พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการจ่ายบำเหน็จ: เริ่มนับระยะเวลาทำงานเมื่อเป็นพนักงานประจำ ธนาคารมีสิทธิกำหนดเงื่อนไขได้
ข้อบังคับของธนาคารนายจ้างกำหนดเงื่อนไขในการจ่ายบำเหน็จว่าลูกจ้างต้องมีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ระยะเวลาทำงานนับตั้งแต่วันบรรจุลูกจ้างเข้าทำงานประจำใน ธนาคาร ดังนี้ ลูกจ้างจะมีสิทธิรับบำเหน็จต้องนับ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็น พนักงานธนาคารของนายจ้าง ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับการบรรจุเป็นลูกจ้างชั่วคราว และเงินบำเหน็จนี้เป็นเงินที่ นายจ้างสมัครใจจ่ายแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่เงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่าย นายจ้างจะวางเงื่อนไขและวิธีการอย่างไร ย่อมสุดแล้วแต่ดุลพินิจของนายจ้าง ข้อบังคับของจำเลย จึงหาขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาของกรรมการสหภาพแรงงานต้องเกี่ยวกับการดำเนินกิจการสหภาพฯ เท่านั้น การเข้าร่วมสัมมนาทั่วไปไม่ถือเป็นสิทธิลา
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 102 อยู่ในหมวด 7 ว่าด้วย 'สหภาพแรงงาน' มีความตอนต้นให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงาน ฉะนั้น ข้อความในตอนต่อมาที่ว่ามีสิทธิไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้จึงต้องหมายถึงการไปร่วมประชุมในเรื่องที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นเท่านั้น ย่อมไม่หมายถึงการประชุมในเรื่องใด ๆ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด มิฉะนั้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานก็จะอ้างสิทธิไปร่วมประชุมในเรื่องที่ทางราชการกำหนดได้ทุกเรื่อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาเพื่อร่วมประชุมของกรรมการสหภาพแรงงานต้องเกี่ยวข้องกับกิจการสหภาพฯ ไม่ครอบคลุมการสัมมนาทั่วไป
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 102 อยู่ในหมวด 7 ว่าด้วย'สหภาพแรงงาน'มีความตอนต้นให้สิทธิลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานลาเพื่อไปดำเนินกิจการสหภาพแรงงาน ฉะนั้น ข้อความในตอนต่อมาที่ว่า มีสิทธิไปร่วมประชุมตามที่ทางราชการกำหนดได้จึงต้องหมายถึงการไปร่วมประชุมใน เรื่องที่เกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่ทางราชการกำหนดขึ้นเท่านั้นย่อมไม่หมายถึงการประชุมในเรื่องใด ๆ โดยไม่มีขอบเขต จำกัด มิฉะนั้นลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานก็จะอ้างสิทธิไปร่วมประชุมในเรื่องที่ทางราชการกำหนดได้ทุกเรื่อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1604/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากการผ่าตัดตกแต่งจมูกประมาทเลินเล่อ ศาลพิจารณาความเสียหายตามอาการบาดเจ็บและผลกระทบต่อการทำงาน
จำเลยที่ 2 เป็นศัลยแพทย์ตกแต่ง เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เจ้าของคลีนิค ทำศัลยกรรมตกแต่งจมูกของโจทก์ด้วยความประมาท เลินเล่อเป็นเหตุให้จมูกอักเสบและมีเลือดคั่งที่หน้าผากต้องรักษา ประมาณ 2 เดือนเศษ ดังนี้ จำเลยทั้งสองต้องใช้ค่าเสียหายในการ ที่โจทก์เจ็บปวดทรมานค่าขาดประโยชน์ในการทำมาหาได้ และ ค่ารักษาพยาบาลจากแพทย์อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1549/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างต่างชาติเนื่องจากสัญชาติ ถือเป็นการเลิกจ้างที่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ข้ออุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางแม้จะเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถ้า ศาลฎีกายังไม่เห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ก็ไม่รับ วินิจฉัยให้ ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุไม่มีสัญชาติไทยอันเป็นการพ้นจากตำแหน่งโดยผลของกฎหมาย แต่นายจ้างก็จะต้องดำเนินการให้ลูกจ้างพ้นจากตำแหน่งไปอีกชั้นหนึ่ง ซึ่ง เป็นการให้ลูกจ้าง