คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อุดม บรรลือสินธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2046/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะคู่ความก่อนศาลประทับฟ้อง: จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ไต่สวนมูลฟ้องใหม่
ในคดีอาญาที่ราษฎรเป็นโจทก์ ก่อนศาลประทับฟ้อง จำเลยยังไม่มีฐานะเป็นคู่ความ การที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งใหม่ ตามรูปคดีเป็นเรื่องระหว่างศาลกับโจทก์ จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการนิติบุคคล: ประโยชน์ทับซ้อนทำให้หมดอำนาจแทน, ตั้งผู้แทนเฉพาะการได้
คำว่า ผู้จัดการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 80หมายถึงผู้จัดการที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อโจทก์เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีอำนาจดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 โดยลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอีกคนหนึ่งที่ระบุไว้และประทับตราสำคัญ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ ให้แก่โจทก์เห็นได้ชัดว่าประโยชน์ทางได้ทางเสียของโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับของจำเลยที่ 1เป็นปฏิปักษ์แก่กัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงกรรมการของจำเลยที่ 1 ประโยชน์ทางได้ทางเสียของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยที่ 1 ศาลจึงตั้งจำเลยที่ 2ขึ้นเป็นผู้แทนเฉพาะการของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อสู้คดีกับโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1984/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้จัดการ-นิติบุคคล: กรณีประโยชน์ขัดแย้ง ศาลสั่งตั้งผู้แทนเฉพาะการ
คำว่า ผู้จัดการ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 80 หมายถึงผู้จัดการที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อโจทก์เป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีอำนาจดำเนินกิจการแทนจำเลยที่ 1 โดยลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอีกคนหนึ่งที่ระบุไว้และประทับตราสำคัญ ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เงินกู้ ให้แก่โจทก์เห็นได้ชัดว่าประโยชน์ทางได้ทางเสียของโจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1 กับของจำเลยที่ 1 เป็นปฏิปักษ์แก่กัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นเพียงกรรมการของจำเลยที่ 1 ประโยชน์ทางได้ทางเสียของจำเลยที่ 2 มิได้เป็นปฏิปักษ์ต่อจำเลยที่ 1 ศาลจึงตั้งจำเลยที่ 2 ขึ้นเป็นผู้แทนเฉพาะการของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อสู้คดีกับโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบุคคล: การพิสูจน์สัญชาติและผลกระทบต่อสิทธิในอาวุธปืนของผู้อพยพและบุตร
โจทก์ที่ 1 เป็นคนสัญชาติญวน เข้ามาในราชอาณาจักรไทยในฐานะญวนอพยพมิใช่บุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ซึ่งเป็นบุตรโจทก์ที่ 1 แม้เกิดในราชอาณาจักรไทยก็ไม่ได้สัญชาติไทย ทั้งนี้โดยผลแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมวัดและการถือครองที่ดินสงฆ์: การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกให้กับวัดร้าง
เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ให้ยุบรวมวัดใหม่กับวัดภูเขาดินโจทก์เป็นวัดเดียวกัน เมื่อ พ.ศ. 2481 ในขณะที่วัดใหม่ยังมีพระภิกษุอยู่ จึงหาใช่เป็นวัดร้างสงฆ์ไม่อาศัยไม่
การยุบรวมวัดแม้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นจะไม่ได้บัญญัติไว้ แต่ตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ยอมรับให้มีการรวมวัดที่ใกล้ชิดติดกัน เป็นวัดเดียวกันเพื่อประโยชน์แก่การบำรุงวัดให้เจริญยิ่งขึ้นหรือเพื่อประโยชน์แก่การปกครองคณะสงฆ์ได้โดยขอรับความเห็นชอบในที่สุดจากฝ่ายปกครองคณะสงฆ์ก่อนและ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121 ก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามไว้ดังนั้นการที่เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ สั่งรวมวัดใหม่เข้าเป็นวัดเดียวกับวัดโจทก์ จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
วัดใหม่ที่ยุบรวมเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดโจทก์ จึงไม่มีสภาพที่จะตกเป็นวัดร้างได้ ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของวัดใหม่แล้วได้รื้อกุฎิวิหารและสิ่งปลูกสร้างจากที่ดินพิพาทไปไว้ที่วัดโจทก์เมื่อรวมกับวัดโจทก์ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นที่ดินของวัดร้างแต่เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดโจทก์ด้วยการยุบรวมวัดใหม่กับวัดโจทก์เป็นวัดเดียวดังนี้การดูแลรักษาและจัดการไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนาจำเลย การที่จำเลยไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นของวัดใหม่ (ร้าง) เป็นการไม่ชอบโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1563/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกค่าที่ดินหลังเพิกถอนสัญญาขายฝาก: ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
