คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สหัส สิงหวิริยะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 949 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอน
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๘๙ วรรคสองเฉพาะ เจ้าหนี้ผู้รับจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือเจ้าหนี้ผู้ทรงบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้ จดทะเบียนไว้เท่านั้นที่ต้อง ร้องขอรับชำระหนี้เข้ามาก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ส่วนในกรณีอื่น ๆ ให้ยื่นคำร้องขอเสียก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวตาม ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๓๑๙
เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ดำเนินการตาม บทบัญญัตมาตรา ๓๑๙ ผู้ร้องซึ่ง เป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองสังหาริมทรัพย์จึงยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบจนสับสนและการจดทะเบียนก่อนย่อมได้รับความคุ้มครอง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 3 แบบ ปรากฏอยู่ที่กระป๋องบรรจุขนมปังกรอบกับที่กล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ เมื่อนำกล่องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ กับนำกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์จะเห็นได้ว่ากล่องและกระป๋องดังกล่าวของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องและกระป๋องดังกล่าวของโจทก์ทั้ง 6 ด้าน รูปร่างลักษณะของกล่องและกระป๋องตลอดจนฝาก็เหมือนกันสีและภาพต่าง ๆ ในตำแหน่งเดียวกันก็เหมือนกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากัน นอกจากนี้ยังมีตัวอักษรที่เหมือนกันคือคำว่า "CREAMCRACKERS" และคำว่า "EXTRALIGHT"ด้วย ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันก็คือของโจทก์ใช้คำว่า "JACOB&COS"ส่วนของจำเลยใช้คำว่า "CHITCHATCO.,LTD." ของโจทก์ใช้คำว่า"JACOB'S" ของจำเลยใช้คำว่า "DRAGONBRAND" สำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกันก็ไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้าง แม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างเวลากัน ก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าได้เลย เครื่องหมายการค้าที่ปรากฏที่กล่องขนมปังกรอบและกระป๋องขนมปังกรอบของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เริ่มมีการจดทะเบียนในประเทศไทยไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการ จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง มิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่สามารถได้กรรมสิทธิ์มาโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนลวงสาธารณชน: การละเมิดสิทธิและค่าเสียหาย
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง ๓ แบบ ปรากฎอยู่ที่กระป๋องบรรจุขนมปังกรอบกับที่กล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ เมื่อนำกล่องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์กับนำกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ จะเห็นได้ว่ากล่องและกระป๋องดังกล่าวของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องและกระป๋องดังกล่าวของโจทก์ทั้ง ๖ ด้าน รูปร่างลักษณะของกล่องและกระป๋องตลอดจนฝาก็เหมือนกัน สีและภาพต่าง ๆ ในตำแหน่ง เดียวกันก็เหมือนกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่ง เดียวกันก็เท่ากันนอกจากนี้ยังมีตัวอักษรที่เหมือนกันคือคำว่า"CREAM CRACKERS" และคำว่า "EXTRA LIGHT" ด้วย ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันก็คือ ของโจทก์ใช้ คำว่า "JACOB & COS" ส่วนของจำเลยใช้คำว่า "CHIT CHAT CO.,LTD." ของโจทก์ใช้ คำว่า "JACOB'S"ของจำเลยใช้ คำว่า "DRAGON BRAND" สำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้ เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกันก็ไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้าง แม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่าง เวลากันก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าได้ เลยเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏที่กล่องขนมปังกรอบและกระป๋องขนมปังกรอบของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เริ่มมีการจดทะเบียนในประเทศไทยไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการ จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยผลิตสินค้าโดย ใช้ เครื่องหมายการค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าว และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งมิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่สามารถได้ กรรมสิทธิ์มาโดย การครอบครองปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๓๘๒.