คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สหัส สิงหวิริยะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 949 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดแล้ว ธนาคารไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น แม้จะยังไม่มีการบอกเลิกสัญญา
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ได้สิ้นสุดลงแล้ว ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ทั้งไม่ปรากฏรายการการนำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ยังค้างชำระของฝ่ายจำเลย พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุ ในสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญาพิพาทได้อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5846/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งข้อเท็จจริงใหม่หลังถอนอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรคสี่,340 ตรี,289,80,83 ให้ลงโทษตามมาตรา340 วรรคสี่ และมาตรา 340 ตรี อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ ระหว่างพิจารณาชั้นอุทธรณ์จำเลยขอถอนอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์อนุญาต ศาลอุทธรณ์พิจารณาเฉพาะข้อหาที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289ประกอบด้วยมาตรา 80 หนักกว่าโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา340 วรรคสี่ และมาตรา 340 ตรีหรือไม่แล้วพิพากษาแก้เป็นว่าลงโทษตามมาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำเลยฎีกาว่าไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง จึงเป็นฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5749/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาลาศึกษาต่อและการชดใช้ราชการ: การหักเวลาช่วยสอนออกจากระยะเวลาชดใช้
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการครูในสังกัดของโจทก์ ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อ โดยทำสัญญากับโจทก์ว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยที่ 1 ต้องทำงานชดใช้ตามระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะต้องชดใช้เบี้ยปรับ ดังนี้ แม้จำเลที่ 1 จะมาช่วยสอนในระหว่างที่ได้รับอนุญาตให้ลา ก็จะนำเวลาที่มาช่วยสอนมาคิดหักออกจากเวลาที่จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้หลังจากครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ลาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5749/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชดใช้ราชการหลังลาศึกษาต่อ: เวลาทำการสอนระหว่างลาศึกษาต่อมิอาจนำมาหักออกจากระยะเวลาชดใช้
จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการครูในสังกัดของโจทก์ ได้รับอนุญาตให้ลาศึกษาต่อ โดยทำสัญญากับโจทก์ว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยที่ 1 ต้องทำงานชดใช้ตามระยะเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะต้องชดใช้เบี้ยปรับ ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 จะมาช่วยสอนในระหว่างที่ได้รับอนุญาตให้ลา ก็จะนำเวลาที่มาช่วยสอนมาคิดหักออกจากเวลาที่จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติราชการชดใช้หลังจากครบกำหนดเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ลาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า: ภาพศิลปะ vs. ภาพธรรมดา, จำนวนพยางค์, และความสับสนของสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนส่วนที่เป็นเครื่องหมายเป็นเพียงภาพศิลปะที่มุ่งแสดงความหมายซึ่งประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนในชนบทที่ยังไม่คุ้นเคยกับภาพศิลปะดังกล่าว อาจจะมองไม่ออกว่าเป็นรูปคน ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นมองได้ง่ายและชัดเจนว่าเป็นรูปคนกระโดดเพราะเป็นภาพธรรมดา ส่วนที่เป็นตัวอักษรโรมันที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนมีเพียงพยางค์เดียวอ่านว่า จัมพ แต่ของโจทก์มี 3 พยางค์ อ่านว่าจั๊มมาสเตอร์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วไม่ทำให้ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้า จึงไม่คล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5725/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาองค์ประกอบรวมและเจตนาของผู้ประกอบการ
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนส่วนที่เป็นเครื่องหมายเป็นเพียงภาพศิลปะที่มุ่งแสดงความหมายซึ่ง ประชาชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะประชาชนในชนบทที่ยังไม่คุ้นเคยกับภาพศิลปะดังกล่าว อาจจะมองไม่ออกว่าเป็นรูปคน ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้นมองได้ง่ายและชัดเจนว่าเป็นรูปคนกระโดดเพราะเป็นภาพธรรมดา ส่วนที่เป็นตัวอักษรโรมันที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนมีเพียงพยางค์เดียวอ่านว่า จัมพ แต่ของโจทก์มี 3 พยางค์ อ่านว่า จั๊มมาสเตอร์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วไม่ทำให้ ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้าจึงไม่คล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการเลือกตั้งต้องเป็นไปตามเหตุที่กฎหมายกำหนด และคำร้องต้องชัดเจนไม่เคลือบคลุม
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 78 บัญญัติเหตุอันจะพึงร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ไว้โดยเฉพาะว่าต้องมีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26,32,34,51 หรือมาตรา 52 เท่านั้น ตามคำร้องของผู้ร้องที่อ้างเหตุคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 3 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยตนเองหรือตัวแทนของตนได้ให้อามิสสินจ้างแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 จึงเป็นข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 84 มิใช่เหตุที่จะต้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 78 ส่วนที่อ้างเหตุคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่ 3 ได้พิมพ์โฆษณารูปผู้ร้อง ชื่อพรรคซึ่งผู้ร้องสังกัดอยู่ และชื่อผู้ร้องในแผ่นพิมพ์โฆษณา แต่บอกหมายเลขประจำตัวของผู้คัดค้านที่ 3 ไว้ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดคิดว่าผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามหมายเลขดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นความจริงนั้นก็เป็นข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 67 ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องระวางโทษตามมาตรา 84 มิใช่เหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา 78 จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบจะรับไว้พิจารณา
