พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเรื่องการมอบอำนาจ และสิทธิในเครื่องหมายการค้า การลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าทำให้เกิดความเสียหาย
การที่จะตีความเอกสารฉบับใดเพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้องแท้จริงจะพิจารณาจากข้อความเพียงประโยคใดตอนใด แล้วสรุปความหมายเอาหาได้ไม่ จำต้องพิเคราะห์จากถ้อยคำ ทั้งหมดในเอกสารนั้นประมวลเข้าด้วยกันจึงจะสามารถทราบ ความหมายที่แท้จริงได้ โดยเฉพาะถ้อยคำที่แปลและเรียบเรียง จากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยการใช้ถ้อยคำอาจไม่ตรงกัน แต่มีความหมายในทำนองเดียวกัน เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ ฟ้องคดีนี้ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องคือ "เพื่อป้องกัน เครื่องหมายการค้าของ ข้าพเจ้าให้พ้นจากการปลอมแปลงเลียนแบบ จะโดยทางศาลแพ่งหรือกระบวนพิจารณาอาญารวมทั้ง ให้มีอำนาจที่จะกระทำการต่อสู้ในการเรียกร้องฟ้องแย้งหรือ ผู้ขอเรียกร้องที่แยกออก ประนีประนอมยอมความหรือตกลงกัน เกี่ยวกับการพิจารณาใดๆเช่นว่ามาแล้ว เพื่อให้ เป็นไป ตามความมุ่งหมายที่ได้กล่าวมาแล้วให้มีอำนาจ ไป กระทำการ และปรากฏตัวเพื่อและในนามของข้าพเจ้ายัง สำนักงานรัฐบาลแห่งประเทศไทยหรือสถานที่อื่นใด หรือที่ศาลสถิตย์ยุติธรรม "ถ้อยคำ ทั้งหมดดังกล่าวที่ว่า มอบอำนาจเพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าให้พ้น จากการปลอมแปลง เลียนแบบโดยทางศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจต่อสู้ เรียกร้อง ฟ้องแย้งก็มีความหมายชัดแจ้งถึงว่าให้มีอำนาจฟ้องคดีแพ่งเพื่อป้องกันสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์แทนโจทก์นั่นเอง จะตีความ ว่าเพียงมีอำนาจให้ฟ้องแย้งเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้ โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" ใช้กับสินค้าประเภทเครื่องเขียนไว้ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันตั้งแต่พ.ศ. 2518 และบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้ สั่งสินค้าประเภทนี้ของโจทก์เข้ามาขายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2517 ก่อนมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ปี นอกจากนี้โจทก์ยังได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศ ต่างๆ อีกหลายประเทศทั้งได้มีการโฆษณาถึงคุณภาพสินค้า สำหรับประเทศไทยทำผ่านบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย โจทก์ เป็นผู้คิด ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" ขึ้น มาใช้กับสินค้าของโจทก์ก่อนจำเลยจะผลิตสินค้าของจำเลย ประเภทเดียวกันนี้เป็นเวลาหลายปี เมื่อจำเลยใช้ เครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" กับสินค้าจำพวกเดียวกันมีลักษณะเหมือนและคล้ายของโจทก์โดยรู้ถึงว่าสินค้าของ โจทก์ประเภทนี้มีเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" จำหน่าย อยู่ในประเทศไทยแล้ว แม้จำเลยจะนำเครื่องหมายการค้าคำว่า "BOSS" ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใน ประเทศไทยไว้ก่อน ก็หาทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นไม่ ฎีกาปัญหาข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและไม่ เป็นประเด็นแห่งคดี จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากัน มาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า"BOSS" ดีกว่า จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไป ลวงขาย ทำให้ผู้ซื้อสินค้า หลงผิดซื้อสินค้าจำเลยโดยเข้าใจ ผิดว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นฝ่าย ได้รับความเสียหาย และ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเอาได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสอง และ ศาลมีอำนาจ กำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3278/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีและสิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความหมายของเอกสารและการลอกเลียนแบบ
