พบผลลัพธ์ทั้งหมด 949 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องเปลี่ยนแปลงเหตุโมฆะพินัยกรรมหลังชี้สองสถาน ศาลไม่รับ เพราะไม่ใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อย
ตาม ฟ้องโจทก์อ้างว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นโมฆะ เพราะผู้ทำพินัยกรรมมิได้ลงชื่อต่อหน้าพยาน และพยานมิได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ทั้งในวันชี้สองสถาน โจทก์ก็ได้ แถลงรับว่าเจ้ามรดกได้ ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทไว้จริง แต่ ตกเป็นโมฆะเพราะทำขึ้นโดย ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การที่โจทก์ยกขึ้นอ้างใหม่ในคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องภายหลังวันชี้สองสถานว่า พินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอม จึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยชอบที่ศาลจะยกคำร้องของโจทก์เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำฟ้องหลังชี้สองสถาน และการอ้างเหตุโมฆะ/ปลอมแปลงพินัยกรรมที่ไม่ใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อย
ตามฟ้องโจทก์อ้างว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นโมฆะ เพราะผู้ทำพินัยกรรมมิได้ลงชื่อต่อหน้าพยาน และพยานมิได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ทั้งในวันชี้สองสถานโจทก์ก็ได้แถลงรับว่าเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทไว้จริงแต่ตกเป็นโมฆะเพราะทำขึ้นโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การที่โจทก์ยกขึ้นอ้างใหม่ในคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องภายหลังวันชี้สองสถานว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอม จึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ชอบที่ศาลจะยกคำร้องของโจทก์เสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำฟ้องหลังวันชี้สองสถาน: พินัยกรรมปลอม vs. ความไม่เป็นไปตามรูปแบบ
ตาม ฟ้องโจทก์อ้างว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นโมฆะ เพราะผู้ทำพินัยกรรมมิได้ลงชื่อต่อหน้าพยาน และพยานมิได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น ทั้งในวันชี้สองสถาน โจทก์ก็ได้ แถลงรับว่าเจ้ามรดกได้ ทำพินัยกรรมฉบับพิพาทไว้จริง แต่ ตกเป็นโมฆะเพราะทำขึ้นโดย ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การที่โจทก์ยกขึ้นอ้างใหม่ในคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องภายหลังวันชี้สองสถานว่า พินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอม จึงมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยชอบที่ศาลจะยกคำร้องของโจทก์เสีย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ ฆ่าผู้อื่น และทำร้ายร่างกายเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิด
จำเลยทั้งสามร่วมกันไปกระทำผิดโดยจำเลยที่ 2 เข้าทำร้าย บ.ซึ่งอยู่ที่บริเวณหลังบ้านที่เกิดเหตุได้รับอันตรายสาหัส และจำเลยที่ 1 ที่ 3 ร่วมเข้าไปในบ้านผู้เสียหาย แล้วร่วมกันฆ่า ส.กับ ธ. และทำร้าย ป. ได้รับอันตรายแก่กาย แล้วได้รื้อค้นหาทรัพย์ที่โต๊ะของผู้เสียหาย ทั้งนี้เนื่องจากจำเลยทั้งสามประสงค์ต่อทรัพย์ แต่จำเลยทั้งสามไม่สามารถเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปได้เนื่องจาก ป. ได้หลบหนีออกไปจากที่เกิดเหตุและร้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านทันท่วงที ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันพยายามกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยแบ่งหน้าที่กันทำ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้ร่วมกันฆ่าผู้อื่นและทำร้ายผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัสเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เข้าไปในบ้านของผู้เสียหายด้วยกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ก็ถือได้ว่าเป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามปล้นทรัพย์โดยมีและใช้มีดและปืนเป็นอาวุธเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสและมีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่นอีกบทหนึ่งด้วย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคห้า,80 ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ศาลฎีกาพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(6),83อีกบทหนึ่งด้วย เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทต้องลงโทษตามมาตรา 289 อันเป็นบทหนักซึ่งต้องระวางโทษประหารชีวิตเพียงสถานเดียว แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 โดยให้จำคุกตลอดชีวิต โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้นแต่อย่างใด และเมื่อศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังนี้ ศาลฎีกาย่อมไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักไปกว่าที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1597/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิด