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนเกิดความสับสน และการละเมิดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้ง 3 แบบ ปรากฎอยู่ที่กระป๋องบรรจุขนมปังกรอบกับที่กล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ เมื่อนำกล่องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกล่องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์กับนำกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของจำเลยมาเปรียบเทียบกับกระป๋องบรรจุขนมปังกรอบของโจทก์ จะเห็นได้ว่ากล่องและกระป๋องดังกล่าวของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องและกระป๋องดังกล่าวของโจทก์ทั้ง 6 ด้าน รูปร่างลักษณะของกล่องและกระป๋องตลอดจนฝาก็เหมือนกัน สีและภาพต่าง ๆ ในตำแหน่ง เดียวกันก็เหมือนกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่ง เดียวกันก็เท่ากันนอกจากนี้ยังมีตัวอักษรที่เหมือนกันคือคำว่า"CREAMCRACKERS" และคำว่า "EXTRALIGHT" ด้วย ส่วนตัวอักษรที่ต่างกันก็คือ ของโจทก์ใช้ คำว่า "JACOB&COS" ส่วนของจำเลยใช้คำว่า "CHITCHATCO.,LTD." ของโจทก์ใช้ คำว่า "JACOB'S"ของจำเลยใช้ คำว่า "DRAGONBRAND" สำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้ เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยในขณะเดียวกันก็ไม่อาจกล่าวได้ว่ามีอะไรแตกต่างกันบ้าง แม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่าง เวลากันก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าได้ เลยเครื่องหมายการค้าที่ปรากฏที่กล่องขนมปังกรอบและกระป๋องขนมปังกรอบของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์เริ่มมีการจดทะเบียนในประเทศไทยไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2474 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการ จึงเห็นได้ว่าการที่จำเลยผลิตสินค้าโดย ใช้ เครื่องหมายการค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าว และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่งมิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่สามารถได้ กรรมสิทธิ์มาโดย การครอบครองปรปักษ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนเกิดความสับสน และการไม่ได้กรรมสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าโดยการครอบครองปรปักษ์
รูปร่างลักษณะของกล่องฝากับกระป๋องขนมปังกรอบของโจทก์และจำเลยเหมือนกัน ขนาดเท่ากัน สีและภาพต่าง ๆ ในตำแหน่งเดียวกันเหมือนกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันเท่ากัน และมีคำที่เหมือนกัน 2 คำ ถึงจะมีคำอักษรโรมันอีก 2 คำ ที่ต่างกัน แต่แม้ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างเวลากัน ก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าทั้งสองดังนั้น การที่จำเลยผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นของโจทก์
เครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญามิใช่อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่สามารถได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิ, การใช้ก่อน, การจดทะเบียน, และการลวงขายสินค้า
แม้โจทก์จะได้ ฟ้องเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า๓ คำขอซึ่ง ได้ ขอจดทะเบียนกับสินค้าต่าง จำพวกกัน คือ คำขอแรกเกี่ยวกับสินค้าจำพวก ๔๗ คำขอที่สองเกี่ยวกับสินค้าจำพวก ๑๒ และคำขอที่สามเกี่ยวกับสินค้าจำพวก ๓๘ โดย มีเฉพาะ คำขอเดียว คือคำขอที่สามเป็นการขอจดทะเบียนกับสินค้าจำพวกเดียวกับที่จำเลยได้ ขอจดทะเบียนไว้ซึ่ง โจทก์ขอให้เพิกถอน แต่ โจทก์ได้ ขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยในสินค้าทั้ง ๓ จำพวก และจำเลยฟ้องแย้งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน การฟ้องแย้งขอให้แสดงสิทธิของจำเลย และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้า ๒ จำพวกแรกก็เป็นการฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าพิพาทที่โจทก์จดทะเบียนและฟ้องร้องอ้างสิทธินั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมอันชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา
หนังสือมอบอำนาจมีใจความว่า "เพื่อเริ่มการฟ้องคดีและต่อสู้ คดี...ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งอาญาหรือคดีอื่น ๆ ..." เช่นนี้ย่อมหมายความว่า มอบอำนาจให้ฟ้องแย้งได้ ด้วย
จำเลยบรรยายฟ้องแย้งว่า จำเลยได้ ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาท และได้ ใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยมานาน อีกทั้งได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยก็ได้ จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวก ๓๘โจทก์ไม่สุจริต แสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ลอกเลียนเครื่องหมายการค้า ของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียน เป็นการละเมิดขอให้เพิกถอน คำขอจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เช่นนี้เป็นคำฟ้อง ที่แสดงแจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม กฎหมายแล้วหาจำต้องบรรยายว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าอะไร ประชาชนผู้ใดซื้อ หา จำหน่ายแพร่หลาย ณ ที่ใด มียอด ขายเพียงใด และจำหน่าย โดย ผ่านตัวแทนใด ดังที่โจทก์อ้างในฎีกาไม่ เพราะข้อเหล่านั้นเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้น พิจารณา
