พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดก, อายุความคดีมรดก และการยกข้อกฎหมายความสงบเรียบร้อยของประชาชน
เจ้ามรดกถึงแก่กรรม ว. ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาล โจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกได้เบิกความในคดีดังกล่าวว่า หากโจทก์มีส่วนได้รับมรดกโจทก์ก็เอา หรือจะให้แก่บุตรโจทก์ก็แล้วแต่ผู้จัดการมรดกเห็นสมควร การที่โจทก์เบิกความดังกล่าวไม่เป็นการสละมรดก เพราะคำเบิกความดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบ ไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 แต่เป็นเพียงคำพูดแนะนำผู้จัดการมรดกตามมารยาทเท่านั้น
ว. เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล แต่ยังจัดการมรดกไม่เสร็จก็ตายเสียก่อน จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแทนและยังจัดการไม่เสร็จ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทก็ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกเป็นคดีนี้ การที่ ว. ก็ดี จำเลยก็ดีซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการ ถือว่าครอบครองแทนทายาท มีหน้าที่ต้องแบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาท ถือได้ว่าทายาทได้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วตราบเท่าที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการมรดก ฉะนั้น คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ (อ้างฎีกาที่ 1589/2509)
ข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้แม้จะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 นั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบส่วนข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบ ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (อ้างฎีกาที่1211/2492)
ว. เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล แต่ยังจัดการมรดกไม่เสร็จก็ตายเสียก่อน จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแทนและยังจัดการไม่เสร็จ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทก็ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกเป็นคดีนี้ การที่ ว. ก็ดี จำเลยก็ดีซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการ ถือว่าครอบครองแทนทายาท มีหน้าที่ต้องแบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาท ถือได้ว่าทายาทได้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วตราบเท่าที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการมรดก ฉะนั้น คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ (อ้างฎีกาที่ 1589/2509)
ข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้แม้จะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 นั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบส่วนข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบ ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (อ้างฎีกาที่1211/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2537/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดก, อายุความคดีมรดก, และการครอบครองปรปักษ์: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งมรดก
เจ้ามรดกถึงแก่กรรม ว. ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกต่อศาลโจทก์ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกได้เบิกความในคดีดังกล่าวว่า หากโจทก์มีส่วนได้รับมรดกโจทก์ก็เอา หรือจะให้แก่บุตรโจทก์ก็แล้วแต่ผู้จัดการมรดกเห็นสมควร การที่โจทก์เบิกความดังกล่าวไม่เป็นการสละมรดกเพราะคำเบิกความดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบ ไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1612 แต่เป็นเพียงคำพูดแนะนำผู้จัดการมรดกตามมารยาทเท่านั้น ว. เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล แต่ยังจัดการมรดกไม่เสร็จก็ตายเสียก่อน จำเลยได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกแทนและยังจัดการไม่เสร็จ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทก็ฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกเป็นคดีนี้ การที่ ว. ก็ดี จำเลยก็ดีซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกในระหว่างจัดการ ถือว่าครอบครองแทนทายาท มีหน้าที่ต้องแบ่งทรัพย์มรดกแก่ทายาทถือได้ว่าทายาทได้ครอบครองทรัพย์มรดกแล้วตราบเท่าที่ยังอยู่ในระหว่างจัดการมรดกฉะนั้น คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ (อ้างฎีกาที่ 1589/2509) ข้อเท็จจริงที่จะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้แม้จะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 นั้นจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบส่วนข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกกระบวนพิจารณาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (อ้างฎีกาที่1211/2492)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2534/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์และการหลบหนีหลังกระทำผิด
การที่จำเลยขี่รถจักรยานสองล้อเข้าไปในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อลักรถจักรยานสองล้อของผู้เสียหาย รถจักรยานสองล้อที่จำเลยใช้ขี่ไปย่อมเป็นยานพาหนะที่ให้ความสะดวกแก่จำเลยในการกระทำผิด และหลังจากพวกของจำเลยนำรถจักรยานสองล้อของผู้เสียหายขี่หนีไปแล้ว จำเลยได้ขี่รถจักรยานสองล้อที่ขี่มาหลบหนีไปด้วย เป็นการใช้ยานพาหนะหลบหนีไปเพื่อให้พ้นการจับกุม จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2534/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกในการลักทรัพย์และการหลบหนีหลังกระทำผิด
การที่จำเลยขี่รถจักรยานสองล้อเข้าไปในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อลักรถจักรยานสองล้อของผู้เสียหายรถจักรยานสองล้อที่จำเลยใช้ขี่ไปย่อมเป็นยานพาหนะที่ให้ความสะดวกแก่จำเลยในการกระทำผิดและหลังจากพวกของจำเลยนำรถจักรยานสองล้อของผู้เสียหายขี่หนีไปแล้วจำเลยได้ขี่รถจักรยานสองล้อที่ขี่มาหลบหนีไปด้วย เป็นการใช้ยานพาหนะหลบหนีไปเพื่อให้พ้นการจับกุมจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย และการรับฟังพยานเอกสารในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและเป็นผู้ลงชื่อในคำพิพากษาด้วยได้มีคำสั่งในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า"รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์" เพียงเท่านี้ไม่มีข้อความอื่นใดที่พอจะให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรี จึงฟังไม่ได้ว่าได้มีการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242 มาใช้บังคับในการพิจารณาคดีอาญาได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏในชั้นศาลอุทธรณ์ว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ได้
เอกสารที่ทนายจำเลยใช้ถามค้านพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง พยานโจทก์ได้ตรวจดูและรับรองความถูกต้องบางส่วน ทั้งเป็นเอกสารราชการที่มีเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องแล้ว จำเลยมีอำนาจที่จะส่งศาลประกอบการถามค้านได้ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเลยนำพยานเข้าสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังประกอบการพิจารณาได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242 มาใช้บังคับในการพิจารณาคดีอาญาได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏในชั้นศาลอุทธรณ์ว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ได้
เอกสารที่ทนายจำเลยใช้ถามค้านพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง พยานโจทก์ได้ตรวจดูและรับรองความถูกต้องบางส่วน ทั้งเป็นเอกสารราชการที่มีเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องแล้ว จำเลยมีอำนาจที่จะส่งศาลประกอบการถามค้านได้ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเลยนำพยานเข้าสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังประกอบการพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิคัดค้านคำพิพากษาชั้นต้นด้วยการอุทธรณ์ขอให้ลดโทษ ย่อมไม่สามารถฎีกาว่าไม่ได้กระทำผิดได้อีก
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้กระทำผิด แต่กลับอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลดโทษแก่จำเลยให้น้อยลง ปัญหาที่ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน จำเลยจะกลับมาฎีกาว่าจำเลยมิได้กระทำผิดอีกหาได้ไม่ ตามใบแต่งทนายความ จำเลยมอบอำนาจให้ทนายความของจำเลยยื่นอุทธรณ์และฎีกาได้ ทนายความของจำเลยย่อมมีสิทธิทำอุทธรณ์ยื่นแทนจำเลยได้ตามกฎหมาย หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์นั้น ก็ชอบที่จะยื่นเองได้ตามความประสงค์ภายในอายุอุทธรณ์ เมื่อจำเลยละเลยสิทธิของตนดังกล่าว จะมาปฏิเสธไม่ยอมรับรู้การกระทำของทนายความหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2451/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์/ฎีกาโดยทนายความ: จำเลยต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของทนายความที่ได้รับมอบอำนาจ แม้ไม่เห็นด้วย
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานชิงทรัพย์ จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมิได้กระทำผิด แต่กลับอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ลดโทษแก่จำเลยให้น้อยลง ปัญหาที่ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่จึงยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยจะกลับมาฎีกาว่าจำเลยมิได้กระทำผิดอีกหาได้ไม่
ตามใบแต่งทนายความ จำเลยมอบอำนาจให้ทนายความของจำเลยยื่นอุทธรณ์และฎีกาได้ ทนายความของจำเลยย่อมมีสิทธิทำอุทธรณ์ยื่นแทนจำเลยได้ตามกฎหมาย หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์นั้น ก็ชอบที่จะยื่นเองได้ตามความประสงค์ภายในอายุอุทธรณ์ เมื่อจำเลยละเลยสิทธิของตนดังกล่าว จะมาปฏิเสธไม่ยอมรับรู้การกระทำของทนายความหาได้ไม่
