คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 179

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029-3030/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การในคดีแรงงาน: สิทธิและขอบเขตการดำเนินการตามกฎหมาย
กระบวนพิจารณาคดีแรงงานนั้น หากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก็ชอบที่จะยื่นก่อนวันนัดพิจารณา ถ้ามิได้ยื่นไว้ในวันพิจารณาจำเลยจะให้การต่อศาลแรงงานด้วยวาจาให้ศาลแรงงานจดบันทึกก็ได้ คำให้การดังกล่าวต่างก็เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นหากจำเลยประสงค์จะให้การในเรื่องหนึ่งเรื่องใดอีก ก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179,180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 โดยจะต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลแรงงานเพื่อพิจารณาสั่งตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยให้การด้วยวาจาในวันนัดพิจารณาซึ่งศาลแรงงานจดบันทึกไว้แล้ว ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานอีก โดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบศาลแรงงานย่อมไม่รับคำให้การที่ยื่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3029-3030/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้การเพิ่มเติมในคดีแรงงาน ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด หากไม่ถูกต้อง ศาลไม่รับคำให้การ
กระบวนพิจารณาคดีแรงงานนั้น หากจำเลยประสงค์จะยื่นคำให้การเป็นหนังสือก็ชอบที่จะยื่นก่อนวันนัดพิจารณา ถ้ามิได้ยื่นไว้ในวันพิจารณาจำเลยจะให้การต่อศาลแรงงานด้วยวาจา ให้ศาลแรงงานจดบันทึกก็ได้ คำให้การดังกล่าวต่างก็เป็นคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากนั้นหากจำเลยประสงค์จะให้การในเรื่องหนึ่งเรื่องใดอีก ก็ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179, 180 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 โดยจะต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลแรงงานเพื่อพิจารณาสั่งตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่จำเลยให้การด้วยวาจาในวันนัดพิจารณาซึ่งศาลแรงงานจดบันทึกไว้แล้ว ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกจำเลยทำคำให้การเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานอีก โดยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบศาลแรงงานย่อมไม่รับคำให้การที่ยื่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินเพื่อโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากเจตนาไม่เป็นสาธารณูปโภค แม้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการก็ไม่ทำให้ขาดอายุความ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตันและตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนครพ.ศ.2496 มีว่า รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องได้ที่ดินไว้ใช้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐสำหรับจัดให้มีการดำเนินกิจการโรงงานเนื้อสัตว์เพื่อจัดให้ประชาชนได้มีเนื้อสัตว์ที่ปราศจากโรค เพียงพอแก่การบริโภคอันเป็นโครงการของการท่าเรือ แต่ตามความจริงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 หาได้มีโครงการจัดทำกิจการโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ การเวนคืนจึงมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และการเวนคืนเพื่อกิจการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเป็นการค้า ก็ไม่เป็นกิจการอันเป็นสาธารณูปโภค ย่อมไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา 5 ทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่ากิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นกิจการของบริษัทสหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด ซึ่งเป็นเอกชน การเวนคืนที่ดินของโจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเอกชน จะถือว่าการดำเนินกิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นประโยชน์ของรัฐอย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477 มาตรา5 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2495 มาตรา3 ก็ไม่ได้ดุจเดียวกัน
