คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูเชิด รักตะบุตร์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,129 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 419/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงยกเว้นดอกเบี้ยทบต้นหลังเลิกสัญญาเดินสะพัดเป็นโมฆะ, สัญญาค้ำประกันมีผลใช้บังคับ
บทบัญญัติของกฎหมายเรื่องการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราหรือการคิดดอกเบี้ยทบต้นเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่กรณีจะทำความตกลงยกเว้นหาได้ไม่ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีข้อหนึ่งมีข้อความว่า "เมื่อมีการหักทอนบัญชีเดินสะพัดและธนาคารได้เรียกร้องให้ลูกค้าชำระหนี้แล้ว ลูกค้าก็ยังคงยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยทบต้นตามจำนวนที่ปรากฏในบัญชีเดินสะพัดจนกว่าจะชำระเสร็จให้แก่ธนาคาร...และขอสละสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ในเรื่องการคิดดอกเบี้ยทบต้นนับแต่วันผิดนัดขึ้นเป็นข้อต่อสู้ธนาคารด้วย"เป็นข้อสัญญาที่ตกลงยกเว้นบทกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ ดังนั้น เมื่อหักทอนบัญชีและเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันแล้ว หากยังมีหนี้ต่อกับธนาคารโจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องเพียงดอกเบี้ยธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีข้อความว่า การเบิกเกินบัญชีจะมากหรือน้อยกว่าจำนวนที่ตกลงกันไว้ก็ได้สุดแต่ธนาคารโจทก์จะพิจารณาเห็นสมควรไม่ใช่สัญญาที่มีเงื่อนไข ใช้บังคับได้ สัญญาค้ำประกันที่ไม่ระบุจำนวนหนี้ของลูกหนี้ก็มีผลใช้บังคับได้เมื่อหนี้ที่ค้ำประกันสมบูรณ์ ยกเว้นเรื่องการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังจากบัญชีเดินสะพัดได้เลิกแล้วเท่านั้น ผู้ค้ำประกันจึงต้องผูกพันตามสัญญาค้ำประกัน โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชำระหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 เป็นผู้ค้ำประกัน เป็นการฟ้องให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 และที่ 3 เท่านั้นที่ฎีกา เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยทุกคนต้องรับผิดน้อยกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนด ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การลงข้อความเชื่อมโยงถึงการทุจริต ย่อมทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าผู้ถูกกล่าวหามีส่วนรู้เห็น
จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาและเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์จำหน่ายแพร่หลายแก่บุคคลทั่วไปในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและเป็นเจ้าของนามปากกาว่า "ขุนช้าง"จำเลยได้ลงข่าวเกี่ยวกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีมีข้อความว่า "ชอบใจที่พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ ร.ม.ต. มหาดไทย กล่าวว่า ทำไมผู้กำกับจึงมาร้องตอนนี้ ทั้ง ๆ ที่เรื่องมีมานาน ขุนช้างว่า คงพึ่งคิดวิธีทำอาญาให้เป็นแพ่งได้กระมังจริงไหมครับพ.ต.อ.นิยม ไกรลาศ" อัน เป็นข้อความเกี่ยวโยง กับกรณีกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่การเงินกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการจำนวนหลายล้านบาท ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปที่ได้อ่านข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเข้าใจว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการ ข้อความที่จำเลยลงโฆษณานอกจากจำเลยอ้างถึงข้อความที่พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ กล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดให้จำเลยแสดงความคิดเห็นเช่นนั้นทั้งผู้ได้อ่านก็ไม่ได้รู้ถึงความจริงอันควรเชื่อหรือไม่ว่าเป็นดังจำเลยกล่าว แต่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริต จึงไม่ใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ทั้งไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตตาม ป.อ. มาตรา 329 ข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรานี้แล้วก็ไม่ต้องยกมาตรา326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: การยืนยันข้อเท็จจริงโดยมิชอบ และเจตนาใส่ความ
จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาและเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์จำหน่ายแพร่หลายแก่บุคคลทั่วไปในเขตจังหวัด อุบลราชธานีและเป็นเจ้าของนามปากกาว่า "ขุนช้าง" จำเลยได้ลงข่าวเกี่ยวกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด อุบลราชธานี มีข้อความว่า "ขอบใจที่ พล.อ. สิทธิ จิรโรจน์ ร.ม.ต.มหาดไทยกล่าวว่าทำไมผู้กำกับจึงมาร้องตอนนี้ ทั้ง ๆ ที่เรื่องมีมานานขุนช้างว่าคงพึ่งคิดวิธีทำอาญาให้เป็นแพ่งได้กระมังจริงไหมครับพ.ต.อ. นิยม ไกรลาศ " อันเป็นข้อความที่เกี่ยวโยงกับกรณีกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่การเงินกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัด อุบลราชธานีซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการจำนวนหลายล้านบาท ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปที่ได้อ่านข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเข้าใจว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการ ข้อความที่จำเลยลงโฆษณานอกจากจำเลยอ้างถึงข้อความที่พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ กล่าวดังกล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดให้จำเลยแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งผู้ได้อ่านก็ไม่ได้รู้ถึงความจริงอันควรเชื่อหรือไม่ว่าเป็นดังจำเลยกล่าว แต่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริต จึงไม่ใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำทั้งไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรานี้แล้ว ก็ไม่ต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทผ่านสื่อสิ่งพิมพ์: การติชมด้วยความเป็นธรรมและการเจตนา
จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาและเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์จำหน่ายแพร่หลายแก่บุคคลทั่วไปในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและเป็นเจ้าของนามปากกาว่า "ขุนช้าง" จำเลยได้ลงข่าวเกี่ยวกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีมีข้อความว่า "ชอบใจที่ พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ ร.ม.ต.มหาดไทยกล่าวว่า ทำไมผู้กำกับจึงมาร้องตอนนี้ ทั้ง ๆ ที่เรื่องมีมานานขุนช้างว่าคงพึ่งคิดวิธีทำอาญาให้เป็นแพ่งได้กระมังจริงไหมครับพ.ต.อ.นิยม ไกรลาศ" อันเป็นข้อความที่เกี่ยวโยงกับกรณีกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่การเงินกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัดอุบลราชธานีซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการจำนวนหลายล้านบาทย่อมทำให้บุคคลทั่วไปที่ได้อ่านข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเข้าใจว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการข้อความที่จำเลยลงโฆษณานอกจากจำเลยอ้างถึงข้อความที่พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ กล่าวดังกล่าวแล้วจำเลยไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดให้จำเลยแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งผู้ได้อ่านก็ไม่ได้รู้ถึงความจริงอันควรเชื่อหรือไม่ว่าเป็นดังจำเลยกล่าว แต่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริต จึงไม่ใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ทั้งไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329 ข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรานี้แล้ว ก็ไม่ต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทผ่านสื่อ: การลงข่าวที่ทำให้เข้าใจว่าผู้เสียหายรู้เห็นการทุจริต ย่อมเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์โฆษณาและเจ้าของหนังสือพิมพ์ที่พิมพ์จำหน่ายแพร่หลายแก่บุคคลทั่วไปในเขตจังหวัด อุบลราชธานีและเป็นเจ้าของนามปากกาว่า "ขุนช้าง" จำเลยได้ลงข่าวเกี่ยวกับโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด อุบลราชธานี มีข้อความว่า "ขอบใจที่ พล.