คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรัช รัตนอุดม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 413 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 669/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นมีผลอย่างไร และอายุความการครอบครองที่ดิน
เมื่อศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ไม่ว่าทั้งหมดหรือข้อใดข้อหนึ่ง ผู้อุทธรณ์จะต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นคดีนี้ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงของจำเลยจำเลยไม่อุทธรณ์คำสั่ง ปัญหาข้อเท็จจริงที่จำเลยอุทธรณ์จึงเป็นอันยุติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษฐานครอบครองไม้หวงห้าม: การใช้กฎหมายเก่าหรือใหม่ และการรับรู้ถึงความผิด
กฎหมายเก่าที่ใช้อยู่ขณะกระทำผิดมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทส่วนกฎหมายใหม่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาท กฎหมายทั้งสองฉบับนี้ต่างเป็นคุณต่อผู้กระทำผิด แล้วแต่จะดูในแง่ขั้นสูงหรือขั้นต่ำของโทษ ถ้าศาลจะลงโทษจำคุกในอัตราขั้นสูงต้องใช้กฎหมายฉบับแรกเพราะเป็นคุณแก่จำเลย แต่ถ้าจะจำคุกจำเลยในอัตราขั้นต่ำต้องใช้กฎหมายฉบับหลังเพราะเป็นคุณแก่จำเลยคดีนี้ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี การวางโทษจึงอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายเก่าก็ได้หรือใช้กฎหมายฉบับใหม่ก็ได้ควรใช้กฎหมายเก่าอันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำผิดบังคับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1292/2500) จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน ป. เป็นน้องเขยของภริยาจำเลยอาศัยอยู่ในบริเวณรั้วเดียวกันกับบ้านจำเลย และไม่มีรั้วกั้นระหว่างบ้านทั้งสอง ป. มีอาชีพทำโต๊ะและประตูไม้ขายซึ่งต้องใช้ไม้ปริมาณมาก เจ้าพนักงานตำรวจค้นพบไม้หวงห้ามของกลางที่ยุ้งข้าวและห้องเก็บของใต้ถุนบ้านจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งไม้ของกลางโดยจำเลยรู้ว่าเป็นไม้ที่ได้มาโดยผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ซึ่งเป็นความผิดฐานเป็นตัวการตาม มาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติ ป่าไม้แล้ว เพราะเพียงแต่รับไว้ด้วยประการใดๆก็เป็นความผิดไม่ต้องถึงกับร่วมกันกระทำผิด จำเลยมีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ปราบปรามการกระทำผิดแต่กลับกระทำผิดเสียเอง และความผิดที่จำเลยถูกฟ้อง ก็เป็นความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติอันควรรักษาไว้ จึงไม่มีเหตุที่จะลงโทษให้เบาลง และรอการลงอาญาให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับไม้ผิดกฎหมาย ผู้ใหญ่บ้านละเลยหน้าที่ และการใช้กฎหมายป่าไม้ฉบับที่แก้ไข
กฎหมายเก่าที่ใช้อยู่ขณะกระทำผิดมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาทส่วนกฎหมายใหม่มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองแสนบาทกฎหมายทั้งสองฉบับนี้ต่างเป็นคุณต่อผู้กระทำผิด แล้วแต่จะดูในแง่ขั้นสูงหรือขั้นต่ำของโทษ ถ้าศาลจะลงโทษจำคุกในอัตราขั้นสูงต้องใช้กฎหมายฉบับแรกเพราะเป็นคุณแก่จำเลย แต่ถ้าจะจำคุกจำเลยในอัตราขั้นต่ำต้องใช้กฎหมายฉบับหลังเพราะเป็นคุณแก่จำเลย คดีนี้ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลย 3 ปี การวางโทษจึงอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายเก่าก็ได้หรือใช้กฎหมายฉบับใหม่ก็ได้ควรใช้กฎหมายเก่าอันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะกระทำผิดบังคับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1292/2500)
จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้าน ป. เป็นน้องเขยของภริยาจำเลยอาศัยอยู่ในบริเวณรั้วเดียวกันกับบ้านจำเลย และไม่มีรั้วกั้นระหว่างบ้านทั้งสอง ป. มีอาชีพทำโต๊ะและประตูไม้ขายซึ่งต้องใช้ไม้ปริมาณมาก เจ้าพนักงานตำรวจค้นพบไม้หวงห้ามของกลางที่ยุ้งข้าวและห้องเก็บของใต้ถุนบ้านจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งไม้ของกลาง โดยจำเลยรู้ว่าเป็นไม้ที่ได้มาโดยผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้ฯซึ่งเป็นความผิดฐานเป็นตัวการตาม มาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติ ป่าไม้แล้ว เพราะเพียงแต่รับไว้ด้วยประการใดๆก็เป็นความผิดไม่ต้องถึงกับร่วมกันกระทำผิด
จำเลยมีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ปราบปรามการกระทำผิดแต่กลับกระทำผิดเสียเอง และความผิดที่จำเลยถูกฟ้องก็เป็นความผิดเกี่ยวกับป่าไม้ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติอันควรรักษาไว้จึงไม่มีเหตุที่จะลงโทษให้เบาลง และรอการลงอาญาให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โดยจำเลยไม่ทราบถึงการนัดฟังคำสั่ง เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และต้องเพิกถอน
การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดให้โจทก์ฟังไปฝ่ายเดียวโดยที่ส่งหมายให้จำเลยไม่ได้ จำเลยจึงไม่ทราบนัดและไม่มาศาลนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยฟัง ก็หาทำให้การอ่านคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเป็นการผิดระเบียบ ชอบที่จะเพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 แม้ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยจำเลยไม่ทราบเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดให้โจทก์ฟังไปฝ่ายเดียวโดยที่ส่งหมายให้จำเลยไม่ได้จำเลยจึงไม่ทราบนัดและไม่มาศาลนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และทำให้กระบวนพิจารณาหลังจากนั้นต่อมาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยฟัง ก็หาทำให้การอ่านคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ จึงถือได้ว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเป็นการผิดระเบียบ ชอบที่จะเพิกถอนเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 แม้ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(8) บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงที่จะโอนบ้านและที่ดินพิพาท ซึ่งบุตรผู้เยาว์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท.บิดาผู้ตายแต่ผู้เดียว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ ท. จึงฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินผู้เยาว์ต้องได้รับอนุญาตจากศาล มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574(8) บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต ดังนั้นการที่จำเลยซึ่งเป็นมารดาผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงที่จะโอนบ้านและที่ดินพิพาทซึ่งบุตรผู้เยาว์มีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วยให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท.บิดาผู้ตายแต่ผู้เดียว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาลจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ ท. จึงฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3719/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบำเหน็จตกทอดของภรรยาเมื่อมีการสมรสซ้อน: การพิจารณาตามกฎหมายและการพิสูจน์สถานะทางกฎหมาย
แม้พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 51 จะบัญญัติหน้าที่ของกระทรวงเจ้าสังกัดจำเลยที่ 1 เพียงรับตรวจสอบเรื่องขอรับบำเหน็จตกทอด นำส่งให้ถึงกระทรวงการคลังและให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาสั่งก็ตามเมื่อกองทัพอากาศจำเลยที่ 1 ได้เสนอความเห็นส่งต่อไปถึงกระทรวงการคลัง ขอให้กันบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยาไว้ เพราะภรรยาคนแรกของผู้ตายยังมิได้ดำเนินการให้ศาลสั่งว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายเป็นโมฆะ จนเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินบำเหน็จตกทอดส่วนของโจทก์นั้น ถือได้แล้วว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ส.ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และยังไม่ขาดจากการสมรส ต่อมาผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลแสดงว่าการสมรสของโจทก์เป็นโมฆะ จะถือว่าโจทก์ไม่เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยา
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความได้ ฉะนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนก็ชอบจะทำได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3719/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับบำเหน็จตกทอดของภรรยาตามกฎหมาย แม้มีการสมรสซ้อน และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัย
แม้พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 51 จะบัญญัติหน้าที่ของกระทรวงเจ้าสังกัดจำเลยที่ 1 เพียงรับตรวจสอบเรื่องขอรับบำเหน็จตกทอด นำส่งให้ถึงกระทรวงการคลังและให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาสั่งก็ตามเมื่อกองทัพอากาศจำเลยที่ 1 ได้เสนอความเห็นส่งต่อไปถึงกระทรวงการคลัง ขอให้กันบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยาไว้ เพราะภรรยาคนแรกของผู้ตายยังมิได้ดำเนินการให้ศาลสั่งว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายเป็นโมฆะ จนเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินบำเหน็จตกทอดส่วนของโจทก์นั้น ถือได้แล้วว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ส.ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และยังไม่ขาดจากการสมรสต่อมาผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลแสดงว่าการสมรสของโจทก์เป็นโมฆะ จะถือว่าโจทก์ไม่เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความได้ฉะนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนก็ชอบจะทำได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินและการโอนสิทธิแก่บุคคลภายนอก: ผลของการแจ้งยึดต่อสิทธิของบุคคลภายนอกที่รับซื้อทรัพย์สินก่อนการแจ้งยึด
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2523 ย่อมมีผลต่อจำเลยที่ 3 ตั้งแต่ วันยึด แต่เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดิน ทราบวันที่ 17 เมษายน 2523 ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ได้โอน ขายที่ดินซึ่งถูกยึด ให้แก่ พ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2523 การยึด ที่ดินดังกล่าวจึงใช้ ยัน พ.ไม่ได้ เมื่อพ. จดทะเบียนขายฝากที่ดิน ให้แก่ผู้ร้อง ในวันเดียวกับที่รับโอน และไม่ไถ่ตามกำหนดผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินที่ถูกยึดได้
of 42