คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 ม. 49

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่แทนลูกหนี้ แม้หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่ต่อโจทก์ เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์จึงได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยเพื่อให้ชำระค่าภาษีดังกล่าวดังนี้ การแจ้งการประเมินจึงเป็นการปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 48 ไม่ใช่เรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 91 การที่จำเลยมีหนังสือไปถึงผู้อำนวยการเขตลาดกระบังแจ้งว่าหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่เป็นหนี้ไม่อาจขอรับชำระได้นั้นเป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจตามกฎหมาย เท่ากับเป็นเพียงการแจ้งความคิดเห็นของจำเลยไปให้ผู้อำนวยการเขตลาดกระบังทราบเท่านั้นถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำวินิจฉัยในเรื่องคำขอรับชำระหนี้ จึงไม่มีผลผูกพันใด ๆ ต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องร้องคัดค้านความเห็นของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 146 ก่อน ฉะนั้น การที่จำเลยไม่ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่แก่โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และได้จัดให้เช่าที่ดินของลูกหนี้ จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ ตามมาตรา 35 วรรคสอง หนี้เงินภาษีดังกล่าวเป็นหนี้ที่กฎหมายบังคับให้ต้องชำระ แม้จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว จำเลยก็ยังมีหน้าที่ชำระหนี้แทนลูกหนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ของผู้จัดการทรัพย์สินลูกหนี้ในคดีล้มละลาย การแจ้งการประเมินภาษีและการโต้แย้งสิทธิ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่ต่อโจทก์ เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์จึงได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยเพื่อให้ชำระค่าภาษีดังกล่าว ดังนี้ การแจ้งการประเมินจึงเป็นการปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 มาตรา 48 ไม่ใช่เรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 91 การที่จำเลยมีหนังสือไปถึงผู้อำนวยการเขตลาดกระบังแจ้งว่าหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่เป็นหนี้ไม่อาจขอรับชำระได้นั้น เป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจตามกฎหมาย เท่ากับเป็นเพียงการแจ้งความคิดเห็นของจำเลยไปให้ผู้อำนวยการเขตลาดกระบังทราบเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำวินิจฉัยในเรื่องคำขอรับชำระหนี้ จึงไม่มีผลผูกพันใด ๆ ต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องร้องคัดค้านความเห็นของจำเลยตามพระราช-บัญญัติล้มละลาย มาตรา 146 ก่อน ฉะนั้น การที่จำเลยไม่ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่แก่โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และได้จัดให้เช่าที่ดินของลูกหนี้ จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ ตามมาตรา 35 วรรคสอง หนี้เงินภาษีดังกล่าวเป็นหนี้ที่กฎหมายบังคับให้ต้องชำระ แม้จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วจำเลยก็ยังมีหน้าทื่ชำระหนี้แทนลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ต้องใช้ผลการใช้ที่ดินในปีที่เรียกเก็บภาษี ไม่ใช่ปีที่ล่วงมาแล้ว และการประเมินผิดที่ดินเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเพิกถอนได้
พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 มาตรา 7 ได้กำหนดให้เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของอยู่ในวันที่ 1 มกราคมของปีใดเป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปีนั้นตามอัตราของราคาปานกลางของที่ดินที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ แต่ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบการกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกด้วยตนเองแล้วให้เสียภาษีอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท มิใช่ให้ถือเอาผลของการใช้ที่ดินในปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นเกณฑ์คำนวณภาษีบำรุงท้องที่ ดังนั้น การเรียกเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในปีใด ก็ต้องถือเอาการใช้ที่ดินของเจ้าของที่ดินในปีนั้นเป็นเกณฑ์คำนวณภาษี
ที่ดินที่จำเลยแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าไม่มีการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินของโจทก์ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินเสียได้โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าวหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ต้องใช้ผลการใช้ที่ดินในปีที่เรียกเก็บภาษี มิใช่ปีที่ล่วงมาแล้ว การประเมินผิดที่ดินให้เพิกถอนได้
พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 ได้กำหนดให้เจ้าของที่ดินซึ่งเป็นเจ้าของอยู่ในวันที่ 1 มกราคมของปีใด เป็นผู้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในปีนั้นตามอัตราของราคาปานกลางของที่ดินที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ แต่ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบการกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกด้วยตนเองแล้วให้เสียภาษีอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท มิใช่ให้ถือเอาผลของการใช้ที่ดินในปีที่ล่วงมาแล้วมาเป็นเกณฑ์คำนวณภาษีบำรุงท้องที่ ดังนั้น การเรียกเก็บภาษีบำรุงท้องที่ในปีใด ก็ต้องถือเอาการใช้ที่ดินของเจ้าของที่ดินในปีนั้นเป็นเกณฑ์คำนวณภาษี
ที่ดินที่จำเลยแจ้งการประเมินให้โจทก์ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่ไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ ถือได้ว่าไม่มีการประเมินภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินของโจทก์ จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยการอุทธรณ์ โจทก์มีสิทธิที่จะขอให้เพิกถอนการประเมินเสียได้โดยมิต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินดังกล่าวหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728-1729/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำไม้ในที่ดินป่าเลนมิใช่การครอบครองเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่
ผู้ว่าราชการจังหวัดทำสัญญาอนุญาตให้โจทก์ทำการตัดฟันไม้ต่าง ๆที่ดินที่โจทก์ได้รับอนุญาตมิใช่ของเอกชน สัญญาการทำไม้ได้กำหนดขอบเขตหมวดและแปลงตัดฟันไม้ กำหนดเนื้อที่และกำหนดเวลาให้ทำการตัดฟันไม้ ส่วนใบอนุญาตก็ระบุชนิดไม้ ขนาดจำกัดและปริมาตรของไม้ อัตราค่าภาคหลวงต่อลูกบาศก์และค่าบำรุงป่า ฯลฯ ดังนี้ เห็นได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเพียงแต่ยอมให้โจทก์ผู้รับอนุญาตมีสิทธิทำการตัดฟันไม้ในที่ดินป่าเลน ชนิดของไม้ที่จะทำการตัดฟันก็ดี กำหนดเวลาที่จะทำการตัดฟันในแต่ละแปลงก็ดี มีข้อจำกัดไว้แน่นอนที่ผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติ นอกจากนี้ข้อสัญญายังกำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการทำไม้ทุกประการ ถ้ากระทำผิดสัญญาและถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเห็นสมควร จะเลิกสัญญานี้เสียก็ได้โดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่อย่างใด ดังนี้ แสดงให้เห็นชัดว่าสัญญาการทำไม้ ฯลฯนี้เป็นแต่เพียงการให้สิทธิโจทก์เข้าไปตัดฟันเอาไม้เท่านั้น การที่โจทก์ทั้งสองสำนวนผู้รับอนุญาตตามสัญญาเข้าไปทำการตัดฟันไม้ จึงหาเป็นการ 'ครอบครองอยู่ใน' ที่ดินป่าเลนตามความในมาตรา 1 แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ไม่ โจทก์ทั้งสองสำนวนจึงมิได้เป็น 'เจ้าของที่ดิน' ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 7และบทบัญญัติในเรื่องอุทธรณ์การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ก็ไม่เป็นบทบังคับแก่โจทก์ โจทก์ย่อมใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728-1729/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทำไม้ในที่ดินป่าเลน ไม่ถือเป็นการครอบครองเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่
ผู้ว่าราชการจังหวัดทำสัญญาอนุญาตให้โจทก์ทำการตัดฟันไม้ต่าง ๆที่ดินที่โจทก์ได้รับอนุญาตมิใช่ของเอกชน สัญญาการทำไม้ได้กำหนดขอบเขตหมวดและแปลงตัดฟันไม้ กำหนดเนื้อที่และกำหนดเวลาให้ทำการตัดฟันไม้ ส่วนใบอนุญาตก็ระบุชนิดไม้ ขนาดจำกัดและปริมาตรของไม้ อัตราค่าภาคหลวงต่อลูกบาศก์และค่าบำรุงป่า ฯลฯ ดังนี้เห็นได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเพียงแต่ยอมให้โจทก์ผู้รับอนุญาตมีสิทธิทำการตัดฟันไม้ในที่ดินป่าเลน ชนิดของไม้ที่จะทำการตัดฟันก็ดี กำหนดเวลาที่จะทำการตัดฟันในแต่ละแปลงก็ดี มีข้อจำกัดไว้แน่นอนที่ผู้รับอนุญาตจะต้องปฏิบัติ นอกจากนี้ข้อสัญญายังกำหนดให้ผู้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการทำไม้ทุกประการ ถ้ากระทำผิดสัญญาและถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดผู้ให้อนุญาตเห็นสมควร จะเลิกสัญญานี้เสียก็ได้ โดยไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่อย่างใด ดังนี้ แสดงให้เห็นชัดว่าสัญญาการทำไม้ ฯลฯนี้เป็นแต่เพียงการให้สิทธิโจทก์เข้าไปตัดฟันเอาไม้เท่านั้น การที่โจทก์ทั้งสองสำนวนผู้รับอนุญาตตามสัญญาเข้าไปทำการตัดฟันไม้ จึงหาเป็นการ 'ครอบครองอยู่ใน' ที่ดินป่าเลนตามความในมาตรา 1 แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 ไม่โจทก์ทั้งสองสำนวนจึงมิได้เป็น 'เจ้าของที่ดิน' ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวเมื่อเป็นเช่นนี้ โจทก์ก็ไม่มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 7และบทบัญญัติในเรื่องอุทธรณ์การประเมินภาษีบำรุงท้องที่ ก็ไม่เป็นบทบังคับแก่โจทก์ โจทก์ย่อมใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ได้