อ. สิทธิ จิรโรจน์ ร.ม.ต.มหาดไทยกล่าวว่าทำไมผู้กำกับจึงมาร้องตอนนี้ ทั้ง ๆ ที่เรื่องมีมานานขุนช้างว่า คงพึ่งคิดวิธีทำอาญาให้เป็นแพ่งได้กระมัง จริงไหมครับพ.ต.อ. นิยม ไกรลาศ " อันเป็นข้อความที่เกี่ยวโยงกับกรณีกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่การเงินกองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัด อุบลราชธานีซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการจำนวนหลายล้านบาท ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปที่ได้อ่านข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวเข้าใจว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริตยักยอกเงินของทางราชการ ข้อความที่จำเลยลงโฆษณานอกจากจำเลยอ้างถึงข้อความที่พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ กล่าวดังกล่าวแล้ว จำเลยไม่ได้อ้างถึงข้อความจริงอันใดให้จำเลยแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งผู้ได้อ่านก็ไม่ได้รู้ถึงความจริงอันควรเชื่อหรือไม่ว่าเป็นดังจำเลยกล่าว แต่จำเลยยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้อ่านหนังสือพิมพ์เชื่อว่าโจทก์ร่วมรู้เห็นในการทุจริต จึงไม่ใช่เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำทั้งไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๙ ข้อความที่จำเลยลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ดังกล่าวจึงเป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๘ และเมื่อเป็นความผิดตามมาตรานี้แล้ว ก็ไม่ต้องยกมาตรา ๓๒๖ ขึ้นปรับบทลงโทษอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความในคดีอาญา: สิทธิฟ้องระงับ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร
ผู้เสียหายแจ้งความต่อ พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาฉ้อโกงเงิน 100,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลย จำเลยได้ ยกเครื่องถ่าย เอกสารตี ใช้ หนี้ให้ผู้เสียหายเป็นเงิน50,000 บาท ต่อมาจำเลยไม่ชำระเงินที่เหลือและผิดสัญญาประกันชั้นสอบสวน ผู้เสียหายจึงนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยมาพบพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนให้ผู้เสียหายกับจำเลยเจรจากันจำเลยได้ ชำระเงินให้ผู้เสียหายเป็นเงิน 9,000 บาท และเจ้าพนักงานตำรวจคุมตัวจำเลยไปพบ ช. เพื่อนของจำเลยโดย มีผู้เสียหายไปด้วย ช. ได้ ออกเช็ค สั่งจ่ายเงินจำนวน 40,000 บาทให้แก่ผู้เสียหายแล้วเจ้าพนักงานตำรวจก็ปล่อยตัว จำเลยไปโดยผู้เสียหายไม่คัดค้านและไม่กลับไปแจ้งผลการเจรจาตกลง กับจำเลยให้พนักงานสอบสวนทราบ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาฉ้อโกงตามที่แจ้งความไว้อีกต่อไป เป็นการยอมความกันในคดีอาญา ความผิดต่อส่วนตัว แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ สิทธิฟ้องระงับ
