พบผลลัพธ์ทั้งหมด 949 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิซื้อขายอสังหาริมทรัพย์สิ้นผลหากไม่จดทะเบียนราคาค้างชำระ เจ้าหนี้สามัญมีสิทธิเฉลี่ยทรัพย์
โจทก์นำยึดที่ดินที่ขายให้จำเลย เพื่อนำมาขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์เป็นเจ้าหนี้ในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยจำเลยค้างชำระราคาที่ดินแปลงที่โจทก์นำยึดโจทก์จึงเป็นผู้มีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกลงทะเบียนเกี่ยวกับราคาและดอกเบี้ยในราคาที่ยังค้างชำระในชั้นลงทะเบียนสัญญาซื้อขายที่ดิน บุริมสิทธินั้นย่อมสิ้นผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 288 ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งย่อมขอเฉลี่ยเงินที่ขายที่ดินนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิซื้อขายอสังหาริมทรัพย์สิ้นผลหากไม่จดทะเบียนราคาและดอกเบี้ยค้างชำระ
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยจำเลยค้างชำระราคาที่ดินแปลงที่โจทก์นำยึด โจทก์จึงเป็นผู้มีบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกลงทะเบียนเกี่ยวกับราคาและดอกเบี้ยในราคาที่ยังค้างชำระในชั้นลงทะเบียนสัญญาซื้อขายที่ดิน บุริมสิทธินั้นย่อมสิ้นผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 288 ผู้ร้องเข้าเฉลี่ยในที่ดินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินนั้นได้ บทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจบุริมสิทธิตามกฎหมายเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ร้องไม่ได้คัดค้านไว้ในชั้นอุทธรณ์ ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพาทเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้า, ความเหมือน/คล้ายคลึง, อายุความ, และการใช้ก่อน
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดี โดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่าได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริง เมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้าน ก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "Hans Grohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "Han Groh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "Hans Grohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "Han Groh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าเดิมย่อมเหนือกว่าการจดทะเบียนภายหลัง แม้มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน และได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดี โดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่าได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริง เมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้าน ก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้ การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยย่อมเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนการค้านั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ เวลาใช้ในการโฆษณา ตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "HansGrohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์ เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์ตัวอักษรโรมันว่า "HanGroh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้ โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลย ทั้งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ส่งสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไทยก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3142/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเหมือน/คล้ายคลึงกันของเครื่องหมาย, อายุความ, และสิทธิในเครื่องหมายการค้า
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุถึงการเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและได้มอบอำนาจให้ ร.หรือ ธ. ฟ้องคดีโดยมีเลขานุการสถานทูตไทยรับรองว่า ได้เห็นเอกสารการมอบอำนาจนั้น แม้เลขานุการสถานทูตไทยจะมิได้รับรองว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงและผู้มอบอำนาจเป็นบุคคลมีอำนาจแท้จริงเมื่อจำเลยไม่นำสืบโต้แย้งคัดค้านก็รับฟังว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริงและถูกต้องได้ การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วโดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยเป็นการฟ้องร้องตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) จึงมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่มีการละเมิดคือวันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปคล้ายหยดน้ำ อักษรโรมันได้แก่ "hansgrohe" ไม่มีกรอบ ในการโฆษณาตัว "G" อยู่ในวงกลมบ้าง ไม่มีวงกลมบ้าง ตัวอักษรโรมันบางครั้งเป็น "HansGrohe" ด้วย ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษร "G" ประดิษฐ์เป็นรูปหยดน้ำเช่นเดียวกับโจทก์กับตัวอักษรโรมันว่า "HanGroh" อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อยเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันอาจทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนและหลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่บนที่ดินของตนเองและที่ดินเช่า และการบังคับคดีรื้อถอน
แม้บ้านพิพาทจะปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์บางส่วนและบนที่ดินของกรมธนารักษ์บางส่วนซึ่งโจทก์เป็นผู้เช่ามาจากกรมธนารักษ์โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและจำเลยร่วมที่ไม่มีสิทธิเข้าอยู่ในที่ดินของโจทก์และที่ดินที่โจทก์เช่ามาได้ โดยมิต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องแทนกรมธนารักษ์แต่อย่างใด
คำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์ก็ให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนแทนโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 296 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามบทบัญญัติดังกล่าว.
คำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์ก็ให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนแทนโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 296 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามบทบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินเช่า-ซื้อขายบ้านพิพาทโมฆะ-การรื้อถอนและการชดใช้ค่าเสียหาย
แม้บ้านพิพาทจะปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์บางส่วนและบนที่ดินของกรมธนารักษ์บางส่วนซึ่งโจทก์เป็นผู้เช่ามาจากกรมธนารักษ์โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและจำเลยร่วมที่ไม่มีสิทธิเข้าอยู่ในที่ดินของโจทก์และที่ดินที่โจทก์เช่ามาได้ โดยมิต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องแทนกรมธนารักษ์แต่อย่างใด และแม้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกจะได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ปลูกบ้านพิพาทให้แก่ทายาทไปก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา แต่มูลคดีที่พิพาทกันได้เกิดขึ้นก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง โจทก์มีอำนาจที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยและจำเลยร่วมจนกว่าคดีจะถึงที่สุด รวมตลอดถึงการบังคับคดีไปตามผลของคำพิพากษาด้วย จำเลยร่วมซื้อบ้านพิพาทจากจำเลยในลักษณะเป็นอสังหาริมทรัพย์โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายกันเอง ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การซื้อขายบ้านพิพาทย่อมเป็นโมฆะ บ้านพิพาทยังเป็นของจำเลย จำเลยซึ่งปลูกบ้านพิพาทบนที่ดินของโจทก์และที่ดินที่โจทก์เช่ามาโดยไม่มีสิทธิจึงมีหน้าที่ต้องรื้อถอนบ้านพิพาทและชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ และการที่จำเลยร่วมได้เข้ายึดถือครอบครองบ้านพิพาทโดยได้จัดให้ผู้อื่นเช่าและเข้าอยู่ในบ้านพิพาท เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ แม้การซื้อขายบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับจำเลยร่วมจะเป็นโมฆะ จำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย คำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์ ก็ให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนแทนโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 296 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3138/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่บุคคลบุกรุกที่ดิน และขอบเขตคำขอให้รื้อถอนแทนเจ้าหนี้
แม้บ้านพิพาทจะปลูกอยู่บนที่ดินของโจทก์บางส่วนและบนที่ดินของกรมธนารักษ์บางส่วนซึ่งโจทก์เป็นผู้เช่ามาจากกรมธนารักษ์โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและจำเลยร่วมที่ไม่มีสิทธิเข้าอยู่ในที่ดินของโจทก์และที่ดินที่โจทก์เช่ามาได้ โดยมิต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องแทนกรมธนารักษ์แต่อย่างใด คำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินโจทก์ก็ให้โจทก์เป็นผู้รื้อถอนแทนโดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 296 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามบทบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึง, ความแตกต่าง, และการเข้าใจผิดของสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างมีสองส่วนคือรูปภาพส่วนหนึ่งกับข้อความอักษรโรมันส่วนหนึ่ง ในส่วนที่เป็นรูปภาพซึ่งเป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนนั้นคล้ายกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ส่วนที่สองมีข้อความว่า "E.RemyMartin&Co"อีกบรรทัดหนึ่ง และคำว่า "REMYMARTIN" อีกบรรทัดหนึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยในส่วนนี้มีเพียงคำว่า "CENTAUR"แตกต่างกับคำว่า "REMYMARTIN" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์จนเป็นที่เข้าใจทั่วไปและมีความสำคัญยิ่งกว่าหรือเท่ากับรูปภาพดังกล่าว เมื่อประชาชนไม่เห็นคำนี้อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าไม่ใช่สินค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนและห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า: ความแตกต่างของรายละเอียดเล็กน้อยและประเภทสินค้าที่ต่างกัน ไม่ถือว่าทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างมีสองส่วนคือรูปภาพส่วนหนึ่งกับข้อความอักษรโรมันส่วนหนึ่ง ในส่วนที่เป็นรูปภาพซึ่งเป็นรูปครึ่งม้าครึ่งคนนั้นคล้ายกัน แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ส่วนที่สองมีข้อความว่า "E. Remy Martin & Co"อีกบรรทัดหนึ่ง และคำว่า "REMY MARTIN" อีกบรรทัดหนึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยในส่วนนี้มีเพียงคำว่า "CENTAUR"แตกต่างกับคำว่า "REMY MARTIN" ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานสินค้าของโจทก์จนเป็นที่เข้าใจทั่วไปและมีความสำคัญยิ่งกว่าหรือเท่ากับรูปภาพดังกล่าว เมื่อประชาชนไม่เห็นคำนี้อยู่ด้วยย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าไม่ใช่สินค้าของโจทก์ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดได้ว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนคำขอจดทะเบียนและห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลย