พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่สมบูรณ์และขาดเจตนา การฟ้องร้องบังคับคดีโดยอาศัยสัญญาที่ไม่ถูกต้อง
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไป 70,000 บาท โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แต่จำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันโดยไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ไว้ ต่อมาฝ่ายโจทก์ได้เขียนกรอกข้อความในสัญญาและเขียนจำนวนเงินกู้เป็น 136,770 บาท โดยจำเลยทั้งสองมิได้กู้ยืมเงินหรือค้ำประกันตามจำนวนเงินที่ปรากฏในสัญญานั้น โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีโดยอาศัยหลักฐานสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองโดยอาศัยสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกันฉบับระบุจำนวนเงินกู้ 136,770 บาท ไม่ได้ฟ้องโดยอาศัยสัญญากู้ยืมและค้ำประกันจำนวน 70,000 บาท ตามที่จำเลยยอมรับ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 70,000 บาทตามที่จำเลยยอมรับไม่ได้ เพราะสัญญาฉบับที่โจทก์ฟ้องกับสัญญาที่จำเลยยอมรับเป็นคนละฉบับกัน และโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้เงินให้ตามสัญญาที่จำเลยยอมรับ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองโดยอาศัยสัญญากู้ยืมและสัญญาค้ำประกันฉบับระบุจำนวนเงินกู้ 136,770 บาท ไม่ได้ฟ้องโดยอาศัยสัญญากู้ยืมและค้ำประกันจำนวน 70,000 บาท ตามที่จำเลยยอมรับ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยใช้เงิน 70,000 บาทตามที่จำเลยยอมรับไม่ได้ เพราะสัญญาฉบับที่โจทก์ฟ้องกับสัญญาที่จำเลยยอมรับเป็นคนละฉบับกัน และโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้เงินให้ตามสัญญาที่จำเลยยอมรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่จากละเมิด ไม่ใช่บังคับตามสัญญาเช่า
การที่โจทก์ฟ้องว่า เดิมที่พิพาทเป็นของ ข. มารดาโจทก์จำเลยเช่าที่พิพาทจาก ข. โดยไม่มีสัญญาเช่าต่อกัน ข. ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไปจึงบอกเลิกการเช่า จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาท ต่อมา ข. ยกที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่พิพาทอีก จำเลยก็ยังไม่ยอมออกไปนั้น ถือได้ว่าจำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยละเมิด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้บังคับตามสัญญาเช่าอันจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่จากละเมิด: แม้ไม่มีสัญญาเช่าเป็นหนังสือ ก็มีอำนาจฟ้องได้
การที่โจทก์ฟ้องว่า เดิมที่พิพาทเป็นของ ข. มารดาโจทก์ จำเลยเช่าที่พิพาทจาก ข. โดยไม่มีสัญญาเช่าต่อกัน ข. ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไปจึงบอกเลิกการเช่าจำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาท ต่อมา ข. ยกที่พิพาทให้โจทก์ โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากที่พิพาทอีก จำเลยก็ยังไม่ยอมออกไปนั้น ถือได้ว่าจำเลยอยู่ในที่พิพาทโดยละเมิด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องให้บังคับตามสัญญาเช่าอันจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เช่าซื้อ-ผู้เอาประกันภัย กรณีรถยนต์คว่ำ และขอบเขตความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิที่จะยึดถือครอบครองและใช้ประโยชน์ในรถยนต์คันพิพาท ตลอดจนมีหน้าที่ดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและใช้การได้ดี เมื่อรถยนต์เกิดความเสียหายขึ้นไม่ว่าในกรณีใดๆโจทก์ต้องรับผิดชดใช้เงินค่าเช่าซื้อที่ยังค้างชำระจนครบเมื่อได้ใช้เงินให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว รถยนต์ก็ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ทั้งโจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า 'การชน ย. บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาประกันภัยต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจาก ย.การชนหรือคว่ำหรือไฟไหม้อันเกิดจากการชนหรือคว่ำ' ย่อมคุ้มครองถึงอุบัติเหตุที่เกิดจากรถคว่ำด้วย โดยไม่ได้จำกัดว่าการคว่ำนั้นเกิดเพราะเหตุใด เมื่อปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาทเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า 'การชน ย. บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาประกันภัยต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจาก ย.การชนหรือคว่ำหรือไฟไหม้อันเกิดจากการชนหรือคว่ำ' ย่อมคุ้มครองถึงอุบัติเหตุที่เกิดจากรถคว่ำด้วย โดยไม่ได้จำกัดว่าการคว่ำนั้นเกิดเพราะเหตุใด เมื่อปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาทเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1249/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่าซื้อ ผู้เอาประกันภัยมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเหตุรถคว่ำ แม้เกิดจากความขัดข้องของรถ
โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อย่อมมีสิทธิที่จะยึดถือครอบครองและใช้ประโยชน์ในรถยนต์คันพิพาท ตลอดจนมีหน้าที่ดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยและใช้การได้ดี เมื่อรถยนต์เกิดความเสียหายขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ๆ โจทก์ต้องรับผิดชดใช้เงินค่าเช่าซื้อที่ยังค้างชำระจนครบ เมื่อได้ใช้เงินให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว รถยนต์ก็ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ทั้งโจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยไว้แก่จำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า "การชน : บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาประกันภัยต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจาก : การชนหรือคว่ำหรือไฟไหม้อันเกิดจากการชนหรือคว่ำ" ย่อมคุ้มครองถึงอุบัติเหตุที่เกิดจากรถคว่ำด้วย โดยไม่ได้จำกัดว่าการคว่ำนั้นเกิดเพราะเหตุใด เมื่อปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาทเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า "การชน : บริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างระยะเวลาประกันภัยต่อรถยนต์รวมทั้งอุปกรณ์ติดประจำเนื่องจาก : การชนหรือคว่ำหรือไฟไหม้อันเกิดจากการชนหรือคว่ำ" ย่อมคุ้มครองถึงอุบัติเหตุที่เกิดจากรถคว่ำด้วย โดยไม่ได้จำกัดว่าการคว่ำนั้นเกิดเพราะเหตุใด เมื่อปรากฏว่ารถยนต์คันพิพาทเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำจำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหารและการอุทธรณ์คำพิพากษาภายใต้คำสั่งคณะปฏิรูปฯ
จำเลยที่ 2 ต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลทหาร ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 29ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 จำเลยที่ 2 จึงอุทธรณ์มิได้ประการหนึ่งอีกประการหนึ่งศาลอุทธรณ์เป็นศาลยุติธรรมพระธรรมนูญศาลยุติธรรมมาตรา 2 ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิคำพิพากษาของศาลทหารต่อศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาบริษัท: พิจารณาจากสำนักงานบริหารกิจการจริง ไม่ใช่ที่จดทะเบียน
เพียงแต่ปรากฏตามทะเบียนว่าที่ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานครจะถือเป็นภูมิลำเนาของบริษัทจำเลยเสมอไปหาได้ไม่ ต้องถือตามถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของนิติบุคคลนั้นตามความเป็นจริง
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และมีโรงงานผลิตน้ำตาลของบริษัทแห่งเดียวตั้งอยู่ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีจำเลยเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ณ เลขที่ 99 หมู่ 3ตำบลหนองโอ่งอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ดังที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าเป็นที่อยู่ของจำเลย การส่งหมายเรียกของเจ้าพนักงานศาล ณ ที่อยู่ดังกล่าวก็พบกรรมการบริษัทจำเลยจึงได้ปิดหมายไว้แสดงว่าถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของบริษัทจำเลยคือสถานที่ซึ่งบริษัทประชุมผู้ถือหุ้นอันเป็นสำนักทำการของบริษัทจำเลย จึงถือได้ว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของบริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 68
เมื่อบริษัทจำเลยมีที่ตั้งทำการอันถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และมีโรงงานผลิตน้ำตาลของบริษัทแห่งเดียวตั้งอยู่ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีจำเลยเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ณ เลขที่ 99 หมู่ 3ตำบลหนองโอ่งอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ดังที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าเป็นที่อยู่ของจำเลย การส่งหมายเรียกของเจ้าพนักงานศาล ณ ที่อยู่ดังกล่าวก็พบกรรมการบริษัทจำเลยจึงได้ปิดหมายไว้แสดงว่าถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของบริษัทจำเลยคือสถานที่ซึ่งบริษัทประชุมผู้ถือหุ้นอันเป็นสำนักทำการของบริษัทจำเลย จึงถือได้ว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของบริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 68
เมื่อบริษัทจำเลยมีที่ตั้งทำการอันถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1242/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาบริษัท: พิจารณาจากสำนักงานบริหารกิจการตามความเป็นจริง ไม่ใช่ที่จดทะเบียน
เพียงแต่ปรากฏตามทะเบียนว่าที่ตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานครจะถือเป็นภูมิลำเนาของบริษัทจำเลยเสมอไปหาได้ไม่ ต้องถือตามถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของนิติบุคคลนั้นตามความเป็นจริง
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และมีโรงงานผลิตน้ำตาลของบริษัทแห่งเดียวตั้งอยู่ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี บริษัทจำเลยเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ณ เลขที่ 99 หมู่ 3ตำบลหนองโอ่งอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ดังที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าเป็นที่อยู่ของจำเลย การส่งหมายเรียกของเจ้าพนักงานศาล ณ ที่อยู่ดังกล่าวก็พบกรรมการบริษัทจำเลยจึงได้ปิดหมายไว้แสดงว่าถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของบริษัทจำเลยคือสถานที่ซึ่งบริษัทประชุมผู้ถือหุ้นอันเป็นสำนักทำการของบริษัทจำเลย จึงถือได้ว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของบริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 68