การที่จะตีความเอกสารฉบับใดเพื่อให้ได้ความหมายที่ถูกต้องแท้จริงจะพิจารณาจากข้อความเพียงประโยคใดตอนใดแล้วสรุปความหมายเอาหาได้ไม่ จำต้องพิเคราะห์จากถ้อยคำทั้งหมดในเอกสารนั้นประมวลเข้าด้วยกันจึงจะสามารถทราบ ความหมายที่แท้จริงได้ โดยเฉพาะถ้อยคำที่แปลและเรียบเรียง จากภาษาต่างประเทศมาเป็นภาษาไทยการใช้ถ้อยคำอาจไม่ตรงกัน แต่มีความหมายในทำนองเดียวกัน เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้ ฟ้องคดีนี้ถ้อยคำที่เกี่ยวข้องคือ "เพื่อป้องกัน เครื่องหมายการค้าของ ข้าพเจ้าให้พ้นจากการปลอมแปลงเลียนแบบ จะโดยทางศาลแพ่งหรือกระบวนพิจารณาอาญารวมทั้ง ให้มีอำนาจที่จะกระทำการต่อสู้ในการเรียกร้องฟ้องแย้งหรือ ผู้ขอเรียกร้องที่แยกออก ประนีประนอมยอมความหรือตกลงกัน เกี่ยวกับการพิจารณาใดๆเช่นว่ามาแล้วเพื่อให้ เป็นไป ตามความมุ่งหมายที่ได้กล่าวมาแล้วให้มีอำนาจ ไปกระทำการ และปรากฏตัวเพื่อและในนามของข้าพเจ้ายัง สำนักงานรัฐบาลแห่งประเทศไทยหรือสถานที่อื่นใด หรือที่ศาลสถิตย์ยุติธรรม "ถ้อยคำ ทั้งหมดดังกล่าวที่ว่า มอบอำนาจเพื่อป้องกันเครื่องหมายการค้าให้พ้นจากการปลอมแปลง เลียนแบบโดยทางศาลแพ่ง รวมทั้งมีอำนาจต่อสู้ เรียกร้อง ฟ้องแย้งก็มีความหมายชัดแจ้งถึงว่าให้มีอำนาจฟ้องคดีแพ่งเพื่อป้องกันสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์แทนโจทก์นั่นเอง จะตีความ ว่าเพียงมีอำนาจให้ฟ้องแย้งเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ได้
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ใช้กับสินค้าประเภทเครื่องเขียนไว้ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันตั้งแต่พ.ศ. 2518และบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้ สั่งสินค้าประเภทนี้ของโจทก์เข้ามาขายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2517 ก่อนมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ปี นอกจากนี้โจทก์ยังได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศ ต่างๆ อีกหลายประเทศทั้งได้มีการโฆษณาถึงคุณภาพสินค้า สำหรับประเทศไทยทำผ่านบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย โจทก์ เป็นผู้คิด ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ขึ้น มาใช้กับสินค้าของโจทก์ก่อนจำเลยจะผลิตสินค้าของจำเลย ประเภทเดียวกันนี้เป็นเวลาหลายปี เมื่อจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " กับสินค้าจำพวกเดียวกันมีลักษณะเหมือนและคล้ายของโจทก์โดยรู้ถึงว่าสินค้าของ โจทก์ประเภทนี้มีเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " จำหน่าย อยู่ในประเทศไทยแล้ว แม้จำเลยจะนำเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใน ประเทศไทยไว้ก่อน ก็หาทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นไม่
ฎีกาปัญหาข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและไม่ เป็นประเด็นแห่งคดี จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากัน มาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า" BOSS " ดีกว่า จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไป ลวงขาย ทำให้ผู้ซื้อสินค้าหลงผิดซื้อสินค้าจำเลยโดยเข้าใจ ผิดว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นฝ่าย ได้รับความเสียหาย และ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเอาได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสองและ ศาลมีอำนาจ กำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ได้
โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ใช้กับสินค้าประเภทเครื่องเขียนไว้ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันตั้งแต่พ.ศ. 2518และบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้ สั่งสินค้าประเภทนี้ของโจทก์เข้ามาขายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.2517 ก่อนมีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ปี นอกจากนี้โจทก์ยังได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศ ต่างๆ อีกหลายประเทศทั้งได้มีการโฆษณาถึงคุณภาพสินค้า สำหรับประเทศไทยทำผ่านบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่าย โจทก์ เป็นผู้คิด ประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ขึ้น มาใช้กับสินค้าของโจทก์ก่อนจำเลยจะผลิตสินค้าของจำเลย ประเภทเดียวกันนี้เป็นเวลาหลายปี เมื่อจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " กับสินค้าจำพวกเดียวกันมีลักษณะเหมือนและคล้ายของโจทก์โดยรู้ถึงว่าสินค้าของ โจทก์ประเภทนี้มีเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " จำหน่าย อยู่ในประเทศไทยแล้ว แม้จำเลยจะนำเครื่องหมายการค้าคำว่า " BOSS " ไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใน ประเทศไทยไว้ก่อน ก็หาทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นไม่
ฎีกาปัญหาข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การและไม่ เป็นประเด็นแห่งคดี จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากัน มาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า" BOSS " ดีกว่า จำเลย จำเลยเป็นฝ่ายลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไป ลวงขาย ทำให้ผู้ซื้อสินค้าหลงผิดซื้อสินค้าจำเลยโดยเข้าใจ ผิดว่าเป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นฝ่าย ได้รับความเสียหาย และ ฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายเอาได้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช2474 มาตรา 29 วรรคสองและ ศาลมีอำนาจ กำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3229/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารงดจ่ายเช็คแล้วจ่ายภายหลัง: ความรับผิดในความเสียหาย
จำเลยมีหนังสือแจ้งธนาคารโจทก์สาขาให้งดจ่ายเงินตามเช็ค13 ฉบับ ธนาคารฯ ได้ปฏิบัติตามคำสั่งงดจ่ายเงิน แต่ต่อมาได้จ่ายเงินตามเช็คไป 3 ฉบับ โดยฝ่าฝืนคำสั่งขอให้งดจ่ายเงินตามเช็ค ดังนี้ ธนาคารโจทก์ต้องชดใช้เงินจำนวนนี้ให้จำเลยพร้อมค่าเสียหายนับแต่วันจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด ม.149 ประมวลกฎหมายอาญา: การเรียกเงินจากผู้ถูกจับเพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดี แม้ยังไม่ได้รับเงินก็ถือเป็นความผิด
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 นั้น เพียงจำเลยเรียกเงินจากผู้ถูกจับเพื่อตนโดยมิชอบเพื่อไม่จับกุมก็เป็นความผิดแล้วแม้จะยังไม่ได้รับเงินก็ตาม ที่พยานโจทก์เบิกความแตกต่างกันในข้อที่ผู้ถูกจับมอบเงินให้จำเลยหรือยังจึงไม่ใช่ข้อสำคัญของคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3089/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความสมควรแก่ฐานานุรูปในการครอบครองทองคำเพื่อประกอบการพิจารณาความผิดฐานพยายามลักลอบออกนอกราชอาณาจักร
จำเลยมีหุ้นในห้างหุ้นส่วนหลายแห่ง และยังมีอาชีพรับจ้างตบแต่งสถานที่ มีรายได้รวมทั้งหมดประมาณเดือนละ 40,000 บาท การที่จำเลยใช้สร้อยคอทองคำราคาหนึ่งแสนบาทเศษเป็นเครื่องประดับร่างกายจึงพอสมควรแก่ฐานานุรูป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3032/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองอาวุธปืนจากการล่อซื้อ แม้ตำรวจยังไม่รับมอบของกลาง ก็ถือว่าจำเลยมีความผิด
การที่ตำรวจไปจับกุมอาวุธปืนจากจำเลยโดยวิธีล่อให้จำเลยหาซื้อปืนมาให้ เมื่อผู้ขายปืนตกลงขายและมอบปืนของกลางให้จำเลยที่ 2 ระหว่างที่ตำรวจผู้จับยังไม่มาขอรับปืนอาวุธปืนของกลางยังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดฐานครอบครองอาวุธปืน
เมื่อตำรวจไปพบจำเลยที่ 1 ที่บ้าน จำเลยที่ 1 ไปตามจำเลยที่ 2 มา เมื่อตำรวจสอบถาม จำเลยที่ 2 จึงไปเอาปืนของกลางมาจากกระท่อมนาของจำเลยที่ 2 ยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองปืนของกลางด้วย
เมื่อตำรวจไปพบจำเลยที่ 1 ที่บ้าน จำเลยที่ 1 ไปตามจำเลยที่ 2 มา เมื่อตำรวจสอบถาม จำเลยที่ 2 จึงไปเอาปืนของกลางมาจากกระท่อมนาของจำเลยที่ 2 ยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองปืนของกลางด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล้นทรัพย์, เอาตัวไปเรียกค่าไถ่, และการใช้บทลงโทษตามกฎหมายอาญา มาตรา 316 และ 340
เมื่อจำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายแล้ว ได้คุมตัวผู้เสียหายไปเพื่อเรียกเงินค่าไถ่ ต่อมาอีกประมาณ 3ชั่วโมงจำเลยกับพวกได้ปล่อยตัวผู้เสียหาย เพราะทราบว่าตำรวจกำลังออกติดตาม แม้จำเลยกับพวกจะยังไม่ทันได้มาซึ่งเงินค่าไถ่ ก็เป็นความผิดฐานเอาตัวผู้เสียหายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่อันเป็นความผิดสำเร็จแล้วและเป็นความผิดคนละกระทงกันกับความผิดฐานปล้นทรัพย์แต่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสหรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ถือได้ว่าจำเลยกับพวกได้จัดให้ผู้เสียหายได้รับเสรีภาพก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา ซึ่งกฎหมายให้ลงโทษน้อยกว่าที่กำหนดไว้แต่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งตามมาตรา 316 และการลดโทษตามมาตรานี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกา พิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 5 ที่มิได้ฎีกาด้วย มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะ ผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนเท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการปล้นทรัพย์รายเดียวกัน จะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน จำเลยทั้งห้าไม่ได้ใช้อาวุธปืนในขณะกระทำการปล้นทรัพย์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 340 ตรี จำเลยทั้งห้าคงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตาม มาตรา 340 วรรคสี่เท่านั้น และศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ 5 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา225 ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ศาลชั้นต้นพิพากษา ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน จำคุก 2 ปี ฐานพาอาวุธปืนจำคุก 1 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2848/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปล้นทรัพย์, เอาตัวไปเรียกค่าไถ่, และการลงโทษตามมาตรา 316 กรณีผู้เสียหายได้รับการปล่อยตัวก่อนศาลพิพากษา
เมื่อจำเลยกับพวกปล้นทรัพย์ผู้เสียหายแล้ว ได้คุมตัวผู้เสียหายไปเพื่อเรียกเงินค่าไถ่ ต่อมาอีกประมาณ 3 ชั่วโมงจำเลยกับพวกได้ปล่อยตัวผู้เสียหาย เพราะทราบว่าตำรวจกำลังออกติดตาม แม้จำเลยกับพวกจะยังไม่ทันได้มาซึ่งเงินค่าไถ่ ก็เป็นความผิดฐานเอาตัวผู้เสียหายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่อันเป็นความผิดสำเร็จแล้วและเป็นความผิดคนละกระทงกันกับความผิดฐานปล้นทรัพย์แต่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสหรือตกอยู่ในภาวะอันใกล้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต ถือได้ว่าจำเลยกับพวกได้จัดให้ผู้เสียหายได้รับเสรีภาพก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา ซึ่งกฎหมายให้ลงโทษน้อยกว่าที่กำหนดไว้แต่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งตามมาตรา 316 และการลดโทษตามมาตรานี้เป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 และที่ 5 ที่มิได้ฎีกาด้วย
มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนเท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการปล้นทรัพย์รายเดียวกัน จะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน จำเลยทั้งห้าไม่ได้ใช้อาวุธปืนในขณะกระทำการปล้นทรัพย์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 340 ตรี จำเลยทั้งห้าคงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตาม มาตรา 340 วรรคสี่เท่านั้น และศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ 5 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบด้วย มาตรา225
ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน จำคุก 2 ปี ฐานพาอาวุธปืนจำคุก 1 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนเท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการปล้นทรัพย์รายเดียวกัน จะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคน จำเลยทั้งห้าไม่ได้ใช้อาวุธปืนในขณะกระทำการปล้นทรัพย์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 340 ตรี จำเลยทั้งห้าคงมีความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ปืนยิงตาม มาตรา 340 วรรคสี่เท่านั้น และศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ 5 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นเหตุในลักษณะคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบด้วย มาตรา225
ความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน จำคุก 2 ปี ฐานพาอาวุธปืนจำคุก 1 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิด เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้แต่ไม่จดทะเบียน ไม่ทำให้สิทธิในที่ดินตกเป็นของผู้รับยก การครอบครองโดยอาศัยสิทธิผู้อื่นไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครอง
เจ้าของที่ดินพูดยกที่พิพาทให้จำเลยโดยมีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กันต่อไป แสดงว่ายังมิได้แสดงเจตนาสละการครอบครองให้จำเลย การที่จำเลยเข้าครอบครองที่พิพาทก่อนทำการโอนจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่พิพาท ไม่ได้เข้าครอบครองในฐานะผู้แย่งการครอบครองแม้จะครอบครองนานเท่าใดก็ไม่ทำให้ได้สิทธิครอบครองทั้งไม่ทำให้ผู้มีสิทธิในที่พิพาทหมดสิทธิฟ้องเรียกคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 และเมื่อเจ้าของที่พิพาทตายโดยที่ยังมิได้ไปทำการยกให้เป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525ประกอบด้วยมาตรา 129 ที่พิพาทยังไม่ตกเป็นของจำเลยแต่เป็นมรดกตกได้แก่ทายาทของเจ้าของที่ดิน
โจทก์เป็นน้องร่วมบิดาเดียวกันกับเจ้าของที่พิพาทย่อมเป็นทายาทได้รับมรดกในที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(4) เพราะไม่มีทายาทของเจ้าของที่พิพาทระดับเหนือกว่าโจทก์ขึ้นไป
โจทก์เป็นน้องร่วมบิดาเดียวกันกับเจ้าของที่พิพาทย่อมเป็นทายาทได้รับมรดกในที่พิพาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(4) เพราะไม่มีทายาทของเจ้าของที่พิพาทระดับเหนือกว่าโจทก์ขึ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายโดยเมาสุราและทะเลาะวิวาท ศาลพิจารณาเหตุปัจจัยและรอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้เสียหายก่อเหตุเข้าทำร้ายจำเลยจำเลยแกว่งขวดแตกไปมาเพื่อป้องกันตัวขวดไปถูกผู้เสียหายครั้งเดียว เป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ ไม่มีความผิดพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยโกรธใช้ขวดแทงผู้เสียหายไม่เข้าลักษณะป้องกันจำเลยมีเจตนาเพียงทำร้ายไม่มีเจตนาฆ่า พิพากษากลับว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ดังนี้ เท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้องในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นโดยอาศัยข้อเท็จจริงโจทก์ฎีกาว่าจำเลยใช้ขวดแตกแทงผู้เสียหายที่หน้าอกอาจทำให้ถึงตายได้ เป็นการกระทำโดยเจตนาขอให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ศาลฎีกา ไม่รับ วินิจฉัย