คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สหัส สิงหวิริยะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 949 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อขาดรายละเอียดการกระทำความผิด และองค์ประกอบความผิดไม่ครบถ้วน
การแจ้งความเท็จอันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172,173ประกอบมาตรา 174 วรรคสอง ต้องเป็นข้อความเท็จที่เกี่ยวกับความผิดอาญา โดยคำฟ้องต้องบรรยายให้ได้ความว่า จำเลยแจ้งความเท็จกล่าวหาว่าโจทก์กระทำความผิดในทางอาญาฐานใดฐานหนึ่งด้วยการที่โจทก์กล่าวในฟ้องเพียงว่า จำเลยทั้งหกร่วมกันให้จำเลยที่ 4 ที่ที่ 6 นำข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาไปแจ้งแก่จำเลยที่ 1 ว่า โจทก์ทั้งสองหลอกลวงเอาเงินของจำเลยที่ 5 ที่ 6 ไปโดยไม่ได้ความว่าหลอกลวงอย่างไรและการหลอกลวงนั้นเป็นการกระทำที่เป็นความผิดในทางอาญาหรือไม่ เช่นนี้จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) การบรรยายฟ้องโดยเพียงหยิบยกเอาถ้อยคำของกฎหมายในแต่ละมาตรามาบรรยายเพื่อให้ครบองค์ประกอบความผิดเท่านั้น มิได้กล่าวถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดและไม่มีข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา และสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆรวมทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี จึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158(5).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเรียกค่าปรับเป็นรายวันเมื่อเลิกสัญญาสัญญาซื้อขาย: สิทธิมีได้เฉพาะกรณีที่ยังไม่เลิกสัญญา
การที่จำเลยไม่ส่งมอบสิ่งของให้แก่โจทก์และโจทก์ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญากับริบเงินประกันอันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 8 แล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับเป็นรายวันจากจำเลย ตามข้อ 9ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ยังคงให้สัญญามีผลผูกพันได้อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับความรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายของผู้เป็นนายต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ย่อมถือเป็นการยอมรับความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ มิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่รถคันดังกล่าวมาแต่ต้น แต่กลับตั้งตัวแทนมาเจรจาชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ดุจจะเป็นการกระทำของลูกจ้างของตน แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าผู้ขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับชนรถยนต์ของโจทก์นั้นเป็นลูกจ้างและปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามที่ได้แสดงออกมานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4564/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมรับความรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายของผู้เป็นเจ้าของรถ ถือเป็นการยอมรับว่าผู้ขับขี่เป็นลูกจ้าง
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ มิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่รถคันดังกล่าวมาแต่ต้น แต่กลับตั้งตัวแทนมาเจรจาชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ดุจะเป็นการกระทำของลูกจ้างของตน แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าผู้ขับขี่รถยนต์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งขับชนรถยนต์ของโจทก์นั้นเป็นลูกจ้างและปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดตามที่ได้แสดงออกมานั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4381/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากคดีมีทุนทรัพย์น้อยกว่า 5 หมื่น และศาลอุทธรณ์แก้ไขเพียงเล็กน้อย
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะเรื่องดอกเบี้ย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4381/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากคดีทุนทรัพย์น้อยและแก้ไขเฉพาะดอกเบี้ย
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะเรื่องดอกเบี้ย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4381/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยและการแก้ไขเล็กน้อยของศาลอุทธรณ์
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะเรื่องดอกเบี้ย เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4154/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้ให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว และการพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงจนลวงสาธารณชน
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะประกอบกัน 2 ประการ คือ ภาพถ่ายโจทก์ที่ 1 ซึ่งมีผ้าผูกคอเป็นรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี กับมีอักษรจีนว่า ลิ้มจิงเฮียง และอักษรไทยว่าลิ้มจิงเฮียง อยู่ใต้ภาพโจทก์ที่ 1 โดยระบุว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่ให้สิทธิแก่โจทก์แต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรจีนว่าลิ้มจิงเฮียง และอักษรไทยว่า ลิ้มจิงเฮียง ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยซึ่งนำอักษรจีนและอักษรไทยดังกล่าวไปใช้กับสินค้าของจำเลย
เครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้และขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนมีลักษณะประกอบกัน 2 ประการ คือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี กับมีอักษรจีนว่า ลิ้มจิงเฮียง (ฮะกี่) และอักษรไทยว่า ลิ้มจิงเฮียง (ฮะกี่) อยู่ใต้ภาพถ่ายจำเลยส่วนโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ดังกล่าวข้างต้น กับสินค้าที่ออกสู่ท้องตลาด โดยมีลวดลายประกอบและมีอักษรจีนกับอักษรไทยพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมขึ้นจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ ดังนั้นเมื่อตัดคำว่า ลิ้มจิงเฮียง ซึ่งมิใช่สิทธิของโจทก์ที่จะใช้แต่ผู้เดียวตลอดจนลวดลายและอักษรจีนกับอักษรไทยซึ่งมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ออกจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแล้ว ก็คงเหลือเพียงภาพถ่ายของโจทก์ซึ่งมีผ้าผูกคอแบบรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี ส่วนของจำเลยคงเหลือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี ดังนั้นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถือได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4154/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้ผูกขาดชื่อ ‘ลิ้มจิงเฮียง’ และการพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าเพื่อการลวงสาธารณชน
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีลักษณะประกอบกัน 2ประการ คือ ภาพถ่ายโจทก์ที่ 1 ซึ่งมีผ้าผูกคอเป็นรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี กับมีอักษรจีนว่า ลิ้มจิงเฮียง และอักษรไทยว่าลิ้มจิงเฮียง อยู่ใต้ภาพโจทก์ที่ 1 โดยระบุว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนี้ไม่ให้สิทธิแก่โจทก์แต่ผู้เดียวที่จะใช้อักษรจีนว่าลิ้มจิงเฮียงและอักษรไทยว่าลิ้มจิงเฮียง ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยซึ่งนำอักษรจีนและอักษรไทยดังกล่าวไปใช้กับสินค้าของจำเลย เครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้และขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนมีลักษณะประกอบกัน 2 ประการ คือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อนกลาสีอยู่ภายในวงรีกับมีอักษรจีนว่าลิ้มจิงเฮียง(ฮะกี่)และอักษรไทยว่าลิ้มจิงเฮียง(ฮะกี่) อยู่ใต้ภาพถ่ายจำเลยส่วนโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้ดังกล่าวข้างต้น กับสินค้าที่ออกสู่ท้องตลาด โดยมีลวดลายประกอบและมีอักษรจีนกับอักษรไทยพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและการสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมขึ้นจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ ดังนั้นเมื่อตัดคำว่า ลิ้มจิงเฮียง ซึ่งมิใช่สิทธิของโจทก์ที่จะใช้แต่ผู้เดียวตลอดจนลวดลายและอักษรจีนกับอักษรไทยซึ่งมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ออกจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จำเลยแล้ว ก็คงเหลือเพียงภาพถ่ายของโจทก์ซึ่งมีผ้าผูกคอแบบรูปหูกระต่ายอยู่ภายในวงรี ส่วนของจำเลยคงเหลือภาพถ่ายจำเลยซึ่งมีผ้าผูกคอเงื่อน กลาสีอยู่ภายในวงรี ดังนั้นเครื่องหมายการค้าที่จำเลยใช้จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถือได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4144/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยทรัพย์จำนอง: การตีใช้หนี้ตามมาตรา 656 วรรคสอง และไม่ใช่การหลุดจำนอง
โจทก์กู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 โดยจำนองที่พิพาทเป็นประกันต่อมาโจทก์ตกลงโอนที่พิพาทชำระหนี้เงินกู้ให้แก่จำเลยที่ 2 ขณะโอนที่พิพาทมีราคาเท่ากับจำนวนหนี้ การตกลงดังกล่าวจึงเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองมีผลให้หนี้เงินกู้และสัญญาจำนองระงับไปตามมาตรา 321, 744 และเป็นการที่โจทก์เอาทรัพย์จำนองตีใช้หนี้จำเลยที่ 2 หาใช่ผู้รับจำนองเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดซึ่งผู้จำนองจะต้องขาดส่งดอกเบี้ยถึง 5 ปี ตามมาตรา 729 ไม่
of 95