พบผลลัพธ์ทั้งหมด 949 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาแจ้งเท็จการเกิดต่อเจ้าพนักงาน แม้ผู้แนะนำปฏิเสธ การกระทำโดยรู้ว่าเป็นเท็จมีเจตนา
จำเลยแจ้งข้อความต่อ บ. ผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้ช่วยนายทะเบียนตำบลว่าเด็กหญิง ธ. เป็นบุตรของตนเกิดที่จังหวัดร้อยเอ็ดอันเป็นความเท็จ เพราะเด็กหญิง ธ. เกิดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำเลยกรอกข้อความดังกล่าวลงในแบบฟอร์มใบรับแจ้งความการเกิดเอง โดย บ. มิได้แนะนำ ขณะเกิดเหตุจำเลยเป็นอาจารย์ใหญ่ย่อมทราบดีว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จจำเลยจึงมีเจตนาแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย: ตัวการหรือผู้สนับสนุน, ปริมาณสารบริสุทธิ์และบทลงโทษ
เฮโรอีนของกลางอยู่ในกระเป๋าเดินทางของจำเลย จำเลยเตรียม จะนำออกไปนอกราชอาณาจักรไทยพร้อมกับจำเลย โดยจำเลยมีหนังสือเดินทางและตั๋วโดยสารเครื่องบินพร้อมที่จะเดินทางโดยมีกระเป๋าบรรจุเฮโรอีนของกลางไปด้วยเช่นนี้ จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองเฮโรอีนของกลางอันถือได้ว่าเป็นตัวการในการกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หาใช่เป็นเพียงผู้สนับสนุนไม่.
เฮโรอีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 1,297 กรัม ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง บัญญัติ ว่าการผลิตนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจะเถียงว่าไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่ายหาได้ไม่.
เฮโรอีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 1,297 กรัม ซึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง บัญญัติ ว่าการผลิตนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจะเถียงว่าไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่ายหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2268/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย: การพิสูจน์เจตนาและปริมาณที่เข้าข่ายความผิด
เฮโรอีนของกลางอยู่ในกระเป๋าเดินทางของจำเลย จำเลยเตรียมจะนำออกไปนอกราชอาณาจักรไทยพร้อมกับจำเลย โดยจำเลยมีหนังสือเดินทางและตั๋วโดยสารเครื่องบินพร้อมที่จะเดินทางโดยมีกระเป๋าบรรจุเฮโรอีนของกลางไปด้วยเช่นนี้ จำเลยจึงเป็นผู้ครอบครองเฮโรอีนของกลางอันถือได้ว่าเป็นตัวการในการกระทำความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย หาใช่เพียงผู้สนับสนุนไม่ เฮโรอีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ 1,297 กรัม ซึ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง บัญญัติว่า การผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้าส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจะเถียงว่าไม่ได้มีไว้เพื่อจำหน่ายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้ที่ถูกหลอกลวงให้ช่วยชักชวนลงทุน และไม่มีส่วนรู้เห็นในการฉ้อโกง
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มาสอบถามจำเลยที่ 7 และที่8 เพื่อประสงค์จะเล่นแชร์น้ำมันชาร์เตอร์ เอง เพราะทราบข่าวจากผู้อื่น หาใช่จำเลยที่ 7 และที่ 8 เอา ความเท็จไปพูดหลอกลวงโจทก์ทั้งสามแต่แรกไม่ การที่จำเลยที่ 7ซึ่งเป็นหัวหน้าสายของบริษัทชาร์เตอร์ ฯ จำเลยที่ 1 หาเงินมาลงทุนให้ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 8 สามีของจำเลยที่ 7 ได้พูดถึงฐานะของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นบริษัทที่มั่นคง มีหลักทรัพย์เป็นพันล้านบาท มีกิจการน้ำมันและศูนย์การค้าใหญ่โตให้โจทก์ทั้งสามฟัง ก็เป็นการบอกเล่าตามข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสามเชื่อตามคำโฆษณาของจำเลยที่ 1 ประกอบด้วยทุนจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เป็นจำนวน 1,000 ล้านบาท นับว่าเป็นจำนวนทุนที่ มาก พอสมควรที่สามารถทำให้ประชาชนทั่วไปเชื่อถือฐานะของจำเลยที่ 1 แม้แต่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นปัญญาชนมีการศึกษาดียังเชื่อถือถึงกับขวนขวายหาทางเข้าไปร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ยังชักชวนโจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรชายให้ร่วมเล่นแชร์รายนี้ด้วย นอกจากนี้จำเลยทั้งสองยังมีหลักฐานสัญญาการลงทุนกับจำเลยที่ 1 เป็นเงินประมาณ 4,550,000 บาท เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ล้ม จำเลยก็ไม่ได้รับผลประโยชน์และต้นเงินที่ร่วมลงทุนคืนจำเลยที่ 7 และที่ 8 ไม่มีตำแหน่งใด ๆ ในบริษัทจำเลยที่ 1ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนแบ่งจากจำนวนเงินที่ประชาชนนำมาร่วมลงทุน ต่อมาเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ฉ้อโกงประชาชน จำเลยที่ 7 และที่ 8 ก็ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเช่นเดียวกับประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เช่นนี้การที่จำเลยที่ 1 ไม่จ่ายเงินที่ลงทุนคืนให้แก่โจทก์ทั้งสี่ จะสันนิษฐานเอาว่าจำเลยที่ 7 และที่ 8 ได้กระทำผิดฐานฉ้อโกงหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2264/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมลงทุนแชร์น้ำมันที่ถูกหลอกลวง: จำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นฉ้อโกง