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 79 บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงเป็นคำฟ้องตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 1(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งจะต้องชอบด้วยมาตรา 172 วรรคสอง แต่ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องว่า เจ้าหน้าที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหล่นหายและขีดฆ่าชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางคนซึ่งมีตัวตนออกโดยพลการ มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ากรรมการผู้ใดได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อหล่นหายหรือขีดฆ่าชื่อผู้ใดซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งออกพอที่จะให้เข้าใจได้ว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งผู้ใดประจำหน่วยเลือกตั้งใดจงใจไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือกระทำการอันใดเพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 52 จึงเป็นคำร้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5565/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุคัดค้านการเลือกตั้ง ส.ส. ต้องเป็นไปตาม กม.เฉพาะ และคำร้องต้องชัดเจนตามหลักวิธีพิจารณาความแพ่ง
พระราชบัญญัติ ญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 78 บัญญัติเหตุอันจะพึงร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ไว้โดยเฉพาะว่าต้องมีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 26,32,34,51 หรือมาตรา 52 เท่านั้นตามคำร้องของผู้ร้องที่อ้างเหตุคัดค้านว่า ผู้คัดค้านที่ 2และผู้คัดค้านที่ 3 ผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยตนเองหรือตัวแทนของตนได้ให้อามิสสินจ้างแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อจูงใจให้ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 ที่ 3 นั้น จึงเป็นข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดต้องระวางโทษตามมาตรา 84 มิใช่เหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ตามมาตรา 78 ส่วนที่อ้างเหตุคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่ 3 ได้พิมพ์โฆษณารูปผู้ร้อง ชื่อพรรคซึ่งผู้ร้องสังกัดอยู่และชื่อผู้ร้องในแผ่นพิมพ์โฆษณา แต่บอกหมายเลขประจำตัวของผู้คัดค้านที่ 3 ไว้ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดคิดว่าผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามหมายเลขดังกล่าวซึ่งไม่เป็นความจริงนั้นก็เป็นข้อกล่าวหาว่ามีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 67 ซึ่งผู้ฝ่าฝืนมีความผิดและต้องระวางโทษตามมาตรา 84 มิใช่เหตุที่จะร้องคัดค้านการเลือกตั้งเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ ตามมาตรา 78 จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบจะรับไว้พิจารณาพระราชบัญญัติ ญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522มาตรา 79 บัญญัติให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงเป็นคำฟ้องตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในมาตรา 1(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งจะต้องชอบด้วยมาตรา 172 วรรคสอง แต่ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องว่า เจ้าหน้าที่กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหล่นหายและขีดฆ่าชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางคนซึ่งมีตัวตนออกโดยพลการ มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่ากรรมการผู้ใดได้แกล้งทำบัญชีรายชื่อหล่นหายหรือขีดฆ่าชื่อผู้ใดซึ่งมีสิทธิเลือกตั้งออก พอที่จะให้เข้าใจได้ว่าเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งผู้ใดประจำหน่วยเลือกตั้งใดจงใจไม่ปฏิบัติการตามหน้าที่ หรือกระทำการอันใดเพื่อขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 52จึงเป็นคำร้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5354/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยไม้: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าพฤติการณ์และบาดแผลไม่ถึงขั้นมีเจตนาฆ่า
จำเลยใช้ไม้แปรรูปหน้า 3 นิ้ว กว้าง 1 นิ้ว ยาว 1 เมตรเศษ ตีทำร้ายโจทก์ร่วมขณะที่โจทก์ร่วมกำลังขับขี่รถจักรยานยนต์ โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบทันไม้ของกลางถูกโจทก์ร่วมที่นิ้วก้อยขวา กระดูกนิ้วก้อยหักและถูกกระจกไฟเลี้ยวขวาของรถจักรยานยนต์แตก บาดแผลของโจทก์ร่วมแพทย์ให้ความเห็นว่าสมควรพักรักษาตัวที่บ้าน 3 อาทิตย์ ดังนี้ การที่จำเลยใช้ไม้ตีโจทก์ร่วมเพียงทีเดียวโดยตีในระดับหน้าอก ไม้ที่ใช้ตีก็มิใช่อาวุธที่ร้ายแรง บาดแผลไม่ร้ายแรงสาเหตุระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยก็มิใช่สาเหตุร้ายแรงถึงกับจะต้องฆ่า จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5354/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่า: การประเมินจากพฤติการณ์, อาวุธ, และบาดแผล เพื่อตัดสินความผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยใช้ไม้แปรรูปหน้า 3 นิ้ว กว้าง 1 นิ้ว ยาว 1 เมตรเศษตีทำร้ายโจทก์ร่วมขณะที่โจทก์ร่วมกำลังขับขี่รถจักรยานยนต์โจทก์ร่วมเอี้ยวตัวหลบทันไม้ของกลางถูกโจทก์ร่วมที่นิ้วก้อยขวากระดูกนิ้วก้อยหักและถูกกระจกไฟเลี้ยวขวาของรถจักรยานยนต์แตก บาดแผลของโจทก์ร่วมแพทย์ให้ความเห็นว่าสมควรพักรักษาตัวที่บ้าน 3อาทิตย์ ดังนี้การที่จำเลยใช้ไม้ตีโจทก์ร่วมเพียงทีเดียวโดยตีในระดับหน้าอก ไม้ที่ใช้ตีก็มิใช่อาวุธที่ร้ายแรง บาดแผลก็ไม่ร้ายแรงสาเหตุระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยก็มิใช่สาเหตุร้ายแรงถึงกับจะต้องฆ่า จึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วม
of 95