คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สหัส สิงหวิริยะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 949 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่รับอนุญาต โจทก์ต้องพิสูจน์เลขทะเบียนอาวุธปืนตรงกับใบอนุญาต
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่รับอนุญาต ภาระการพิสูจน์ความผิดตกแก่ฝ่ายโจทก์ที่จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าปืนของกลางเป็นปืนไม่มีทะเบียนและจำเลยไม่มีใบอนุญาต แต่ทางนำสืบของโจทก์ปรากฏว่าใบอนุญาตที่เรียกมาจากจำเลยจะใช้กับอาวุธปืนของกลางหรือไม่ก็ไม่ทราบ เมื่อส่งอาวุธปืนของกลางไปพิสูจน์หาได้พิสูจน์ไม่ว่าเครื่องหมายเลขประจำอาวุธปืนเป็นเลขทะเบียนเดียวกันกับที่ปรากฎในใบอนุญาตหรือไม่ ดังนี้ลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาโจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีฆ่าผู้อื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ศาลชั้นต้นฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุ พิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันแต่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะและจำเลยไม่มีเจตนาฆ่า พิพากษากลับว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 290,72 ดังนี้ ศาลล่างทั้งสองต่างยกฟ้องในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยอาศัยข้อเท็จจริง ฎีกาของโจทก์ที่ว่าพยานหลักฐานฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายขอให้ลงโทษตามฟ้องนั้นเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีฆ่าผู้อื่น โดยศาลอุทธรณ์เปลี่ยนข้อหาจากป้องกันตัวเป็นฆ่าโดยบันดาลโทสะ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ศาลชั้นต้นฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันแต่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะและจำเลยไม่มีเจตนาฆ่า พิพากษากลับว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 290, 72 ดังนี้ ศาลล่างทั้งสองต่างยกฟ้องในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยอาศัยข้อเท็จจริงฎีกาของโจทก์ที่ว่าพยานหลักฐานฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายขอให้ลงโทษตามฟ้องนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาโจทก์อ้างเจตนาฆ่า แต่ศาลไม่รับวินิจฉัย เพราะเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงตามดุลพินิจของศาลชั้นต้นและอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288ศาลชั้นต้นฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวพอสมควรแก่เหตุพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการป้องกันแต่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะและจำเลยไม่มีเจตนาฆ่า พิพากษากลับว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา290,72 ดังนี้ ศาลล่างทั้งสองต่างยกฟ้องในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยอาศัยข้อเท็จจริงฎีกาของโจทก์ที่ว่าพยานหลักฐานฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตายขอให้ลงโทษตามฟ้องนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1018/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทุจริตในการยักยอกทรัพย์: พฤติการณ์บ่งชี้ความบริสุทธิ์ใจของผู้รับจ้าง
โจทก์ร่วมมอบนากแท่งให้จำเลยไปทำนากรูปพรรณ จำเลยนำไปจ้างร้าน ศ. รีดให้เป็นเส้นเล็ก เมื่อจำเลยให้ลูกจ้างไปรับปรากฏว่าเป็นเส้นทองแดงจำเลยนำไปให้โจทก์ร่วมดู และต่อว่าโจทก์ร่วมในวันนั้น ทั้งได้ไปแจ้งความตามคำแนะนำของโจทก์ร่วม ต่อมาจำเลยได้ทำบันทึกยอมใช้เงินแก่โจทก์ร่วมดังนี้พฤติการณ์แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตที่จะยักยอกนากของโจทก์ร่วม.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จและหมิ่นประมาทจากคำบรรยายฟ้อง: การอธิบายความหมายถ้อยคำไม่ถือเป็นยืนยันข้อเท็จจริง
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ฯ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ ส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ประกอบด้วยแล้ว แสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ คือ 'ถ้อยคำพูด' ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้น เมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยบรรยายฟ้องอันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้องในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้นพนักงานอัยการมีความประสงค์จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเท็จและหมิ่นประมาทจากคำบรรยายฟ้อง: การตีความถ้อยคำและเจตนาของพนักงานอัยการ
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่นหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ ส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ประกอบด้วยแล้ว แสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ คือ 'ถ้อยคำพูด' ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้น เมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยบรรยายฟ้องอันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้องในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้นพนักงานอัยการมีความประสงค์จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องที่ไม่เป็นเท็จและการไม่มีเจตนาหมิ่นประมาท ไม่ถือเป็นความผิดฟ้องเท็จหรือหมิ่นประมาท
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ในข้อหาดูหมิ่นหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ โดยบรรยายฟ้องเป็นสองตอน คือตอนแรกเป็นข้อความที่อ้างว่าโจทก์เป็นผู้กล่าวซึ่งได้ระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศส่วนตอนหลังมีใจความเป็นการแปลหรืออธิบายความหมายของข้อความในตอนแรก ดังนี้ เมื่อพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) ประกอบด้วยแล้วแสดงว่าข้อความที่พนักงานอัยการระบุไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศคือ "ถ้อยคำพูด" ที่พนักงานอัยการต้องกล่าวไว้ในฟ้องตามบทกฎหมายดังกล่าว และข้อความตอนหลังเป็นการอธิบายความหมายเท่านั้นเมื่อข้อความที่โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยบรรยายฟ้องอันเป็นความเท็จเป็นส่วนหนึ่งของคำบรรยายฟ้องในตอนหลังและมีลักษณะเป็นการอธิบายความหมายด้วยเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าข้อความที่โจทก์อ้างว่าเป็นเท็จนั้นพนักงานอัยการมีความประสงค์จะอธิบายความหมายของถ้อยคำพูดของโจทก์เท่านั้น แม้จะใช้ถ้อยคำผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปบ้าง กรณีก็ไม่อาจถือได้ว่าพนักงานอัยการยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าว การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200และจำเลยย่อมไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทโจทก์แต่อย่างใด กับไม่มีมูลเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเบิกความเท็จไม่ชอบ เหตุคำฟ้องไม่ระบุรายละเอียดข้อกล่าวหาและข้อความเท็จในคดีก่อน
โจทก์ฟ้องจำเลยฐานเบิกความเท็จ ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์แม้ระบุเลขคดีและชื่อคู่ความของคดีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จ แต่ไม่ได้ระบุว่าคดีดังกล่าวมีข้อกล่าวหากันอย่างไร และข้อความที่อ้างว่าเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดีอย่างไร อันเป็นเหตุให้โจทก์ถูกศาลลงโทษ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีไม่ชอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 158(5).(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นสอบสวนมีผลต่อการลดโทษหรือไม่ หากมีพยานหลักฐานอื่นเพียงพอ ศาลไม่จำเป็นต้องอาศัยคำรับสารภาพ
จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน แต่มาปฏิเสธชั้นศาลและอ้างว่าชั้นสอบสวนเจ้าหน้าที่ตำรวจนำเอากระดาษซึ่งพิมพ์ข้อความอยู่แล้วมาให้จำเลยพิมพ์ลายนิ้วมือ เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีประจักษ์พยาน 7 ปากเบิกความยืนยันเป็นที่สอดคล้องต้องกันว่าสามารถจดจำหน้าจำเลยได้อย่างแม่นยำแน่นอนโดยไม่มีทางผิดพลาดเป็นอย่างอื่นได้ และมีพยานแวดล้อมกรณีประกอบแน่นหนามั่นคง ถึงแม้ว่าจำเลยจะไม่ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนศาลก็ย่อมรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวลงโทษจำเลยได้แล้ว เช่นคำให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา คดีไม่มีเหตุจะลดโทษให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78
of 95