จึงหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่