ออกจากงานโดยไม่ได้กระทำผิดใดๆ จึงถือว่าเป็นการเลิกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ แม้เลขทะเบียนรถยนต์ในฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 7 ข -4075โดยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายโจทก์ ได้ใช้ ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิ เรียกร้องเอาแก่จำเลยแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ารถยนต์ที่ จำเลยขับเป็นรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 7 ข - 4095 ซึ่ง แตกต่างกับที่กล่าวในฟ้องก็ตามก็เป็นเพียงการแตกต่าง เกี่ยวกับเลขทะเบียนรถยนต์เท่านั้นข้อสำคัญแห่งประเด็น อยู่ที่ว่าจำเลยได้ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์ รับประกันภัยหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยก็ชอบที่จะ ให้จำเลย ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลขทะเบียนรถยนต์ในฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ไม่เป็นเหตุให้ยกฟ้อง หากพิสูจน์ได้ว่าจำเลยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 7 ข - 4075 โดยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย โจทก์ได้ใช้ ค่าเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิ เรียกร้องเอาแก่จำเลยแม้ทางพิจารณาจะได้ความว่ารถยนต์ที่ จำเลยขับเป็นรถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 7 ข - 4095 ซึ่ง แตกต่างกับที่กล่าวในฟ้องก็ตาม ก็เป็นเพียงการแตกต่าง เกี่ยวกับเลขทะเบียนรถยนต์เท่านั้น ข้อสำคัญแห่งประเด็น อยู่ที่ว่าจำเลยได้ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์ รับประกันภัยหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยได้ ขับรถยนต์โดยประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยก็ชอบที่จะ ให้จำเลย ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จ และผลของการปฏิเสธการจ่ายเงินหลังยื่นคำร้อง
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่าง อื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้อง เงินบำเหน็จให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ ต้องห้ามตามมาตรา 191
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1503/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จ และผลของการปฏิเสธการจ่ายเงินบำเหน็จหลังยื่นคำร้อง
สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 นายจ้างจะกำหนดระยะเวลาใช้สิทธิเรียกร้องเงินบำเหน็จให้น้อยกว่า 10 ปีหาได้ไม่ ต้องห้ามตามมาตรา 191
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ
ตามข้อบังคับนายจ้างจะจ่ายเงินบำเหน็จ เมื่อลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับดังนี้ เมื่อลูกจ้างขอรับแล้วนายจ้างปฏิเสธ ถือว่านายจ้างผิดนัดนับแต่วันที่ลูกจ้างขอรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องละเมิดไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีขับไล่ สิทธิเรียกร้องต้องฟ้องเป็นคดีใหม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนบ้าน โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินที่เช่าจากโจทก์เพราะครบกำหนดสัญญาเช่าและโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าได้ทำสัญญาเช่ากับโจทก์และสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ได้แจ้งแก่จำเลยว่าจะให้จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าเดิมเป็นผู้เช่าต่อไปแต่เจ้าหน้าที่ของโจทก์กระทำการโดยทุจริตนำที่พิพาทไปให้บุคคลภายนอกเช่าแล้วมาฟ้องขับไล่จำเลยโดยไม่เป็นธรรมฝ่าฝืนคำสั่งของคณะรัฐมนตรีและคำสั่งของสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเมิดต่อจำเลยทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจำเลยจึงขอคิดค่าเสียหายจากโจทก์ดังนี้ แม้ข้ออ้างของจำเลยจะเป็นความจริงก็เป็นเรื่องละเมิดไม่เกี่ยวกับการผิดสัญญาเช่าตามที่โจทก์ฟ้องฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม