พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหุ้นโดยไม่ระบุเลขที่หุ้น ไม่ทำให้การโอนเป็นโมฆะ หากบริษัทไม่ได้ออกใบหุ้นและไม่มีทะเบียนผู้ถือหุ้น
ในเอกสารการโอนหุ้นโจทก์ผู้รับโอนกับผู้โอนได้ลงลายมือชื่อมีพยานรับรอง 2 คน ทั้งกรรมการบริษัทจำเลยสองนายได้ลงชื่อประทับตราบริษัทอนุมัติให้โอนหุ้นกันได้ ถูกต้องตามแบบที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรคสองบังคับไว้ ส่วนที่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวบัญญัติความต่อไปว่าตราสารการโอนหุ้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วยก็เพื่อจะรู้ได้แน่นอนว่าหุ้นใดของผู้ถือหุ้นยังอยู่และหุ้นใดได้โอนให้บุคคลอื่นไปแล้วเท่านั้น หาได้บัญญัติว่าถ้ามิได้แถลงหมายเลขหุ้นที่โอนกัน การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อย่อมเป็นโมฆะ ทั้งบริษัทจำเลยยังไม่ได้ออกใบหุ้นให้ผู้ถือหุ้น ย่อมไม่มีเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันที่ผู้โอนจะแถลงลงในหนังสือโอนหุ้นและจดแจ้งการโอน กับชื่อผู้รับโอนลงในทะเบียนผู้ถือหุ้นได้ การโอนหุ้นดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัยจากการทำสัญญาจ้างบริการรักษาความปลอดภัย และความรับผิดของบริษัทรักษาความปลอดภัยต่อความเสียหาย
จำเลยทำสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยสถานที่ของบริษัทท. โดยยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ในกรณีทรัพย์สินสูญหายเพราะความประมาทเลินเล่อของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลย ส่วนโจทก์รับประกันภัยทรัพย์สินของบริษัท ท. จากการบุกรุกโจรกรรม ระหว่างเวลากรมธรรม์มีผลคุ้มครอง ได้มีคนร้ายงัดประตูสำนักงานเข้าไปลักเครื่องคิดเลขของบริษัท ท. ไปเพราะความประมาทของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยเมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปก่อนแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งมีต่อจำเลยตามสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยทันทีโดยผลของกฎหมายและมีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัยจากสัญญาจ้างบริการรักษาความปลอดภัยกรณีทรัพย์สินสูญหาย
จำเลยทำสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยสถานที่ของบริษัท ท. โดยยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ในกรณีทรัพย์สินสูญหายเพราะความประมาทเลินเล่อของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลย ส่วนโจทก์รับประกันภัยทรัพย์สินของบริษัท ท. จากการบุกรุกโจรกรรม ระหว่างเวลากรมธรรม์มีผลคุ้มครอง ได้มีคนร้ายงัดประตูสำนักงานเข้าไปลักเครื่องคิดเลขของบริษัท ท. ไปเพราะความประมาทของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลย เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยไปก่อนแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งมีต่อจำเลยตามสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยทันทีโดยผลของกฎหมายและมีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่เกิดจากการฉ้อฉล หากไม่ฟ้องภายใน 1 ปีนับแต่รู้เหตุ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั้ง มาตรา 237 และมาตรา 1300 แต่ขณะที่จำเลยรับโอนที่ดินแปลงพิพาทจาก ล. ศาลยังมิได้พิพากษาให้ ล. โอนที่ดินดังกล่าวคืนให้โจทก์ โจทก์จึงมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม มาตรา 1300 คดีของโจทก์ต้องด้วย มาตรา 237 ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนหรือพ้นสิบปีนังแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น
ล. โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2520 โจทก์ยื่นฟ้อง ล. และจำเลยเป็นคดีอาญาว่าร่วมกันฉ้อโกงโจทก์เกี่ยวกับที่ดินแปลงพิพาทเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2520 เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทระหว่าง ล. กับจำเลยภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
ล. โอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2520 โจทก์ยื่นฟ้อง ล. และจำเลยเป็นคดีอาญาว่าร่วมกันฉ้อโกงโจทก์เกี่ยวกับที่ดินแปลงพิพาทเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2520 เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทระหว่าง ล. กับจำเลยภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่เกิดจากการฉ้อฉล เริ่มนับแต่วันที่รู้เหตุ
เมื่อโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทระหว่างล. กับจำเลยภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนคือวันที่โจทก์ฟ้อง ล. กับจำเลยเป็นคดีอาญาหาว่าร่วมกันฉ้อโกงโจทก์เกี่ยวกับที่พิพาท คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตาม ป.พ.พ. ม.240
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบในคดีแพ่ง: โจทก์มีหน้าที่นำสืบข้ออ้างก่อน หากจำเลยปฏิเสธ
จำเลยให้การตอนแรกปฏิเสธว่าสามีจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์สัญญากู้ยืมโจทก์ทำปลอมขึ้น เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าสามีจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไป โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้าง
จำเลยให้การตอนหลังว่าสามีตนเคยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมซึ่งไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่านา จะเป็นฉบับเดียวกับสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่ จำเลยไม่ได้ให้การยอมรับ และตอนสุดท้ายก็ยืนยันว่าสัญญานี้เป็นเอกสารปลอม เพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของสามีจำเลย คำให้การเช่นนี้มีประเด็นที่จำเลยจำนำสืบได้
เมื่อหน้าที่นำสืบตกอยู่แก่ฝ่ายโจทก์ การจะให้จำเลยนำสืบอาจเป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบได้. เมื่อจำเลยไม่นำพยานเข้าสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงจะถือว่าจำเลยไม่ประสงค์สืบพยานหาได้ไม่ เพราะจำเลยได้คัดค้านไว้แล้ว และเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จจำเลยก็แถลงขอสืบพยานแต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา กรณีมีเหตุสมควรให้พิจารณาคดีใหม่
จำเลยให้การตอนหลังว่าสามีตนเคยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมซึ่งไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่านา จะเป็นฉบับเดียวกับสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่ จำเลยไม่ได้ให้การยอมรับ และตอนสุดท้ายก็ยืนยันว่าสัญญานี้เป็นเอกสารปลอม เพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของสามีจำเลย คำให้การเช่นนี้มีประเด็นที่จำเลยจำนำสืบได้
เมื่อหน้าที่นำสืบตกอยู่แก่ฝ่ายโจทก์ การจะให้จำเลยนำสืบอาจเป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบได้. เมื่อจำเลยไม่นำพยานเข้าสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงจะถือว่าจำเลยไม่ประสงค์สืบพยานหาได้ไม่ เพราะจำเลยได้คัดค้านไว้แล้ว และเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จจำเลยก็แถลงขอสืบพยานแต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณา กรณีมีเหตุสมควรให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบในคดีแพ่ง: โจทก์กล่าวอ้างต้องนำสืบก่อน การให้จำเลยนำสืบก่อนอาจเสียเปรียบ
จำเลยให้การตอนแรกปฏิเสธว่าสามีจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงิน โจทก์สัญญากู้ยืมโจทก์ทำปลอมขึ้น เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าไม่มีมูลหนี้ที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ เมื่อโจทก์กล่าวอ้างว่าสามีจำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินไป โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงตามที่กล่าวอ้าง
จำเลยให้การตอนหลังว่าสามีตนเคยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมซึ่งไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่านา จะเป็นฉบับเดียวกับสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่ จำเลยไม่ได้ให้การยอมรับ และตอนสุดท้ายก็ยืนยันว่าสัญญานี้เป็นเอกสารปลอม เพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของสามีจำเลย คำให้การเช่นนี้มีประเด็นที่จำเลยจำนำสืบได้
เมื่อหน้าที่นำสืบตกอยู่แก่ฝ่ายโจทก์ การจะให้จำเลยนำสืบอาจเป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบได้. เมื่อจำเลยไม่นำพยานเข้าสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงจะถือว่าจำเลยไม่ประสงค์สืบพยานหาได้ไม่ เพราะจำเลยได้คัดค้านไว้แล้ว และเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จจำเลยก็แถลงขอสืบพยานแต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณากรณีมีเหตุสมควรให้พิจารณาคดีใหม่
จำเลยให้การตอนหลังว่าสามีตนเคยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมซึ่งไม่ได้กรอกข้อความให้โจทก์ยึดถือไว้เพื่อเป็นประกันการชำระค่าเช่านา จะเป็นฉบับเดียวกับสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องหรือไม่ จำเลยไม่ได้ให้การยอมรับ และตอนสุดท้ายก็ยืนยันว่าสัญญานี้เป็นเอกสารปลอม เพราะลายมือชื่อในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของสามีจำเลย คำให้การเช่นนี้มีประเด็นที่จำเลยจำนำสืบได้
เมื่อหน้าที่นำสืบตกอยู่แก่ฝ่ายโจทก์ การจะให้จำเลยนำสืบอาจเป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบได้. เมื่อจำเลยไม่นำพยานเข้าสืบก่อนตามคำสั่งศาลชั้นต้นจึงจะถือว่าจำเลยไม่ประสงค์สืบพยานหาได้ไม่ เพราะจำเลยได้คัดค้านไว้แล้ว และเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จจำเลยก็แถลงขอสืบพยานแต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาต ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณากรณีมีเหตุสมควรให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314-316/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความครอบครองที่ดิน: ที่บ้านที่สวน vs. ที่ดินมือเปล่า, การรบกวนการครอบครอง และผลของการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน
การแย่งการครอบครองที่บ้าน ที่สวน ที่ต้องใช้อายุความ9 ปี 10 ปี ตามกฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ บทที่ 42 นั้น ต้องได้ความว่ามีสภาพเป็นที่บ้านที่สวนมาก่อนประกาศใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ถ้าไม่ปรากฏว่าเป็นที่บ้านที่สวนมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 แล้ว ก็ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 อันว่าด้วยที่ดินมือเปล่าซึ่งผู้ยึดถือมีแต่สิทธิครอบครอง
การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนนั้น ไม่ทำให้การครอบครองที่ดินสะดุดหยุดลง เพราะมิใช่เป็นการฟ้องคดีต่อศาล
การร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนนั้น ไม่ทำให้การครอบครองที่ดินสะดุดหยุดลง เพราะมิใช่เป็นการฟ้องคดีต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อเอกสารสูญหายระหว่างถูกยึด เจ้าของภาษีไม่ต้องรับภาระ
โจทก์ไม่สามารถนำเอกสารตามหมายเรียกไปมอบให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนโดยมิใช่เพราะความผิดของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงไม่นำเอกสารมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียภาษีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 71(1) และแม้โจทก์จะให้ความยินยอมในการประเมินดังกล่าวก็หาทำให้การประเมินซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็น การประเมินที่ชอบไปแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่มิชอบ เมื่อเอกสารสำคัญสูญหายจากการยึดของหน่วยงานอื่น โจทก์ไม่ต้องรับผิด
โจทก์ไม่สามารถนำเอกสารตามหมายเรียกไปมอบให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนโดยมิใช่เพราะความผิดของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจขัดขืนหรือหลีกเลี่ยงไม่นำเอกสารมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียภาษีในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย ตามมาตรา 71(1) และแม้โจทก์จะให้ความยินยอมในการประเมิน ดังกล่าวก็หาทำให้การประเมินซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับกลายเป็นการประเมินที่ชอบไปแต่อย่างใดไม่