พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2500/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวม, การจัดการทรัพย์สินบุตร, ฟ้องเคลือบคลุม, สิทธิเจ้าของรวม, การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยไม่ยอมออกไปจากโรงเรือนของโจทก์และปลูกโรงเรือนในที่ดินของโจทก์ โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นการละเมิดต่อโจทก์แม้จะปรากฏว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องรวมกับบุคคลอื่นแต่ไม่ระบุในฟ้องจำเลยก็เข้าใจข้อหาได้ดี จึงได้ให้การว่าโฉนดที่ดินพิพาทมีชื่อผู้อื่นถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
บุตรของจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุตรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1571 การที่จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุตรถือได้ว่าเป็นการจัดการทรัพย์สินของบุตรทั้งยังได้ปลูกในส่วนที่เป็นของบุตรจึงไม่เป็นการขัดต่อสิทธิแห่งโจทก์ผู้เป็นเจ้าของรวมโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนออกไปได้
บุตรของจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ในที่ดินพิพาท จำเลยย่อมมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของบุตรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1571 การที่จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของบุตรถือได้ว่าเป็นการจัดการทรัพย์สินของบุตรทั้งยังได้ปลูกในส่วนที่เป็นของบุตรจึงไม่เป็นการขัดต่อสิทธิแห่งโจทก์ผู้เป็นเจ้าของรวมโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนออกไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: เจ้าหนี้ต้องสืบเสาะทรัพย์สินด้วยตนเอง ไม่อาจขอให้ศาลไต่สวนบุคคลภายนอกโดยอ้างมาตรา 277 ป.วิ.พ.
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 277 เป็นเรื่องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับมากกว่าที่ตนทราบ อาจขอให้ทำการไต่สวนและออกหมายเรียกลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่เชื่อว่าอยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคำอันเป็นประโยชน์มาในการไต่สวน แต่เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยมีรถยนต์ซึ่งโจทก์ประสงค์จะยึดเพื่อบังคับคดี จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะสืบเสาะที่อยู่ของทรัพย์เพื่อนำยึด จะนำบทบัญญัติมาตรา 277 มาใช้บังคับมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: เจ้าหนี้ต้องสืบเสาะทรัพย์สินเอง ไม่สามารถอ้างมาตรา 277 เพื่อเรียกบุคคลภายนอกให้ข้อมูลได้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 277 เป็นเรื่องเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเชื่อว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษามีทรัพย์สินที่จะต้องถูกบังคับมากกว่าที่ตนทราบ อาจขอให้ทำการไต่สวนและออกหมายเรียกลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่เชื่อว่าอยู่ในฐานะที่จะให้ถ้อยคำอันเป็นประโยชน์มาในการไต่สวน แต่เมื่อกรณีเป็นเรื่องที่โจทก์ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยมีรถยนต์ซึ่งโจทก์ประสงค์จะยึดเพื่อบังคับคดี จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะสืบเสาะที่อยู่ของทรัพย์เพื่อนำยึด จะนำบทบัญญัติ มาตรา 277 มาใช้บังคับมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: ละเมิดและการชดใช้ค่าเสียหาย
แม้คดีส่วนอาญาจะเป็นคำพิพากษาของศาลทหาร ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลก็จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญานั้น ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 และพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: การชดใช้ค่าเสียหายจากการทำร้ายร่างกาย
แม้คดีส่วนอาญาจะเป็นคำพิพากษาของศาลทหาร ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลก็จำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญานั้น ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 และพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163-2174/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่เบียดบังเงินค่าธรรมเนียม – ความผิดมาตรา 147 ไม่จำกัดกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา147 เป็นบทบัญญัติที่เอาผิดแก่เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานที่เบียดบังเอาทรัพย์ที่ตนได้มาหรือถือไว้เพื่อจัดการตามหน้าที่ โดยไม่จำกัดว่าทรัพย์นั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของทางราชการหรือของรัฐ
เมื่อจำเลยกระทำผิดหลายกรรม ศาลลงโทษจำเลยทุกกรรม เป็นกระทงความผิดไป
เมื่อจำเลยกระทำผิดหลายกรรม ศาลลงโทษจำเลยทุกกรรม เป็นกระทงความผิดไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คเพื่อค้ำประกัน ไม่ใช่ผูกพันชำระหนี้ ทำให้ไม่อยู่ในความผิด พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยออกเช็คพิพาทให้ ก. โดยไม่มีเจตนาที่จะให้ผูกพันชำระหนี้กันได้ตามกฎหมาย แต่เป็นการค้ำประกันเงินที่จำเลยรับไปโดยมีข้อตกลงให้หักจากเงินค่าจ้างของจำเลยในการรับจ้างก่อสร้างทาวน์เฮ้าส์ให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่ง ก. เป็นหุ้นส่วนและมีอำนาจเบิกจ่ายเงินร่วมกับหุ้นส่วนผู้จัดการ ดังนั้น แม้โจทก์จะรับโอนเช็คพิพาทมาและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดไม่มีน้ำหนักเพียงพอในการลงโทษจำเลย จำเลยต้องมีหลักฐานอื่นประกอบ
ลำพังแต่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันเพียงอย่างเดียวนั้นไม่มีน้ำหนักให้รับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ใช้เอกสารปลอมขอแลกเงิน ธ.กรุงเทพ ต้องใช้บทหนัก
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่าจำเลยนำหนังสือเดินทางปลอมและเช็คเดินทางปลอมไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาราชเทวีในคราวเดียวกัน เพื่อขอแลกเงินตามเช็คเดินทางปลอมนั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ใช้เอกสารปลอม ขอแลกเงินธนาคาร ต้องลงโทษบทหนักสุด
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่าจำเลยนำหนังสือเดินทางปลอมและเช็คเดินทางปลอมไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ของธนาคารกรุงเทพจำกัด สาขาราชเทวีในคราวเดียวกัน เพื่อขอแลกเงินตามเช็คเดินทางปลอมนั้น เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90