คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สหัส สิงหวิริยะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 949 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4144/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยทรัพย์จำนอง: การตีใช้หนี้ตามมาตรา 656 วรรคสอง และไม่ใช่การหลุดจำนอง
โจทก์กู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 โดยจำนองที่พิพาทเป็นประกันต่อมาโจทก์ตกลงโอนที่พิพาทชำระหนี้เงินกู้ให้แก่จำเลยที่ 2 ขณะโอนที่พิพาทมีราคาเท่ากับจำนวนหนี้ การตกลงดังกล่าวจึงเป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 656 วรรคสองมีผลให้หนี้เงินกู้และสัญญาจำนองระงับไปตามมาตรา 321, 744 และเป็นการที่โจทก์เอาทรัพย์จำนองตีใช้หนี้จำเลยที่ 2 หาใช่ผู้รับจำนองเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดซึ่งผู้จำนองจะต้องขาดส่งดอกเบี้ยถึง 5 ปี ตามมาตรา 729 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ต่างประเทศต้องแสดงว่ากฎหมายของประเทศนั้นคุ้มครองลิขสิทธิ์เช่นกัน
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าภาพยนตร์ตามฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์งานสร้างสรรค์ประเภทโสตทัศนวัสดุตามกฎหมายของบริษัทอ.กับบริษัทท. ประเทศฮ่องกงซึ่งได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ แต่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องเลยว่ากฎหมายของเกาะฮ่องกงได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ฟ้องโจทก์จึงขาดข้อความสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าภาพยนตร์ตามฟ้องมีสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 42แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเป็นสำหรับการฟ้องคดีอาญา ในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์เกี่ยวด้วยงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายต่างประเทศฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4089/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การประเมินค่าชดเชยทรัพย์สิน (บ่อกุ้ง, บ่อปลา, ต้นไม้) และการพิจารณาประเภททรัพย์สิน (ไม้ยืนต้น)
สับปะรด เป็นพืชถาวรจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีอายุหลายปี ลำต้นสับปะรด ไม่มีเนื้อไม้ให้เห็นเด่นชัด สับปะรด จึงไม่ใช่ไม้ยืนต้น นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของจำเลยที่ 1ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลาอำเภอศรีราชาและตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุงจังหวัด ชลบุรี พ.ศ. 2521 คณะกรรมการเวนคืนดังกล่าวย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนค่าทดแทนตามมาตรา 18222526แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาท เมื่อคณะกรรมการเวนคืนได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการเวนคืนแต่งตั้งย่อมเป็นตัวแทนของคณะกรรมการเวนคืนดังนั้นการกระทำของคณะอนุกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อตกลงที่คณะอนุกรรมการได้กระทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำแทนคณะกรรมการเวนคืนและเมื่อคณะกรรมการเวนคืนก็ได้เห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าว จึงย่อมมีผลใช้บังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4089/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: สิทธิค่าทดแทนทรัพย์สิน (บ่อ, ต้นไม้) และการพิจารณาประเภททรัพย์สิน (ไม้ยืนต้น)
สับปะรดเป็นพืชถาวรจำพวกใบเลี้ยงเดี่ยว ที่มีอายุหลายปี ลำต้นสับปะรดไม่มีเนื้อไม้ให้เห็นเด่นชัด สับปะรดจึงไม่ใช่ไม้ยืนต้น
นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดของจำเลยที่ 1 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชาและตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2521 คณะกรรมการเวนคืนดังกล่าวย่อมมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ตกลงกันในเรื่องจำนวนค่าทดแทนตามมาตรา 18, 22, 25, 26 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะพิพาท เมื่อคณะกรรมการเวนคืนได้รับการแต่งตั้งโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการเวนคืนแต่งตั้งย่อมเป็นตัวแทนของคณะกรรมการเวนคืนดังนั้นการกระทำของคณะอนุกรรมการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายและข้อตกลงที่คณะอนุกรรมการได้กระทำไว้กับโจทก์จึงเป็นการกระทำแทนคณะกรรมการเวนคืนและเมื่อคณะกรรมการเวนคืนก็ได้เห็นชอบตามข้อตกลงดังกล่าว จึงย่อมมีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3972/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือแบบเรียน การพิสูจน์เจตนาและขอบเขตความรับผิดของจำเลยต่างๆ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเก้า พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2521 เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เช่นนี้ กฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีคือพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 เพราะมูลกรณีแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในขณะที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ยังไม่ใช้บังคับ
กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีส่วนในการจัดทำหนังสือแบบเรียนที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หนังสือแบบเรียนตามฟ้องที่จำเลยจัดพิมพ์ขึ้นก็ระบุเป็นของ กระทรวงศึกษาธิการที่หน้าปก ทุกเล่ม นอกจากนี้กรมการปกครองเคยขออนุญาตโจทก์พิมพ์หนังสือแบบเรียนหลายครั้ง แสดงว่ากรมการปกครองและจำเลยก็ยอมรับแล้วว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนเป็นของโจทก์ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงหามีส่วนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยไม่