จำเลยที่ 2 ฟ้องแย้งว่าหากศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยไม่สุจริต ขอให้บังคับโจทก์ใช้ค่าที่ดินให้จำเลยที่ 2 ดังนี้ ฟ้องแย้งเป็นเรื่องที่จะเกิดตามมาภายหลังเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำการโดยไม่สุจริตให้เพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองแล้ว ถ้าจำเลยทั้งสองชนะคดีตามที่ให้การปฏิเสธว่าจำเลยทำสัญญาขายฝากกันโดยสุจริต ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ก็เป็นอันตกไป ดังนั้นฟ้องแย้งจึงเป็นเรื่องที่จะต้องเรียกร้องกันต่างหากเมื่อปรากฏผลคำพิพากษาในคดี นี้แล้วเป็นฟ้องแย้งในเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อแทนกัน แม้มีเจตนาดีก็เป็นการปลอมเอกสาร แต่ไม่เป็นความผิดหากไม่มีความเสียหายเกิดขึ้น
กรณีเกี่ยวกับลายมือชื่อนั้นไม่มีกฎหมายให้อำนาจลงลายมือชื่อแทนกันได้แม้เจ้าของลายมือชื่ออนุญาตหรือให้ความยินยอมก็ลงลายมือชื่อแทนกันไม่ได้ การที่จำเลยทำหนังสือถึงผู้จัดการสหกรณ์ แจ้งให้ทราบว่า ศ. น้องสาวโจทก์เดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศและขอลาออกจากสมาชิกสหกรณ์ โดยใช้ชื่อโจทก์หรือลงลายมือชื่อโจทก์ จึงเป็นการลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยทำหนังสือดังกล่าวโดยความยินยอมของโจทก์ โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับความเสียหาย ศ.และสหกรณ์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน การบอกเลิกสัญญาต้องมีเหตุตามสัญญาหรือกฎหมาย มิใช่เพียงความไม่พอใจ
โจทก์จำเลยทำสัญญากันโดยจำเลยยอมแบ่งที่นาพิพาทให้โจทก์และโจทก์ยอมยกกระบือและแบ่งเงินกับข้าวเปลือกให้จำเลย สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยจะบอกเลิกสัญญากับโจทก์ได้จะต้องมีเหตุที่ระบุไว้ในข้อสัญญาว่าให้บอกเลิกสัญญาได้ หรือมีเหตุอื่นที่กฎหมายให้อำนาจจำเลยบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยอ้างเหตุแต่เพียงว่าข้อสัญญาไม่เป็นไปตามความประสงค์ของจำเลย โดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วยหาได้ไม่ เพราะโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและตามข้อสัญญาก็มิได้ให้สิทธิจำเลยที่จะ เลิกสัญญาเพราะเหตุดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1463/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน การบอกเลิกสัญญาต้องมีเหตุตามสัญญาหรือกฎหมาย มิอาจเลิกได้โดยอ้างความไม่พอใจ
โจทก์จำเลยทำสัญญากันโดยจำเลยยอมแบ่งที่นาพิพาทให้โจทก์และโจทก์ยอมยกกระบือและแบ่งเงินกับข้าวเปลือกให้จำเลยสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยจะบอกเลิกสัญญากับโจทก์ได้จะต้องมีเหตุที่ระบุไว้ในข้อสัญญาว่าให้บอกเลิกสัญญาได้ หรือมีเหตุอื่นที่กฎหมายให้อำนาจจำเลยบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยจะบอกเลิกสัญญาโดยอ้างเหตุแต่เพียงว่าข้อสัญญาไม่เป็นไปตาม ความประสงค์ของจำเลย โดยโจทก์ไม่ยินยอมด้วยหาได้ไม่ เพราะโจทก์ มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและตามข้อสัญญาก็มิได้ให้สิทธิจำเลยที่จะ เลิกสัญญาเพราะเหตุดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับหุ้นเป็นประกันการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขัดต่อกฎหมายธนาคารพาณิชย์และข้อบังคับธนาคาร
พระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์บัญญัติห้ามมิให้ธนาคารพาณิชย์รับหุ้นของธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นประกันการให้สินเชื่อ หรือรับหุ้นของธนาคารพาณิชย์จากธนาคารพาณิชย์อื่นเป็นประกันการให้สินเชื่อ การที่จำเลยซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ ให้ ร.กู้เบิกเงินเกินบัญชี ถือเป็นการให้สินเชื่อตามมาตรา 4 แม้จำเลยจะใช้สิทธิยึดหุ้นของจำเลยจาก ร. ผู้ถือหุ้นไว้เป็นประกันหนี้สินตามข้อบังคับของจำเลยเมื่อ ร. ตกลงจำนำหุ้นไว้กับโจทก์แล้ว อันเป็นการยึดภายหลังจากการทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือการให้สินเชื่อแก่ ร. ก็มีผลเท่ากับจำเลยรับหุ้นของตนเองเป็นประกันการชำระหนี้ จึงเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ข้อบังคับของจำเลยในส่วนที่ให้จำเลยมีสิทธิยึดหุ้นของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นหนี้จำเลยไว้เป็นประกันต่างหนี้สินได้ก่อนบุคคลอื่นจึงตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113
of 33