ผู้เสียหายแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาฉ้อโกงเงิน 100,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยจำเลยได้ยกเครื่องถ่ายเอกสารตีใช้หนี้ให้ผู้เสียหายเป็นเงิน 50,000บาท ต่อมาจำเลยไม่ชำระเงินที่เหลือและผิดสัญญาประกันชั้นสอบสวนผู้เสียหายจึงนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยมาพบพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนให้ผู้เสียหายกับจำเลยเจรจากัน จำเลยได้ชำระเงินให้ผู้เสียหายเป็นเงิน 9,000 บาท และเจ้าพนักงานตำรวจคุมตัวจำเลยไปพบ ช.เพื่อนของจำเลยโดยมีผู้เสียหายไปด้วยช.ได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน 40,000 บาทให้แก่ผู้เสียหายแล้วเจ้าพนักงานตำรวจก็ปล่อยตัวจำเลยไปโดยผู้เสียหายไม่คัดค้านและไม่กลับไปแจ้งผลการเจรจาตกลงกับจำเลยให้พนักงานสอบสวนทราบ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า ผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาฉ้อโกงตามที่แจ้งความไว้อีกต่อไป เป็นการยอมความกันในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวทำให้สิทธิฟ้องระงับ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
ผู้เสียหายแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาฉ้อโกงเงิน 100,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลย จำเลยได้ยกเครื่องถ่ายเอกสารตีใช้หนี้ให้ผู้เสียหายเป็นเงิน 50,000 บาท ต่อมาจำเลยไม่ชำระเงินที่เหลือและผิดสัญญาประกันชั้นสอบสวน ผู้เสียหายจึงนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยมาพบพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนให้ผู้เสียหายกับจำเลยเจรจากัน จำเลยได้ชำระเงินให้ผู้เสียหายเป็นเงิน 9,000 บาท และเจ้าพนักงานตำรวจคุมตัวจำเลยไปพบ ช. เพื่อนของจำเลยโดยมีผู้เสียหายไปด้วย ช. ได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน 40,000 บาท ให้แก่ผู้เสียหายแล้วเจ้าพนักงานตำรวจก็ปล่อยตัวจำเลยไปโดยผู้เสียหายไม่คัดค้านและไม่กลับไปแจ้งผลการเจรจาตกลงกับจำเลยให้พนักงานสอบสวนทราบ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีจำเลยในข้อหาฉ้อโกงตามที่แจ้งความไว้อีกต่อไป เป็นการยอมความกันในคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2).(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยอมความในคดีอาญา ความผิดต่อส่วนตัว สิทธิในการฟ้องระงับ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
ผู้เสียหายแจ้งความต่อ พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาฉ้อโกงเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลย จำเลยได้ ยกเครื่องถ่าย เอกสารตี ใช้ หนี้ให้ผู้เสียหายเป็นเงิน๕๐,๐๐๐ บาท ต่อมาจำเลยไม่ชำระเงินที่เหลือและผิดสัญญาประกันชั้นสอบสวน ผู้เสียหายจึงนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยมาพบพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนให้ผู้เสียหายกับจำเลยเจรจากันจำเลยได้ ชำระเงินให้ผู้เสียหายเป็นเงิน ๙,๐๐๐ บาท และเจ้าพนักงานตำรวจคุมตัวจำเลยไปพบ ช. เพื่อนของจำเลยโดย มีผู้เสียหายไปด้วย ช. ได้ ออกเช็ค สั่งจ่ายเงินจำนวน ๔๐,๐๐๐ บาทให้แก่ผู้เสียหายแล้วเจ้าพนักงานตำรวจก็ปล่อยตัว จำเลยไปโดยผู้เสียหายไม่คัดค้านและไม่กลับไปแจ้งผลการเจรจาตกลง กับจำเลยให้พนักงานสอบสวนทราบ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาฉ้อโกงตามที่แจ้งความไว้อีกต่อไป เป็นการยอมความกันในคดีอาญา ความผิดต่อส่วนตัว แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ (๒).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลย ทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาฐานฉ้อโกงระงับ
โจทก์ร่วมเป็นฝ่ายจัดทำบันทึกเกี่ยวกับความผิดฐานฉ้อโกงแล้วเรียกจำเลยมาลงชื่อ มีใจความว่า จำเลยซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายกฎหมายของโจทก์ร่วมได้เบิกเงินค่าฤชาธรรมเนียมศาลในการฟ้องคดีไปจากโจทก์ร่วมเป็นเงิน 15,585 บาท โดยนำหนี้ดังกล่าวมารวมกับหนี้รายอื่นและจำเลยยอมให้นำเงินสะสมของจำเลยที่อยู่กับโจทก์ร่วมมาหัก แล้วจำเลยยอมชดใช้หนี้ส่วนที่เหลือให้โจทก์ร่วมภายในกำหนด60 วันเช่นนี้ ฟังได้ว่าโจทก์ร่วมกับจำเลยได้ตกลงประนีประนอมยอมความกันอันมีผลทำให้สิทธิที่จะนำคดีอาญามาฟ้องต้องระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
of 113