ตามใบแต่งทนายความ จำเลยมอบอำนาจให้ทนายความของจำเลยยื่นอุทธรณ์และฎีกาได้ ทนายความของจำเลยย่อมมีสิทธิทำอุทธรณ์ยื่นแทนจำเลยได้ตามกฎหมาย หากจำเลยไม่เห็นด้วยกับอุทธรณ์นั้น ก็ชอบที่จะยื่นเองได้ตามความประสงค์ภายในอายุอุทธรณ์ เมื่อจำเลยละเลยสิทธิของตนดังกล่าว จะมาปฏิเสธไม่ยอมรับรู้การกระทำของทนายความหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยคดีตามข้อตกลงคู่ความ และการบังคับใช้กฎหมายเฉพาะ (พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์) เหนือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เดิมศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีไว้แล้วต่อมาคู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงว่า ขอสละประเด็นในชั้นชี้สองสถานทั้งหมด และติดใจขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตามคำแถลงที่ศาลชั้นต้นจดไว้นั้น ดังนี้ หมายความว่า ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดขึ้นในชั้นชี้สองสถานคู่ความขอสละ หาได้หมายความรวมถึงข้อเท็จจริงข้อกฎหมายที่ปรากฏในคำฟ้อง คำให้การที่ไม่เป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งโจทก์กล่าวอ้าง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธถือว่าจำเลยยอมรับแล้วตามกฎหมายไม่ ศาลจึงย่อมนำมารับฟังและวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวน
เมื่อหุ้นพิพาทที่โจทก์ซื้อตามคำสั่งของจำเลยเป็น หลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129
ในการวินิจฉัยคดีศาลต้องนำกฎหมายมาปรับแก่คดีให้ตรงตามรูปคดีที่พิพาทกัน ไม่จำต้องพิพากษาไปตามคำแถลงของคู่ความหรือตามความประสงค์ของคู่ความ เมื่อฟังว่าเป็นเรื่องพิพาทกันตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอันเป็นกฎหมายพิเศษก็จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่ แม้จะเป็นความประสงค์ของคู่ความหรือคู่ความแถลงขอก็ตาม
เมื่อหุ้นพิพาทที่โจทก์ซื้อตามคำสั่งของจำเลยเป็น หลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129
ในการวินิจฉัยคดีศาลต้องนำกฎหมายมาปรับแก่คดีให้ตรงตามรูปคดีที่พิพาทกัน ไม่จำต้องพิพากษาไปตามคำแถลงของคู่ความหรือตามความประสงค์ของคู่ความ เมื่อฟังว่าเป็นเรื่องพิพาทกันตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอันเป็นกฎหมายพิเศษก็จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่ แม้จะเป็นความประสงค์ของคู่ความหรือคู่ความแถลงขอก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละประเด็นในชั้นชี้สองสถาน การวินิจฉัยตามกฎหมายพิเศษ (พ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์) และการนำข้อเท็จจริงที่ยอมรับมาใช้ในการตัดสิน
เดิมศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดีไว้ แล้ว ต่อมาคู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงว่า ขอสละประเด็นในชั้นชี้สองสถานทั้งหมด และติดใจขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายตามคำแถลงที่ศาลชั้นต้นจดไว้นั้นดังนี้หมายความว่า ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดขึ้นในชั้นชี้สองสถาน คู่ความขอสละ หาได้หมายความรวมถึงข้อเท็จจริงข้อกฎหมายที่ปรากฏในคำฟ้อง คำให้การที่ไม่เป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งโจทก์กล่าวอ้าง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธถือว่าจำเลยยอมรับแล้วตามกฎหมายไม่ ศาลจึงย่อมนำมารับฟังและวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกสำนวน เมื่อหุ้นพิพาทที่โจทก์ซื้อตามคำสั่งของจำเลยเป็น หลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่บัญญัติเพื่อกิจการนี้โดยเฉพาะจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1129 ในการวินิจฉัยคดีศาลต้องนำกฎหมายมาปรับแก่คดีให้ตรงตามรูปคดีที่พิพาทกันไม่จำต้องพิพากษาไปตามคำแถลงของคู่ความหรือตามความประสงค์ของคู่ความ เมื่อฟังว่าเป็นเรื่องพิพาทกันตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอันเป็นกฎหมายพิเศษ ก็จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาวินิจฉัยคดีหาได้ไม่ แม้จะเป็นความประสงค์ของคู่ความหรือคู่ความแถลงขอก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2308/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเนื่องจากจำเลยอุปการะเลี้ยงดูหญิงอื่นฉันสามีภรรยา แม้จดทะเบียนสมรสกับโจทก์แล้ว
ก่อนจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้เสียกับนาง ต. มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน หลังจากจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ 2 วัน จำเลยที่ 1 กลับไปจดทะเบียนสมรสกับนาง ต.ซ้อนขึ้นอีก โดยอ้างว่าเพื่อให้เด็กที่เกิดมาเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้นางต.ยังไปๆมาๆที่บ้านจำเลยและจำเลยที่ 1 ยังส่งเสียให้เงินไปใช้จ่าย ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 อุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันสามีภรรยา ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(1)