จำเลยทั้งสามร่วมกันไปกระทำผิดโดยจำเลยที่ 2 เข้าทำร้าย บ. ซึ่งอยู่ที่บริเวณหลังบ้านที่เกิดเหตุได้รับอันตรายสาหัส และจำเลยที่ 1 ที่ 3 ร่วมเข้าไปในบ้านผู้เสียหายแล้วร่วมกันฆ่า ส.กับ ธ. และทำร้าย ป. ได้รับอันตรายแก่กาย แล้วได้รื้อค้นหาทรัพย์ที่โต๊ะของผู้เสียหายเนื่องจากประสงค์ต่อทรัพย์ แต่จำเลยทั้งสามไม่สามารถเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปได้เนื่องจาก ป. ได้หลบหนีออกไปจากที่เกิดเหตุและร้องขอความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านทันท่วงที ถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ร่วมกันพยายามกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยแบ่งหน้าที่กันทำ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 ได้ร่วมกันฆ่าผู้อื่นและทำร้ายผู้อื่นได้รับบาดเจ็บสาหัสเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้เข้าไปในบ้านของผู้เสียหายด้วยกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ก็ถือได้ว่าเป็นตัวการร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 จำเลยทั้งสามจึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามปล้นทรัพย์โดยมีและใช้มีดและปืนเป็นอาวุธเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และมีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่นอีกบทหนึ่งด้วย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340วรรคห้า,80 ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ศาลฎีกาพิพากษาว่าจำเลยที่ 2มีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(6),83 อีกบทหนึ่งด้วย เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทฟ้องลงโทษตามมาตรา 289อันเป็นบทหนักซึ่งต้องระวางโทษประหารชีวิตเพียงสถานเดียว แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 โดยให้จำคุกตลอดชีวิต โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้นแต่อย่างใดและเมื่อศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังนี้ ศาลฎีกาย่อมไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักไปกว่าที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 2 ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340วรรคห้า,80 ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต ศาลฎีกาพิพากษาว่าจำเลยที่ 2มีความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอื่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289(6),83 อีกบทหนึ่งด้วย เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทฟ้องลงโทษตามมาตรา 289อันเป็นบทหนักซึ่งต้องระวางโทษประหารชีวิตเพียงสถานเดียว แต่เนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 โดยให้จำคุกตลอดชีวิต โจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักขึ้นแต่อย่างใดและเมื่อศาลอุทธรณ์ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังนี้ ศาลฎีกาย่อมไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ให้หนักไปกว่าที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 2 ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมาย, การต่อสู้คดี, และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
คดีที่พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้ มีการสอบสวนแล้วย่อมสันนิษฐานได้ ว่า มีการสอบสวนชอบด้วย กฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน โดย เสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน หากตาม สำนวนไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบ จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไปได้เองโดย ไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดก่อน แม้ อ. จะเคยถูก ฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ ศาลได้ สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ. เป็นพยานได้โดยขณะที่ อ. เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ อ. มิได้อยู่ในฐานะ เป็นจำเลย การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อ กฎหมายหลายบท คือ เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 5661 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ใช้ กฎหมายบทที่หนักที่สุดลงโทษพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่ง เป็นความผิดบทเบาที่สุด การเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 37 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่ง เป็นบทที่หนักที่สุดให้ถูกต้อง ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถกีดขวางการจราจรประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดและบทลงโทษ
คดีที่พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้มีการสอบสวนแล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่า มีการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน โดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน หากตามสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบ จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไปได้เอง โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดก่อน
แม้ อ. จะเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ศาลได้สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ. เป็นพยานได้ โดยขณะที่ อ. เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ อ. มิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย
การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56, 61 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายบทที่หนักที่สุดลงโทษ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่งเป็นความผิดบทเบาที่สุด การเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่งเป็นบทที่หนักที่สุดให้ถูกต้องได้
แม้ อ. จะเคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ศาลได้สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ. เป็นพยานได้ โดยขณะที่ อ. เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้ อ. มิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย
การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท คือ เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 56, 61 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้ใช้กฎหมายบทที่หนักที่สุดลงโทษ พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่งเป็นความผิดบทเบาที่สุด การเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ซึ่งเป็นบทที่หนักที่สุดให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการจอดรถกีดขวางการจราจรในเวลากลางคืน และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้อง
คดีที่พนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่า ได้มีการสอบสวนแล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่ามีการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่คัดค้านโดยเสนอหรือนำสืบเป็นข้อต่อสู้ไว้ ถือว่าไม่มีข้อโต้เถียงกัน หากตามสำนวนไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าการสอบสวนนั้นไม่ชอบการที่จำเลยเพิ่งมาคัดค้านขึ้นในชั้นอุทธรณ์ ย่อมไม่มีเหตุที่จะวินิจฉัยให้ กรณีถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงตามอุทธรณ์ของจำเลย เมื่อโจทก์จำเลยได้นำสืบพยานมาจนสิ้นกระแสความแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวไปได้เอง โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดก่อน อ. เคยถูกฟ้องร่วมกับจำเลยมาก่อน แต่ศาลได้สั่งแยกฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีที่ อ. ถูกฟ้องร่วมกับจำเลยและขณะที่ อ.เบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีนี้อ.มิได้อยู่ในฐานะเป็นจำเลย โจทก์จึงอ้าง อ.เป็นพยานได้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 56,61 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390อันเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทหนักที่สุดลงโทษตามมาตรา 90 พนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับจำเลยในความผิดที่มีโทษเบากว่า เพื่อให้ความผิดทุกกรรมรวมทั้งความผิดที่มีโทษหนักกว่าเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 37 ได้ ดังนั้น แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยไปแล้วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 61 ซึ่งเป็นความผิดบทเบาที่สุดการเปรียบเทียบนั้นก็ไม่ชอบ คดีจึงยังไม่เลิกกันศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390ซึ่งเป็น บทหนักที่สุดให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1380/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้ยืนต้นปลูกชั่วคราวไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน สิทธิในต้นสนเป็นกรรมสิทธิ์รวม ผู้รับจำนองบังคับคดีไม่ได้
ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ปลูกไม้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 108 วรรคแรก แต่ถ้าไม้ยืนต้นนั้น ผู้ปลูกมีเจตนาจะปลูกลงในที่ดินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดเพียงชั่วคราว ย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ติดกับที่ดินเพียงชั่วคราวไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109
จำเลยตกลงให้ผู้ร้องปลูกต้นสนลงในที่ดินของจำเลย เมื่อต้นสนโตเต็มที่จะตัดขายเอาเงินมาแบ่งกัน ต้นสนไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน แต่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง จำเลยนำที่ดินไปจำนองไว้กับโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาจากต้นสนส่วนของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ผู้ร้องมีสิทธิขอกันส่วนได้
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2532)
จำเลยตกลงให้ผู้ร้องปลูกต้นสนลงในที่ดินของจำเลย เมื่อต้นสนโตเต็มที่จะตัดขายเอาเงินมาแบ่งกัน ต้นสนไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน แต่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง จำเลยนำที่ดินไปจำนองไว้กับโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาจากต้นสนส่วนของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ผู้ร้องมีสิทธิขอกันส่วนได้
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2532)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1380/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ต้นสนบนที่ดินจำนอง: การพิจารณาความเป็นส่วนควบหรือทรัพย์สินชั่วคราว
ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ปลูกไม้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 108 วรรคแรก แต่ ถ้า ไม้ยืนต้นนั้น ผู้ปลูกมีเจตนาจะปลูกลงในที่ดินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดเพียงชั่วคราว ย่อมถือได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ติด กับที่ดินเพียงชั่วคราวไม่กลายเป็นส่วนควบของที่ดินตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 109 จำเลยตกลง ให้ผู้ร้องปลูกต้นสน ลงในที่ดินของจำเลย เมื่อต้นสนโต เต็มที่จะตัด ขายเอาเงินมาแบ่งกัน ต้นสน ไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดินแต่ เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างจำเลยกับผู้ร้อง จำเลยนำที่ดินไปจำนองไว้กับโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีเอาจากต้นสนส่วนของผู้ร้องซึ่ง เป็นบุคคลภายนอก ผู้ร้องมีสิทธิขอกันส่วนได้ (วรรคแรก วินิจฉัยโดย มติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2532)