คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม บรรลือสินธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้ในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลาและเหตุสุดวิสัย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 153 การขยายระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 119 แห่งกฎหมายล้มละลาย จะพึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและผู้ร้องมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วันเว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ต้องถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทุนของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) แจ้งไปเป็นการเด็ดขาดตามมาตรา 119 การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอปฏิเสธหนี้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาโดยอ้างว่าทนายความผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ร้องแล้วไม่ดำเนินการให้ผู้ร้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด มิใช่กรณีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 ที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลาให้ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้ในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลาและเหตุสุดวิสัย
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 153 การขยายระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 119 แห่งกฎหมายล้มละลาย จะพึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและผู้ร้องมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ต้องถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทุนของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทลูกหนี้ (จำเลย) แจ้งไปเป็นการเด็ดขาดตามมาตรา 119 การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอปฏิเสธหนี้เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาโดยอ้างว่าทนายความผู้ได้รับมอบหมายจากผู้ร้องแล้วไม่ดำเนินการให้ผู้ร้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด มิใช่กรณีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 23 ที่ศาลจะสั่งขยายระยะเวลาให้ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกันส่วนทรัพย์สินที่ถูกริบในคดีอาญา: กรอบเวลาตาม ป.อ.ม.36 มิใช่ตาม ป.วิ.พ.
เจ้าของร่วมในทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบ และไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ขอให้กันส่วนของตนให้กึ่งหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เจ้าของอันแท้จริงขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินที่ศาลสั่งริบตาม ป.อ. ม.36. จึงต้องกระทำต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด มิใช่ภายใน 14 วัน นับแต่วันขายทอดตลาดเพราะการขายทอดตลาดทรัพย์สินของกลางที่ถูกริบในคดีอาญา หาใช่เป็นการขายทอดตลาดทรัพย์สินในการบังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาค้ำประกัน: 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 แม้มิได้มีกฎหมายกำหนดอายุความโดยเฉพาะ
การฟ้องให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีค้ำประกัน - ไม่ปรากฏกฎหมายกำหนดใช้ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
การฟ้องให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3934/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทหลังเลิกสัญญาเช่าซื้อ: ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิเรียกร้องเงินจากผู้ทำเช็ค
จำเลยเช่าซื้อรถยนต์แต่แล้วผิดสัญญา เจ้าของยึดรถคืนเมื่อจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนเลิกสัญญาเช่าซื้อ และเจ้าของรถสลักหลังเช็คให้โจทก์ก่อนบอกเลิกสัญญา โจทก์ได้รับโอนเช็คมาเป็นการชำระหนี้จึงเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยก็ต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3929/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญา: การบรรยายหน้าที่และการกระทำของจำเลยเพียงพอต่อการเข้าใจข้อหา
คำฟ้องโจทก์ตอนต้นได้บรรยายถึงวันเวลาเกิดเหตุ แล้วบรรยายถึงหน้าที่และการกระทำของจำเลยว่า ตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ร่วมจำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และจำเลยที่ 3 เป็นพนักงานขายของตามหน้าที่ ได้ร่วมกันเบียดบังยักยอกเงินจำนวน 898,914.76 บาท ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ของจำเลยเสียโดยทุจริตแล้วบรรยายถึงสถานที่เกิดเหตุคำบรรยายฟ้องเช่นนี้ จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดอย่างไรถึงแม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่าเงินที่ถูกยักยอกไปเป็นเงินของแผนกใด และเบียดบังเอาเงินไปโดยวิธีการอย่างใด ฟ้องโจทก์ก็หาเคลือบคลุมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3929/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาฐานยักยอกทรัพย์ไม่เคลือบคลุม แม้รายละเอียดบางส่วนขาดหายไป ศาลต้องพิจารณาเนื้อหาตามข้อกล่าวหา
คำฟ้องโจทก์ตอนต้นได้บรรยายถึงวันเวลาเกิดเหตุ แล้วบรรยายถึงหน้าที่และการกระทำของจำเลยว่า ตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ร่วมจำเลยที่ 2 เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และจำเลยที่3 เป็นพนักงานขายของตามหน้าที่ ได้ร่วมกันเบียดบังยักยอกเงินจำนวน 898,914.76 บาท ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยตามหน้าที่ไปเป็นประโยชน์ของจำเลยเสียโดยทุจริตแล้วบรรยายถึงสถานที่เกิดเหตุคำบรรยายฟ้องเช่นนี้ จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดอย่างไร ถึงแม้โจทก์จะมิได้บรรยายว่าเงินที่ถูกยักยอกไปเป็นเงินของแผนกใด และเบียดบังเอาเงินไปโดยวิธีการอย่างใด ฟ้องโจทก์ก็หาเคลือบคลุมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3894/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้พินัยกรรมปลอมต่อศาล แม้ลายพิมพ์นิ้วมือไม่ชัดเจน ก็เป็นความผิดฐานใช้เอกสารปลอม
แม้ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมในพินัยกรรมมีลักษณะลายเส้นนูนเลอะเลือน จนผู้ชำนาญการพิเศษตรวจพิสูจน์ลงความเห็นไม่ได้ และมีพยานลงชื่อรับรองสองคนถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9 เอกสารดังกล่าวก็มีสภาพเป็นพินัยกรรมที่จำเลยกับพวกร่วมกันทำปลอมขึ้นเมื่อจำเลยกับพวกนำพินัยกรรมปลอมดังกล่าวส่งอ้างเป็นพยานต่อศาลสำเร็จแล้ว จำเลยต้องมีความผิดฐานใช้พินัยกรรมปลอมอีกกระทงหนึ่งมิใช่การพยายามกระทำความผิดที่เป็นไปไม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 81
การที่จำเลยกับพวกส่งอ้างพินัยกรรมปลอมเป็นพยานต่อศาลแม้จำเลยจะได้กระทำในฐานะทนายความในคดีแพ่ง จำเลยก็มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกันใช้พินัยกรรมปลอมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของกรรมการมัสยิด และการขอออกโฉนดที่ดินโดยการฟ้องห้ามขัดขวาง
ปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมตามที่จำเลยให้การต่อสู้นั้นศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านหรือโต้เถียงเป็นประเด็นในคำแก้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยจะยกเป็นข้อฎีกาอีกหาได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 7, 9 ให้กรรมการมัสยิดมีหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการและทรัพย์สินของมัสยิดในการดำเนินงานของคณะกรรมการมัสยิดให้เป็นไปตามเสียงข้างมากการฟ้องคดีก็เป็นการจัดการทรัพย์สินของมัสยิดอย่างหนึ่ง เมื่อกรรมการมัสยิดเสียงข้างมากมีมติให้ประธานกรรมการฟ้องคดีนี้ ประธานกรรมการมัสยิดโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนมัสยิดโจทก์ได้โดยไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก
ศาลพิพากษาห้ามจำเลยขัดขวางการขอออกโฉนดที่พิพาทของโจทก์ได้ แต่จะให้ถือเอาคำพิพากษาแสดงเจตนาของจำเลยว่าไม่ขัดขวางไม่ได้เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลบังคับจำเลยให้กระทำนิติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
of 33