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทที่รับพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ที่ 7 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เคยอนุญาตให้กรมการปกครองจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนชั้นประถมศึกษาในระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง 2516 โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ และหนังสือแบบเรียนที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7พิมพ์ขึ้นนั้น ด้านหน้าก็มีข้อความระบุว่าของ กระทรวงศึกษาธิการในหน้าแรกมีถ้อยคำว่าสำหรับแจกเด็กนักเรียนห้ามขาย ด้านหลังมีคำว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ถนนพหลโยธินฯลฯ และระบุชื่อนาย พ. ผู้พิมพ์โฆษณา กับมีคำแนะนำในเรื่องให้ยืมหนังสือหรือแบบเรียน ชี้ให้เห็นว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและนาย พ. เป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องทุกเล่ม แม้ความจริงจะพิมพ์โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตามพฤติการณ์เหล่านี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นนาย พ. และกรมการปกครองได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 จึงมิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 8 ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายพิมพ์ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น และจำเลยที่ 9 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจำหน่ายของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ก็เข้าใจว่ากรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนของโจทก์ในปี พ.ศ. 2517, 2520 และ 2521 ดังเช่นที่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของกรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ จึงเป็นการกระทำที่มิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3972/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดลิขสิทธิ์หนังสือแบบเรียน การพิสูจน์เจตนาและการอนุญาตโดยปริยาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเก้า พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2519 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2521 เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เช่นนี้ กฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีคือพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 เพราะมูลกรณีแห่งคดีนี้เกิดขึ้นในขณะที่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ยังไม่ใช้บังคับ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีส่วนในการจัดทำหนังสือแบบเรียนที่โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หนังสือแบบเรียนตามฟ้องที่จำเลยจัดพิมพ์ขึ้นก็ระบุเป็นของ กระทรวงศึกษาธิการที่หน้าปก ทุกเล่ม นอกจากนี้กรมการปกครองเคยขออนุญาตโจทก์พิมพ์หนังสือแบบเรียนหลายครั้ง แสดงว่ากรมการปกครองและจำเลยก็ยอมรับแล้วว่าลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนเป็นของโจทก์ กรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดจึงหามีส่วนเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วยไม่ จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทที่รับพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 6 ที่ 7 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวตามคำสั่งของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง โจทก์เคยอนุญาตให้กรมการปกครองจัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนชั้นประถมศึกษาในระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง 2516 โดยไม่คิดค่าลิขสิทธิ์ และหนังสือแบบเรียนที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7พิมพ์ขึ้นนั้น ด้านหน้าก็มีข้อความระบุว่าของ กระทรวงศึกษาธิการในหน้าแรกมีถ้อยคำว่าสำหรับแจกเด็กนักเรียนห้ามขาย ด้านหลังมีคำว่าพิมพ์ที่โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง ถนนพหลโยธินฯลฯ และระบุชื่อนาย พ. ผู้พิมพ์โฆษณา กับมีคำแนะนำในเรื่องให้ยืมหนังสือหรือแบบเรียน ชี้ให้เห็นว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นและนาย พ. เป็นผู้รับผิดชอบในการพิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องทุกเล่ม แม้ความจริงจะพิมพ์โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ตามพฤติการณ์เหล่านี้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ย่อมเข้าใจว่าโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่นนาย พ. และกรมการปกครองได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้พิมพ์หนังสือแบบเรียนดังกล่าวได้ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 จึงมิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 8 ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการฝ่ายพิมพ์ โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น และจำเลยที่ 9 ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนกจำหน่ายของโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น ก็เข้าใจว่ากรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้รับอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือแบบเรียนของโจทก์ในปี พ.