คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สหัส สิงหวิริยะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 949 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องที่สมบูรณ์ แม้ใช้ถ้อยคำต่างจากที่กฎหมายบัญญัติ และผลของการบอกเลิกการโอนสิทธิโดยผู้โอน
แม้ข้อความในเอกสารจะใช้ถ้อยคำว่า 'โอนสิทธิรับเงินสินจ้าง'โดยมิได้ใช้คำว่า 'โอนสิทธิเรียกร้อง' ตามชื่อที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงก็ตาม แต่เมื่อใจความในเอกสารดังกล่าวทั้งฉบับเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง ก็ย่อมต้องฟังว่าเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง และแม้หลักฐานการขอเบิกและจ่ายเงินจะระบุชื่อจำเลยร่วมเป็นผู้ขอเบิกและผู้รับก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอยู่แล้วต้องเสียไป
การที่จำเลยร่วมผู้โอนสิทธิเรียกร้องมีหนังสือบอกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องถึงโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องและจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้น ย่อมไม่มีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวที่มีต่อโจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: แม้ใช้คำไม่ตรงตามกฎหมาย แต่หากใจความชัดเจนถือเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องสมบูรณ์
แม้ข้อความในเอกสารจะใช้ถ้อยคำว่า "โอนสิทธิรับเงินสินจ้าง"โดยมิได้ใช้คำว่า "โอนสิทธิเรียกร้อง" ตามชื่อที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงก็ตาม แต่เมื่อใจความในเอกสารดังกล่าวทั้งฉบับเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง ก็ย่อมต้องฟังว่าเป็นเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง และแม้หลักฐานการขอเบิกและจ่ายเงินจะระบุชื่อจำเลยร่วมผู้โอนสิทธิเรียกร้องเป็นผู้ขอเบิกและผู้รับก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายอยู่แล้วต้องเสียไปการที่จำเลยร่วมผู้โอนสิทธิเรียกร้องมีหนังสือบอกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องถึงโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องและจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โดยโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้น ย่อมไม่มีผลให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้ตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวที่มีต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาของโจทก์และการดำเนินการสืบพยานจำเลยโดยชอบตามกฎหมาย
ในคดีที่ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบให้จำเลยนำพยานเข้าสืบก่อนทุกประเด็น การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยนัดแรกโดยโจทก์ได้ทราบวันนัดโดยชอบแล้ว และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบแต่ประการใด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและดำเนินการสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนไปในวันเดียวกันนั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าจำเลยได้ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว จึงชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา ๒๐๑ แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาของโจทก์และการแจ้งความประสงค์ของจำเลยในการดำเนินคดีต่อ ศาลชอบด้วยกฎหมายที่จะพิจารณาคดีต่อไป
ในคดีที่ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบให้จำเลยนำพยานเข้าสืบก่อนทุกประเด็น การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยนัดแรกโดยโจทก์ได้ทราบวันนัดโดยชอบแล้ว และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและดำเนินการสืบพยานจำเลยไปในวันเดียวกันนั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่า จำเลยได้ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาของโจทก์และการดำเนินกระบวนการต่อไปของจำเลย ศาลชอบด้วยกฎหมาย
ในคดีที่ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบให้จำเลยนำพยานเข้าสืบก่อนทุกประเด็น การที่โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพิจารณาสืบพยานจำเลยนัดแรกโดยโจทก์ได้ทราบวันนัดโดยชอบแล้ว และมิได้แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบแต่ประการใด เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและดำเนินการสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนไปในวันเดียวกันนั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งให้ศาลทราบโดยปริยายว่าจำเลยได้ขอให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียว จึงชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 201 แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและการจดทะเบียน
แม้เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 ที่ 2จะไม่มีรูปสิงโตและดาวภายในวงกลมอยู่ตรงกลางเหมือนกับเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ โดยมีแต่รูปวงกลมอยู่ตรงกลางเครื่องหมายการค้าเท่านั้น แต่ตอนบนของเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขอจดทะเบียนดังกล่าว มีข้อความเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่า ไลอ้อนแบรนด์เหมือนกัน ถัดจากตัวอักษรโรมันดังกล่าว ยังมีข้อความเป็นอักษรโรมันและอักษรจีนที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน ตลอดจนมีอักษรไทยเขียนว่าผงวุ้นชั้นพิเศษตราไลอ้อนเหมือนกันตัวอักษรทั้งสามภาษาดังกล่าวมีขนาดใกล้เคียงกันและถูกจัดวางในลักษณะเดียวกัน ส่วนตอนล่างของเครื่องหมายการค้าทั้งสองก็เป็นชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ และห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งต่างก็มีคำว่าพัฒนาสินอยู่ด้วย พร้อมทั้งเบอร์โทรศัพท์อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากัน เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่างใช้กับสินค้าผงวุ้นเหมือนกันตลอดจนอาจถูกเรียกขานว่าตราไลอ้อนได้เหมือนกัน จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายดังกล่าว เป็นเครื่องหมายการค้าที่เกือบเหมือนกันใช้สำหรับสินค้าเดียวหรือชนิดเดียวกันตามนัยมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474
แม้จำเลยที่ 2 จำหน่ายผงวุ้นบรรจุซองพลาสติกร่วมกับโจทก์มาแต่แรก ก็เป็นเพียงช่วยจำหน่ายในฐานะลูกจ้างโจทก์เท่านั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีข้อความและภาพเกือบเหมือนกับที่โจทก์ใช้บรรจุผงวุ้นมาก่อนดีกว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2
การนำเอาเหตุผลในคำพิพากษาฎีกาในคดีซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ในคดีนี้มาประกอบคำเบิกความของพยาน เพื่อวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้มิใช่เป็นการนำคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวมาผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 คดีนี้ซึ่งมิใช่คู่ความในคดีก่อน.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเกือบเหมือนกัน สิทธิการจดทะเบียน และการใช้เครื่องหมายการค้าโดยลูกจ้าง
แม้เครื่องหมายการค้าตาม คำขอจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 ที่ 2จะไม่มีรูปสิงโต และดาว ภายในวงกลมอยู่ตรง กลางเครื่องหมายการค้า-เหมือนกับเครื่องหมายการค้าตาม คำขอจดทะเบียนของโจทก์ โดย มีแต่ รูปวงกลมอยู่ตรง กลางเครื่องหมายการค้าเท่านั้นแต่ ตอนบนของเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขอจดทะเบียนดังกล่าว มีข้อความเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่า ไลอ้อนแบรนด์เหมือนกัน ถัด จากตัวอักษรโรมันดังกล่าว เครื่องหมายการค้าทั้งสองยังมีข้อความเป็นอักษรโรมันและอักษรจีนที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันตลอดจนมีอักษรไทยเขียนว่าผงวุ้นชั้นพิเศษตราไลอ้อน เหมือนกันและตัวอักษรทั้งสามภาษาดังกล่าวมีขนาดใกล้เคียงกัน และถูก จัดวางในลักษณะเดียวกันส่วนตอนล่างของเครื่องหมายการค้าทั้งสองก็เป็นชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ และห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 1 ซึ่งต่าง ก็มีคำว่าพัฒนาสินอยู่ด้วย พร้อมทั้งเบอร์ โทรศัพท์อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากัน เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ต่าง ใช้ กับสินค้าผงวุ้นเหมือนกันตลอดจนอาจถูก เรียกขานว่าตรา ไลอ้อน ได้ เหมือนกัน จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายดังกล่าว เป็นเครื่องหมายการค้าที่เกือบเหมือนกันใช้ สำหรับสินค้าเดียว หรือชนิดเดียวกัน ตาม นัยมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 แม้จำเลยที่ 2 จำหน่ายผงวุ้นบรรจุซอง พลาสติกร่วมกับโจทก์มาแต่ แรก ก็เป็นเพียงช่วย จำหน่ายในฐานะ ลูกจ้างโจทก์เท่านั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีข้อความและภาพเกือบเหมือนกับที่โจทก์ใช้ บรรจุผงวุ้นมาก่อนดีกว่าสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่ 2 การนำเอาเหตุผลในคำพิพากษาฎีกาในคดีซึ่ง จำเลยที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ในคดีนี้มาประกอบคำเบิกความของพยานเพื่อวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ มิใช่เป็นการนำคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวมาผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 คดีนี้ซึ่ง มิใช่คู่ความในคดีก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 716/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องหมายการค้าเกือบเหมือนกัน-การใช้ก่อน-ลูกจ้างจำหน่ายสินค้า: สิทธิในการจดทะเบียน
แม้เครื่องหมายการค้าตาม คำขอจดทะเบียนของจำเลยที่ ๑ ที่ ๒จะไม่มีรูปสิงโต และดาว ภายในวงกลมอยู่ตรง กลางเครื่องหมายการค้า-เหมือนกับเครื่องหมายการค้าตาม คำขอจดทะเบียนของโจทก์ โดย มีแต่ รูปวงกลมอยู่ตรง กลางเครื่องหมายการค้าเท่านั้นแต่ ตอนบนของเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ขอจดทะเบียนดังกล่าว มีข้อความเป็นตัวอักษรโรมันอ่านว่า ไลอ้อนแบรนด์เหมือนกัน ถัด จากตัวอักษรโรมันดังกล่าว เครื่องหมายการค้าทั้งสองยังมีข้อความเป็นอักษรโรมันและอักษรจีนที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันตลอดจนมีอักษรไทยเขียนว่าผงวุ้นชั้นพิเศษตราไลอ้อน เหมือนกันและตัวอักษรทั้งสามภาษาดังกล่าวมีขนาดใกล้เคียงกัน และถูก จัดวางในลักษณะเดียวกันส่วนตอนล่างของเครื่องหมายการค้าทั้งสองก็เป็นชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ และห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ ๑ ซึ่งต่าง ก็มีคำว่าพัฒนาสินอยู่ด้วย พร้อมทั้งเบอร์ โทรศัพท์อยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากัน เมื่อเครื่องหมายการค้าของทั้งโจทก์และจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ต่าง ใช้ กับสินค้าผงวุ้นเหมือนกันตลอดจนอาจถูก เรียกขานว่าตรา ไลอ้อน ได้ เหมือนกัน จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายดังกล่าว เป็นเครื่องหมายการค้าที่เกือบเหมือนกันใช้ สำหรับสินค้าเดียว หรือชนิดเดียวกัน ตาม นัยมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๔๗๔
แม้จำเลยที่ ๒ จำหน่ายผงวุ้นบรรจุซอง พลาสติกร่วมกับโจทก์มาแต่ แรก ก็เป็นเพียงช่วย จำหน่ายในฐานะ ลูกจ้างโจทก์เท่านั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีข้อความและภาพเกือบเหมือนกับที่โจทก์ใช้ บรรจุผงวุ้นมาก่อนดีกว่าสิทธิของจำเลยที่ ๑ ที่ ๒
การนำเอาเหตุผลในคำพิพากษาฎีกาในคดีซึ่ง จำเลยที่ ๒ เป็นโจทก์ฟ้องหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ในคดีนี้มาประกอบคำเบิกความของพยานเพื่อวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ มิใช่เป็นการนำคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวมาผูกพันโจทก์และจำเลยที่ ๑ คดีนี้ซึ่ง มิใช่คู่ความในคดีก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นจากการบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคสองเฉพาะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือเจ้าหนี้ผู้ทรงบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้จดทะเบียนไว้เท่านั้นที่ต้องร้องขอรับชำระหนี้เข้ามา ก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินส่วนในกรณีอื่น ๆ ให้ยื่นคำร้องขอเสียก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 319 เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 319 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองสังหาริมทรัพย์ จึงยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการขอรับชำระหนี้ก่อนการขายทอดตลาด หากเจ้าพนักงานบังคับคดียังไม่ได้แจ้งหนี้อื่น
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคสองเฉพาะ เจ้าหนี้ผู้รับจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือเจ้าหนี้ผู้ทรงบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้ จดทะเบียนไว้เท่านั้นที่ต้อง ร้องขอรับชำระหนี้เข้ามาก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ส่วนในกรณีอื่น ๆ ให้ยื่นคำร้องขอเสียก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวตาม ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 319 เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ดำเนินการตาม บทบัญญัตมาตรา 319 ผู้ร้องซึ่ง เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองสังหาริมทรัพย์จึงยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น.
of 95