พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,129 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้ง – จำเลยต้องระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่คลาดเคลื่อนในการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่กล่าวแต่เพียงว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย โดยมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงให้เห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์คลาดเคลื่อนในข้อใด เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสองประกอบมาตรา 225 คำแถลงการณ์ประกอบฎีกาที่จำเลยยื่นต่อศาลฎีกา มิใช่ส่วนหนึ่งของฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492-1494/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รถจักรยานยนต์เพื่อสะดวกในการลักทรัพย์: ต้องพิสูจน์การใช้ยานพาหนะเพื่ออำนวยความสะดวกโดยตรง
จำเลยกับพวกไปลักทรัพย์ของผู้เสียหาย โดยเพียงแต่นำรถจักรยานยนต์ไปจอดห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อลักทรัพย์เสร็จได้กลับไปที่รถจักรยานยนต์แบ่งทรัพย์กันแล้วก็นั่งรถจักรยานยนต์หลบหนีไป กรณียังฟังไม่ได้ว่าเป็นการใช้รถจักรยานยนต์เพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492-1494/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้รถจักรยานยนต์เพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์: จำเลยต้องมีเจตนาใช้ยานพาหนะเพื่อเอื้อต่อการกระทำผิด
จำเลยกับพวกไปลักทรัพย์ของผู้เสียหาย โดยเพียงแต่นำรถจักรยานยนต์ไปจอดห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อลักทรัพย์เสร็จได้กลับไปที่รถจักรยานยนต์แบ่งทรัพย์กัน แล้วก็นั่งรถจักรยานยนต์หลบหนีไป กรณียังฟังไม่ได้ว่าเป็นการใช้รถจักรยานยนต์เพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492-1494/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกในการกระทำผิด - มาตรา 336 ทวิ อาญา
จำเลยกับพวกไปลักทรัพย์ของผู้เสียหาย โดย เพียงแต่ นำรถจักรยานยนต์ไปจอดห่างบ้านผู้เสียหายประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อลักทรัพย์เสร็จได้ กลับไปที่รถจักรยานยนต์แบ่งทรัพย์กันแล้วก็นั่งรถจักรยานยนต์หลบหนีไป กรณียังฟังไม่ได้ว่าเป็นการใช้ รถจักรยานยนต์เพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายจำเลยทิ้งคดี-ไม่แจ้งนัด จำเลยเสียหายไม่อ้างเหตุพิจารณาใหม่ได้
ทนายจำเลยทั้งสองทราบวันนัดชี้สองสถานแล้ว แต่ ไม่มีฝ่ายจำเลยมาศาลในวันนัด ศาลชั้นต้นจึงได้ ชี้สองสถานและนัดสืบพยานโจทก์ไป ถือได้ว่าทนายจำเลยทั้งสองทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง และถือว่าจำเลยทั้งสองทราบนัดด้วย การที่จำเลยทั้งสองไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์โดย ไม่ปรากฏเหตุขัดข้อง จึงเป็นการจงใจไม่มาศาลแม้ทนายจำเลยทิ้งคดีตั้งแต่ วัน ชี้สองสถานโดย ไม่แจ้งนัดให้จำเลยทั้งสองทราบ จนเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองเสียหาย จำเลยทั้งสองก็จะอ้างเป็นเหตุขอให้พิจารณาใหม่หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการรับรู้วันนัดผ่านทนายความ แม้ทนายจำเลยทิ้งคดีไปแล้ว จำเลยก็ยังต้องรับผิดชอบ
ทนายจำเลยทั้งสองทราบวันนัดชี้สองสถานแล้ว แต่ไม่มีฝ่ายจำเลยมาศาลในวันนัด ศาลชั้นต้นจึงได้ ชี้สองสถานและนัดสืบพยานโจทก์ไป ถือได้ว่าทนายจำเลยทั้งสองทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสอง และถือว่าจำเลยทั้งสองทราบนัดด้วย การที่จำเลยทั้งสองไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์โดยไม่ปรากฏเหตุขัดข้อง จึงเป็นการจงใจไม่มาศาลแม้ทนายจำเลยทิ้งคดีตั้งแต่วันชี้สองสถานโดยไม่แจ้งนัดให้จำเลยทั้งสองทราบ จนเป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองเสียหาย จำเลยทั้งสองก็จะอ้างเป็นเหตุขอให้พิจารณาใหม่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การที่ทนายจำเลยทราบวันนัดแต่ไม่มาศาล ศาลถือว่าจำเลยทราบวันนัดด้วย แม้ทนายจะทิ้งคดีก็ไม่อาจขอให้พิจารณาใหม่ได้
ทนายจำเลยทั้งสองทราบวันนัดชี้สองสถานแล้ว แต่ไม่มีฝ่ายจำเลยทั้งสองมาศาลในวันนัด ศาลชั้นต้นจึงได้ชี้สองสถานและนัดสืบพยานโจทก์ไป ถือได้ว่าทนายจำเลยทั้งสองทราบวันนัดสืบพยานโจทก์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสองและถือว่าจำเลยทั้งสองทราบนัดด้วย การที่ฝ่ายจำเลยทั้งสองไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์โดยไม่ปรากฏเหตุขัดข้อง จึงเป็นการจงใจไม่มาศาล แม้ทนายจำเลยทั้งสองทิ้งคดีตั้งแต่วันชี้สองสถานโดยไม่แจ้งนัดให้จำเลยทั้งสองทราบ จำเลยทั้งสองก็จะอ้างเป็นเหตุขอให้พิจารณาใหม่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลในการซื้อขายที่ดิน:หน้าที่เปิดเผยความจริงของผู้ขายและผลของการนิ่งเสีย