ศ. 2517,2520 และ 2521 ดังเช่นที่เคยได้รับอนุญาตมาก่อน การที่จำเลยที่ 8 ที่ 9 ว่าจ้างจำเลยที่ 1 พิมพ์หนังสือแบบเรียนตามฟ้องตามคำสั่งของกรมการปกครองและองค์การบริหารส่วนจังหวัดอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ จึงเป็นการกระทำที่มิได้จงใจละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3754/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง และการห้ามอุทธรณ์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้เช่าบ้านและเปิดเป็นร้านให้เช่าวีดีโอ คดีโจทก์ไม่มีมูล เป็นการพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137172 และ 310 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ โจทก์อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานโจทก์ชั้นไต่สวนมูลฟ้องมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของร้านดังกล่าวแต่อย่างใด เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ความผิดในข้อหาทั้งสามนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ส่วนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157162 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 จับกุมโจทก์เนื่องจากเชื่อคำ ของ พยานและของโจทก์ในขณะตรวจค้นจับกุมตามที่ปรากฏในบันทึกการตรวจค้นจับกุมและรายงานประจำวัน ถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ไม่มีพฤติการณ์พิเศษให้เห็นว่ากระทำไม่ชอบประการใด และโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบว่าโจทก์ได้แจ้งต่อฝ่ายจำเลยว่าโจทก์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดดังกล่าวเป็นการพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงอีกเช่นกัน โจทก์ฎีกามีใจความว่าข้อความตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมไม่เป็นความจริงการที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าบันทึกการตรวจค้นจับกุมดังกล่าวถูกต้องเป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้ฎีกาของโจทก์ที่อ้างมาเป็นข้อกฎหมายว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนก็เพียงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างที่ว่าข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นไปตามบันทึกการตรวจค้นจับกุม เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3754/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้เช่าบ้านและเปิดเป็นร้านให้เช่าวีดีโอ คดีโจทก์ไม่มีมูล เป็นการพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีโจทก์สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,172 และ 310 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา193 ทวิ โจทก์อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานโจทก์ชั้นไต่สวนมูลฟ้องมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของร้าน เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวความผิดในข้อหาทั้งสามนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ส่วนข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,162 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 จับกุมโจทก์เนื่องจากเชื่อคำของพยานและของโจทก์ในขณะตรวจค้นให้จับกุมตามที่ปรากฏในบันทึกการตรวจค้นจับกุมและรายงานประจำวันถือได้ว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ไม่มีพฤติการณ์พิเศษให้เห็นว่ากระทำไม่ชอบประการใด และโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบว่า โจทก์ได้แจ้งต่อฝ่ายจำเลยว่าโจทก์ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดดังกล่าวเป็นการพิพากษายกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์ฎีกาว่าข้อความตามบันทึกการตรวจค้นจับกุมไม่เป็นความจริง การที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าบันทึกการตรวจค้นจับกุมดังกล่าวถูกต้อง เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้ ฎีกาของโจทก์ที่อ้างมาเป็นข้อกฎหมายว่า ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนก็เพียงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างที่ว่าข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นไปตามบันทึกการตรวจค้นจับกุม เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน 15 วันนับจากวันส่งคำบังคับ หากไม่ทันตามกำหนด แม้มีเหตุ 6 เดือน ก็ต้องมีเหตุจำเป็นอื่นประกอบ
คำขอให้พิจารณาใหม่จะต้องยื่นต่อศาลภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล จำเลยยื่นคำขอเมื่อล่วงเลยระยะเวลา15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ส่วนกำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรกท่อนท้ายนั้นจะนำมาใช้บังคับต่อเมื่อมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้จำเลยไม่อาจยื่นคำขอภายในกำหนด 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือภายในระยะเวลาตามกำหนดของศาล ตามคำขอของจำเลยไม่ปรากฏว่าอ้างพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ไว้จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในส่วนนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3526/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน 15 วันนับจากวันที่ส่งคำบังคับ หรือภายใน 6 เดือนหากมีเหตุสุดวิสัย
คำขอให้พิจารณาใหม่จะต้องยื่นต่อศาลภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผล จำเลยยื่นคำขอเมื่อล่วงเลยระยะเวลา15 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด จึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ส่วนกำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคแรก ท่อนท้ายนั้นจะนำมาใช้บังคับต่อเมื่อมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้จำเลยไม่อาจยื่นคำขอภายในกำหนด 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือภายในระยะเวลาตามกำหนดของศาลตามคำขอของจำเลยไม่ปรากฏว่า อ้างพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ไว้ จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในส่วนนี้
of 95