คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ม. 175

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7539/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเวนคืนที่ชอบด้วยกฎหมายและการไม่มีละเมิดจากการสำรวจเพื่อเวนคืน
โจทก์ไม่ได้ปฏิเสธว่าที่ดินโจทก์ไม่ได้อยู่ในบริเวณที่ดินที่จะเวนคืนและยอมรับในหนังสือร้องเรียนว่าจำเลยที่ 4 กำหนดตำแหน่งที่ดินเวนคืนในที่ดินของโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม ดังนี้ เมื่อพิจารณาเอกสารประกอบกันแล้วข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินของโจทก์เป็นที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯเมื่อพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้โดยไม่จำต้องสืบพยานอีกต่อไป ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้
การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนแม้จะมีผลทำให้ที่ดินของโจทก์บางส่วนถูกเวนคืน แต่ก็เป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจกระทำได้ตามความในมาตรา 175 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราชฯ ซึ่งใช้บังคับขณะตราพระราชกฤษฎีกาฯและมาตรา 5 วรรคสาม และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ การตราพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้จึงเป็นไปโดยอำนาจแห่งกฎหมายไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดและยังเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามขั้นตอนของกฎหมายโดยชอบแล้วจำเลยที่ 4 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ และจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับอำนาจให้กระทำหรือควบคุมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จึงมีสิทธิเข้าไปในที่ดินโจทก์เพื่อทำการสำรวจและทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินที่ต้องถูกเวนคืนที่แน่นอน การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าเสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกใหม่โดยไม่ชอบ คณะกรรมการฯ ไม่มีอำนาจชี้ขาด กรรมสิทธิ์ยังคงอยู่กับเจ้าของเดิม
เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานในขณะที่ไม่มีคณะตุลาการรัฐธรรมนูญว่า พระราชบัญญัติว่าด้วยการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน พ.ศ. 2496 ในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดินเพื่อให้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อโต้เถียงเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ อันเป็นคำวินิจฉัยของศาลที่มีอำนาจชี้ขาดได้ชี้ขาดไปแล้วโดยชอบก็ต้องถือว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดินไม่มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ขณะนั้นจนบัดนี้ไม่อาจกลับรื้อฟื้นให้มีผลใช้บังคับขึ้นได้อีก
(คำพิพากษาฎีกาคดีนี้พิพากษาเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้แล้ว)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ทศ. และความสัมพันธ์กับกฎหมาย ส.ส. รัฐธรรมนูญ และกฎหมายเลือกตั้ง
1. เรื่องความขาดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลบัญญัติโยงไปใช้เรื่องความขาดคุณสมบัติของผู้สมัครตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2499 นั้น แม้ต่อมามีรัฐธรรมนูญบัญญัติเรื่องลักษณะของบุคคลผู้ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนไว้เป็นอย่างอื่นก็ไม่กระทบกระเทือนถึงเรื่องความขาดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งถือว่าพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลบัญญัติเรื่องนี้ไว้เป็นเอกเทศ
2. พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พุทธศักราช 2482มาตรา 21 ตามที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501 นั้นไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 89 (ข้อ 2 เป็นมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2513)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ทศ. และการใช้กฎหมายที่แตกต่างจาก ส.ส. กรณีความขาดคุณสมบัติจากเคยถูกจำคุก
1. เรื่องความขาดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลบัญญัติโยงไปใช้เรื่องความขาดคุณสมบัติของผู้สมัครตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2499 นั้น แม้ต่อมามีรัฐธรรมนูญบัญญัติเรื่องลักษณะของบุคคลผู้ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนไว้เป็นอย่างอื่น ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงเรื่องความขาดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งถือว่าพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลบัญญัติเรื่องนี้ไว้เป็นเอกเทศ
2. พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพุทธศักราช 2482มาตรา 21 ตามที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2501 นั้นไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 89
(ข้อ 2 เป็นมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2513)