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 นั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบด้วยพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อ ที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวซึ่งผู้จะขายมิได้รู้มาก่อนและถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้และเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา หากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉล, สัญญาจะซื้อจะขาย, หน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูล, การผิดสัญญา, ดอกเบี้ยเงินมัดจำ
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124 นั้น จะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริง หรือเป็นการนิ่งประกอบด้วยพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง
กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อ ที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวซึ่งผู้ จะขายมิได้รู้มาก่อนและถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124
แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้และเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา หากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด
ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท.
กรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินที่จะซื้อขายหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อ ที่จะบอกข้อความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าผู้จะซื้อจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงเกี่ยวกับโครงการจะตัดถนนผ่านที่ดินดังกล่าวซึ่งผู้ จะขายมิได้รู้มาก่อนและถ้าฝ่ายผู้จะซื้อมิได้นิ่งเสีย สัญญาจะซื้อขายที่ดินก็จะมิได้ทำขึ้นนั้น การกระทำของผู้จะซื้อก็ไม่เป็นกลฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 124
แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายได้บอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อ และได้แจ้งให้โจทก์รับเงินมัดจำคืน และโจทก์ไม่ยอมรับคืน แต่เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีเหตุอันชอบด้วยกฎหมายที่จะไม่ยอมรับเงินมัดจำคืนในขณะนั้นได้และเมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญา หากจำเลยจะต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นับแต่วันฟ้องซึ่งถือว่าเป็นวันที่จำเลยผิดนัด
ประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเป็นเรื่องขอให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยขอให้บังคับจำเลยให้โอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ และรับเงินตามราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายกันไปจากโจทก์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย - การมอบอำนาจ - กลฉ้อฉล - ดอกเบี้ยเงินมัดจำ - ค่าฤชาธรรมเนียม
การนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงอันจะถือว่าเป็นกลฉ้อฉลนั้นจะต้องเป็นการนิ่งในพฤติการณ์ที่คู่กรณีมีหน้าที่ควรจะบอกความจริงหรือเป็นการนิ่งประกอบพฤติการณ์อันแสดงออกซึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งหลง แต่ในกรณีที่จะมีโครงการตัดถนนผ่านที่ดินพิพาทหรือไม่ ไม่ใช่หน้าที่ของผู้จะซื้อที่ดินจะต้องบอกความจริงดังกล่าว หากแต่เป็นหน้าที่ของผู้จะขายที่ดินพิพาทจะต้องขวนขวายแสวงหาความจริงเอาเอง การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นกลฉ้อฉล
กรณีต้องคืนเงินมัดจำเพราะฝ่ายผู้รับมัดจำผิดสัญญาละเลยไม่ชำระหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(3) นั้นผู้วางมัดจำมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากเงินมัดจำดังกล่าวนับแต่วันที่ผู้รับมัดจำผิดนัดเป็นต้นไปด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)
กรณีต้องคืนเงินมัดจำเพราะฝ่ายผู้รับมัดจำผิดสัญญาละเลยไม่ชำระหนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(3) นั้นผู้วางมัดจำมีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจากเงินมัดจำดังกล่าวนับแต่วันที่ผู้รับมัดจำผิดนัดเป็นต้นไปด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)