เมื่อบริษัทจำเลยมีที่ตั้งทำการอันถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
บริษัทจำเลยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าตั้งโรงงานผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และมีโรงงานผลิตน้ำตาลของบริษัทแห่งเดียวตั้งอยู่ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี บริษัทจำเลยเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ณ เลขที่ 99 หมู่ 3ตำบลหนองโอ่งอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ดังที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าเป็นที่อยู่ของจำเลย การส่งหมายเรียกของเจ้าพนักงานศาล ณ ที่อยู่ดังกล่าวก็พบกรรมการบริษัทจำเลยจึงได้ปิดหมายไว้แสดงว่าถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารกิจการของบริษัทจำเลยคือสถานที่ซึ่งบริษัทประชุมผู้ถือหุ้นอันเป็นสำนักทำการของบริษัทจำเลย จึงถือได้ว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของบริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 68
เมื่อบริษัทจำเลยมีที่ตั้งทำการอันถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยอยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรมธรรม์ประกันภัย: การคุ้มครองผู้ขับขี่ที่ใบอนุญาตขาดต่ออายุ ไม่ถือเป็นผู้ไม่ได้รับอนุญาตขับรถ
ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่าไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถยนต์ตามกฎหมาย หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิตามกฎหมายในขณะเกิดเหตุ ปรากฏว่าคนขับรถยนต์ของโจทก์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ขับรถยนต์ได้ แต่ขณะเกิดเหตุขับรถไปชนผู้อื่น ขาดต่ออายุใบอนุญาต ดังนี้ กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นดังกล่าวข้างต้นจำเลยผู้รับประกันภัยไม่พ้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1046-1047/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารไม่เป็นความจริง ไม่ถึงขั้นปลอมแปลง และการระงับสิทธิฟ้องร้องคดีแจ้งความเท็จ
เอกสารทั้งสองฉบับที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำขึ้นเป็นเอกสารของจำเลยซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 4 ได้ลงลายมือชื่อของตนเอง มิได้ปลอมลายมือชื่อของผู้ใด และมิใช่เป็นการปลอมหรือเลียนแบบเอกสารอันแท้จริงของผู้ใด แม้ข้อความในเอกสารจะไม่ตรงต่อความจริงหรือเป็นเท็จ การกระทำของจำเลยทั้งสี่ก็ไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารหรือปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 และ 265 ดังนั้นความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 จึงไม่เกิดขึ้น
คดีทั้งสองสำนวนโจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ เป็นคดีซึ่งเกิดขึ้นในคราวเดียวกัน เมื่อคดีของโจทก์ที่ 3 ตามคดีสำนวนหลัง ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งประทับฟ้องข้อหาอื่น ส่วนข้อหาฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 สั่งว่าคดีไม่มีมูลให้ยกฟ้อง โจทก์ที่ 3 มิได้อุทธรณ์ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่า ความผิดฐานแจ้งความเท็จสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในคดีสำนวนแรกนั้น ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว สิทธิของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในอันที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ในความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 จึงเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4)
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2526)
คดีทั้งสองสำนวนโจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ เป็นคดีซึ่งเกิดขึ้นในคราวเดียวกัน เมื่อคดีของโจทก์ที่ 3 ตามคดีสำนวนหลัง ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนมูลฟ้องแล้วสั่งประทับฟ้องข้อหาอื่น ส่วนข้อหาฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 สั่งว่าคดีไม่มีมูลให้ยกฟ้อง โจทก์ที่ 3 มิได้อุทธรณ์ กรณีเช่นนี้ถือได้ว่า ความผิดฐานแจ้งความเท็จสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในคดีสำนวนแรกนั้น ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว สิทธิของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในอันที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ในความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 จึงเป็นอันระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4)
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2526)