โจทก์จำเลยได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญมาตั้งแต่ปี 2498 ในระหว่างพิจารณา โจทก์ได้เสนอขอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาว่า พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตัน และตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนคร พ.ศ.2496 เป็นโมฆะ อนุญาโตตุลาการมีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2511 ว่าไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน โจทก์จึงได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2511 กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 179,176 กล่าวคือเมื่อคำหาหรือคำกล่าวอ้างของโจทก์ถูกยกเสียโดยเหตุอนุญาโตตุลาการ ไม่มีอำนาจพิจารณา และกำหนดอายุความในเรื่องนั้นได้สิ้นสุดลงในระหว่างที่อนุญาโตตุลาการพิจารณาคดีอยู่ หรือว่าภายหลังที่อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดตัดสินคดีอายุความเหลือเวลาไม่ถึงหกเดือน ก็ให้ขยายอายุความออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำชี้ขาดตัดสินนั้น ฉะนั้นแม้โจทก์จะยื่นฟ้องเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีนับแต่บังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความ
แม้จะได้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญแล้วแต่โจทก์ก็ได้เสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาในปัญหาว่าพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์ด้วยจะถือว่าโจทก์ยอมรับว่ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินเพื่อโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิใช่กิจการสาธารณูปโภคและเพื่อประโยชน์เอกชน
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตันและตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนครพ.ศ.2496 มีว่า รัฐบาลมีความจำเป็นจะต้องได้ที่ดินไว้ใช้เพื่อประโยชน์แห่งรัฐสำหรับจัดให้มีการดำเนินกิจการ โรงงานเนื้อสัตว์เพื่อจัดให้ประชาชนได้มีเนื้อสัตว์ที่ปราศจากโรค เพียงพอแก่การบริโภคอันเป็นโครงการของการท่าเรือ แต่ตามความจริงการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 หาได้มีโครงการจัดทำกิจการโรงงานเนื้อสัตว์ไม่ การเวนคืนจึงมิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 และการเวนคืนเพื่อกิจการฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่ายเป็นการค้า ก็ไม่เป็นกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคย่อมไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2477 มาตรา 5 ทั้งข้อเท็จจริงยังปรากฏว่ากิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นกิจการของบริษัทสหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด ซึ่งเป็นเอกชนการเวนคืนที่ดินของโจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเอกชน จะถือว่าการดำเนินกิจการโรงงานเนื้อสัตว์เป็นประโยชน์ของรัฐอย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2477มาตรา5 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2495มาตรา3 ก็ไม่ได้ดุจเดียวกัน
โจทก์จำเลยได้ตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญมาตั้งแต่ปี 2498 ในระหว่างพิจารณา โจทก์ได้เสนอขอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาว่า พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลคลองตัน และตำบลพระโขนง อำเภอพระโขนงจังหวัดพระนคร พ.ศ.2496 เป็นโมฆะ อนุญาโตตุลาการมีคำสั่งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2511 ว่าไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน โจทก์จึงได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18กันยายน 2511 กรณีต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 179, 176 กล่าวคือเมื่อคำหาหรือคำกล่าวอ้างของโจทก์ถูกยกเสียโดยเหตุอนุญาโตตุลาการ ไม่มีอำนาจพิจารณา และกำหนดอายุความในเรื่องนั้นได้สิ้นสุดลงในระหว่างที่อนุญาโตตุลาการพิจารณาคดีอยู่ หรือว่าภายหลังที่อนุญาโตตุลาการได้ชี้ขาดตัดสินคดีอายุความเหลือเวลาไม่ถึงหกเดือน ก็ให้ขยายอายุความออกไปถึงหกเดือนภายหลังคำชี้ขาดตัดสินนั้น ฉะนั้นแม้โจทก์จะยื่นฟ้องเป็นเวลาเกินกว่าสิบปีนับแต่บังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็ไม่ทำให้คดีของโจทก์ขาดอายุความ
แม้จะได้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นพิจารณาเงินค่าทำขวัญแล้วแต่โจทก์ก็ได้เสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาในปัญหาว่าพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินดังกล่าวไม่มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์ด้วยจะถือว่าโจทก์ยอมรับว่ากฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แก่ที่ดินของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การเพิ่มเติมไม่ขัดแย้งกับคำให้การเดิม หากขยายความประเด็นข้อต่อสู้เดิมได้ ศาลต้องอนุญาตให้สืบพยาน
กรณีที่ถือว่าคำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมของจำเลยไม่ขัดแย้งกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 305/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การเพิ่มเติมที่ไม่ขัดแย้งกับคำให้การเดิม ศาลอนุญาตให้สืบประเด็นได้ การฟ้องขับไล่ที่ไม่สุจริต
กรณีที่ถือว่าคำให้การเดิมและคำให้การเพิ่มเติมของจำเลยไม่ขัดแย้งกัน