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มาสอบถามจำเลยที่ 7 ที่ 8 เพื่อประสงค์จะเล่นแชร์น้ำมันชาร์เตอร์เอง เพราะทราบข่าวจากผู้อื่นหาใช่จำเลยที่ 7 และที่ 8 เอาความเท็จไปพูดหลอกลวงโจทก์ทั้งสามแต่แรกไม่ การที่จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นหัวหน้าสายของบริษัทชาร์เตอร์ฯ จำเลยที่ 1 หาเงินมาลงทุนให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 8 สามีของจำเลยที่ 7 ได้พูดถึงฐานะของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นบริษัทที่มั่นคง มีหลักทรัพย์เป็นพันล้านบาท มีกิจการน้ำมันและศูนย์การค้าใหญ่โตให้โจทก์ทั้งสามฟัง ก็เป็นการบอกเล่าตามข้อเท็จจริงที่จำเลยทั้งสองเชื่อตามคำโฆษณาของจำเลยที่ 1 ประกอบด้วย ทุนจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 กำหนดไว้เป็นจำนวน 1,000ล้านบาท นับว่าเป็นจำนวนทุนที่มากพอสมควรที่สามารถทำให้ประชาชนทั่วไปเชื่อถือฐานะของจำเลยที่ 1 แม้แต่โจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นปัญญาชนมีการศึกษาดี ยังเชื่อถือถึงกับขวนขวายหาทางเข้าไปร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ยังชักชวนโจทก์ที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรชายให้ร่วมเล่นแชร์รายนี้ด้วย นอกจากนี้จำเลยทั้งสองยังมีหลักฐานสัญญาการลงทุนกับจำเลยที่ 1 เป็นเงินประมาณ 4,550,000 บาท เมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ล้ม จำเลยก็ไม่ได้รับผลประโยชน์ และต้นเงินที่ร่วมลงทุนคืน จำเลยที่ 7 และที่ 8 ไม่มีตำแหน่งใด ๆ ในบริษัทจำเลยที่ 1 หรือมีส่วนแบ่งจากจำนวนเงินที่ประชาชนนำมาร่วมลงทุน ต่อมาเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์ฉ้อโกงประชาชนจำเลยที่ 7 และที่ 8 ก็ได้ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเช่นเดียวกับประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ไม่จ่ายเงินที่ลงทุนคืนให้แก่โจทก์ทั้งสี่ จะสันนิษฐานเอาว่าจำเลยที่ 7และที่ 8 ได้กระทำผิดฐานฉ้อโกงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254-2255/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเครื่องหมายการค้าก่อนจดทะเบียน และสิทธิเหนือกว่าจากการใช้ก่อน
บริษัท ฮ. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ที่ประเทศ สหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2501 แล้วได้ โอนขายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้จำเลยที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2516 จำเลยที่ 1ใช้ เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนโจทก์ แม้โจทก์จะไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นก่อน จำเลยที่ 1 ก็ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดไว้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254-2255/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การโอนสิทธิและการใช้ก่อนย่อมมีน้ำหนักกว่าการจดทะเบียนภายหลัง
บริษัท ฮ. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ พ.ศ. 2501 แล้วได้โอนขายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้จำเลยที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2516 จำเลยที่ 1ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนโจทก์ แม้โจทก์จะไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นก่อน จำเลยที่ 1 ก็ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254-2255/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การโอนสิทธิและอายุการใช้สิทธิก่อนจดทะเบียนมีผลต่อการพิจารณา
บริษัท ฮ. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ พ.ศ. 2501 แล้วได้โอนขายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้จำเลยที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2516 จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนโจทก์ แม้โจทก์จะไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นก่อน จำเลยที่ 1 ก็ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254-2255/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การโอนสิทธิ และการใช้ก่อนย่อมมีน้ำหนักกว่าการจดทะเบียนภายหลัง
บริษัท อ. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ พ.ศ. 2501 แล้วได้โอนขายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้จำเลยที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2516 จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนโจทก์ แม้โจทก์จะไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นก่อน จำเลยที่ 1 ก็ฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดไว้ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายของเครื่องหมายการค้าเพื่อคุ้มครองสิทธิและป้องกันการลวงสาธารณชน
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าใด เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอื่นจนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้นจะต้อง พิจารณาส่วนประกอบของเครื่องหมายการค้าทั้งหมดรวมกันโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสินค้าจำพวกน้ำยาฆ่ายางตรา วัวแดงส่วนของจำเลยใช้ เครื่องหมายการค้าตรา แพะแดง แม้สลากของจำเลยจะระบุชื่อ ร้านค้าและจังหวัดที่ผลิตสินค้าของจำเลยต่างกับของโจทก์แต่ การประดิษฐ์รูปแพะแดง ของจำเลยให้มีโหนกมีเขายาว หางยาวคล้ายวัวแดง ซึ่ง ทำให้ประชาชนเกิดการสับสนยากที่จะแยกแยะได้ว่าเครื่องหมายใด เป็นที่หมายแห่งสินค้าของโจทก์หรือจำเลย ทั้งข้อความที่แตกต่าง เป็นข้อความเพียงสั้น ๆ ปนอยู่กับข้อความอื่นทั้งหมดในสลากซึ่ง เหมือนกับข้อความในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกตัวอักษรทั้งลักษณะและขนาด กรณีถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนแล้ว ในคดีเครื่องหมายการค้า ศาลจะพิพากษาให้นายทะเบียนจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม คำขอของโจทก์ไม่ได้ เพราะเป็นการบังคับบุคคลที่มิได้เป็นคู่ความในคดีและโจทก์ก็สามารถไปขอจดทะเบียนได้เองอยู่แล้ว.