โจทก์ได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทคืออักษรโรมันประดิษฐ์ "S T" กับสินค้าจำพวกที่ ๔๗ คือ น้ำมันจักร และจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าจำพวก ๑๒ คือ มีดซอย ผมทั้งได้ จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า ตาม ที่ได้ จดทะเบียนไว้แล้ว ส่วนจำเลยเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในต่างประเทศเฉพาะ กับสินค้าจำพวก ๓๘ เครื่องนุ่งห่มและแต่งกาย มาก่อนโจทก์แต่ มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท สำหรับสินค้าจำพวก๑๒ และ ๔๗ แต่อย่างใด เช่นนี้ แม้คำฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ ลอกเลียน เครื่องหมายการค้าของจำเลยนำไปจดทะเบียนและนำเครื่องหมายการค้าไปใช้ กับสินค้าของโจทก์ทำให้สาธารณชนหลงผิด ซึ่ง เป็นเรื่องอ้างว่าโจทก์ลวงขายสินค้าของโจทก์ให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นสินค้าของจำเลยอันจำเลยมีอำนาจฟ้องได้แม้เป็นสินค้าคนละจำพวกหรือคนละชนิดก็ตาม แต่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๒ ก่อนฟ้องคดีเพียง ๔ ปี เท่านั้น ปริมาณก็ไม่มากนักและส่งมาขายแต่เฉพาะ ที่ศูนย์การค้า ส. กับที่ห้าง ซ. และจำเลยไม่เคยมีสินค้าจำพวก ๑๒ และ ๔๗ ส่วนสินค้าของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ใช้ เครื่องหมายการค้ารูปเอส ทีโดย ระบุชื่อร้าน แสงธิต ไว้ชัดเจน แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นเป็นของร้าน แสงธิต เช่นนี้ โจทก์ไม่ได้ทำให้ประชาชนเกิดสับสนในแหล่งกำเนิดหรือคุณภาพสินค้าของโจทก์ถึงขนาด ที่คนทั่วไปเมื่อเห็นสินค้าที่ใช้ เครื่องหมายการค้านั้นแล้ว เข้าใจว่าเป็นของบริษัทเดียวกันคือบริษัทจำเลยคดีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ ลวงขายสินค้าของตน ว่าเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยจะขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าจำพวก ๑๒ และ ๔๗ ของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 676/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิ vs. การลวงขายสินค้า - สินค้าคนละประเภท
แม้โจทก์จะได้ ฟ้องเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า3 คำขอซึ่ง ได้ ขอจดทะเบียนกับสินค้าต่าง จำพวกกัน คือ คำขอแรกเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 47 คำขอที่สองเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 12 และคำขอที่สามเกี่ยวกับสินค้าจำพวก 38 โดย มีเฉพาะ คำขอเดียว คือคำขอที่สามเป็นการขอจดทะเบียนกับสินค้าจำพวกเดียวกับที่จำเลยได้ ขอจดทะเบียนไว้ซึ่ง โจทก์ขอให้เพิกถอน แต่ โจทก์ได้ ขอให้ศาลสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยในสินค้าทั้ง 3 จำพวก และจำเลยฟ้องแย้งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน การฟ้องแย้งขอให้แสดงสิทธิของจำเลย และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้า 2 จำพวกแรกก็เป็นการฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าพิพาทที่โจทก์จดทะเบียนและฟ้องร้องอ้างสิทธินั่นเอง ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเกี่ยวกับฟ้องเดิมอันชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา หนังสือมอบอำนาจมีใจความว่า "เพื่อเริ่มการฟ้องคดีและต่อสู้ คดี...ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งอาญาหรือคดีอื่น ๆ ..." เช่นนี้ย่อมหมายความว่า มอบอำนาจให้ฟ้องแย้งได้ ด้วย จำเลยบรรยายฟ้องแย้งว่า จำเลยได้ ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาท และได้ ใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยมานาน อีกทั้งได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยก็ได้ จดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวก 38โจทก์ไม่สุจริต แสวงหาประโยชน์อันมิชอบ ลอกเลียนเครื่องหมายการค้า ของจำเลยและนำไปยื่นขอจดทะเบียน เป็นการละเมิดขอให้เพิกถอน คำขอจดทะเบียนและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เช่นนี้เป็นคำฟ้อง ที่แสดงแจ้งชัดซึ่ง สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้าง ที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนตาม กฎหมายแล้วหาจำต้องบรรยายว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าอะไร ประชาชนผู้ใดซื้อ หา จำหน่ายแพร่หลาย ณ ที่ใด มียอด ขายเพียงใด และจำหน่าย โดย ผ่านตัวแทนใด ดังที่โจทก์อ้างในฎีกาไม่ เพราะข้อเหล่านั้นเป็นรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้น พิจารณา โจทก์ได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทคืออักษรโรมันประดิษฐ์ "ST" กับสินค้าจำพวกที่ 47 คือ น้ำมันจักร และจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าจำพวก 12 คือ มีดซอย ผมทั้งได้ จำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า ตาม ที่ได้ จดทะเบียนไว้แล้ว ส่วนจำเลยเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าพิพาทและได้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในต่างประเทศเฉพาะ กับสินค้าจำพวก 38 เครื่องนุ่งห่มและแต่งกาย มาก่อนโจทก์แต่ มิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาท สำหรับสินค้าจำพวก12 และ 47 แต่อย่างใด เช่นนี้ แม้คำฟ้องแย้งของจำเลยกล่าวอ้างว่า โจทก์ได้ ลอกเลียน เครื่องหมายการค้าของจำเลยนำไปจดทะเบียนและนำเครื่องหมายการค้าไปใช้ กับสินค้าของโจทก์ทำให้สาธารณชนหลงผิด ซึ่ง เป็นเรื่องอ้างว่าโจทก์ลวงขายสินค้าของโจทก์ให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นสินค้าของจำเลยอันจำเลยมีอำนาจฟ้องได้แม้เป็นสินค้าคนละจำพวกหรือคนละชนิดก็ตาม แต่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2522 ก่อนฟ้องคดีเพียง 4 ปี เท่านั้น ปริมาณก็ไม่มากนักและส่งมาขายแต่เฉพาะ ที่ศูนย์การค้า ส. กับที่ห้าง ซ. และจำเลยไม่เคยมีสินค้าจำพวก 12 และ 47 ส่วนสินค้าของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ใช้ เครื่องหมายการค้ารูปเอส ทีโดย ระบุชื่อร้าน แสงธิต ไว้ชัดเจน แสดงให้เห็นว่าสินค้านั้นเป็นของร้าน แสงธิต เช่นนี้ โจทก์ไม่ได้ทำให้ประชาชนเกิดสับสนในแหล่งกำเนิดหรือคุณภาพสินค้าของโจทก์ถึงขนาด ที่คนทั่วไปเมื่อเห็นสินค้าที่ใช้ เครื่องหมายการค้านั้นแล้ว เข้าใจว่าเป็นของบริษัทเดียวกันคือบริษัทจำเลยคดีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ ลวงขายสินค้าของตน ว่าเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยจะขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าจำพวก 12 และ 47 ของโจทก์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจอัยการจำกัดเฉพาะคดีผิดสัญญาประกันหลังคดีถึงที่สุด เมื่อไม่มีผิดสัญญา อัยการไม่มีอำนาจฎีกา
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยผู้ต้องหาทั้งสามชั่วคราวระหว่างสอบสวน โดย ฉ. ผู้ประกันได้วางหลักประกันเป็นเงินสด 60,000 บาท และทำสัญญาประกันไว้ต่อศาลชั้นต้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้ว ฉ. มาขอหลักประกันคืน ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนหลักประกันแก่ผู้ประกัน ดังนี้ พนักงานอัยการจะฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้ เพราะอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการเกี่ยวกับสัญญาประกันนั้นมีเฉพาะกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันแต่เมื่อความรับผิดตามสัญญาประกันของ ฉ. สิ้นสุดลงแล้ว อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันก็ย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการจำกัดเฉพาะคดีผิดสัญญาประกัน ไม่ครอบคลุมการขอคืนหลักประกันหลังความรับผิดสิ้นสุด
พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในส่วนที่เกี่ยวกับสัญญาประกันจำเลย เฉพาะกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันเพื่อดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกันเท่านั้น การที่ผู้ประกันขอรับหลักประกันคืนภายหลังความรับผิดตามสัญญาประกันหมดไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 118 แม้ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งเป็นประการใด พนักงานอัยการก็ไม่มีอำนาจที่จะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องเช็คและการชำระหนี้ใหม่ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายเช็ค
จำเลยออกเช็คชำระหนี้แก่ภริยาโจทก์ 3 ฉบับ ฉบับละ 40,000 บาทธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว 2 ฉบับ ส่วนอีก 1 ฉบับคือเช็คพิพาทยังไม่ถึงกำหนดใช้เงิน ต่อมาจำเลยชำระเงินสด 12,000 บาท และชำระด้วยเช็คที่ ด.ออกและจำเลยสลักหลัง จำนวน 108,000 บาท ตามเช็คเอกสารหมาย จ.8 แทนเช็ค 3 ฉบับเดิมแล้วขอเช็ค 3 ฉบับเดิมคืนภริยาโจทก์ยอมคืนให้ 2 ฉบับ ส่วนเช็คพิพาทไม่ยอมคืนให้ ต่อมาภริยาโจทก์นำเช็คเอกสารหมาย จ.8 ไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ภริยาโจทก์นำเช็คเอกสารหมาย จ.8 ไปดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค แก่ ด.และจำเลยแล้ว พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าภริยาโจทก์ตกลงเข้าถือเอาสิทธิตามเช็คเอกสารหมาย จ.8 แทนสิทธิที่มีอยู่ตามเช็คพิพาท เป็นการสละสิทธิหรือไม่ยึดถือสิทธิใด ๆ ที่มีอยู่ในเช็คพิพาทอีกต่อไปรวมทั้งสิทธิที่จะดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยหากธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คพิพาทด้วย โจทก์ซึ่งทราบข้อตกลงระหว่างภริยาโจทก์กับจำเลยดังกล่าวดี ได้นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงิน แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
of 95